#ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน
#นิทานเยียวยาทุกอย่าง
.
ถ้ามีคนถามว่า
“จำเป็นต้องอ่านนิทานตอนก่อนนอนมั้ยคะ อ่านเวลาอื่นได้มั้ยคะ”
หมอคงต้องตอบว่า “ไม่จำเป็นค่ะ..อ่านเวลาไหนก็ได้
อ่านเวลาที่เรากับลูกพร้อมอ่านด้วยกันค่ะ”
.
แต่ถ้าจะบอกว่า หมอชอบอ่านเวลาไหน หมอก็คงต้องบอกว่า
“การอ่านนิทานก่อนนอน” เป็นช่วงเวลาที่พิเศษของบ้านนี้ค่ะ
เหตุผลคือ
♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡
👉1.#อ่านนิทานก่อนนอนด้วยกัน_ช่วยเยียวยาความบาดหมาง
แม้กลางวัน เราจะเล่นบทนางยักษ์ แม่มด หรือ เล่นบทนางเย็นชากับลูก
ยิ่งช่วงเรียนออนไลน์ด้วยแล้ว บางคนต้องรับบท ครูไหวใจร้าย
แต่ไม่เป็นไร.....
ถ้าเราได้อ่านนิทานด้วยกัน มันจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
เคยมั้ย ที่ดูหนังสักเรื่อง ตอนกลางเรื่อง เรานั่งหลับ
แต่ตอนท้ายเรื่อง ฉากมันประทับใจ มันโดนใจ เราจะออกมาจากโรงหนัง
แล้วจะจำว่า หนังเรื่องนี้สนุก
กับอีกเรื่องหนึ่ง เปิดเรื่องสนุก กลางเรื่องตื่นเต้น แต่ตอนจบขัดใจ
กลายเป็นเรารู้สึกว่า หนังมันไม่สนุก
(ดีมาตั้งเป็นชม. 20 นาทีสุดท้ายห่วย ก็กลายเป็นห่วยทั้งเรื่อง)
สมองมนุษย์เป็นเช่นนี้แหละค่ะ....
เรามักพุ่งความสนใจอย่างเข้มข้นที่ช่วงสุดท้าย
สมองของเราและลูกๆของเราก็เช่นกัน
แม้กลางวัน จะมีเรื่องที่ขัดใจกันบ้าง
แต่เวลา #อ่านหนังสือด้วยกัน จะเป็นช่วงท้ายของวัน
ที่สมองจะประมวลผลว่าวันนี้ #ผลประกอบการทางอารมณ์เป็นอย่างไร
แน่นอน เหตุการณ์ก่อนที่จะหลับ ก็เหมือนฉากจบในหนัง
สมองให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
อีกเหตุผลที่ ความบาดหมางทั้งปวงจะหายไปในช่วงนี้
เราไม่สามารถเอาอารมณ์ที่ขุ่นมัว พกมาด้วยตอนได้อ่านนิทานเด็กสนุกๆ
ถ้าเมื่อไหร่ที่เราสามารถ อ่านมี้จังให้ลูกสนุกได้ แปลว่าเรื่องที่โกรธกัน..หายไปแล้ว
และแล้ว เมื่อนิทานจบลง
เราก็จะลืมไปแล้วว่าตอนเย็นตวาดลูกเรื่องอะไร
ลูกก็ลืมไปแล้วว่า...เค้าทุกข์แค่ไหนตอนถูกแม่ดุ
เพราะตอนนี้ เค้ารับความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน ได้อ่านหนังสือด้วยกัน
และจดจำมันว่าเป็นวันแห่งความสุขอีกวันหนึ่ง
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■
👉2. #เตรียมสมองเพื่อเข้าสู่ขบวนการตกผลึกความรู้
สมองต้องการเวลาในการตกผลึก
การที่เราอยู่ในสภาวะผ่อนคลายก่อนนอน เป็นสิ่งสำคัญมาก
