พลานุภาพของเกม กับพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2021
.
หลังจากที่เตรียมการมานานหลายปี ผ่านการตัดสินใจอย่างยากลำบากที่จะเลื่อนออกไปหนึ่งปีเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในที่สุดมหกรรมการแข่งขันกีฬานานาชาติ โตเกียวโอลิมปิก 2021 ก็เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564
.
พิธีเปิดครั้งนี้มีไฮไลท์ที่น่าจดจำมากมาย แม้ว่าบนอัฒจันทร์จะว่างเปล่าปราศจากคนดู เนื่องด้วยมาตรการเคร่งครัดช่วงโควิด-19 แต่ในบรรดาไฮไลท์ทั้งหมดนั้น ไม่น่ามีอะไรที่ทำให้คอเกมตื่นเต้น ตื้นตัน และประทับใจเท่ากับการบรรเลงเมดเลย์ดนตรีประกอบจากเกมยอดนิยมของญี่ปุ่น เป็นเซาน์ด์แทร็กประกอบการเดินพาเหรดเข้ามาในสนามของทัพนักกีฬาจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมชิงชัยในโตเกียวโอลิมปิก
.
ย้อนกลับไปที่พิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อน ห้าปีที่แล้วในกรุง ริโอ เดอ จาไนโร เมืองหลวงบราซิล ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทำเซอร์ไพรส์คนดูทั้งสนามด้วยการแต่งตัวเป็น ซุปเปอร์มาริโอ พระเอกจากซีรีส์เกมยอดฮิตของค่ายนินเทนโด รับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไป
.
จากจุดนั้นคงไม่มีใครสงสัยว่า “เกม” จะเป็นส่วนสำคัญของพิธีเปิดโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ แต่ไม่มีใครคาดคิดว่า เจ้าภาพจะ “จัดเต็ม” ขนาดนี้
.
พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2021 ในโตเกียว ไม่มีมาริโอแล้ว (และก็ไม่มีเกมไหนสักเกมจากค่ายนินเทนโดด้วย) แต่เราได้ยินดนตรีประกอบคุ้นหูในเกมชื่อดังของแดนอาทิตย์อุทัยอย่างเต็มอิ่มสิบกว่าเกม และเมดเลย์นี้ก็ไม่ได้มาเล่นๆ แต่ถูกเรียบเรียงและบรรเลงโดยวงออเคสตราเต็มวง และเกมที่เลือกดนตรีมาเล่นนั้นก็ครอบคลุมประวัติศาสตร์เกม ตั้งแต่ Gradius เกมตู้ชื่อดังปี 1985 กว่าสามทศวรรษที่แล้ว เรื่อยมาจนถึงเกมสมัยใหม่อย่าง NieR และ Monster Hunter ในศตวรรษที่ 21
.
การประพันธ์เพลงและดนตรีประกอบเกมแบบ “จัดเต็ม” เป็นส่วนสำคัญของวงการเกมญี่ปุ่นมาช้านาน เกมเมอร์จำนวนมากเป็นแฟนพันธุ์แท้ของนักประพันธ์ดนตรีประกอบเกมชื่อดัง คอยติดตามผลงานอย่างติดหนึบไม่แพ้เพลงของนักร้องคนโปรด และในญี่ปุ่นเองก็มีการจัดคอนเสิร์ตดนตรีประกอบเกม (ดูแหล่งข้อมูลเช่น https://ultimatepopculture.fandom.com/wiki/Orchestral_Game_Music_Concerts) มาแล้วหลายครั้ง
.
แต่แน่นอนว่า การใช้ออเคสตราบรรเลงเมดเลย์ที่เรียงร้อยดนตรีประกอบเกม 14 เกม ต่อหน้าผู้ชมผ่านจอหลายล้านคนทั่วโลก ในพิธีเปิดมหกรรมการแข่งขันที่โด่งดังที่สุดของมวลมนุษยชาติ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ ต้องนับเป็นจุดสูงสุดครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์เกมเลยทีเดียว
.
