รู้จัก Gojek ขุมพลังความสำเร็จของ GET ในประเทศไทย /โดย ลงทุนแมน
ข่าวใหญ่ล่าสุดในแวดวงธุรกิจ Delivery วันนี้
ก็คือ GET กำลังจะเปลี่ยนชื่อแบรนด์ตัวเองเป็น Gojek
รู้หรือไม่ว่า.. ที่มาของชื่อแบรนด์ใหม่นี้
เป็นการนำชื่อบริษัทแม่ในประเทศอินโดนีเซียมาใช้
โดยบริษัทนี้เป็น สตาร์ตอัพ ระดับยูนิคอร์น แห่งแรกในประเทศอินโดนีเซีย
และใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี ก้าวขึ้นสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์รายใหม่ของอินโดนีเซียเป็นที่เรียบร้อย
โดยมีมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 3 แสนล้านบาท
เทียบเท่าธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศไทย เลยทีเดียว
หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า Gojek คือใคร แล้วมีจุดเริ่มต้นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า..ประชากรในประเทศอินโดนีเซีย ใช้ชีวิตบนท้องถนนติดอันดับต้นๆ ของโลก
โดยค่าเฉลี่ย 1 คนจะเสียเวลาไปกับรถติด 47 ชั่วโมงต่อปี
โดยเมืองที่รถติดมากที่สุดก็คือ จาการ์ตา
ปัญหาระดับชาตินี้ก็เลยทำให้คุณ Nadiem Makarim หนุ่มชาวอินโดนีเซียวัย 35 ปี
เล็งเห็นแนวทางบรรเทาปัญหาให้กลายเป็นโอกาส
ทำให้เขาคิดจะเป็น “คนกลาง” ให้ วินมอเตอร์ไซค์ กับผู้โดยสารที่รีบเร่ง ได้เจอกัน
และด้วยโมเดลธุรกิจนี้ ก็คือที่มาของชื่อบริษัทด้วยเทคนิคการผสมคำ
Ojek ภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า “วินมอเตอร์ไซค์”
Go ภาษาอังกฤษที่แปลว่า “ไป”
เมื่อมารวมคำกันคือ Gojek โดยธุรกิจเริ่มต้นปี พ.ศ. 2553
ที่เป็นการตั้งศูนย์บริการเรียกวินมอเตอร์ไซค์ผ่าน Call Center
โดยในช่วงเริ่มต้นมีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ให้บริการ (ojek drivers) แค่ 20 คน
ในเวลาต่อมา เมื่อมีคนใช้บริการมากขึ้น เขาก็รับรู้ถึงจุดอ่อนโมเดลธุรกิจนี้
นั้นคือมีต้นทุนสูงเพราะต้องจ้างพนักงาน Call Center และยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ
อีกทั้งยังพบว่าเกิดปัญหาในการใช้บริการทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้เรียกใช้บริการและคนขับขี่มอเตอร์ไซค์
และที่สำคัญที่สุด Gojek มองว่าสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ได้อีก
จึงเริ่มนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาที่ท้าทายและข้อจำกัดต่างๆ ในธุรกิจนี้
ในขณะที่ผู้คนในประเทศอินโดนีเซียก็เริ่มเข้าถึงการใช้งาน Internet บนมือถือมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้ในปี พ.ศ. 2558 ทางบริษัทตัดสินใจเปิดตัว App ที่ชื่อว่า Gojek
ที่ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนับล้าน
เพราะนอกจากจะมีบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์และรถแท็กซี่
ก็ยังมีบริการส่งอาหาร สิ่งของต่างๆที่เรียกว่าบริการ GoSend
และบริการไปซื้อสินค้าตามออเดอร์ที่เราต้องการตามร้านค้าต่างๆ เรียกว่าบริการ GoMart
หลายคนคงไม่คิดว่า
ต่อมาบริการทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 2 ล้านคน
สร้างเศรษฐกิจใหม่ให้แก่คนในประเทศอินโดนีเซียจำนวนมหาศาลที่ส่วนใหญ่ยังมีฐานะไม่ค่อยดีนัก
โดยผู้ขับขี่ Gojek จะมีรายได้เฉลี่ย 5 ล้านรูเปียห์ ซึ่งคิดเป็น 10,700 บาท ต่อเดือน
มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่ 2.6 - 3.6 ล้านรูเปียห์ ซึ่งคิดเป็น 5,600 - 7,600 บาท ต่อเดือน (มากน้อยตามแต่ละจังหวัด)
ที่น่าสนใจคือในเวลาต่อมา Gojek ยังพัฒนาบริการใหม่ๆ ใส่ลงไปใน App ตัวเองมากมาย
โดยปัจจุบันมีมากกว่า 20 บริการใน App เดียว เช่นบริการที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