หากใครเคยดูการ์ตูนเรื่อง inside out คงนึกฉากที่ไรลีย์นอนหลับ
เจ้าของสมองนอนหลับ แต่สมองยังทำงาน
ช่วงที่เรานอนหลับ
เป็นช่วงที่สมองจะประมวลสิ่งที่ได้รู้มาในแต่ละวัน
แยกหมวดหมู่ แยกประเภทตามการเชื่อมโยงเดิม
ภาษาสมองเรียกการทำงานแบบนี้ว่า การตกผลึก (consolidation)
การได้อ่านนิทานการนอนกับลูก
เชื่อมโยงกับการที่พ่อแม่สร้างอุปนิสัยที่ดีในการนอน
กล่าวคือ ทำเป็นแพทเทิร์นเดิมๆซ้ำๆในเวลาเดิม
อาบน้ำ มารอที่เตียง แม่อ่านหนังสือด้วยกัน เข้านอนแล้ว
การทำเช่นนี้
เป็นการส่งสัญญาณให้สมองเข้าสู่กระบวนการตกผลึก
หลับด้วยสภาวะอารมณ์ที่ผ่อนคลาย
หลับอย่างมีคุณภาพ....ทำให้ข้อมูลที่ได้ในวันนี้
เป็นฐานในการเรียนรู้ต่อในวันพรุ่งนี้
กลับกัน
ต่อให้กลางวัน ลูกได้เรียนรู้มากแค่ไหน
ครูติวได้มาก พ่อแม่สอนเนื้อหาได้ตามเป้า
แต่เค้าเข้านอนด้วยความรู้สึกขุ่นมัว หรือเวลานอนไม่เพียงพอ
ก็ยากนักที่สมองจะจัดเรียงสิ่งที่เรียนรู้ในวันนั้นได้
ดังนั้น อย่าลืมสร้างอุปนิสัยที่ดีในการเข้านอนให้ลูกด้วยนะคะ
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■
👉3.#อ่านนิทานก่อนนอน_เด็กรับรู้ข้อมูลในคลื่นสมองที่เหมือนกับนั่งสมาธิ
หลายๆคนแปลกใจที่ลูกจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในนิทานได้แม่น
แม้ว่าตอนที่เราอ่าน เหมือนเค้าจะเคลิ้มๆ
จนเราไม่แน่ใจว่าได้ยินสิ่งที่เราอ่านรึเปล่า
หรือ คิดว่าลูกเคลิ้มใกล้หลับแล้ว แต่พออ่านผิด หรืออ่านข้าม
เจ้าตัวกลับท้วงซะอย่างนั้น
เพราะอะไร?
ช่วงเวลาก่อนเข้านอน เมื่อร่างกาย และจิตใจได้ผ่อนคลาย
คลื่นสมองจะปรับความเร็วลดลง
ตอนกลางวัน
คลื่นสมองมีความถี่สูง (beta) เพราะเราตอบสนองได้ไวต่อสิ่งแวดล้อม
แต่เมื่ออยู่ในภาวะเคลิ้ม เกือบหลับ คล้ายกับอยู่ในภวังค์
คลื่นสมองจะลดความถี่ลง
เรียกว่าคลื่น แอลฟา ( 9-13 เฮิร์ท) และ ธีต้า (4-8 เฮิร์ท)
ซึ่งคลื่นสมองที่ช้าลงนี้ เป็นคลื่นสมองเหมือนเวลาที่เราทำสมาธิ
โดยเฉพาะคลื่นธีต้า ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำสมาธิได้ในระดับลึก
ร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง แต่จะ focus กับสิ่งที่กำลังจดจ่อ
#ตอนที่เด็กเคลิ้ม_สมองจดจ่อกับเสียงแม่ที่เล่านิทาน
เสียงเล่านั้น จะไปเชื่อมโยงกับคลังภาพ
สมองในคลื่นแอลฟาและธีต้า
เชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก...ซึ่งเป็นคลังแห่งจินตนาการ
คุ้นมั้ยคะ?