ด้วยความที่ญี่ปุ่นคือญี่ปุ่น จะทำอะไรต้องผ่านการคิดใครครวญอย่างรอบคอบมาก่อนเสมอ เราลองมาไล่เรียงดนตรีจากเกมแต่ละเกมที่เลือกมาบรรเลงออเคสตราในพิธีเปิดโอลิมปิกกัน (ฟังเรียงเพลงได้จาก https://www.classicfm.com/discover-music/periods-genres/video-game/tokyo-2020-opening-ceremony/)
.
(ตัวเลขในวงเล็บ บอกลำดับของการเล่นเพลงนั้นๆ ในพาเหรดนักกีฬา)
.
1. Dragon’s Quest – Overture: Roto’s Theme (1)
เมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาเปิดฉากด้วยเพลงติดหู Roto’s Theme จากเกม Dragon Quest ภาคแรก และธีมนี้ก็ปรากฎในเกมทุกเกมในซีรีส์เดียวกัน เพลงนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ เชิดชูฮีโร่ เสียงกลองปลุกความฮึกเหิม สมกับใช้เปิดฉากพาเหรดนักกีฬาโอลิมปิก
.
2. Final Fantasy - Victory Fanfare (2), Main Theme: Prelude (13)
เพลงหลักสองเพลงในซีรีส์ Final Fantasy ที่คุ้นหูคอเกมเป็นอย่างดี โนบูโอะ อุเอมัตสึ ผู้ประพันธ์ Main Theme: Prelude เคยให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าทั้งชีวิตของเขาจะมีคนจำผลงานเขาได้เพียงชิ้นเดียว เขาอยากให้เป็น Prelude นี่เอง เพลงเพราะเพลงนี้ครบเครื่องทุกรสชาติ ทั้งฮึกเหิม บุกตะลุย เศร้าโศก โรมานซ์ และอ้อยอิ่ง เหมือนกับทั้งเรื่องราวในซีรีส์เกมมหากาพย์ และเรื่องราวความเป็นมนุษย์ที่ฉายผ่านโอลิมปิกเกมส์
.
เวอร์ชันที่เลือกมาเรียบเรียงและให้ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิกมาจาก Final Fantasy VII เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในซีรีส์ และดังนั้นจึงน่าจะติดหูคนมากที่สุด
.
3. Tales Of Zestiria - Sorey's Theme (The Shepherd) (3), Royal Capital ( 8 )
โมโตอิ ซากุราบะ นักประพันธ์ดนตรีประกอบเพลง อยู่เบื้องหลังเพลงติดหูในซีรีส์เกมมากมาย อาทิ Dark Souls, Mario Golf และ Star Ocean แต่ผลงานที่สร้างชื่อให้กับเขาที่สุดคือดนตรีประกอบซีรีส์ Tales จากค่าย Bandai Namco ด้วยความไพเราะและ “จัดเต็ม” เหมาะกับการเล่นแบบออเคสตราเต็มวง
.
4. Monster Hunter - Proof of Hero (4), Wind of Departure (9)
ธีมหลักของเกมซีรีส์ Monster Hunter ทุกเกม ปลุกเร้าให้ตื่นเต้น ฮึกเหิม และลุ้นระทึกในคราวเดียว บรรเลงระหว่างการต่อสู้กับสัตว์ประหลาดและเตรียมตัวก่อนออกเดินทางไปผจญภัย เฉกเช่นนักกีฬาที่กำลังจะเข้าสู่สังเวียนประลองกำลัง
.
5. Kingdom Hearts - Olympus Coliseum (5), Hero’s Fanfare (15)
ดนตรีบรรเลงจากสนามกีฬาโอลิมปิกในเกม Kingdom Hearts เกมแรก (และก็ใช้ในเกมต่อๆ มาในซีรีส์นี้ด้วย) นับว่าเหมาะเจาะกับพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์โดยไม่ต้องตีความใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อ โยโกะ ชิโมมูระ ผู้ประพันธ์เกมนี้ นำแรงบันดาลใจจากกรีกโบราณมาใช้ในการรังสรรค์ผลงานชิ้นนี้
.