บริการความบันเทิง streaming, บริการชำระเงิน เป็นต้น
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ก็เลยทำให้ Gojek กลายเป็น Super App ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย หากอยากใช้บริการอะไรที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ตัวเอง ก็จะนึกถึง App Gojek เป็น App แรกและ App เดียว
ผลที่ตามมาก็คือ Gojek จึงมีรายได้เติบโตทุกปี
และได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เช่น Google และ Tencent รวมถึงนักลงทุนรายใหม่ล่าสุดอย่าง Facebook
พอได้เงินทุน ก็เลยทำให้บริษัทมีทรัพยากรในการขยายธุรกิจไปประเทศต่างๆ
โดยในแต่ละประเทศ จะมีชื่อแบรนด์และบริการที่แตกต่างออกไป
เช่น สิงคโปร์ ชื่อแบรนด์ Gojek ในประเทศไทย ชื่อแบรนด์ GET ในเวียดนาม ชื่อแบรนด์ GoViet
โดยหลักการบริหารของ Gojek คือ
จะเลือกให้คนในประเทศนั้นๆ เป็นผู้บริหารระดับสูงสุด
ซึ่งนับเป็นวิธีคิดที่น่าสนใจ เพราะพฤติกรรมคนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
การใช้คนในประเทศนั้นๆเข้ามาบริหารก็เพื่อทำให้บริการเหมาะสมกับพฤติกรรมคนในประเทศนั้น
สิ่งที่ต้องติดตามต่อจากนี้เมื่อ GET เปลี่ยนชื่อเป็น Gojek
นอกจากผลดีคือสร้างภาพจำให้แบรนด์ชื่อเดียวเหมือนกันหมดทุกประเทศ
ในประเทศไทย เราก็อาจเห็น Gojek เพิ่มบริการใหม่ๆ เข้ามาอีกมากมายใน App ตัวเองให้กลายเป็น Super App เหมือนในอินโดนีเซีย
ซึ่งเรื่องนี้น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะจริงๆแล้วถ้าวัดกันที่ชื่อชั้นในระดับโลก Gojek มีศักยภาพไม่แพ้ Grab ในบ้านเรา ทั้งในเชิงจำนวนผู้ใช้งาน และเงินที่ระดมทุนได้
แม้ว่าศึกครั้งนี้ คงยังหาบทสรุปไม่ได้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ
แต่ที่แน่ๆ ต่อจากนี้ไปศึก Super App ในไทยน่าจะลุกเป็นไฟ
และคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ “ผู้บริโภค” นั่นเอง..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bbc.com/thai/thailand-39038498
-https://www.salika.co/2019/10/02/gojek-superapp-insight/
-เอกสารข่าว บริษัท เก็ท ประเทศไทย จำกัด
「delivery แปลว่า」的推薦目錄:
- 關於delivery แปลว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於delivery แปลว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於delivery แปลว่า 在 DADDY on DUTY Facebook 的最佳解答
- 關於delivery แปลว่า 在 Contactless (delivery) แปลว่าอะไร - Facebook 的評價
- 關於delivery แปลว่า 在 English Which One? Ep.13: DELIVER แปลว่าอะไรบ้าง - YouTube 的評價
- 關於delivery แปลว่า 在 คำศัพท์พื้นฐาน Facebook Ads ที่ควรรู้ Part 1 - w experience 的評價
delivery แปลว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
COVID-19 จะเป็นตัวเร่งให้เกิด TOUCHLESS SOCIETY /โดย ลงทุนแมน
เมื่อก่อน ถ้าเห็นใครใช้ข้อศอกกดลิฟต์ เราคงมองว่าคนนั้นแปลก
แต่อาการแปลกๆ นี้ กำลังจะกลายเป็นเรื่องปกติ
จากการระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ COVID-19
ทำให้หลายคนไม่สัมผัสกับของสาธารณะ
เพราะเราไม่รู้เลยว่า ของใช้เหล่านี้ได้ผ่านมือใครมาแล้วบ้าง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลูกบิดประตู เสา หรือที่จับในรถไฟฟ้า หรือแม้แต่โต๊ะเก้าอี้ตามที่สาธารณะ
ต่อจากนี้ไป จะกลายเป็นสิ่งที่เราลังเลที่จะสัมผัส
ปากกาที่เราต้องใช้เซ็นชื่อเวลาจ่ายบัตรเครดิตหรือธนาคาร
บัตรโดยสารรถไฟฟ้าแบบเที่ยวเดียว บัตรจอดรถ หรือบัตรในศูนย์อาหารที่ถูกใช้วนกันมาแล้วไม่รู้กี่มือ
หรือแม้แต่ของส่วนตัวบางอย่างที่เคยยื่นให้กันอย่างไม่คิดอะไร อย่างหูฟัง หรือ ขนมกินเล่น