ความสุข สมาธิ และจินตนาการ คือปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้สูงสุด
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡
👉4.#เวลาแห่งความผูกพันธ์ที่จะตราตรึงในใจลูกไปตลอดชีวิต
ไม่จำเพาะแค่ก่อนนอน (ความสม่ำเสมอคือหัวใจของทุกสิ่ง)
แต่การอ่านหนังสือให้ฟังทุกวัน
ทำให้อย่างน้อย
ในแต่ละวัน เรามีเวลาให้ลูกอย่างแท้จริง
โดยที่ไม่มีสื่อ ไม่มีมือถือ ไม่มีเรื่องงานมากวน
เป็นเวลาที่มีค่าสำหรับชีวิตลูกมาก
นี่คือสายสัมพันธ์ที่เราสร้าง เป็นโซ่คล้องใจ
แม้ว่าต่อไปเค้าจะต้องไปเผชิญกับเรื่องเลวร้าย
บางครั้งหนทางมันมืดมน จนมองไม่เห็นทางกลับ
แต่เค้าจะมีสายสัมพันธ์นี้ให้เค้ายึดและ #สาวกลับมาบ้านของหัวใจเค้าจนได้
ไม่เกิน 10 ปี ที่ลูกจะเรียกร้องเวลานี้จากเรา
แค่วันละไม่เกิน 30 นาที แต่เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในชีวิต
ขึ้นอยู่กับเราแล้ว ว่าเราจะทำหรือไม่ทำ
■♡■♡■♡□♡□♡□♡■♡■♡■♡
👉5. #อ่านหนังสือให้ฟังเท่ากับฝึกปรือทักษะในการอ่านโลกให้กับลูก
เวลาเราอ่านนิทาน เกิดอะไรขึ้นระหว่างนั้น
ลูกได้ฟังเหตุการณ์ที่มีปัญหา
มีความรู้สึก มีทางแก้ไข มีจุดคลี่คลายสถานการณ์
ลูกเกิดคำถาม ซึ่งบางครั้ง คำถามนั้น พาเราหวนคิดถึงตัวเอง
บางครั้ง พาไปยังบทสนทนาที่ลึกซึ้งระหว่างแม่ลูก แน่นอน เราได้ปลูกฝังค่านิยมของเราแก่ลูกผ่านบทสนทนานั้น
บางครั้ง เราได้ฟังคำถามที่เฉียบแหลม
จนเราต้องคิดว่า ลูกคิดเช่นนี้ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
บางครั้ง เรื่องราวหรือตัวละครในนิทาน
ก็เชื่อมโยงเรากับลูก เพราะได้ผ่านเหตุการณ์เดียวกัน
บางที ถึงกับมีรหัสลับร่วมกัน....เราจะหัวเราะคิกคักด้วยกันทุกทีเมื่อเราได้ใช้มัน
เวลา ที่มีความสุขแค่ไม่ถึงชั่วโมงต่อวัน ระหว่างเรากับลูก
ก่อร่างสร้างตัวเป็นความคิด เป็นประสบการณ์สะสม
เป็นทัศนคติในการมองโลกของลูก
ใช่แล้วค่ะ...อ่านหนังสือด้วยกัน คือการสอนให้ลูกอ่านโลก
.
ช่วงเครียดจากการเรียนออนไลน์ ยิ่งต้องอ่านนิทานกับลูกค่ะ
แล้วจะพบว่า อ่านนิทาน เยียวยาทุกอย่างจริงๆนะ
.
หมอแพม...ชวนมาอ่านกันค่ะ
#ส่งเสริมการอ่าน
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過61萬的網紅Peanut Butter,也在其Youtube影片中提到,คลิปวันนี้มาแบบสบายมากๆ และยาวสะใจมาก 555555 ทำงานอ่านหนังสือเป็นเพื่อน 1 ชั่วโมงเต็มเลยค่ะ มีเพลงคลอให้ด้วยยย แต่ถ้าใครไม่ชอบสามารถลดเสียงได้นะคะ?? ...