6. Chrono Trigger - Frog's Theme (6), Robo’s Theme (10)
เชื่อว่าคอเกมรุ่นเก๋าหลายคนน่าจะได้น้ำตาซึมเมื่อได้ยินดนตรีจาก Chrono Trigger เกม JRPG คลาสสิกขึ้นหิ้ง บรรเลงคลอพาเหรดนักดนตรี หลายคนคงหวนนึกถึงตอนที่เจอ Frog (กบ) อัศวินร่างกบที่เราได้มาเป็นพวกในช่วงแรกๆ ของเกม เพราะ Frog’s Theme คือเพลงประจำตัวของเขา ส่วน Robo’s Theme ก็เป็นเพลงคึกจังหวะสนุกอีกเกมที่ฟังครั้งเดียวก็ติดหูเลย เกม Chrono Trigger ทั้งเกมมีเพลงเพราะยอดนิยมมากมาย และทีมงานประพันธ์เมดเลย์ก็บรรเลงให้เราฟังอย่างจุใจด้วยการสอดแทรกธีมนี้ในหลายจุดของเมดเลย์
.
7. Ace Combat - First Flight (7)
ครึ่งทางของเมดเลย์ ออเคสตราสลับฉากออกจากเกมแนว JRPG (เกมสวมบทบาทแบบญี่ปุ่น) มาทางเกมแนวอื่นๆ บ้าง เริ่มจากเกมเพราะจากซีรีส์ Ace Combat เกมขับเครื่องบินรบสไตล์เกมตู้จากค่าย Bandai Namco เพลงนี้อาจไม่คุ้นหูคอเกมเท่ากับเพลงจากซีรีส์ JRPG ยอดฮิตทั้งหลาย แต่พอใส่มาในเมดเลย์ช่วงครึ่งทาง เพลงต่อสู้เร้าใจจากเกมนี้ก็เหมาะเจาะเลยทีเดียว
.
8. Sonic The Hedgehog - Starlight Zone (11)
จากความเร้าใจของ Ace Combat สลับฉากมาเป็นจังหวะชิลๆ ของเพลงจาก Sonic the Hedgehog เกมแอ็กชั่น 2D คลาสสิกค้างฟ้าจากค่าย SEGA ติดหูคอเกมมาตั้งแต่เจ้าเฮดจ์ฮอกจอมซ่า คู่แข่งมาริโอ ปรากฎตัวครั้งแรกในปี 1991 มาซาโตะ นาคามูระ นักประพันธ์เพลง วันนี้ผันตัวมาเน้นการแต่งเพลงประกอบโฆษณาโทรทัศน์และภาพยนตร์มากกว่าเกมแล้ว แต่ผลงานที่เขาฝากไว้ในเกมพิภพก็จะติดหูไปอีกนานแสนนาน
.
9. Winning Eleven - eFootball Walk-On Theme (12)
เกมเด่นจาก Winning Eleven ซีรีส์เกมฟุตบอลชื่อดัง (วันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น eFootball) ทั้งเพราะและเหมาะสมด้วยความที่เป็นเกม “กีฬา” เกมเดียวในเมดเลย์ชุดนี้
.
10. Phantasy Star Universe – Guardians (14)
เกมเพราะจาก Phantasy Star ซีรีส์ JRPG ที่ดังเป็นพลุแตกในญี่ปุ่น แต่นอกประเทศคนไม่รู้จักเท่า Chrono Trigger และ Final Fantasy ดึงอารมณ์คนฟังเข้าสู่แดนผจญภัย แม้อาจฟังดูไม่ยิ่งใหญ่และครบรสเท่ากับเพลงจาก JRPG ช่วงแรกในเมดเลย์
.
11. Gradius - 01 ACT I-1 (16)
เซอร์ไพรส์ที่ผู้เขียนบทความนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว การเลือกเสียงเปียโนจังหวะสนุกๆ จากเกมตู้คลาสสิกของ Konami มาอยู่ในเมดเลย์ออเคสตราที่บรรเลงประกอบพาเหรดนักกีฬา นับเป็นการให้เกียรติเกมตู้ (arcade) จากยุคที่ “เกม” ยังถูกมองว่าเป็น “เรื่องไร้สาระ” หรือ “อบายมุข” (ซึ่งผ่านมาหลายทศวรรษแล้วบางสังคมก็ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่)
.
