#ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน
#นิทานเยียวยาทุกอย่าง
.
ถ้ามีคนถามว่า
“จำเป็นต้องอ่านนิทานตอนก่อนนอนมั้ยคะ อ่านเวลาอื่นได้มั้ยคะ”
หมอคงต้องตอบว่า “ไม่จำเป็นค่ะ..อ่านเวลาไหนก็ได้
อ่านเวลาที่เรากับลูกพร้อมอ่านด้วยกันค่ะ”
.
แต่ถ้าจะบอกว่า หมอชอบอ่านเวลาไหน หมอก็คงต้องบอกว่า
“การอ่านนิทานก่อนนอน” เป็นช่วงเวลาที่พิเศษของบ้านนี้ค่ะ
เหตุผลคือ
♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡
👉1.#อ่านนิทานก่อนนอนด้วยกัน_ช่วยเยียวยาความบาดหมาง
แม้กลางวัน เราจะเล่นบทนางยักษ์ แม่มด หรือ เล่นบทนางเย็นชากับลูก
ยิ่งช่วงเรียนออนไลน์ด้วยแล้ว บางคนต้องรับบท ครูไหวใจร้าย
แต่ไม่เป็นไร.....
ถ้าเราได้อ่านนิทานด้วยกัน มันจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
เคยมั้ย ที่ดูหนังสักเรื่อง ตอนกลางเรื่อง เรานั่งหลับ
แต่ตอนท้ายเรื่อง ฉากมันประทับใจ มันโดนใจ เราจะออกมาจากโรงหนัง
แล้วจะจำว่า หนังเรื่องนี้สนุก
กับอีกเรื่องหนึ่ง เปิดเรื่องสนุก กลางเรื่องตื่นเต้น แต่ตอนจบขัดใจ
กลายเป็นเรารู้สึกว่า หนังมันไม่สนุก
(ดีมาตั้งเป็นชม. 20 นาทีสุดท้ายห่วย ก็กลายเป็นห่วยทั้งเรื่อง)
สมองมนุษย์เป็นเช่นนี้แหละค่ะ....
เรามักพุ่งความสนใจอย่างเข้มข้นที่ช่วงสุดท้าย
สมองของเราและลูกๆของเราก็เช่นกัน
แม้กลางวัน จะมีเรื่องที่ขัดใจกันบ้าง
แต่เวลา #อ่านหนังสือด้วยกัน จะเป็นช่วงท้ายของวัน
ที่สมองจะประมวลผลว่าวันนี้ #ผลประกอบการทางอารมณ์เป็นอย่างไร
แน่นอน เหตุการณ์ก่อนที่จะหลับ ก็เหมือนฉากจบในหนัง
สมองให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
อีกเหตุผลที่ ความบาดหมางทั้งปวงจะหายไปในช่วงนี้
เราไม่สามารถเอาอารมณ์ที่ขุ่นมัว พกมาด้วยตอนได้อ่านนิทานเด็กสนุกๆ
ถ้าเมื่อไหร่ที่เราสามารถ อ่านมี้จังให้ลูกสนุกได้ แปลว่าเรื่องที่โกรธกัน..หายไปแล้ว
และแล้ว เมื่อนิทานจบลง
เราก็จะลืมไปแล้วว่าตอนเย็นตวาดลูกเรื่องอะไร
ลูกก็ลืมไปแล้วว่า...เค้าทุกข์แค่ไหนตอนถูกแม่ดุ
เพราะตอนนี้ เค้ารับความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน ได้อ่านหนังสือด้วยกัน
และจดจำมันว่าเป็นวันแห่งความสุขอีกวันหนึ่ง
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■
👉2. #เตรียมสมองเพื่อเข้าสู่ขบวนการตกผลึกความรู้
สมองต้องการเวลาในการตกผลึก
การที่เราอยู่ในสภาวะผ่อนคลายก่อนนอน เป็นสิ่งสำคัญมาก