「อ่านหนังสือด้วยกัน」的推薦目錄:
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 Peanut Butter Youtube 的最佳解答
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 study with me! รวมช่องทางหาคนอ่านหนังสือเป็นเพื่อน 的評價
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 วันนี้ ConNEXT มีแพลตฟอร์มดี ๆ มาแนะนำ ที่จะเป็นตัวช่วยคลายเหงา ... 的評價
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 Study with Me! 5 ช่อง YouTube คลายเหงา มีเรานั่งเรียนเป็นเพื่อน 的評價
- 關於อ่านหนังสือด้วยกัน 在 วิดีโอแนว “With me” มาแรง! ชวนช้อป-ทำอาหาร-อ่านหนังสือด้วยกัน ... 的評價
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
#คิดเรื่องความคิด
#Metacognition
.
ในหนังสือ ประถม 4.0 ที่อาจารย์ประเสริฐเขียน
มีคำหนึ่งที่หมออ่านแล้ว รู้สึกติดใจในความหมาย
จนต้องไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม คือคำว่า
Metacognition
(อ.ประเสริฐใช้คำภาษาไทยว่า เมตตาคอกนิชั่น
คิดเองว่า เมตตา จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าใจจิตใจตัวเอง
และนึกถึงจิตใจผู้อื่น ซึ่งคล้องกับความหมายของ
metacognition คือ think about thinking)
เมตตาคอกนิชั่น
สำคัญต่อการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งของมนุษย์ เพราะ
#เราต้องรู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร
ต้องรู้จักประเมินตนเอง ประเมินสถานการณ์
ประเมินความคิดของผู้อื่น ณ เวลาหรือ เหตุการณ์นั้นๆ
(ใครมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เขียนไว้ในตอนที่ 25-26/100 นะคะ)
.
และเมื่อวันก่อน
ได้ไปฟังเรื่อง visual learner ที่ อาจารย์ประภาภัทร กรุณา live ให้ได้ฟังกัน
(ใครยังไม่ได้ฟัง ไปฟังย้อนหลังที่ page สานอักษร ได้นะคะ) ซึ่งมาพ้องกับเรื่องนี้พอดี
.
เมื่อเอาความรู้ที่ได้อ่าน +ได้ฟัง+ การเลี้ยงลูก มารวมกัน เหมือนเป็น จิ๊กซอว์ เพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ในเด็ก
.
ตอนเด็กอายุ 2-3 ขวบ
เด็กมี cognition เด็กเรียนรู้ได้เร็ว
แต่เค้ายังมี metacognition ไม่มากนัก
การประเมินตัวเองไม่แม่นยำ
จึงเกิดปรากฏการณ์
“ไม่นะ....หนูจะทำเอง” อยู่ร่ำไป
สร้างความลำบากใจให้พ่อแม่ ว่าจะปล่อยให้ทำได้เหรอ?
เด็กเล็กรู้แต่สิ่งที่ (คิดว่า) ตัวเองทำได้
แต่ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง
ตัดสินจากตัวเอง เป็นความคิด
ความรู้สึกของที่ไม่ซับซ้อน
ชอบ สนุก ไม่ชอบ กลัว ฯลฯ
แต่เมื่อได้ทำ ได้ประสบความความผิดหวัง
ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้
แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ก็เกิดความรู้....เกิดทักษะในการประเมินตัวเอง
สั่งสมเป็นประสบการณ์
และ เมื่อโตขึ้น
มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้สึกที่มากขึ้นตามอายุ
ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เอามาประมวลผล คาดคะเนสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เช่น ผลงานของตัวเองในครั้งก่อนๆ ความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
ผลตอบรับของคนรอบตัว (สีหน้า ท่าทาง คำพูด ของพ่อแม่ ครู เพื่อนๆเป็นอย่างไร )
ได้เป็นผลลัพธ์ล่วงหน้า....
ทำแล้วจะได้อะไร และอยากจะทำหรือไม่
เป็นความคิดขั้นสูงที่ คาดคะเน การกระทำของตัวเองล่วงหน้า
.
