อีกครั้ง
“เผด็จการ (Dictator) : เผด็จการอำนาจนิยมในสังคมไทย”
ผมได้ค้นคว้าเกี่ยวกับ คำว่า “เผด็จการ” เจอบทความหนึ่งทึ่ เขียนโดย อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ ( Published on Fri, 2014-10-03 17:15) บทความนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก อธิบายเกี่ยวกับข้องกับคำว่า “เผด็จการ” และผมได้ค้นคว้าวิเคราะห์ถึงระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในสังคมไทยในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คงไม่ชอบคำว่า “เผด็จการ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำไม่ค่อยสุภาพในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับคำว่า"ปฏิวัติ" หรือ "รัฐประหาร" เป็นแน่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 น่าจะพอใจกับคำเรียกอื่นแทนอัตลักษณ์ของตัวท่านอย่างเช่น "นักปกครองผู้เด็ดขาด" หรือ "ผู้รับใช้บ้านเมืองที่ร้องขอ (บังคับ)ให้ประชาชนยอมสละเสรีภาพเพื่อให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ (ซึ่งจะมีเมื่อไรก็ไม่ทราบ) " หรืออะไรก็ได้ที่ไม่มีคำว่า “เผด็จการ” เจือปนอยู่เป็นอันขาด ดังจะดูได้จากพฤติกรรมหนึ่งที่ท่านทำในสิ่งที่เผด็จการไม่ค่อยทำได้แก่ การกล่าวคำโทษและการไหว้นักข่าว
ต่อไปนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับคำว่า “เผด็จการ” หรือคนๆ เดียวที่มี “อำนาจสูงสุด” ไร้การถ่วงดุล การโต้แย้งหรือการตรวจสอบและมักมีการปกครองที่เลวร้ายโหดเหี้ยม คำเหล่านั้นแม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็ความหมายก็มีความใกล้เคียงหรือทับซ้อนกัน บทความนี้ยังต้องการเชิญชวนให้ผู้อ่านตัดสินว่าพลเอกประยุทธ์นั้นเหมาะสมหรือเข้าข่ายคำไหนที่สุดมากที่สุด (หากมองว่าการไหว้หรือการขอโทษเป็นการแสดงทางการเมืองอย่างหนึ่ง)
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเผด็จการ” อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ ( Published on Fri, 2014-10-03 17:15) ได้เขียนอธิบายไว้ ดังนี้
1.Dictator
Dictator เป็นคำภาษาอังกฤษของ “เผด็จการ” ที่ได้รับคำนิยมมากที่สุด มาจากคำกิริยาที่ว่า dictate มีความหมาย คือ บีบบังคับหรือกดดันให้คนอื่นกระทำตามที่ตัวเองต้องการ คำว่า dictator ในสมัยยุคสาธารณรัฐโรมันกลับเป็นคำที่ยกย่อง บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น dictator คือคนที่นักปกครองสูงสุดหรือกงศุลได้เลือกให้มีอำนาจโดยเด็ดขาดผ่านการรับรองของสภาแต่เพียงชั่วคราวเพื่อนำพาอาณาจักรให้รอดพ้นจากภัยอันใหญ่หลวงเช่นสงครามและมักจะมีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน แต่ในยุคใหม่ dictator เป็นคำที่ไม่สู้ดีนักอันมีสาเหตุมาจากผู้นำเผด็จการในลัทธิฟาสซิสต์ของเยอรมัน อิตาลีและญี่ปุ่นที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
นอกจากนี้คำว่า Dictator มักถูกโยงเข้ากับทหาร เพราะตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ประเทศในโลกที่ 3 จำนวนมาก ทหารได้ทำรัฐประหารและเข้ามาเป็นผู้ปกครองเสียเองดังคำศัพท์ว่า Military dictatorship หรือรัฐบาลเผด็จการทหาร (หากเราเติมคำว่า ship ต่อท้ายก็จะหมายถึงการปกครองแบบเผด็จการ) สำหรับในด้านวัฒนธรรมได้แก่ภาพยนตร์ของชาร์ลี แชปลินที่สร้างขึ้นมาล้อเลียนฮิตเลอร์ในปี 1940 เรื่อง The Great Dictator หรือภาพยนตร์เรื่อง Banana ของวูดดี อัลเลนที่ล้อเลียนเผด็จการในอเมริกาใต้ในปี 1971 ซึ่งสะท้อนว่ามุมมองของชาติตะวันตกต่อเผด็จการเหล่านั้นในด้านลบ
อนึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยก็เป็นเผด็จการได้ดังเช่น Elective Dictatorship หรือ Parliamentary Dictatorship อันหมายถึง รัฐบาลที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถผูกขาดการออกกฏหมายหรือทำการใดๆ ก็ได้ตามอำเภอใจของหัวหน้ารัฐบาล คำนี้เป็นสมญานามที่กลุ่มเสื้อเหลืองหรือกปปส.ใช้ในการโจมตีทักษิณอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็น่าดีใจว่าเมืองไทยในปัจจุบันไม่มีเผด็จการเช่นนี้อีกต่อไป เพราะมี Military dictatorship แทน
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าศัพท์อีกคำที่ ฯพณฯ อดีตผู้บัญชาการทหารบกน่าจะยิ้มได้หากฝรั่งเรียกท่านว่า Benevolent dictator (เผด็จการใจดี) หรือผู้ใช้อำนาจเด็ดขาด (อย่าใช้คำว่าเผด็จการนะ) ที่เปี่ยมด้วยความเมตตาหรือความปรารถนาในการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ อย่างเช่น ลี กวนยิวหรือ โจเซฟ ติโต แต่จะให้ดีต้องถามประชาชนผ่านการทำโพลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใสกว่าปัจจุบันนี้สักร้อยเท่าว่าท่านสมควรจะได้สมญานี้หรือไม่
2.Tyrant
Tyrant หมายถึง “ทรราช” เรามักใช้คำนี้กับผู้ปกครองในอดีตเช่นจักรพรรดิหรือกษัตริย์ที่มีพฤติกรรมโหดร้ายมากกว่าเผด็จการแม้ว่าจะมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน (สำหรับการปกครองหรือรัฐบาลเช่นนี้ เราจะใช้คำว่า tyranny) กระนั้นก็มีคนหันมาใช้กับเผด็จการในยุคใหม่อยู่บ่อยครั้งดังเช่นเรียกจอมพลถนอม กิติขจร จอมพลประพาส จารุสเถียรและพันเอกณรงค์ กิติขจรในยุคเรืองอำนาจ ว่าสามทรราช หรือตอนที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีอำนาจ ก็มีผู้ใช้คำนี้เพื่อโจมตีเขาในเชิงขบขันดังเช่น “ทรราชหน้าเหลี่ยม” ทั้งที่มองความจริงแล้วทักษิณทำได้ก็เพียงผลักดันให้ประเทศกลับไปสู่การเป็น “ประชาธิปไตยเทียม” เพราะอำนาจของเขามีอยู่อย่างจำกัดมากจากการถ่วงดุลโดยฝ่ายอำมาตย์หรือกลุ่มผลประโยชน์เก่า
สำหรับการปกครองเช่นนี้นักปรัชญาอาริสโตเติลถือว่าเป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดซึ่งอยู่ขั้วตรงกันข้ามกับ Kingship หรือราชานักปราชญ์ผู้ปกครองที่เน้นประโยชน์แก่ปวงชน
3. Despot
Despot หมายถึง ทรราชเช่นกัน ซึ่งถูกใช้ในด้านดีหากผู้ปกครองสูงสุดผู้นั้นอิงแอบการปกครองของตนที่เน้นหลักการมากกว่าเรื่องของอารมณ์หรือผลประโยชน์ส่วนตน อย่างเช่น Enlightened Despotism อันมีคำแปลภาษาไทยคือ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” อันทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ผู้มีอำนาจเด็ดขาดแต่ใช้อำนาจในการปฏิรูปหรือสร้างประโยชน์ให้กับประเทศในด้านต่างๆ อย่างมากมายโดยตั้งอยู่บนปรัชญาในยุคแสงสว่าง (Enlightenment Age) ดังเช่นพระเจ้า ฟริดริกที่ 2 แห่งแคว้นปรัสเซีย และพระนางแคทอรินที่ 2 แห่งรัสเซีย
4.Absolutism
Absolutism หมายถึง การปกครองแบบสมบูรณญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) หรือกษัตริย์ทรงเป็นเผด็จการและมีอำนาจเหนือรัฐอย่างสมบูรณ์ เปี่ยมด้วยความศรัทธาและความภักดีจากประชาชน อันแตกต่างจากระบอบกษัตริย์นิยมทั่วไปในยุคของศักดินาที่พระราชอำนาจยังถูกคานโดยเชื้อพระวงศ์หรือขุนนาง ส่วนประชาชนก็ยังภักดีต่อเจ้าขุนมูลนายอยู่มาก
อนึ่งกษัตริย์ที่มีลักษณะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมก็ถูกเรียกว่า Enlightened Absolutism
5.Authoritarianism
Authoritarianism มีคำแปลที่ชัดเจน คือ "เผด็จการอำนาจนิยม" หมายถึง การปกครองที่ผู้ปกครองมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.จำกัดความหลากหลายทางการเมืองเช่นจำกัดบทบาทของสถาบันและกลุ่มทางการเมือง เช่นสมาชิกรัฐสภา พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