12. NieR - Song of The Ancients (17)
เพลงเพราะจาก NieR ซีรีส์ action RPG ชื่อดัง ซีรีส์นี้มีเพลงเพราะหลายเพลง แต่ที่น่าสนใจคือทีมประพันธ์เมดเลย์เลือกเพลง Song of the Ancients ซึ่งกลายเป็นเพลงเดียวในเมดเลย์นี้ที่ไม่ได้มีแต่เสียงดนตรีอย่างเดียว แต่มี “เนื้อร้อง” ด้วย เวอร์ชันในเกมขับร้องโดย เอมิโกะ อีวานส์ และประพันธ์โดย เคนิอิชิ โอกาเบะ
.
เนื้อร้องของเพลงนี้ไม่ใช่ภาษาใดๆ ที่ใครจะฟังออกเลย เพราะเขียนในภาษาปลอมที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เรื่องราวของเกมบอกว่าภาษานี้คือ Chaos เกิดจากการผสมภาษาต่างๆ ในโลกเข้าด้วยกัน
.
การเลือกเพลงนี้จึงคล้ายจะสื่อว่า การเล่นกีฬานั้นเป็น “ภาษาสากล” ของคนทุกชาติในโลก ไม่ว่าจะแตกต่างกันมากเพียงใด
.
13. SaGa - The Minstrel's Refrain (เมดเลย์ฉบับปี 2016) (18)
ผลงานเด่นอีกชิ้นของ โนบุโอ อุเอมัตสึ นักประพันธ์ที่ดังเป็นพลุแตกจากเพลงที่เขาแต่งให้กับซีรีส์ Final Fantasy แต่ Romancing SaGa (ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเกมที่เริ่มต้นจากการแตกแขนงมาจาก Final Fantasy) ก็เป็น JRPG อีกหนึ่งซีรีส์ที่มีเพลงเพราะๆ มากมายที่ อุเอมัตสึ ฝากผลงานเอาไว้ เวอร์ชันที่ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดคือเวอร์ชันเมดเลย์ปี 2016 ที่ “จัดเต็ม” ในเกมด้วยวงออเคสตราเช่นกัน
.
14. SoulCalibur - The Brave New Stage of History (19)
เหมาะสมกับการเป็นเพลงปิดเมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาด้วยประการทั้งปวง ผลงาน จูนิชิ นาคัทซึรุ เพลงนี้เป็นธีมหลักของ SoulCalibur VI เกมต่อสู้จากค่าย Bandai Namco เพลงให้อารมณ์ชวนออกไปผจญภัยเกมนี้บรรเลงประกอบฉากเลือกคู่ต่อสู้ 2 คน ที่จะมาประมือกันในสนามประลอง ราวกับจะบอกเราว่า ขอเชิญรับชมการประลองฝีมือของนักกีฬาจากทั่วโลก ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป!
.
เมดเลย์ดนตรีประกอบเกมญี่ปุ่นที่บรรเลงแบบ “จัดเต็ม” โดยวงออเคสตรา ไม่เพียงป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นเป็น “ชาติมหาอำนาจ” เพียงใดในวงการเกมโลก หากแต่ยังเป็นการแสดงไมตรีจิตและความคารวะต่อเกม นักออกแบบเกม และการยกย่องเกมในฐานะสื่อสมัยใหม่ที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก
.
รวมถึงแสดงพลานุภาพของ “เกม” ในการเป็นเครื่องมือที่สามารถผนึกความสมัครสมานสามัคคี มิตรภาพที่เบ่งบานระหว่างการต่อสู้หรือขับเคี่ยวแข่งขัน สะท้อนความมุมานะไม่เลิกราของมนุษย์ และชวนให้ขบคิดถึง “ความเหมือน” มากกว่า “ความต่าง” ระหว่างคนชาติต่างๆ
.