จริงๆเหมือนไม่มีอะไรใหม่
แต่ทำให้หมอได้ฉุกใจคิด ว่าทุกย่างก้าวของการเติบโตของเด็ก
เกิดจากประสบการณ์เมื่อวานของลูกทั้งนั้น
และการเกิด metacognition
ไม่ได้มาจากแค่การขยายขนาดหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์สมอง
แต่มันขึ้นกับ
👉จำนวนประสบการณ์ ที่ได้ทำเอง
👉กลวิธีที่ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วล้มเหลว
👉ผลของการกระทำของตัวเอง
👉สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
👉ความคิดเห็น ความรู้สึกของคนอื่น ต่อการกระทำนั้น
👉แม้แต่ เรื่องของวัฒนธรรม ค่านิยม ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญให้คนคนหนึ่งพัฒนาเรื่อง metacognition
.
เผลอแป๊บเดียว ตอนนี้ลูกสาววัย 7 ปีของหมอ
ก็มีเมตตาคอกนิชั่น
ที่เราไม่รู้ว่ามันพัฒนามาเมื่อไหร่ อย่างไร
แต่มันน่าทึ่งมาก
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เล็กๆที่ เค้าเล่าให้หมอฟังว่า
มีอยู่วันหนึ่งที่เค้าถูกทำโทษหลังเลิกเรียน
แต่คุณครูอนุญาตให้ไปเข้าห้องน้ำก่อนได้
ขณะที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
เค้ามองเห็นว่าแม่มารับแล้ว
เค้าคิดว่า เค้าจะหนีกลับบ้านกับแม่เลยก็ได้
เพราะกระเป๋านักเรียนก็อยู่นอกห้อง
แม่ก็มารับแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปแก้ตัวกับคุณครูว่าแม่มีเรื่องด่วนต้องพากลับบ้านก่อน
แต่ถ้าครูรู้ว่าเค้าโกหก
คุณครูก็อาจจะผิดหวังในตัวเค้าที่ไม่ซื่อสัตย์
และตัวเองก็อาจจะไม่สบายใจ
ที่สำคัญหนีกลับวันนี้
ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ในวันพรุ่งนี้อยู่ดี
เค้าจึงตัดสินใจกลับเข้าห้องเรียน
ไปรับโทษเลยดีกว่า
ทั้งหมดนี้ อยู่ในสมองของเค้าในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
ภาพที่หมอเห็นคือ ลูกเดินมาจากห้องน้ำ เค้ายิ้มทักทาย และเรียกว่า “แม่”
และเดินกลับเข้าห้องไป ทำงานที่ครูให้ทำเป็นการไถ่โทษที่ทำผิด
.
ประเด็นคือ
1.เค้าคาดการล่วงหน้าได้อย่างไร ?
ครูคงผิดหวัง และตัวเองคงไม่สบายใจที่โกหก พรุ่งนี้ก็ต้องแก้ปัญหาใหม่ที่เกิดจากวันนี้
2. ความรู้สึกของคนอื่นที่ว่า “ผิดหวังในตัวเค้า” เค้าจะรู้ได้อย่างไร
3. สิ่งที่เค้าคาดคะเน อาจจะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงก็ได้
แต่เค้ารู้จัก สมมติเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เอามาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และเค้าเลือกทางที่คิดว่าได้ผลลัพธ์ดีกว่าสำหรับตัวเอง
.
ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ใ น เ ม ตต า ค อ ก นิชั่น (Metacognitive Experiences)
เป็นประสบการณ์ทาง
ความคิดหรือความรู้สึกที่มีต่อการใช้ “ปัญญา “ในการแก้ปัญหา และทำให้เกิดการกำกับตนเอง (Self-Regulation) นำไปสู่การกระทำที่ทำให้เกิดเป้าหมายที่เราต้องการ
.
เมตตาคอกนิชั่น.....
