วันนี้ลูกกอล์ฟ อยากแชร์มุมมองด้านสิ่งแวดล้อมกับชาวเพจ ดังนี้
แม้ทุกคนจะเห็นว่าลูกกอล์ฟแชร์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากเพจต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ภาคี Earth Tone ที่ลูกกอล์ฟเป็นสมาชิก หรือทำโครงการกับ Little Big Green มากมาย ลูกกอล์ฟเป็นเพียง ผู้บริโภคหนึ่งคนที่กำลังอยากเปลี่ยนชีวิตในหลาย ๆ มิติเพื่อโลก
ลูกกอล์ฟเพิ่งเริ่มศึกษาข้อมูลและสนใจเรื่องนี้เพียง 2 ปีเห็นจะได้ อย่างแรกที่ทุกคนต้องเข้าใจ ลูกกอล์ฟไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ activist ไม่ใช่ environmentalist แต่ลูกกอล์ฟถูกรายล้อมไปด้วย คนเหล่านั้น ที่พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลและเป็นเหมือน อาจารย์ของลูกกอล์ฟในด้านนี้
ลูกกอล์ฟเลยเปิดพื้นที่ social media ของลูกกอล์ฟให้กลุ่มที่อยู่ใน #ภาคีโลก ได้แชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเสมอ
ถ้าว่ากันตามแนวคิดของ Little Big Green ที่ว่า As Green As You Can ลูกกอล์ฟเป็นเพียงสีเขียวที่เข้มขึ้นมาก แต่อาจจะเข้มน้อยกว่าหลาย ๆ คนที่สนใจด้านนี้มาตลอดชีวิต ถ้าเป็นต้นไม้ ลูกกอล์ฟคงเป็นต้นกล้า เท่านั้น
เมื่อเราพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม มันปฎิเสธไม่ได้ว่า "ถ้าตัวเราเองก็ยังทำไม่ได้ เราจะไปสอนหรือบอกให้คนอื่นทำตาม ย่อมเป็นไปไม่ได้"
ลูกกอล์ฟจึงจะพูดแต่ในมิติที่ลูกกอล์ฟทำได้จริง เช่น การลด single-use plastic, การเป็นมังสวิรัติตลอดชีพเพื่อลดการทานเนื้อสัตว์ (ใครอยากรู้ว่าการลดทานเนื้อช่วยโลกได้อย่างไรบ้างลองหาข้อมูลกันดูนะคะ แต่การเป็นมังสวิรัติก็อาจจะมีมิติที่กระทบต่อโลกเช่นกัน ลูกกอล์ฟกำลังศึกษา แต่ตอนนี้ทำได้แค่นี้), การร่วมงานกับบริษัทที่ต้องคิดถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสิทธิแรงงาน, การตัดการซื้อเสื้อผ้าและของฟุ่มเฟือยไป 90% และจะซื้อของมือสองเป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ลูกกอล์ฟพูดได้เต็มปาก เพราะลูกกอล์ฟทำได้ และกำลังจะทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ เมื่อเรามีอิสระทางการเงิน เราเข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่าคนอื่นเสมอ เช่น เราบริโภคได้มากกว่าคนอื่น, เราไม่ต้องซ่อม เน้นซื้อใหม่, เราเดินทางท่องเที่ยวได้มากกว่าคนอื่น กิจกรรมทั้งหมดนี้ แลกมาด้วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
ซึ่งลูกกอล์ฟกำลังทำให้มิติเหล่านี้ ในชีวิตลูกกอล์ฟดีขึ้น ตามลำดับ
วันนี้ข้อมูลมันมีเยอะมาก และลูกกอล์ฟยอมรับว่า ยังมีหนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่ลูกกอล์ฟยังอ่านไม่จบ และยังมีข้อมูลเยอะมาก ที่ลูกกอล์ฟยังย่อยไม่ละเอียด แต่ลูกกอล์ฟพร้อมที่จะเรียนรู้
เวลาลูกกอล์ฟแชร์อะไรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คุณก็เลือกรับข้อมูลไป แล้วถ้ามีอะไรที่คุณช่วยได้ ก็ลองดูตามแนวคิด As Green As You Can เพราะสุดท้ายไม่ว่าจะยังไง เราปฎิเสธไม่ได้แล้วว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ทั่วโลก มันกำลังทำให้ climate change เป็นปัญหาที่รุนแรงมาก แม้คนจะบอกว่าการแก้ปัญหานี้ มันต้องร่วมมือกันทางภาครัฐ (จากทั่วโลก) ภาคเอกชน (จากทั่วโลก) และภาคประชาชน (จากทั่วโลกเช่นกัน) เพราะมันเป็นปัญหา "ระดับโลก"