หากใครเคยดูการ์ตูนเรื่อง inside out คงนึกฉากที่ไรลีย์นอนหลับ
เจ้าของสมองนอนหลับ แต่สมองยังทำงาน
ช่วงที่เรานอนหลับ
เป็นช่วงที่สมองจะประมวลสิ่งที่ได้รู้มาในแต่ละวัน
แยกหมวดหมู่ แยกประเภทตามการเชื่อมโยงเดิม
ภาษาสมองเรียกการทำงานแบบนี้ว่า การตกผลึก (consolidation)
การได้อ่านนิทานการนอนกับลูก
เชื่อมโยงกับการที่พ่อแม่สร้างอุปนิสัยที่ดีในการนอน
กล่าวคือ ทำเป็นแพทเทิร์นเดิมๆซ้ำๆในเวลาเดิม
อาบน้ำ มารอที่เตียง แม่อ่านหนังสือด้วยกัน เข้านอนแล้ว
การทำเช่นนี้
เป็นการส่งสัญญาณให้สมองเข้าสู่กระบวนการตกผลึก
หลับด้วยสภาวะอารมณ์ที่ผ่อนคลาย
หลับอย่างมีคุณภาพ....ทำให้ข้อมูลที่ได้ในวันนี้
เป็นฐานในการเรียนรู้ต่อในวันพรุ่งนี้
กลับกัน
ต่อให้กลางวัน ลูกได้เรียนรู้มากแค่ไหน
ครูติวได้มาก พ่อแม่สอนเนื้อหาได้ตามเป้า
แต่เค้าเข้านอนด้วยความรู้สึกขุ่นมัว หรือเวลานอนไม่เพียงพอ
ก็ยากนักที่สมองจะจัดเรียงสิ่งที่เรียนรู้ในวันนั้นได้
ดังนั้น อย่าลืมสร้างอุปนิสัยที่ดีในการเข้านอนให้ลูกด้วยนะคะ
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■
👉3.#อ่านนิทานก่อนนอน_เด็กรับรู้ข้อมูลในคลื่นสมองที่เหมือนกับนั่งสมาธิ
หลายๆคนแปลกใจที่ลูกจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในนิทานได้แม่น
แม้ว่าตอนที่เราอ่าน เหมือนเค้าจะเคลิ้มๆ
จนเราไม่แน่ใจว่าได้ยินสิ่งที่เราอ่านรึเปล่า
หรือ คิดว่าลูกเคลิ้มใกล้หลับแล้ว แต่พออ่านผิด หรืออ่านข้าม
เจ้าตัวกลับท้วงซะอย่างนั้น
เพราะอะไร?
ช่วงเวลาก่อนเข้านอน เมื่อร่างกาย และจิตใจได้ผ่อนคลาย
คลื่นสมองจะปรับความเร็วลดลง
ตอนกลางวัน
คลื่นสมองมีความถี่สูง (beta) เพราะเราตอบสนองได้ไวต่อสิ่งแวดล้อม
แต่เมื่ออยู่ในภาวะเคลิ้ม เกือบหลับ คล้ายกับอยู่ในภวังค์
คลื่นสมองจะลดความถี่ลง
เรียกว่าคลื่น แอลฟา ( 9-13 เฮิร์ท) และ ธีต้า (4-8 เฮิร์ท)
ซึ่งคลื่นสมองที่ช้าลงนี้ เป็นคลื่นสมองเหมือนเวลาที่เราทำสมาธิ
โดยเฉพาะคลื่นธีต้า ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำสมาธิได้ในระดับลึก
ร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง แต่จะ focus กับสิ่งที่กำลังจดจ่อ
#ตอนที่เด็กเคลิ้ม_สมองจดจ่อกับเสียงแม่ที่เล่านิทาน
เสียงเล่านั้น จะไปเชื่อมโยงกับคลังภาพ
สมองในคลื่นแอลฟาและธีต้า
เชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก...ซึ่งเป็นคลังแห่งจินตนาการ
คุ้นมั้ยคะ?