“เกม” ทั้ง 14 เกมที่ถูกเลือกดนตรีมาบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก และเกมอีกมากมาย มีจุดร่วม “กีฬาโอลิมปิก” ในแง่นี้เอง
同時也有28部Youtube影片,追蹤數超過9萬的網紅YamatoN,也在其Youtube影片中提到,魔物使用禁止・2021年スタート(転生OB厳選禁止)でプレイ クリップ集VR編は8/22(日) 19時投稿予定! All other copyrights or trademarks are the property of their respective owners and are used u...
konami wiki 在 เกมถูกบอกด้วย v.2 Facebook 的精選貼文
[History] 3 ธ.ค. 2019 ครบรอบ 25 ปี PlayStation เครื่องคอนโซลเครื่องแรกของโลกที่ทำยอดขายทะลุ 100 ล้านชุด
.
วันนี้เมื่อ 25 ปีที่แล้ว เป็นวันวางจำหน่ายเครื่องคอนโซลยุคที่ 5 จากบริษัทที่ไม่เคยพัฒนาเกมและเครื่องคอนโซลมาก่อน จนได้ก้าวขึ้นมาสู่แถวหน้าของวงการเกม และได้ผลิตเครื่องเกมในแบรนด์ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง และครองใจแฟนๆมาจวบจนทุกวันนี้
.
นั่นคือวันวางจำหน่าย PlayStation (หรือที่เรียกย่อๆว่า PS, PS1, PSX) คือเครื่องคอนโซลสำหรับเล่นวีดิโอเกมที่พัฒนาโดย Sony Computer Entertainment ที่เปิดตัวในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ปี 1994
.
แรกเริ่มเดิมที PlayStation เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Nintendo และ Sony เมื่อปี 1986 ที่ในตอนนั้นทาง Nintendo ได้มีการใช้เทคโนโลยีแผ่นดิสค์เพื่อเอามาผนวกรวมกับระบบการใช้ตลับเกม นั่นคือเครื่อง Family Computer Disk System (ที่ในไทยอาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก) และต้องการที่จะใช้แนวทางเดียวกันกับ Super Famicom โดยในตอนนั้นทาง Nintendo ได้ติดต่อ Sony เพื่อให้พัฒนาส่วนเสริมที่คล้ายคลึงกันให้กับเครื่อง Super Famicom แต่ใช้ CD-ROM แทน ซึ่งในตอนนั้นใช้ชื่อว่า "Play Station" หรือ "SNES-CD" และได้เริ่มเซ็นสัญญาพัฒนากันไปเรียบร้อยแล้ว
.
แต่ในภายหลังทาง Nintendo ได้ขอยกเลิกโปรเจ็กต์ดังกล่าว ที่ทำให้ทาง Sony ได้ตัดสินใจพัฒนามันให้กลายเป็นเครื่องคอนโซลของตัวเอง แม้ว่าในตอนนั้น Nintendo จะเป็นเจ้าใหญ่ของตลาดวีดิโอเกมก็ตาม ซึ่งทาง Sony มีแผนที่จะพัฒนาคอนโซลของตัวเองให้สามารถเล่นได้ทั้งตลับของ Super Famicom และระบบ CD-ROM ที่ตัวเองพัฒนาขึ้น แต่ Hiroshi Yamauchi ซึ่งเป็นประธานบริษัท Nintendo ได้เห็นหนังสือสัญญาที่ทำไว้ระหว่าง Nintendo และ Sony เอื้อประโยชน์ให้ทาง Sony มีสิทธิในการถือครองเกมที่เขียนบนระบบ SNES CD-ROM ทั้งหมด ทำให้ Yamauchi ตัดสินใจยกเลิกแผนที่ร่วมมือกับทาง Sony ทั้งหมด โดยแทนที่จะประกาศความร่วมมือในงาน Consumer Electronics Show คุณ Howard Lincoln ผู้บริหาร Nintendo ในตอนนั้นได้ขึ้นบนเวที และประกาศความร่วมมือกับทาง Phillips ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าสำคัญของ Sony
.
