27 พ.ย. 63 เริ่มกลับมายกเวท หลังพัก2เดือน เอ็นไหล่อักเสบ (Rotator cuff tendinitis) #ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「rotator cuff tendinitis」的推薦目錄:
- 關於rotator cuff tendinitis 在 KaiPasit - ไก่ภาษิต Facebook 的最佳解答
- 關於rotator cuff tendinitis 在 Goodhealth สุขภาพดีอย่างมีกึ๋น Facebook 的精選貼文
- 關於rotator cuff tendinitis 在 ชุมชนคนสร้างซิกแพ็ค sixpackclub.net Facebook 的精選貼文
- 關於rotator cuff tendinitis 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於rotator cuff tendinitis 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於rotator cuff tendinitis 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於rotator cuff tendinitis 在 Rotator Cuff Injuries: Treating Shoulder Tendinitis, Strains or ... 的評價
rotator cuff tendinitis 在 Goodhealth สุขภาพดีอย่างมีกึ๋น Facebook 的精選貼文
ไหล่ติด (Frozen shoulder)
คุณรู้ไหมว่ารักษาได้ง่ายและเร็วกว่าที่คิดไว้หาก หาวินิจฉัยและคำตอบเจอ
หลายคนน่าจะเคยเป็น อาจจะเกิดจากการบิดผิดท่า เอี้ยวหยิบของหลังรถ หิ้วของหนัก ล้มกระแทกมือยันพื้น ใช้คอมนานๆ ทำงานบ้าน
Frozen shoulder มี 2 ระยะใหญ่ๆ
1. ระยะปวด ทรมานมาก
2 ระยะติด ตามหลังระยะปวดมา ไม่ปวดแล้วแต่ไหล่จะติดใช้งานไม่ได้ถนัด
บางคนถึงกับ หวีผมไม่ได้ เป่าผมไม่สะดวก ยกแขนไม่ขึ้น เสียบุคลิกขาดความมั่นใจ
ถ้าทิ้งไว้ ตามหนังสือบอกว่าหายได้เองใน 2 ปี แต่ต้องทำกายภาพร่วมด้วย
สมัยเรียน Rehab ก็อ่านเจอแบบนั้นค่ะ
ท่าต่างๆที่ให้บริหารเช่น pendulum exercise ไต่กำแฟง ชักรอก
พบว่าถ้าในช่วงปวดได้รับการดูแลกายภาพมากพอร่วมกันการให้ยา และป้องกันการติด การกายภาพบำบัดในระยะติดจะง่ายกว่ามาก
สาเหตุส่วนใหญ่ก็จะพบว่ามี
1.เอ็นอักเสบ (rotator cuff tendinitis, adhesive capsulitis)
2. กล้ามเนื้ออักเสบ (Myofascial pain syndrome)
3. ข้อเสื่อม osteoarthritis (พบน้อยกว่า)
การรักษากล้ามเนื้อที่ยึดอักเสบที่ส่งผลให้พิสัยข้อยึดติดนั้นทำให้อาการไหล่ติดทุเลาลงได้เร็วกว่าการทำกายภาพบำบัดหรือยืดเพียงอย่างเดียว
การทำ trigger point injection ตามจุดกล้ามเนื้อที่ยึดเกร็ง สามารถคืนความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อได้ในทันใด แต่จะทิ้งความระบมกล้ามเนื้อไว้บ้างเพือให้ร่างกายได้ healing ตามธรรมชาติ การยืดเหยียดหลังการรักษาด้วยเข็มนั้นสามารถทำให้พิสัยข้อเพิ่มมากขึ้นได้อย่างชัดเจน หลายๆเคสที่ได้รักษากันก็พบว่าคุณภาพชีวิตดีเร็วหายก่อนระยะ2ปี (เฉลี่ย 2เดือน)
ข้อห้ามของการรักษาด้วยเข็ม
-กินยาสลายลิ่มเลือดเลือดออกง่าย
-กลัวเข็มมากๆ
-แพ้ยาชา
วิธีการบริหารข้อไหล่ง่ายๆ
1.pendulum exercise
2 towel exercise
3 finger walk
4 cross body reach
5. Armpit stretch
6. Outward rotation
7. Inward rotation
ท่าที่1-5
ทำ 5-10 ครั้ง จะค้างไว้ 10-15วินาทีหรือมากกว่านั้นก็ได้
ท่าที่ 6-7 ทำ 10ครั้ง 3 set ทุกวัน หรือเท่าที่ได้
หากออกกำลังกายแล้วมีอาการเจ็บมากขึ้นแนะนำให้พบแพทย์นะคะ
Cr ขอบคุณภาพจาก website harvard medical school
rotator cuff tendinitis 在 ชุมชนคนสร้างซิกแพ็ค sixpackclub.net Facebook 的精選貼文
#อาการบาดเจ็บที่มาจากการออกกำลังกาย