แต่ลูกกอล์ฟคิดว่า รัฐบาลทั่วโลก และ บริษัทเอกชนที่ใหญ่ ๆ ทั่วโลก มีผลิตขยะออกมามหาศาล โดยไม่มีตัวเลือกให้ผู้บริโภค ควรต้องเร่งแก้ปัญหานี้ มากกว่าผลักภาระให้ผู้บริโภค
วันนี้แชร์มุมมองแค่นี้ ไว้ตกผลึกอะไรได้มากกว่านี้ จะมาใหม่นะคะ
同時也有4部Youtube影片,追蹤數超過24萬的網紅Square Enix,也在其Youtube影片中提到,Peek through the curtains of BALAN WONDERWORLD for a glimpse at more of the Twelve different tales that await our stars in Wonderworld. Meet Sana, an ...
「environmentalist」的推薦目錄:
- 關於environmentalist 在 Facebook 的最佳解答
- 關於environmentalist 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
- 關於environmentalist 在 Facebook 的精選貼文
- 關於environmentalist 在 Square Enix Youtube 的最佳貼文
- 關於environmentalist 在 Xiaofei小飛 Youtube 的最佳解答
- 關於environmentalist 在 Red Hongyi Youtube 的最讚貼文
- 關於environmentalist 在 Global Environmentalist Leadership Assembly 國際環境領袖視野 的評價
environmentalist 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
เขียนไปโกรธไป งบสิ่งแวดล้อมปี 65 ครับ
งบลดลงเท่าไหร่
- งบประมาณรัฐบาลด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% จาก 1.6 หมื่นล้าน มาเป็น 8.5 พันล้าน
- คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดจาก 0.49% ของงบประมาณทั้งหมด มาเป็น 0.275 % [ถ้าเทียบกับ EU งบประมาณสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ประมาณ 0.70%]
- 5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ปีนี้ลดลงอย่างน่าตกใจ
- งบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดลงจาก 3หมื่นล้าน เป็น 2.93 หมื่นล้าน ลดลงประมาณ 3.44% ไม่ได้ลดลงเยอะมาก [แต่ก็สะท้อนว่างบในกระทรวงทรัพย์ มีเยอะกว่างบสิ่งแวดล้อมเกือบสามเท่า ถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? เป็นงบบุคลากรเยอะขนาดไหน เอาไปใช้โครงการที่ได้ผลเยอะขนาดไหน ?]
วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่รอการแก้ไข
- ขยะพลาสติกลงทะเล (ประเทศไทยติด top 10 โลก)
- ไฟป่า
- มลพิษทางอากาศ + PM2.5
- การกัดเซาะชายฝั่ง
- วิกฤติน้ำโขง
- เราติด top 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงจาก Climate change มากที่สุดในโลก [อิงจาก Global Climate Risk Index 2021 โดย germanwatch.org]
งบที่ตัดไป มีอะไรบ้าง
- [ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ / เพจ นักสิ่งแวดล้อม Environmentalist ที่ช่วยสรุปมาให้นะครับ
- การกำจัดของเสีย: 1.6 พันล้าน (2562) --> 787 ล้าน (2565) : ปัญหาขยะเรา ตอนนี้วิกฤติมาก มีแต่บ่อขยะที่จัดการไม่ถูกต้องเต็มประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่นิดเดียว ระบบแยกขยะโดยภาครัฐก็ไม่มี [ณ ตอนนี้กระทรวงทรัพฯไม่ได้ดูเรื่องขยะ แต่เป็นมหาดไทย ที่ให้งบผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่ต้องยื่นงบไปเสนอเอง ไม่มีแผนระดับชาติในการจัดการเรื่องนี้ ]