หลังจากถูกยกเลิกโปรเจ็กต์ ทาง Sony ได้ไปขอความร่วมมือกับทาง Sega ในการผลิตเครื่องคอนโซล แต่เมื่อผู้บริหารได้เห็นข้อเสนอของทาง Sony ก็คัดค้านอย่างรุนแรง โดย Tom Kalinske ซึ่งเป็นประธาน Sega ในตอนนั้น กล่าวว่า "มันเป็นไอเดียโง่ๆ เพราะ Sony ไม่รู้ทั้งวิธีการสร้างฮาร์ดแวร์คอนโซลเกม และซอฟท์แวร์ แล้วทำไมพวกเราถึงจะต้องทำด้วยล่ะ?" Sony จึงได้ตัดสินใจใช้สิ่งที่ตัวเองเคยพัฒนากับทาง Nintendo ในการทำให้มันกลายเป็นเครื่องคอนโซลที่มีฐานมาจากเครื่อง Super Famicom
.
แต่หลังจากเกิดข้อพิพาททางกฎหมายกับ Nintendo ทาง Sony เลยตัดสินใจที่จะยกเครื่อง Play Station ใหม่ทั้งหมดโดยมุ่งเป้าว่าจะเป็นเครื่องเกมคอนโซลและซอฟท์แวร์ยุคใหม่ และตัดสินใจเลิกล้มแนวคิดสำหรับพอร์ตเสียบตลับ Super Famicom ออกไป และปรับชื่อมาเป็น "PlayStation" แทน รวมถึงทิ้งผลงานที่เคยทำกับทาง Nintendo และเริ่มพัฒนาออกแบบ PlayStation ใหม่ตั้งแต่ต้น
.
ในระหว่างที่พัฒนา PlayStation ทางผู้บริหารของ SCE ยังไม่มั่นใจว่าควรจะมุ่งเน้นกราฟิกแบบใดเป็นหลัก ระหว่างกราฟิกแบบ 2D และ 3D โพลีกอน แต่หลังจากที่ Virtua Fighter ของทาง Sega ประสบความสำเร็จอย่างสูงในวงการเกมตู้ มันก็เป็นที่ชัดเจนเลยว่า PlayStation จะต้องมุ่งไปที่กราฟิกแบบ 3D โพลีกอนเพื่อรับกับยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง แต่แน่นอนว่า Sony เองก็ไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเกมมาก่อน พวกเขาจึงต้องไปพึ่งสตูดิโอเกมจากภายนอก อย่าง Namco, Konami, และ Williams รวมถึงทีมพัฒนาเกมอื่นๆอีกกว่า 250 รายเฉพาะในญี่ปุ่น รวมถึงเข้าซื้อกิจการ Psygnosis และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Sony Interactive Entertainmen และเริ่มต้นพัฒนาเกมอย่าง Wipeout และ Destruction Derby
.
ซึ่งก่อนที่จะวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ทาง Sony ได้สร้างความฮือฮาด้วยการเชิญ Michael Jackson ราชาเพลงป๊อปที่โด่งดังอย่างสุดขีดในยุคนั้น ขึ้นมาโชว์เกม WipEout, Ridge Racer และ Tekken บนเวที งาน E3 พร้อมประกาศราคา PlayStation อยู่ที่ $299 (หลังจากที่ Sega Saturn เพิ่งจะประกาศราคาไป $399) ซึ่งสร้างเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างล้นหลาม
.
PlayStation ได้วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในญี่ปุ่น วันที่ 3 ธ.ค. 1994 (ซึ่งเป็นเวลา 1 สัปดาห์หลังจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Sega Saturn ของทาง Sega เพิ่งจะวางจำหน่ายไป) โดยในวันแรกมันทำยอดขายได้ถึง 100,000 ชุด และได้ถึง 2 ล้านชุดหลังจากวางจำหน่ายได้ 6 เดือน ด้วยกลยุทธ์ของทาง Sony ที่มุ่งเน้นไปที่นักพัฒนาเกมภายนอก และมีทีมเทคนิคช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น ทำให้ช่วงสิ้นปี 1996 PlayStation มีเกมวางจำหน่ายมากถึง 400 เกม เมื่อเทียบกับ Sega Saturn มีเพียง 200 เกม และ Nintendo 64 มี 60 เกม และทำให้ทาง Sony ต้องผลิตแผ่นเกม PlayStation มากขึ้นจาก 4 ล้านแผ่น เป็น 6.5 ล้านแผ่นต่อเดือน
.