ตอนนี้เราก็อาจจะต้องคิดแล้วคิดอีกว่าควรจะแบ่งให้ หรือรับมาจากคนอื่นหรือไม่
และหนึ่งในของที่ใกล้ตัวเรามากสุดก็คือ “เงินสด”
โดยบางงานวิจัยระบุว่า ธนบัตร 1 ใบ มีแบคทีเรียสะสมมากกว่า 2.6 หมื่นตัวเลยทีเดียว
ดังนั้น ธนบัตรจึงถือเป็นแหล่งกำเนิดโรคได้อย่างดีเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม เรื่องทั้งหมดนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการล้างมืออย่างถูกวิธี
จากสถิติแล้ว การล้างมืออย่างถูกต้อง
สามารถลดจำนวนคนท้องเสียได้ 23-40%
สามารถลดการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดได้ 16-21%
และสามารถลดการป่วยจากระบบทางเดินอาหารในเด็กได้ 29-57%
ดังนั้น ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดนี้ จึงมีการเตือนให้ประชาชนล้างมือบ่อยๆ
และทำให้ เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ กลายเป็นสิ่งที่ต้องติดอยู่ในกระเป๋า
ซึ่งแม้ว่าการล้างมือให้สะอาดจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
แต่ถ้าเลือกได้ หลายคนก็คงเลือกที่จะไม่สัมผัสสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ต้นเลยน่าจะดีกว่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้
เทรนด์ Touchless Society หรือสังคมไร้การสัมผัส
จึงอาจกลายเป็นเทรนด์ที่คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจ
แล้วโลกแบบ Touchless Society จะเป็นอย่างไรบ้าง?
เริ่มจากเราคงเห็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น
ประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ รวมถึงชักโครกอัตโนมัติ
เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ร่างกายของเราไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
ซึ่งเรื่องนี้คงทำให้เทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก
รวมถึงเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง ก็จะได้รับความนิยมเช่นกัน
สำหรับในธุรกิจภาคบริการ ก็อาจจะต้องหาวิธีมารองรับ
เพื่อให้ลูกค้ามีการ “สัมผัส” น้อยที่สุด
ยกตัวอย่างแอปพลิเคชันส่งอาหารบางแพลตฟอร์ม ก็เริ่มมีตัวเลือกการ Contactless Delivery
โดยเป็นการให้คนส่งอาหารวางอาหารไว้ในจุดรับ-ส่งของเลย เพื่อเลี่ยงการสัมผัสกับคนขับโดยตรง
สำหรับสิ่งของจำพวกสารพัดบัตร
ไม่ว่าจะเป็นบัตรจอดรถ บัตรโดยสาร บัตรศูนย์อาหาร หรือบัตรสะสมแต้ม
รวมถึงการเซ็นชื่อ เพื่อยืนยันตัวตน เช่น เวลาทำธุรกรรมทางการเงิน
ก็จะเปลี่ยนให้มาเชื่อมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือใบหน้าแทน
โดยตัวเรา หรือโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องสัมผัสอะไรเลย
Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ตามมา
เพราะจริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นเรื่องใหม่
ทั้งการใช้ E-Wallet หรือการสแกน QR Code
และต่อไปการชำระเงินด้วยระบบ Facial Recognition ก็อาจได้รับความนิยมมากขึ้น
ไม่ใช่แค่ความสะดวก แต่เพราะเป็นเรื่องของสุขอนามัยด้วย
แปลว่า เราน่าจะมีเงินสด บัตรต่างๆ ทั้งบัตรสมาชิก บัตรสะสมแต้ม ติดตัวน้อยลง
และกระเป๋าเงินอาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป เพราะทุกอย่างสามารถทำผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออัตลักษณ์ตัวตนของเราเอง
จากเดิม Touchless Society น่าจะเป็นเทรนด์ระยะยาวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แต่ในตอนนี้ดูเหมือนว่า COVID-19 จะเร่งให้มันเกิดขึ้น “ทันที” ในตอนนี้
ทุกอย่างบนโลกจะถูกทำให้เป็นระบบไร้สัมผัสอย่างรวดเร็ว
และต่อไป ไม่แน่ว่า รุ่นหลานเราในอนาคต อาจเดินเข้ามาถามว่า
ลูกบิดประตู คืออะไร?