ถ้าเราไม่ออกกำลังกายจนเจ็บ เราก็ไม่ได้มาซึ่งสุขภาพดี จริงหรือ? (คล้ายๆ No pain No gain)
หลายคนคงได้ยินวลีที่ว่า "No pain No gain" กันบ้างแล้ว ถ้าจะแปลตรงตัวก็แปลว่า ถ้าไม่เจ็บ ก็ไม่เกิดการพัฒนา จนวลีนี้เป็นเป็นวลียอดฮิตของใครหลายคนที่เริ่มต้นออกกำลังกาย ฮึดสู้เพื่อสิ่งที่ดีงาม รวมทั้งคนที่เป็นนักกีฬาชื่อดังก็ยังใช้วลีนี้เป็นคติประจำใจ เพื่อสร้างกำลังใจให้ตนเอง
แน่นอนว่าเป็นแรงจูงใจที่ดีไม่น้อยเลยล่ะ แต่ในบางกลุ่มกลับใช้คำนี้ในทางที่ฝืนๆอยู่เยอะมาก แม้กระทั่งออกกำลังกายจนกระทั่งเจ็บตัวเช่นกัน
เอาล่ะ...วันนี้จะมาอธิบายการเจ็บจากการออกกำลังกายกันค่ะ ว่าอาการบาดเจ็บที่นิยมมักจะเจ็บตรงไหนบ้างที่เกิดขึ้นเนื่องจากการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา
1. ข้อเท้าแพลง (Ankle Sprain)
- อาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเท้าพลิก จนทำให้เอ็นช่วยยึดกระดูกระหว่างข้อเท้ากับกระดูกขาเกิดอาการยึดตึงเกินปกติหรือฉีกขาด เมื่อเกิดข้อเท้าแพลง จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวช่วงข้อเท้าได้ตามปกติ
- สามารถเกิดได้ทั้งกับนักวิ่งบนลู่และนักวิ่งนอกอาคาร เพราะทันทีที่เราละการจดจ่อจากการเคลื่อนไหว อาจเผลอลงน้ำหนักหรือวางเท้าในองศาที่ผิดธรรมชาติได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตเส้นทางอยู่ตลอดเวลา หรือหากชอบวิ่งชิลๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
2. สะบ้าอักเสบ (Patellar Tendinitis)
- โรคเอ็นสะบ้าอักเสบ เกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นที่ยึดกระดูกตั้งแต่บริเวณสะบ้าไปจนถึงบริเวณหน้าแข้ง ซึ่งทำหน้าที่ควบคู่ไปกับกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า ทำให้สามารถงอหรือยืดเข่าได้ โดยมักเกิดในนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังกระโดดอยู่เสมอ เช่น นักบาสเก็ตบอล นักวอลเลย์บอล
- เป็นอาการที่พบบ่อยจากการวิ่ง กระโดด และทําท่าสควอต วิธีป้องกันคือการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต้นขาส่วนหน้า (Quadriceps Muscle) ให้แข็งแรง ด้วยท่าง่ายๆคือ นั่งบนเก้าอี้แล้วเหยียดขาออกขนานกับพื้น จากนั้นลดขาลง ทําพร้อมกันทั้งสองข้างหรือสลับทําทีละข้างก็ได้
3. กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Sprint)
- อาการบาดเจ็บบริเวณด้านในของหน้าแข้งพบมากในนักวิ่งและคนที่ออกกําลังกายท่ากระโดดหรือกระทบกระทั่งอย่างหักโหม มักจะบาดเจ็บช่วงสันหน้าแข้ง (Tibialis Anterior)
- ดังนั้นสําหรับคนที่ชอบออกกําลังกาย ไม่ควรเพิ่มความเข้มข้นและความถี่ของกิจกรรมทันทีทันใด จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บประเภทนี้ได้
อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จากการออกกําลังกายส่วนใหญ่มาจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
4. ปวดหลังช่วงล่าง (Lower Back pain)
- อาจมาจากการทําท่า Squat และท่า Deadlift หรือท่ายกเวตต่างๆ ที่ผิดวิธี ดังนั้นจึงควรจัดท่าทางให้ถูกต้อง เริ่มแรกอาจลอง Workout หน้ากระจกเพื่อสังเกตตัวเองก่อนก็ได้
5. เอ็นหัวไหล่บาดเจ็บ (Rotator Cuff tear)
- อาการสำคัญ มักจะปวดเวลานอน โดยเฉพาะตอนนอนตะแคงทับ ปวดเวลายกแขนขึ้นหรือลงในบางท่า อาจมีอาการอ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ เสียงเสียดสีในขณะขยับบางท่าของไหล่