- การควบคุมและกำจัดมลภาวะ: 3.0 พันล้าน (2562) --> 2.3 พันล้าน (2565) : คงไม่ต้องบอกว่าปัญหาฝุ่นเราเยอะและแย่ขนาดไหน โดยเฉพาะในภาคเหนือช่วงไฟป่า [เชียงใหม่ขึ้นอันดับ 1 โลกในบางวัน] รวมถึงการบริหารงานที่ยังกระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆนาๆมากมาย (มหาดไทดูจราจร / อุตสาหกรรมดูโรงงาน / กระทรวงทรัพฯดูป่าสงวนและอุทยาน / สาธารณสุขดุการก่อมลพิษเป็นกรณีๆไป) Clean air Act เมื่อไหร่เราจะมี / และกรมควบคุมมลพิษเมื่อไหร่จะมีอำนาจมากกว่าแค่ "ให้ข้อเสนอแนะกับออกความเห็น" เสียที อยากได้แบบ EPA [environmental protection agency] ของอเมริกา
- การรักษระบบนิเวศวิทยาcละภูมิทัศน์ 3 พันล้าน (2564) ---> 2.6 พันล้าน (2565)
- การวิจัย: 907 ล้าน (2562) --> 0 บาท : ไม่เหลือเลยครับ T T…. (ของปี 64 ก็เป็น 0 เช่นกัน)
- การสิ่งแวดล้อมอื่น: 8.4 พันล้าน (2564) --> 1.7 พันล้าน (2565) : ลดลง 5 เท่า
- รายจ่ายลงทุน: 12.0 พันล้าน (2564) --> 4.9 พันล้าน (2565)
การจัดอันดับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ
- คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยในภาพรวม อันดับ 78 จาก 180 ประเทศ [ส่วน GDP เราอยู่อันดับ 26 ในปี 2020]
- คุณภาพอากาศโดยรวม อันดับ 85 จาก 180 ประเทศ
- ฝุ่นพิษ PM2.5 อันดับ 88 จาก 180 ประเทศ
- มลพิษโอโซนภาคพื้นดิน อันดับ 102 จาก 180 ประเทศ
- การจัดการขยะ อันดับ 84 จาก 180 ประเทศ
- ความไม่ปลอดภัยจากน้ำที่ดื่มกิน อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ
- การบำบัดน้ำเสีย อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ทรัพยากรน้ำ อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ระบบนิเวศ อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ
- ความหลากหลายทางชีวภาพ อันดับ 114 จาก 180 ประเทศ
แล้วงบที่ได้ เอาแผนจะเอาไปทำอะไรบ้าง [สรุปจากการอภิปรายของคุณนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.]
ปัญหาภาพรวม
- ตัวชี้วัดของรัฐตอนนี้ ไม่ได้ผลในการชี้วัด ไปทำ survey ถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าพึงพอใจไหม มากกว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นวิชาการ
- งบประมาณที่ได้น้อยมาก ไม่พอจะตอบโจทย์ที่รัฐบาลเป็นคน set เองด้วยซ้ำ
ตัวอย่างการใช้งบ
-งบประมาณตั้งรับเรื่องโลกร้อน 1.1 พันล้านบาท [900 ล้าน [80.6%] ให้กรมอุตุ ไปซื้อเครื่องมือวัดอากาศอัตโนมัติ / เครื่องวัดลมเฉือน เพื่อการแจ้งเตือน ไม่ใช่เพื่อการแก้ปัญหา /เหลือ 15.4% ให้กระทรวงทรัพฯ ]
- Comment: จริงๆเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม ฝนผิดฤดูกาล ปลาหมดทะเล แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ความเสียหายมันเยอะมาก ได้งบแค่นี้
-เรื่องแก้ปัญหากัดเซาะทะเลชายฝั่ง + จัดการบริหารทรัพยากรทางทะเล
- โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง 1,378.7428 ล้านบาท เป็น 57 โครงการ [ผ่านสามกรม กรมโยธาฯ/กรมเจ้าท่า/กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]
- ส่วนใหญ่เป็นของกรมโยธาฯ 53 โครงการทั้งที่ต่อเนื่องและทำใหม่ เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น !
- งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมอีก 175 ล้านบาท
- Comment: ตอนนี้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เลยกลายเป็นเอะอะอะไรก็ทำกำแพง เพราะทำง่าย โดยไม่ดูความเหมาะสมของพื้นที่ บางพื้นที่ก็นำไปสู่การกัดเซาะของชายหาด เช่นที่หาดม่วงงาม
-งบให้กระทรวงพลังงาน 1.5 พันล้านให้พัฒนาพลังงานสะอาด แต่
- 500 ล้านถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันปาล์มดิบ ของ กฟผ. ซึ่งน้ำมันปาล์มนั้นขึ้นชื่อเรื่องทำลายป่าและสร้างมลพืษ ซึ่งสุดท้ายก็ปล่อย Carbondioxide เหมือนกัน
-Comment: พลังลม Solar EV เมื่อไหร่จะมาเต็มเสียที ประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วในเรื่องนี้
สรุป
ช่วง หลายปีมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างชัดเจน รวมถึง COVID-19 ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน และไม่ว่าโควิดจะหนักหนาขนาดไหน บอกได้เลยว่าโควิดนี้เผาหลอก แต่ตอนโลกร้อนมาเต็มนี้ เผาจริงแน่นนอน ลองคิดภาพโลกที่ฤดูกาลรวนจนปลูกอะไรไม่ได้เลย พายุหนักมาปีละหลายครั้งจนโครงสร้างพื้นฐานเสียภายทั้งระบบ โลกที่อากาศสกปรกจนไม่สามารถหายใจได้ด้วยปอดเปล่าๆอีกต่อไป
แทนที่จะปฏิบัติต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเป็นเรื่องไม่จำเป็น ที่สามารถลดงบครึ่งหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ จริงๆมันควรจะเข้าไปอยู่ในทุกๆมิติของการบริหารประเทศได้แล้ว ตั้งแต่ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุข จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของทุกๆมิติของสังคม และเราเองถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด แต่เราเองเป็นหนึ่งในประทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด และผู้นำเองก็มองการไกลเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เอาเงินไปซื้อรถถังเรือดำน้ำ
และอย่างที่เราเห็นจากโควิด พอภัยพิบัติธรรมชาติมา คนจนคือคนที่เสียหายสุด ไม่มีระบบ support ใดๆ ทางรัฐเองก็แทบไม่มีความสามารถดูแลกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดอย่างทั่วถึงเลย ถ้าจะมียุทธศาสตร์ชาติระยะยาวจริงๆ เรื่องพวกนี้มันหายไปไหนหมด
ถ้าถึงคราวระบบนิเวศของโลกไม่ไหวขึ้นมาจริงๆ เรื่องอื่นๆมันจะดูไม่สำคัญไปเลย นี่คือวิกฤติที่มนุษย์เพิ่งเคยต้องเจอเป็น Generation แรกตั้งแต่เราอยู่บนโลกนี้มา แล้วเดิมพันสูงมาก คือถ้าทำไม่ได้คือตายกันหมด
โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัวกูนี่แหล่ะ
ป.ล. ใครมีข้อมูลงบเพิ่มเติมอีก ใส่ไว้ใน Comment ได้เลยครับผม
Ref
https://www.youtube.com/watch?v=0a05p8F3Z8U
https://germanwatch.org/en/19777
https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
https://prachatai.com/journal/2020/05/87560
https://www.pcd.go.th/pcd_structure/472/
https://siamrath.co.th/n/246320
https://datastudio.google.com/u/0/reporting/8bf91139-3edf-4a10-b004-1db027852b23/page/pWdOB?fbclid=IwAR0rTy7G1eb-7CM7YVJTL8CyQx1V-Ega88cOmn91cy8DYLq3SX5zQbJw2ow
https://beachlover.net/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%86%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%86-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2565/
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4081664865213737&id=972261292820792
https://fb.watch/62VhvOx84s/
environmentalist 在 Facebook 的精選貼文
A talk session with an environmentalist Mr. Hibi on WWD Japan supported by @gucci We don’t talk about the past 100 years, we talk about our next 100. 「100年後の地球」をテーマに環境スペシャリストの日比さんをお呼びして色々ディスカッション&聞いてみたいと思います。是非!!!!#Repost @miyavi_staff
・・・
✨イベント参加者募集✨
「MIYAVIと一緒に考えよう、100年後の地球 Supported by GUCCI」
6/26(土)開催「WWDJAPAN Circle」にMIYAVIが出演💫