ไม่ได้โตเหมือนกับ น้ำหนักและส่วนสูง
และไม่สามารถ เปิดคอร์สสำเร็จรูป สอนให้เด็กมีเมตตาคอกนิชั่นได้ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในทุกๆวันของการเติบโต
เช่นกัน #ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร
นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง
อาจจะสร้างปัญหาให้ผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
สิ่งที่เราช่วยลูกได้
❤เติมประสบการณ์ดีๆให้แก่สมองลูก
❤อ่านหนังสือด้วยกัน หนังสือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ที่ทำให้เค้าเข้าใจผู้อื่น ผ่านเหตุการณ์ณ์ของตัวละคร
❤พาไปท่องเที่ยวเห็นสิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องหรูแต่ให้เห็นชีวิต เห็นสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
❤ประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำเอง และผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อมูลที่แม่นยำที่สุดที่คนๆหนึ่งจะใช้ในการประเมินตัวเอง ดังนั้น ปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเองให้มาก
❤รับฟังสิ่งที่ลูกคิด อย่างให้เกียรติว่าเค้าก็เป็นปัจเจก และปลูกฝังสิ่งดีๆจากการพูดคุยที่ให้เกียรติกัน ถ้าเราฟังลูก ลูกก็จะฟังเราอย่างเปิดใจ
ขอจบที่คำพูดของอาจารย์ประภาภัทร นิยม
“ทฤษฎี ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก ที่ได้อ่าน ได้รับรู้กันมากมาย ไม่ใช่เพื่อเอาไปคิด เอาไปเครียดว่าจะสอนลูกอย่างไรให้ได้ตามทฤษฎี แต่ให้รู้เพื่อให้วางใจได้ว่า เด็กเค้าเรียนรู้เองได้เองจริงๆ”
.
ทำยาก แต่จะพยายามค่ะ
.
หมอแพม
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
#สร้างพลังแห่งการฟื้นตัว
(Building Resilience: The power to cope with adversity)
.
เวลาลูกต้องผ่านเรื่องราวร้ายๆ
โดยที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจ
เหมือนเรื่องที่เป็นข่าวดัง ก่อนหน้านี้
พ่อแม่ส่วนใหญ่ มักจะกล่าวโทษตัวเอง
และจมอยู่กับความทุกข์เป็นเวลานาน
.
เมื่อเด็กเผชิญกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย
มิใช่แค่เด็ก ที่ต้องได้รับการเยียวยา
แต่ต้องเป็น พ่อแม่ และ เด็ก
.
เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้
อย่าจมปลักอยู่นาน ให้ focus ที่การแก้ปัญหา
.
มีวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับ
#การฟื้นตัวเมื่อต้องเจอกับความทุกข์
ในงานวิจัยเหล่านั้น ใช้คำว่า Resilience
ไม่มีคำแปลตรงตัว
แต่ Resilience คือ
ทักษะที่คนคนหนึ่งรับมือกับอุปสรรค ความทุกข์
และสามารถฟื้นตัวมาอยู่ในภาวะปกติได้เร็ว (The power to cope)
.
หมออ่าน และนำมาเรียบเรียง
ด้วยสำนวนตัวเองนะคะ
❤❤❤❤
👉How to build resilience?