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://vibhavadi.com/health697
-https://www.cdc.gov/handwashing/why-handwashing.html
delivery แปลว่า 在 DADDY on DUTY Facebook 的最佳解答
EP4 : ‘กลับไปหาคำตอบที่ออสเตรเลีย ว่าฝรั่งไม่ได้เก่งกว่าเรา ทำไมรายได้มากกว่าเรา 10 เท่า’
เด็กรุ่นผม ใครจบนอก มันดูดี ..หางานง่าย ...แต่เอาตรงๆ ทุกวันนี้ไม่ใช่ละ ...เรื่องนี้ไม่ใช่แต้มต่ออีกต่อไป ...ยุคนี้ แต้มต่อ คือ ‘นิสัยแตกต่าง จากคนส่วนใหญ่’ นั่นแหละ แต้มต่อของคนทุกยุคทุกสมัย
ผมกลับไปออสเตรเลียอีกครั้ง เพื่อจะหาคำตอบ ครั้งนี้ผมไปในฐานะนักศึกษาปริญญาโท
...ผมยังคงใช้หลักการเดิม คือ
- เลือกมหาวิทยาลัยที่เข้าง่ายที่สุด จบเร็วที่สุด
- มีความยืดหยุ่นในการเรียน เพราะ เป้าหมายผมไม่ใช่การเรียน แต่ผมจะหางานทำ
ตอนที่เคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่นี่ ผมไม่ได้ทำงาน Part-time ก็เลยไม่รู้จักที่นี่จริงๆ
ใช่!! จะบอกว่า ‘ใครอยากรู้จักประเทศไหนแบบลึกซึ้ง ต้องลอง หาเงินจริงๆ ในประเทศนั้น ...คุณจะเข้าใจจริงๆ’
ท่ามกลางความสวยงามของออสเตรเลีย พอทำงานจริง ผมพบว่า เป็นประเทศที่โหดมาก
- กฏระเบียบในการเริ่มธุรกิจยากมาก ...มันไม่เหมือนบ้านเรา ที่ทุกคนสามารถเอาโต๊ะไปตั้งหน้าบ้านแล้วเริ่มขายก๋วยเตี๋ยว
- ผมเรียนรู้อันนี้แบบตรงๆ คือ ผมไปเช่าบ้าน ในแถวที่มีบ้านคนอยู่ แล้วเริ่มลองทำอาหาร Delivery ...ผลคือ มีคนไปแจ้งว่า คนเอเชีย มาทำสกปรก ต้องเลิกทำไปตามระเบียบ ...ครั้งนั้นเสียค่าเช่าบ้านฟรี , ซื้อรถเก่าๆ มาก็สอนให้ผมรู้ว่า รถมือสอง ค่าซ่อมแพงกว่าค่ารถ , อุปกรณ์ทำครัว ทำอาหาร หมดไปหลายหมื่น ขายไม่ได้เลย ...เฮ้ย!! ผมรู้เลยว่า ธุรกิจจริง กับ การมโน ของเด็ก มันห่างไกลกันมาก
- ถ้าจะเทียบ ผมก็คือ Start-Up ยุคนั้น แล้วมั่วชิบหาย อยู่คนเดียว ...โชคดีของ Start-Up ยุคนี้ คือ มีผู้ใหญ่ คอยสนับสนุน ให้เงิน ให้ประสบการณ์ ...แต่มันก็ไม่ง่ายอยู่ดี
- ผมไม่เข็ด ...คราวนี้ ผมไปหาว่า มีร้านอาหารไทยที่ไหนประกาศขายบ้าง ...ไปเจอร้านนึงขายถูกมาก ...แต่ผมไม่มีเงินพออยู่ดี ก็เลยไปคุยกับเจ้าของร้านว่า ผมขอเช่าร้านบางส่วนได้ไหม ? ...ตอนแรกก็คิดว่า คงไม่ได้ ...สรุปว่า ได้ครับ ...ผมเริ่มทำร้าน แบบที่แทบจะไม่ต้องลงทุนเลย เพราะ ของและอุปกรณ์ทำกับข้าว ผมมีแล้ว ....ลุย!!