ความสุข สมาธิ และจินตนาการ คือปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้สูงสุด
■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡■♡
👉4.#เวลาแห่งความผูกพันธ์ที่จะตราตรึงในใจลูกไปตลอดชีวิต
ไม่จำเพาะแค่ก่อนนอน (ความสม่ำเสมอคือหัวใจของทุกสิ่ง)
แต่การอ่านหนังสือให้ฟังทุกวัน
ทำให้อย่างน้อย
ในแต่ละวัน เรามีเวลาให้ลูกอย่างแท้จริง
โดยที่ไม่มีสื่อ ไม่มีมือถือ ไม่มีเรื่องงานมากวน
เป็นเวลาที่มีค่าสำหรับชีวิตลูกมาก
นี่คือสายสัมพันธ์ที่เราสร้าง เป็นโซ่คล้องใจ
แม้ว่าต่อไปเค้าจะต้องไปเผชิญกับเรื่องเลวร้าย
บางครั้งหนทางมันมืดมน จนมองไม่เห็นทางกลับ
แต่เค้าจะมีสายสัมพันธ์นี้ให้เค้ายึดและ #สาวกลับมาบ้านของหัวใจเค้าจนได้
ไม่เกิน 10 ปี ที่ลูกจะเรียกร้องเวลานี้จากเรา
แค่วันละไม่เกิน 30 นาที แต่เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในชีวิต
ขึ้นอยู่กับเราแล้ว ว่าเราจะทำหรือไม่ทำ
■♡■♡■♡□♡□♡□♡■♡■♡■♡
👉5. #อ่านหนังสือให้ฟังเท่ากับฝึกปรือทักษะในการอ่านโลกให้กับลูก
เวลาเราอ่านนิทาน เกิดอะไรขึ้นระหว่างนั้น
ลูกได้ฟังเหตุการณ์ที่มีปัญหา
มีความรู้สึก มีทางแก้ไข มีจุดคลี่คลายสถานการณ์
ลูกเกิดคำถาม ซึ่งบางครั้ง คำถามนั้น พาเราหวนคิดถึงตัวเอง
บางครั้ง พาไปยังบทสนทนาที่ลึกซึ้งระหว่างแม่ลูก แน่นอน เราได้ปลูกฝังค่านิยมของเราแก่ลูกผ่านบทสนทนานั้น
บางครั้ง เราได้ฟังคำถามที่เฉียบแหลม
จนเราต้องคิดว่า ลูกคิดเช่นนี้ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
บางครั้ง เรื่องราวหรือตัวละครในนิทาน
ก็เชื่อมโยงเรากับลูก เพราะได้ผ่านเหตุการณ์เดียวกัน
บางที ถึงกับมีรหัสลับร่วมกัน....เราจะหัวเราะคิกคักด้วยกันทุกทีเมื่อเราได้ใช้มัน
เวลา ที่มีความสุขแค่ไม่ถึงชั่วโมงต่อวัน ระหว่างเรากับลูก
ก่อร่างสร้างตัวเป็นความคิด เป็นประสบการณ์สะสม
เป็นทัศนคติในการมองโลกของลูก
ใช่แล้วค่ะ...อ่านหนังสือด้วยกัน คือการสอนให้ลูกอ่านโลก
.
ช่วงเครียดจากการเรียนออนไลน์ ยิ่งต้องอ่านนิทานกับลูกค่ะ
แล้วจะพบว่า อ่านนิทาน เยียวยาทุกอย่างจริงๆนะ
.
หมอแพม...ชวนมาอ่านกันค่ะ
#ส่งเสริมการอ่าน
「ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน」的推薦目錄:
- 關於ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 หมอแพมชวนอ่าน - #ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน ... - Facebook 的評價
- 關於ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 หนังสือนิทานมีประโยชน์อย่างไร : รู้เท่าทันสื่อ (3 พ.ย. 61) - YouTube 的評價
- 關於ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 10 สุด ยอด นิทานก่อนนอน的推薦,YOUTUBE和 網路上有這些評價 的評價
ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 หนังสือนิทานมีประโยชน์อย่างไร : รู้เท่าทันสื่อ (3 พ.ย. 61) - YouTube 的必吃
ข้อมูลจากกรมอนามัยบอกไว้ว่า การ ที่พ่อแม่เล่า นิทาน ให้ลูกฟัง ก่อนนอน นั้น เป็นการพัฒนาไอคิวและอีคิว ของ เด็กได้เป็นอย่างดี ... ... <看更多>
ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน 在 หมอแพมชวนอ่าน - #ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน ... - Facebook 的必吃
ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน #นิทานเยียวยาทุกอย่าง . ถ้ามีคนถามว่า “จำเป็นต้องอ่านนิทานตอนก่อนนอนมั้ยคะ อ่านเวลาอื่นได้มั้ยคะ” หมอคงต้องตอบว่า... ... <看更多>