หลังจากวางจำหน่ายเป็นเวลา 9 ปี PlayStation ก็กลายเป็นคอนโซลวีดิโอเกมตัวแรกที่ทำยอดขายได้ถึง 100 ล้านชุด และครองใจชาวเกมอย่างต่อเนื่อง จวบจน Sony ได้ยุติสายการผลิตทั้งเครื่อง PlayStation และเกม ในเดือน มี.ค. ปี 2006 หรือรวมแล้ว 11 ปี นับจากการวางจำหน่ายครั้งแรก ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึง 1 ปีก่อนที่จะเปิดตัว PlayStation 3 ในตอนนั้น
.
ในการนี้คุณ Jim Ryan ประธานบริษัท Sony Interactive Entertainment ได้กล่าวในบล็อคของทาง PlayStation เพื่อฉลองครบรอบ 25 ปี เอาไว้ดังนี้
.
"ในวันที่ 3 ธ.ค. ปี 1994 หรือ 25 ปีที่แล้ว เป็นวันที่ PlayStation แรกได้วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นด้วยคุณ Ken Kutaragi และทีมงานภายใน Sony ได้ส่งมอบวิสัยทัศน์ในการยกระดับวีดิโอเกมในรูปแบบสิ่งบันเทิงที่ใครก็สามารถสนุกได้ และสร้างแพลตฟอร์มให้กับนักพัฒนาเกมได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา ซึ่ง PlayStation นั้นทำยอดขายได้ 100,000 ชุดในวันแรก และกลายเป็นเกมคอนโซลบ้านเครื่องแรกที่ทำยอดขายได้เกิน 100 ล้านชุดทั่วโลก
.
พวกเราสื่อถึงใจกับชุมชนชาวเกม เพราะ PlayStation ได้มอบประสบการณ์เกินกว่าที่ใครๆจะสามารถจินตนาการได้กับเครื่องคอนโซลบ้านให้เป็นไปได้ จากในตอนเริ่มต้นพวกเราได้อ้าแขนรับนักพัฒนาเกม และให้เครื่องมือกับเทคโนโลยีในการสร้างโลกที่กว้างใหญ่และสวยงาม และได้ทดลองไอเดียใหม่ๆ ด้วยวิธีนี้นำพาให้เกิดเกมที่มีความหลากหลาย ที่ PlayStation เป็นที่รู้จักและเป็นจุดเด่นของแบรนด์ของเราตลอดหลายยุคของแพลตฟอร์มที่ผ่านมา
.
เป็นเวลากว่า 25 ปี ที่ PlayStation ได้ยืนหยัดอยู่แถวหน้าของการเล่นเกม และผมก็ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานตั้งแต่วันแรกๆ ที่ผมได้ช่วยเหลือการสร้างธุรกิจในยุโรป ผมจำได้ว่าผมต้องเริ่มต้นใหม่หมดตั้งแต่ต้นในหลายๆอย่าง ตั้งแต่การจ้างพนักงานไปจนถึงสั่งเฟอร์นิเจอร์เข้ามาที่ออฟฟิส
.
หลังจากนั้นพวกเรามุ่งมั่นที่จะให้ความบันเทิงแก่ตลาดท้องถิ่นเพื่อให้มั่นใจว่าชาวเกมในโปแลนด์จะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน PlayStation เทียบเท่ากับชาวเกมในสหราชอาณาจักร หรือญี่ปุ่น หรืออเมริกา และการได้รับแรงสนับสนุนด้วยความรักจากแฟนๆทั่วโลก ทำให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และการมุ่งเน้นไปที่ชุมชนชาวเกมคือสิ่งสำคัญสำหรับเรามากกว่าอะไรทั้งหมดที่เคยมีมา
.