- 6 เดือนแรก ใช้ไปกับการฝึกงานร้านอาหาร ..อีก 3 เดือน ใช้ไปการมโน สร้างร้าน Delivery ...จากนั้น ก็ถึงเวลาเริ่มขายอาหารจริงๆ
- ทำไป 3 เดือน ปัญหาเกิด ...คือ มีปัญหากับ เจ้าของร้านเดิม ...ตอนนั้นผมรู้สึกเครียดมากเลย คิดว่า ทำไมเราต้องมาเจอเรื่อง เจอปัญหา แถมยังต้องเรียนหนักด้วย รถก็เสียประจำ บางครั้งเปิดร้านช้า (เปิดๆ ปิดๆ) กรูทำอะไรวะเนี่ย ? ...ร้านก็ขายไม่ดี (ถ้าดี เจ้าของเดิมจะประกาศขายถูกๆ ทำไมล่ะ?)
- ช่วงนั้นพยายามหาทางออก ไปเจอว่า มีร้านอีกแห่ง ประกาศขาย อยู่เมืองชายทะเล ที่ห่างจากที่ผมอยู่ประมาณ 6 ชั่วโมง ...เยี่ยม!! ผมว่า นั่นแหละ ต้องเป็นทางออกของชีวิต
- ผมตัดสินใจ ขับรถ ไปวันนั้นเลย 6 ชั่วโมง ไปถึงร้านนั้น ...เจ้าของร้านนี้ บอกว่า ถ้าอยากได้ ขอให้มัดจำก่อน เพราะ มีคนต่างชาติอีกคนมาดูแล้วสนใจมาก แต่เขาอยากขายผม ดูเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีไฟ ...เอา!! ผมตัดสินใจ เอาเงินค่าเทอม มามัดจำร้านใหม่ทันที
เรื่องบ้าๆ นี่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ตั้งแต่เหยียบขามาถึง ออสเตรเลีย ผมก็ทำเรื่องต่างๆ ไว้มากมาย อยู่ไม่ถึงปี แกว่งเท้าหาเสี้ยนได้ขนาดนี้เลยหรือ ?