3 ข้อ สำคัญสำหรับพ่อแม่
❤1. “ทั้งพ่อแม่และเด็กต่างก็มีจุดแข็ง”
คำถามนี้ทำให้เราได้ทบทวนว่า
คุณสมบัติใดในตัวเราเองที่เราชอบมากที่สุด
ในตัวลูกก็เช่นกัน หากเรายังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ให้นึกถึงเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมใดของลูกที่เราชอบมากที่สุด จุดแข็งของเราทุกคน มีความสำคัญ เพราะมักจะเป็นสิ่งที่เรานำมาใช้เมื่อเราเผชิญกับปัญหา
หากรู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร ลูกเป็นอย่างไร ก็สามารถส่งเสริม หรือแม้แต่การชื่นชมข้อดีของลูก
ก็สามารถสร้าง self-esteem ที่ดี คนที่มี self esteem ที่ดี จะสามารถผ่านพ้นเรื่องร้ายๆได้ดีกว่า
❤2. “ขณะนี้เราต้องการอะไรมากที่สุด” คำถามนี้เหมือนให้เราเรียงลำดับความสำคัญ
ว่าในขณะที่ปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในขณะนี้คืออะไร และเมื่อคลายปมแรกได้ ปมที่ 2-3-4 ถึงจะตามมา เช่น “อยากให้ลูกสภาพจิตใจดีขึ้นมากที่สุด” เมื่อเราได้สิ่งที่เราต้องการมากที่สุด วิธีที่จะทำให้สิ่งนั้นสำเร็จจึงตามมา เช่น เอาลูกออกมาจากสถานการณ์เลวร้าย แสดงให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างและจะไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้อีก พาไปพบจิตแพทย์เพื่อทราบแนวปฏิบัติที่สามารถฟื้นฟูจิตใจเด็กได้เร็วที่สุด เป็นต้น
❤3. “ดูแลตัวเองก่อน” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
หากเราไม่ดูแลตัวเอง
เราจะไม่สามารถไปดูแลคนที่เรารักได้
พ่อแม่ต้องรู้ว่า พลังใจที่ดี ต้องอยู่ในร่างกายที่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตาม เริ่มที่ดูแลตัวเองก่อน
พักผ่อนให้พอ กินอาหารที่ดี มีเวลาให้กับตัวเอง สำรวจพลังใจและพลังกายของตัวเองบ่อยๆ
==============================
❤HOW to raise a child to be resilient kid?❤
เราสามารถฝึกลูกให้เป็น Resilient child
ได้ในทุกๆวันที่ใช้ชีวิตด้วยกัน
👉1. สอนให้ลูกสามารถดูแลตัวเองให้เป็น: เงื่อนไขอย่างแรกของคนที่ก้าวผ่านอุปสรรคได้คือ
ต้องมีสุขภาพแข็งแรงก่อน และเค้าต้องมี sense ว่า “ฉันดูแลตัวเองได้” ดังนั้นการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามความสามารถของวัย #เป็นสิ่งสำคัญมาก ดูแลกิจวัตรตัวเอง อาบน้ำ แปรงฟัน ถอดเสื้อผ้า เก็บของใช้ของตัวเอง ช่วยงานบ้านที่ตัวเองทำได้ ฯลฯ
👉2. ชื่นชมข้อดี และความพยายามของลูก
เด็กแต่ละคน ทำสิ่งต่างๆได้ดีไม่เท่ากัน
ให้พ่อแม่มองเห็นข้อดี และชื่นชมสิ่งนั้น อย่างจำเพาะเจาะจง ชื่นชมอย่างระบุพฤติกรรม และชื่นชมที่ความพยายาม เมื่อเด็กรู้ว่ามีคนเห็นข้อดีของตัวเอง เค้าจะอยากทำดีเพิ่มขึ้น และข้อดีนั้น
จะเป็นทุ่น พาจุดด้อยอื่นๆลอยสูงขึ้นด้วย
👉3. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว
มนุษย์กล้าทำสิ่งต่างๆที่ยิ่งใหญ่
กล้าเผชิญกับอุปสรรค
เมื่อเรารู้ว่ามีคนอยู่เคียงข้าง
สายสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของเด็ก
คือ สายสัมพันธ์ในครอบครัว ข้อควรระวังคือ รักลูกก็ต้องแสดงออกให้เค้ารู้ว่าเรารักมากแค่ไหน
มิใช่ คิดว่าลูกรู้อยู่แล้วว่ารัก แล้วไม่ค่อยแสดงออก สิ่งที่แสดงออกมาเป็นสิ่งที่ลูกไม่ได้รับรู้ถึงความรัก
“รัก” ต้องเป็นคำกริยา มิใช่ คำนาม
👉4. อ่านหนังสือด้วยกัน