- พบบ่อยในผู้ที่ชอบว่ายน้ำ ขว้างลูกบอล ยกน้ำหนัก หรือทํากิจกรรมที่ต้อง ชูมือเหนือศีรษะส่วนใหญ่มาจากการทําท่าทางดังกล่าวซ้ำๆ จึงควรหลีกเลี่ยง หากยกเวตก็ควรเลือกน้ำหนักที่พอเหมาะ ไม่ฝืนจนเกินไป
6. กล้ามเนื้อหน้าอกบาดเจ็บ (Chest Muscle pain)
- อาจจะเกิดระหว่างการนอนยกน้ำหนักบนม้านั่ง (Bench Press) หรือการใช้น้ำหนักมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหน้าอกฉีกขาดได้ จึงควรแน่ใจทุกครั้งว่าเลือกน้ำหนักที่สามารถยกไหวและควบคุมได้ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บ
- ถ้ายังไม่มั่นใจอย่าเพิ่งใช้ 1RM (One Repetition Maximum เป็นการยกได้หนักสุด สูงสุดตลอดช่วงการเคลื่อนไหว) เป็นวิธีใช้ในกลุ่ม Bodybuilder เท่านั้น เพราะในบุคคลทั่วไปเสี่ยงอันตรายมากๆ ทำให้เสี่ยงบาดเจ็บง่าย
7. เอ็นข้อศอกอักเสบ
- อาจเป็นได้ทั้งเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (Tennis Elbow) เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis พบในคนที่เล่นเทนนิส แต่ออกกำลังกายที่เน้นจุดนั้นก็มีสิทธิ์บาดเจ็บได้ และเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ (Golfer Elbow) การอักเสบบริเวณด้านในข้อศอก (medial epicondylitis) ของกลุ่มกล้ามเนื้อ flexor group โดยมักเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพียงเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรตามปกติทำให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น แล้วเกิดการอักเสบในที่สุด
- เมื่อเริ่มมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ด้านหน้าลงมาถึงช่วงต้นแขน และอาจเลยมาจนถึงข้อศอก อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ วิธีป้องกันคือ ออกกําลังกายให้หลากหลายและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องทําท่าทางซ้ำๆ เพื่อลดการบาดเจ็บในกล้ามเนื้อส่วนนั้น
.
แล้วเราจะลดอาการบาดเจ็บเหล่านี้ได้ยังไง?
1. ควรมีเวลาให้พัก
- ถ้าคุณอยากให้กล้ามเนื้อพัฒนาควรพัก การเล่นซ้ำก็สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้ายังมีอาการบาดเจ็บอยู่ จะเป็นการทำลายกล้ามเนื้อ ไม่ได้สร้างพัฒนาการเลย
- ถ้าเริ่มมีอาการบาดเจ็บอย่าฝืนเล่น เพราะยิ่งฝืนเล่น จะยิ่งเจ็บเพิ่มขึ้น เช่น เจ็บช่วงเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ (Tendon) เอ็นที่เป็นกล้ามเนื้อกับกระดูกหรือระหว่างกระดูก (Ligament) หรือเจ็บจากเส้นประสาทบางส่วน แม้กระทั่งกระดูกก็ควรพักเพื่อรักษาตัว
- ควรพักขั้นต่ำ 3 วัน ถ้ายังไม่หายเจ็บดี ให้พักต่อไปจนกว่าจะหายครับ ปกติประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ทุเลาควรไปพบแพทย์
2. เมื่อพักแล้ว มันต้องดีขึ้นแน่นอน
- หลังจากพักหายดีแล้ว พอกลับไปออกกำลังกายอีกครั้ง เราจะรู้สึกได้ทันทีว่าแข็งแรงขึ้น ไม่เจ็บเหมือนเดิม และออกกำลังกายได้มากกว่าเดิม
- ขอแค่อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะเป็นใครก็ต้องเจ็บเป็นธรรมดา เราแค่กลับมาเพื่อให้เวลาพักกับตัวเอง แล้วค่อยไปลุยต่อ