มันเป็นอะไรที่น่าปลาบปลื้มใจจริงๆ ที่เราได้เห็นแฟนๆที่เติบโตมากับ PlayStation ได้ส่งมอบความรักที่มีต่อการเล่นเกมให้กับลูกๆของเขา ที่ในตอนนี้กำลังเล่น PlayStation 4 อยู่
.
ในฐานะตัวแทนของทีมงานทั้งหมดที่ PlayStation ขอบคุณที่ร่วมเดินทางนี้ไปพร้อมกับเรา เราเองก็รอไม่ไหวแล้วที่จะได้ฉลองในสิ่งที่กำลังจะมาถึงไปพร้อมกับคุณ!"
.
Source : https://en.wikipedia.org/wiki/PlayStation_(console)
https://blog.eu.playstation.com/…/celebrating-25-years-of-…/
-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-
Steam Wallet, Battle.net Code, PSN ซื้อง่าย ได้โค๊ดทันที >> GGKeyStore.com
-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-\-
Humble Monthly ประจำเดือน ธ.ค. จ่าย $12 ประมาณ 370 บาท รับ สตีมคีย์ Yakuza Kiwami, My Time at Portia, SOULCALIBUR 6 ไปเล่นทันที และได้รับอีก 4 - 5 เกม ในวันที่ 7 ธ.ค. ดูที่นี่ - http://bit.ly/2KA2c0c
konami wiki 在 YamatoN Youtube 的最讚貼文
魔物使用禁止・2021年スタート(転生OB厳選禁止)でプレイ
クリップ集VR編は8/22(日) 19時投稿予定!
All other copyrights or trademarks are the property of their respective owners and are used under license.
©Konami Digital Entertainment
毎日お昼~↓Twitch↓で配信してます
【配信】 https://www.twitch.tv/yamatonjp
【wiki】https://yamatongame.game-info.wiki/
【ハイライト再生リスト】https://www.youtube.com/playlist?list=PLHridV7X2QFAGqCRcKnlvsSvoJcxzZ4FM
【Twitter】 https://twitter.com/yamatonjp
【DeToNator】 https://detonator-gg.com/
#栄冠ナイン #DTN #StreamHighlights
konami wiki 在 HikacGamesヒカックゲームズ Youtube 的最佳貼文
ウイニングイレブンアプリの実況をしています。
リヴァプールレジェンドと同時にまさかのドルトムントレジェンドも来ていた...こんなにたくさんKONAMIさんも畳み掛けますね(笑)
でもユーザーとしてはとても嬉しいものです。この調子で頑張ってもらいたい。
★リヴァプールのレジェンド動画はこちら★
https://youtu.be/ACxb6MO-opU
ご視聴ありがとうございます!
活動の励みになりますので、サイトのお気に入りやTwitterのフォロー、チャンネル登録等、よろしくおねがいします!
★スカウト別で今までの動画が検索できるサイトオープン★
https://hikacgames.com/
★Twitterはこちらから★
https://twitter.com/hikacgames
★チャンネル登録はこちらから★
https://www.youtube.com/channel/UCia0Mw96B-yNYRka1J_mAsQ?sub_confirmation=1
※選手の能力値およびその画像は以下のサイトを参照しています
http://pesdb.net/pes2018/
※経歴などはwikiを参照しました。
konami wiki 在 kazu end Youtube 的最讚貼文
帰ってきた古長はミストさんでした〜(^^)笑
実際似てるよね!?笑
■パワプロ動画の再生リスト
→ http://bit.ly/1sPlimX
■商品などの紹介動画
→ http://bit.ly/2emyb3o
■iPhone や Apple 関連の動画
→ http://bit.ly/2f0XTuW
■サッカー関連の動画
→ http://bit.ly/2euF02N
■Twitter
https://twitter.com/kazuend
■Mail
kazuend at gmail.com
konami wiki 在 Pin by Wikia Anime on Yugioh - Pinterest 的必吃
Aug 8, 2011 - The Yu-Gi-Oh! Wiki is a database on Konami's Yu-Gi-Oh! franchise, with articles on cards, video games, anime, manga, deck types, ... ... <看更多>