การอ่านหนังสือ นอกจากจะช่วยเรื่อง ภาษา ซึ่งสำคัญมากในกระบวนการคิดของมนุษย์
แต่การอ่านหนังสือกับลูก เป็นวิธีการสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
เป็นการแชร์เรื่องดีๆ ความคิด ความเชื่อ ของพ่อแม่ สู่ลูก โดยใช้หนังสือเป็นตัวเชื่อม
นอกจากนั้น การอ่าน เหมือนการให้ประสบการณ์สำเร็จรูป ไปสะสมในสมองของลูก
เมื่อถึงวันที่เผชิญปัญหา ประสบการณ์ที่สะสมไว้ในสมอง จะถูกดึงมาใช้ได้ดีกว่า
👉5. สร้างทักษะทางสังคม
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเพื่อน (ก้าวก่ายให้น้อย) เพื่อฝึกแก้ปัญหา
หากเกิดปัญหา เราสามารถสอนลูก
โดยยกเหตุการณ์นั้นๆได้
ทำอย่างไรที่จะรักษาน้ำใจเพื่อน
ทำอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้ง
ประสบการณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งมีค่ายิ่งกว่าความรู้ในตำรา เมื่อลูกต้องใช้ชีวิตในสังคม
👉6. ฝึกให้ลูกรู้จักสะท้อนอารมณ์
เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอารมณ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ
แต่ทักษะการจัดการอารมณ์ เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกทำให้เป็น ทำให้คล่อง
ก่อนจะจัดการอารมณ์ได้ ลูกต้องตระหนักรู้ก่อน ว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่าอะไร
ตอนเค้าเด็กๆ ให้พ่อแม่พูดถึงอารมณ์ที่ลูกเป็น หนูกำลังหงุดหงิด หนูเสียใจใช่มั้ย
เมื่อเค้าเข้าใจตัวเอง ให้ “ฟัง” โดยใช้ใจฟัง ให้เข้าถึงอารมณ์ลูก
เด็กที่เข้าใจอารมณ์ตัวเอง เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์ เค้าจะรู้วิธีออกมาจากอารมณ์ลบได้ดีกว่า
==========
หมอแพม
อยากเรียนการเขียนอย่างไรให้สั้นอยู่เหมือนกันค่ะ😅
(Ref: Masten, A. (2001). Ordinary magic: Resilience
processes in development. American Psychologist,
56, 227–238.)
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 Peanut Butter Youtube 的最佳解答
คลิปวันนี้มาแบบสบายมากๆ และยาวสะใจมาก 555555 ทำงานอ่านหนังสือเป็นเพื่อน 1 ชั่วโมงเต็มเลยค่ะ มีเพลงคลอให้ด้วยยย แต่ถ้าใครไม่ชอบสามารถลดเสียงได้นะคะ??
?Find me more?
IG : https://www.instagram.com/peanut.bt
Facebook : https://www.facebook.com/peanut.butterstation/Contact for Work : [email protected]
#อ่านหนังสือ #studywithme #สอบ
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 วันนี้ ConNEXT มีแพลตฟอร์มดี ๆ มาแนะนำ ที่จะเป็นตัวช่วยคลายเหงา ... 的必吃
โดยจะมีเพื่อน ๆ จากทั่วโลกมานั่งอ่านหนังสือกับเราด้วย . ลักษณะจะคล้ายกับคลิป Study with me ใน Youtube ที่ทุกคนคุ้นเคยกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ในเว็ปไซต์นี้ ... ... <看更多>
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 Study with Me! 5 ช่อง YouTube คลายเหงา มีเรานั่งเรียนเป็นเพื่อน 的必吃
... Study With Me ฟีลบรรยากาศนั่งเรียนด้วยกัน เผื่อจะมีสมาธิมากขึ้น ... แต่ละคลิปก็จะมีความยาวเป็นชั่วโมงๆ เลย เพราะถ้าเรานั่งอ่านหนังสือ ... ... <看更多>
อ่านหนังสือด้วยกัน 在 study with me! รวมช่องทางหาคนอ่านหนังสือเป็นเพื่อน 的必吃
วันนี้ Hotcourses Thailand จะพาไปรู้จัก influencers ด้านการอ่าน การเรียน การทำการบ้านกันค่ะ ไปดูกันว่าจะมาคนไหนน่าไปนั่งอ่านหนังสือด้วยบ้าง ... ... <看更多>