คนเราไปทำงานที่ใต้ทะเลลึกนานๆได้อย่างไร
มี 1 คำถามที่น่าสนใจครับ เนื่องจากการทำงาน Offshore จะมีงานบางส่วนที่ต้องไปทำงานใต้ทะเลที่ระดับความลึกมาก (ที่ดำเล่นๆ SCUBA นั้นไปที่ระดับความลึกราวๆ 18-35 เมตร ไม่เกินนี้ครับ) แต่คนที่ดำน้ำทำงานตรงนี้จะลงลึกกว่านี้มาก คือลงไปถึงที่พื้นทะเล (sea floor) เท้าแบบว่าแตะถึงพื้นครับ และ จำเป็นต้องอยู่ที่ระดับความลึกนั้นค่อนข้างนานมาก
คำถามคือ เขาทำได้อย่างไร
อ่าวไทยมีความลึกโดยเฉลี่ย 60-70 เมตร ดังนั้นตัวเลขนี้คือระดับความลึกที่นักดำน้ำจะลงไป โดยนักดำน้ำกลุ่มนี้จะเรียกว่า Commercial diver คือคนที่ดำน้ำเป็นอาชีพ ไม่มีการเรียนการสอนในเมืองไทย ใกล้สุดที่เรียนได้คือที่สิงค์โปร์ และเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถือว่าท้าทายและมีความเสี่ยงพอสมควรครับ เพิ่มเติมข้อมูลครับ เนื่องจากอ่าวไทยเราถือว่าไม่ลึกมาก ในพื้นที่ offshore บางแห่งเช่นใน อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico) ความลึกอาจจะไปได้ถึง 200-300 เมตร เลยทีเดียว
กลับมาที่อ่าวไทย การทำงานที่ระดับความลึก 60-70 เมตร มีความแตกต่างจากการดำน้ำสันทนาการมากครับ โดยปกติถ้าดำน้ำแบบสนุก เราก็แค่ขึ้นเรือออกไปกลางทะเลแล้วก็โดดลงทะเล อยู่ในน้ำนานประมาณ 35 - 45 นาที ก็ขึ้นมาพักน้ำ แล้วก็ลงไปดำใหม่อีกครั้ง โดยอิงตามปริมาณก๊าซไนโตรเจนที่เหลืออยู่ในร่างกาย (วัดจากตารางดำน้ำหรือจาก dive computer) วันหนึ่งดำน้ำอย่างมากสุดก็ 3-4 dive ... อันนี้คือเรื่องราวของ SCUBA diving ครับ ต่อไปจะเป็นเรื่องของ SAT diving
SAT diving ย่อมาจาก Saturation Diving คำว่า Saturation คือ สภาวะที่ร่างกายเรามีความดันภายในเซลล์ของร่างกายเรา มีค่าเท่ากับความดันย่อยของก๊าซที่เราหายใจเข้าไป (พูดไปแล้วอาจจะลง ให้มองภาพแบบนี้ครับ เหมือนกับเราเอาขวดน้ำเปล่าปิดฝาดำลงไปในน้ำครับ ลงไปลึกๆ ขวดน้ำก็จะบู้บี้หมด เพราะความดันรอบตัวนั้นสูงกว่าความดันภายในขวดนั้นน้อยกว่า ความดันในขวดก็ให้คิดภาพมันคือความดันย่อยของก๊าซที่อยู่ภายในเซลล์ของร่างกายนั่นเอง)
ที่นี้ทำไม เราต้องทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะ saturation ก่อน เพื่อจะลงไปดำน้ำลึกๆขนาดนั้น คำตอบก็คือ เนื่องจากการลงไปทำงานในแต่ละครั้งนั้นมีระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน คือเป็นชั่วโมง อาจจะนานได้ถึง 8 ชั่วโมง และเป็นความลึกถึง 60-70 เมตร การที่ร่างกายเราอยู่ในสภาวะ saturation จะทำให้ร่างกายเราสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะเช่นนี้
โดยหลักการทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะ saturation ได้ ก็คือ การให้นักดำน้ำคนนั้นไปอยู่ในสถานที่ๆภายในมีความดันอากาศเท่ากับความดันเป้าหมายเลย เช่น ถ้าจะไปทำงานที่ความลึก 60 เมตร เราก็พานักดำน้ำไปอยู่ใน chamber ที่ข้างในมีเตียง มีโต๊ะ มีทีวี มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอยู่ รวมถึงห้องน้ำ โดยภายใน chamber จะค่อยๆมีการปรับความดันอากาศตลอดเวลา นักดำน้ำที่กำลังจะเริ่มต้นไปดำน้ำ SAT diving เขาก็ต้องมาใช้ชีวิตในห้อง ก่อนเข้าห้อง chamber เขามีความดันในร่างกายเท่ากับพวกเรา แต่หลังจากที่เท้าเขาเข้าห้องไปแล้วผ่านไป 1 วัน ความดันในร่างกายเขาจะค่อยๆสูงขึ้น จนถึงเป้าหมายเท่ากับความลึกของระดับพื้นทะเลที่เราจะไปครับ ซึ่งห้องนี้มีชื่อเรียกว่า Living Chamber
หลังจากที่อยู่ใน Living Chamber ได้จนถึงจุดที่เหมาะสม นักดำน้ำก็จะถูกส่งลงไปใต้ทะเลโดยใช้ทุ่น ไม่ได้ดำลงไปเองนะครับ ในทุ่นนั้นก็จะเป็นห้องที่ไม่ต่างจาก chamber ครับ มีท่อสายอากาศ มีช่องทางการติดต่อกับคนบนบก โดยทุ่นอันนี้มีชื่อเรียกว่า Diving bell ซึ่งภายใน Bell ก็จะมีความดันมากกว่าความดันที่ก้นทะเลเล็กน้อย เพื่อให้เวลานักดำน้ำเปิดประตูที่พื้น Bell เวลาออกไปทำภารกิจ น้ำจะไม่ทะลักเข้ามาข้างใน หลังจากนั้นนักดำน้ำก็จะออกไปทำภารกิจจนสำเร็จแล้วก็จะกลับมาที่ Bell แล้วก็ถูกลากขึ้นกลับมาที่เดิม และกลับมาต่อกับ Living Chamber ปรับความดันจนเข้าที่ ก่อนที่นักดำน้ำคนนั้นจะออกกลับมาใช้ชีวิตในโลกภายนอกอีกครั้ง โดยในทุกๆกิจกรรมล้วนใช้เวลาทั้งสิ้น เพราะต้องรอให้ก๊าซต่างๆที่ละลายอยู่ในเนื้อเยื่อถูกขับออกไปจนหมดก่อนครับ
โดยชุดที่นักดำน้ำ SAT Diver ใส่ จะไม่ใช่ wet suit หรือ dry suit แบบ SCUBA ที่เรารู้จักกัน แต่จะเป็นชุดที่เรียกว่า Hot suit เนื่องจากชุดนี้จะมีพื้นที่วางให้สามารถอัดน้ำอุ่นเข้ามาในชุดได้ เพื่อรักษาอุณหภูมิให้กับนักดำน้ำ ซึ่งจะสามารถควบคุมอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิน้ำในสภาพแวดล้อม
อากาศที่ใช้ในการดำเนินภารกิจทั้งหมด ใช้ Heliox คือ เป็นส่วนผสมของ Helium กับ Oxygen ซึ่งก๊าซอันนี้จะมี Helium เป็นส่วนประกอบ 70%-90% และมี Oxygen อยู่ประมาณ 10%-20% แล้วแต่จุดประสงค์ของความลึกที่จะไปครับ (อากาศที่เราหายใจมี Oxygen 21% ไนโตรเจน 78% อื่นๆ 1%) การที่มี Helium ในสัดส่วนที่สูง จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะน้ำหนีบ (Decompression Sickness) ได้ และ ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะออกซิเจนเป็นพิษ (Oxygen Toxicity) ได้ เพราะสัดส่วนของออกซิเจนน้อยกว่าอากาศปกติ
เดี๋ยวไว้ผมจะมาต่อเรื่อง โรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับการทำ Saturation diving ครับ
ภาพ Creative Common
「oxygen toxicity」的推薦目錄:
oxygen toxicity 在 Kwang ABnormal Facebook 的最佳貼文
มุมมองคมๆ และทฤษฎีลึกๆเกี่ยวกับโรค ออกซิเจนเป็นพิษ (Oxygen Toxicity) จากคุณครูสอนดำน้ำของผมครับ ไว้มีโอกาศจะเชิญตัวเป็นๆมา Live มอบความรู้กัน ว่า Oxygen มันเป็นพิษได้ยังไง Jakkapong Sreprasom #oxygenเป็นพิษ #KwangABNewSingle