ผมจดประสบการณ์ที่ได้ออกมาเป็นข้อๆ ก็พบว่า ‘ฝรั่งไม่ได้เก่งกว่าเรา แต่เขาได้เงินมากกว่าเรา 10 เท่า’
มันมี 2 ส่วน คือ หนึ่ง ปัจจัยภายนอก อันนี้คือ ส่วนที่เราควบคุมไม่ได้ ก็ระบบของประเทศเขาเอื้อให้หาเงินได้เยอะกว่า เราทำอะไรไม่ได้ (เราเลยเห็นบางคนบินไปทำงานเก็บเงินต่างประเทศ แล้วมาเกษียณเมืองไทย ก็เพราะต้องการได้ประโยชน์ตรงนี้แหละ)
สอง ‘ปัจจัยภายใน’ (อันนี้ตัวเราล้วนๆ เราปรับปรุงได้) มีดังนี้
1. ‘คนที่ทำงานหาเงินเร็วกว่า จะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ได้เร็วกว่า’
2. ‘ใส่ใจกับการเพิ่มความรู้และประสบการณ์ จะทำให้โอกาสหาเงินเรากว้างขึ้น’
3. ‘ไม่ดูถูกงาน’ ...งานที่ต่ำต้อย ส่วนใหญ่ คือ จุดเริ่มต้น หรือ ประตูไปสู่งานดีๆ โอกาสที่ยอดเยี่ยม ...ถ้าเราลดตัวต่ำไม่ได้ เราก็กระโดดสูงไม่ได้
4. ‘เก็บเงินในรูปสินทรัพย์’ ...คนออสเตรเลียจะมีพอร์ตเกษียณ ที่สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ ทำให้คนของเขาพอเกษียณแล้วมักจะมีเงิน เพราะ สินทรัพย์เหล่านี้ มันโตขึ้นเรื่อยๆ ...บ้านเราจริงๆ ก็เริ่มมี RMF/LTF แต่น้อยคนที่ลงทุน เพราะ ไม่เข้าใจว่า มันคือ เคล็ดลับที่ทำให้รวยได้
5. ‘การย้ายที่อยู่เป็นเรื่องปกติ’ ...บางครั้ง การออกจากทางตันของชีวิต อาจจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การย้ายบ้าน ...ที่นั่น เป็นเรื่องปกติ และ ทำได้ง่าย
6. ‘ผู้ใหญ่ไม่อายที่จะกลับไปเรียนใหม่’ ...หลายๆ คนเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนงาน ก็กลับไปเรียนใหม่
7. ‘สังคมเขาเป็น DIY’ คือ ทำอะไรต่างๆ ด้วยตัวเองเยอะมาก ...ทำให้คนเขามีความรอบรู้ ...คนที่นั้นหลายๆ คนสร้างบ้านเอง ...ต่อเติมเอง ...สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินทรัพย์อย่างบ้าน ด้วยตัวเอง
8. ‘เรียนรู้การใช้เครื่องทุ่นแรง และ เทคโนโลยี’ ...ชัดๆ คือ ฝรั่งจะเรียนรู้การใช้เครื่องทุ่นแรงทุกรูปแบบ ...ตรงนี้มันเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน ...ดังนั้น การทำงานให้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน ฝรั่งจะใช้ทั้งคน และ เวลาต่ำกว่าเรา
9. ‘มีการเปลี่ยนมือในอสังหาเยอะมาก’ ...ในออสเตรเลียจะมี Realestate Agent หรือ นายหน้าซื้อขายอสังหา เยอะกว่า 7-11 แปลว่า เขาเรียนรู้ที่จะซื้อขาย แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มในอสังหา ซึ่งปกติเป็นสิ่งที่คนรวยเท่านั้นที่รู้ ....แต่ที่นั้น ใครๆ ก็รู้
10. ‘สังคมที่เรียนรู้เร็วจากข้อผิดพลาด’ ...คนเก่ง คือ คนที่ผิดพลาดเยอะๆ ...พ่อแม่ฝรั่งเขาให้ลูกออกไปสู้ชีวิตเองให้เร็ว ก็เพื่อการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดแล้วยืนได้ด้วยตัวเอง ให้เร็วที่สุด
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
delivery แปลว่า 在 English Which One? Ep.13: DELIVER แปลว่าอะไรบ้าง - YouTube 的必吃
EP 13คำศัพท์ประจำสัปดาห์ คือคำว่า “DELIVER” มาดูกันว่าคำ ๆ นี้จะมีความหมายสักกี่คำ และมีความหมายว่าอะไรบ้างนอกจากการส่งของ delivery แล้ว ... ... <看更多>
delivery แปลว่า 在 คำศัพท์พื้นฐาน Facebook Ads ที่ควรรู้ Part 1 - w experience 的必吃
เช่น ถ้าคุณกำหนด Budget ในระดับ Campaign วันละ 250 บาท แปลว่าทั้ง Campaign ... (Bidding) และการปรับให้เหมาะสมและการแสดงโฆษณา (Optimization & Delivery). ... <看更多>
delivery แปลว่า 在 Contactless (delivery) แปลว่าอะไร - Facebook 的必吃
คำศัพท์ใหม่ปี2021 ep3. Contactless (delivery) แปลว่าอะไร สนใจเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัวกับเราสอบถามรายละเอียด คลิกเลย https://bit.ly/3d8bVFy ... <看更多>