- อย่าคาดหวังสูง กดดันตัวเองจนเกินไปว่าจะต้องเป็นแบบนี้ ให้เน้นความพอดีๆ แต่สม่ำเสมอแทน เราจะประสบความสำเร็จในการออกกำลังกาย เพราะว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว สุขภาพที่แข็งแรงเช่นกัน
3. รู้จักวิธีปฐมพยาบาล
- รู้จักวิธีปฐมพยาบาลถือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่เกิดอาการบาดเจ็บจะต้องหยุดวิ่งเพื่อพักทันที เพราะจะทำให้อาการบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้นได้
- ทำการประคบเย็นโดยใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง หลังเกิดการบาดเจ็บประมาณ 15 นาที พักหยุด 10 นาที ภายใน 1 ชั่วโมงแรก
- รัดด้วยผ้ายืด(Bandage) อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันอาการชาและไม่ให้บวมมากขึ้น
- ถ้ามีอาการบาดเจ็บรุนแรงแล้วหลังปฐมพยาบาลยังไม่ดีขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
4. อย่าลืม Warm Up กับ Cool Down
- ควรให้เวลาในการ Warm Up เพื่อเป็นการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวหรือ Range Of Motion และเพื่อเตรียมสภาพกล้ามเนื้อเพื่อลดการบาดเจ็บ
- การ Warm Up เป็นการอบอุ่นร่างกายเพื่อให้พร้อมก่อนที่จะออกกำลังกาย ซึ่ง Static Stretching หรือแบบนิ่งอยู่กับที่ ควรทำในแต่ละท่าท่าละ 30-45 วินาที และ Dynamic Stretching หรือเป็นแบบเคลื่อนที่ 5-10 นาที
- การ Cool Down เป็นการฟื้นตัวสภาพร่างกายหลังการออกกำลังกาย เพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ให้ทำแบบ Static Stretching ในแต่ละท่าค้างไว้ 5-10 นาที
5. ปรับเทคนิคการเล่น
- การเล่นเวทเทรนนิ่งจะต้องล็อกสะบัก(Scapula) เพื่อให้ท่าทางของหลังตรง ไม่เกิดช่วงโค้งของสันหลัง จะได้ไม่ต้องเจ็บช่วงหลังส่วนล่างมากเกินไป และควรงอเข่า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บช่วงเอ็นข้อเข่าไม่ให้ฉีกขาดหรือเกิดการอักเสบ
- ถ้ารู้สึกหน้ามืดเกินไปขณะออกกำลังกาย ให้นั่งพักเพื่อให้ตัวเองได้ผ่อนคลาย แต่ถ้าไม่ทุเลาควรหยุดออกกำลังกายทันทีเพื่อความปลอดภัย จนกว่าจะดีขึ้นจนสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
- การปรับในเทคนิคกีฬาขึ้นอยู่กับทักษะกีฬานั้นๆ ควรปรับเทคนิคการเล่นเพื่อประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาดีขึ้น ลดผลกระทบการบาดเจ็บที่เกิดจากเทคนิคผิดพลาดได้
ทุกๆ บทเรียนย่อมต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดอยู่เสมอ แต่เราไม่จำเป็นต้องดันทุรังให้เจ็บเลย ถ้าเรารู้จักถนอมตัวเอง นึกถึงสมดุลของตัวเองให้เป็น เรามีสิทธิ์เลือกที่จะไม่เจ็บก็ได้ ถ้าเรารู้จักที่จะเล่นให้เป็น รู้จักที่จะลดความเสี่ยงของตนเอง แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องมีความคิดให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของตนเองมากที่สุด เพราะว่าการที่เราไม่เจ็บ เราสามารถออกกำลังกายได้ต่อเนื่องขึ้น ตามวลีนี้ว่า "No Pain You Gain" ไม่เจ็บตัว ย่อมเกิดขึ้นดีกว่า แล้วเราจะสนุกไปกับมัน จริงไหม?
♥️
rotator cuff tendinitis 在 Rotator Cuff Injuries: Treating Shoulder Tendinitis, Strains or ... 的必吃
The rotator cuff is made up of muscles and tendons to fuse together to surround the shoulder joint. Wear and tear over the years leads to ... ... <看更多>