「100年後の地球」をテーマに、MIYAVIと環境NGOのキーマンである日比保史コンサベーション・インターナショナル・ジャパン代表理事兼CIバイスプレジデントがトークイベントに参加📢
“グッチ オフ ザ グリッド”コレクションを題材に、作り手のビジョンや経営哲学にもアプローチしながら、循環型ファッションや100年後まで持続可能なデザインについて参加者と一緒に考えます🌱
■イベント情報
【WWDJAPAN Circle】MIYAVIと一緒に考えよう、100年後の地球 Supported by GUCCI
日時:6/26(土)
登壇者:MIYAVI × 日比保史コンサベーション・インターナショナル・ジャパン代表理事兼CIバイスプレジデント
ナビゲーター:向千鶴=執行役員「WWDJAPAN」編集統括兼サステナビリティ・ディレクター
詳細はこちら👇
https://www.wwdjapan.com/articles/1216578
#MIYAVI #GUCCI #WWDJAPAN #LDH
environmentalist 在 Square Enix Youtube 的最佳貼文
Peek through the curtains of BALAN WONDERWORLD for a glimpse at more of the Twelve different tales that await our stars in Wonderworld. Meet Sana, an environmentalist at heart with a love of birds and the forests. But can she save the things she loves from destruction?
https://sqex.link/balan
Follow us! Twitter: twitter.com/BalanWWorld
Instagram: instagram.com/BalanWonderworld
environmentalist 在 Xiaofei小飛 Youtube 的最佳解答
A big thank you to everyone who cares about the environment.
environmentalist 在 Red Hongyi Youtube 的最讚貼文
***Watch this video with audio fixed here: http://youtu.be/rW-ioVL-5nE
Jackie Chan portrait made of 64,000 CHOPSTICKS! :) Such an honour working with him on this in Beijing!!!
It wasn't easy to choose the material for Jackie's piece. He is a world famous actor, an exceptional martial arts fighter, an environmentalist, and one of the most well-known faces internationally! I finally decided on chopsticks because Jackie had used them in some of the fighting scenes in his movies the Fearless Hyena and Karate Kid, and because chopsticks are Chinese. As he is also an environmentalist, I used disposable bamboo chopsticks to show that discarded materials can be reused and made into something meaningful and beautiful. This art installation is a tribute to the life, art and cultural significance of Jackie Chan.
I spent a month collecting 64,000 chopsticks, in Zhejiang and in Beijing. I tied them into different bundle sizes with strings, and then hung them on a steel frame. This was a hanging piece that had to be suspended with steel cables, so I had to make sure that it was structurally stable enough to carry that many chopsticks. I also hung 60--for Jackie's 60th birthday--bamboo chopstick holders filled with skewers that formed the word 'long' (dragon) because Jackie's name in chinese means "Dragon". The installation is best viewed from the front, where the portrait is most visible. From its side, waves of chopsticks tied in bundles is seen.
---
Subscribe/follow for more #redhongyi art!:
OFFICIAL FACEBOOK:
http://www.facebook.com/redhongyi
OFFICIAL INSTAGRAM:
http://www.instagram.com/redhongyi
OFFICIAL WEBSITE
http://www.redhongyi.com
OFFICIAL TWITTER
http://www.twitter.com/redhongyi
---
BIG THANKS to Jonathon Lim who directed and edited the video!
http://www.jonathonlim.com
__
BIG HUGS to Aggie Ye for all the help and support!!!
http://www.instagram.com/aggie_ye
__
***
I would like to sincerely apologize for the music that was previously on the film. We were notified by G2S (www.g2studio.com) that they created this music on behalf of their client in 2010 and that their client owns the rights to the music. Watch this video with audio fixed here: http://youtu.be/rW-ioVL-5nE
environmentalist 在 Global Environmentalist Leadership Assembly 國際環境領袖視野 的必吃
歡迎加入我們將於12 月5 日(星期日)上午10時至11時半於元朗舉辦之親子海岸清潔活動,一同守護海洋及海岸的健康!是次海灘清潔活動為本機構繼《環蓓領袖計畫》日營 ... ... <看更多>