2.พื้นฐานในการสร้างความชอบธรรมตั้งอยู่บนเรื่องอารมณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพของการปกครองของตนว่าเป็นความชั่วร้ายที่จำเป็นในการต่อสู้ปัญหาทางสังคมที่สำคัญเช่นความด้อยพัฒนาหรือผู้ก่อความไม่สงบ
3.ไม่ยอมให้มวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองนอกจากการปฏิบัติตามและยังจำกัดบทบาทของมวลชนโดยใช้วิธีกดขี่ผู้มีความเห็นตรงกันข้ามกับรัฐบาลและการสั่งห้ามไม่ให้มีกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐบาล
4.อำนาจของฝ่ายบริหารมีความคลุมเครือสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ (ดังเช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 17 ยุคจอมพลสฤษดิ์และมาตรา 44 ในยุคปัจจุบัน)
6.Creeping Authoritarianism
Creeeping Authoritarainsm
แปลเป็นภาษาไทยของผู้เขียน (อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ ) เอง คือ “เผด็จการแบบคืบคลาน” หมายถึง นักปกครองที่มาจากวิถีทางแบบประชาธิปไตยเช่นเป็นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ก็ได้ใช้อำนาจและความนิยมของประชาชนในการค่อยๆ บั่นทอนสถาบันและกลไกทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้ตัวเองสามารถมีอำนาจและมีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานตัวอย่างเช่นประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ประธานาธิบดีเรเซ็ป ทายยิป แอร์โดกันแห่งตุรกีซึ่งเคยผูกขาดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากกว่าทศวรรษ
7.Totalitarianism
Totaltarianism คำนี้มีคำแปลที่ชัดเจนคือ "เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ" ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่เผด็จการยิ่งกว่าเผด็จการอำนาจนิยม เพราะเผด็จการอำนาจนิยมนั้นอาจจะผูกขาดเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ในการบริหารรัฐกิจแต่ก็เปิดอิสระหรือพื้นที่สำหรับประชาชนอยู่บ้าง ในขณะเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนั้นมุ่งเน้นในการเข้าไปควบคุมวีถีชีวิตของประชาชนในทุกด้านไม่ว่าด้านร่างกายการแต่งตัว รสนิยมหรือแม้แต่เรื่องความคิด ดังเช่นยุคของสตาลิน เหมาในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมและเกาหลีเหนือในยุคปัจจุบัน อนึ่งเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จอาจจะไม่ได้มีผู้มีอำนาจผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวคือเป็นหมู่คณะ (Collective leadership) ดังเช่นพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตยุคหลัง สตาลินหรือกลุ่มเขมรแดงเมื่อทศวรรษที่ 70
เป็นที่น่าสนใจว่าเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนั้นมักเริ่มต้นมาจากเผด็จการอำนาจนิยมเสียก่อนและจึงค่อยคืบคลานเพิ่มความเข้มข้นไปเรื่อย โดยอาศัยกลยุทธ์เช่น
Cult of personality หมายถึงลัทธิบูชาบุคคลหรือให้ประชาชนจงรักภักดีต่อผู้นำคนใดคนหนึ่งอย่างสุดจิตสุดใจผ่านการโฆษณาชวนเชื่อซ้ำไปซ้ำมา
Indoctrination หมายถึงการปลูกฝังลัทธิหรืออุดมการณ์ให้ประชาชนยึดมั่นหรือปฏิบัติตาม ชนิดที่ไม่ว่าสามารถต่อต้านหรือแม้แต่ตั้งคำถามได้ อุดมการณ์นี้มักถูกผูกเข้ากับตัวบุคคลในข้อแรก
Mass mobilization หมายถึงการระดมมวลชนเพื่อให้หันมาสนับสนุนหรือเทิดทูน อุดมการณ์ชุดหนึ่งๆ และยังหันมาจับตามองกันเองเพื่อค้นหาคนที่ไม่เชื่อฟังต่อรัฐ
Repressive law หมายถึงกฎหมายที่เข้มงวด มุ่งกดขี่ประชาชน ปราศจากความยุติธรรม
Judicial corruption หมายถึงสถาบันทางกฎหมายที่ตราชั่งเอียงไปเอียงมา ปราศจากการพิจารณาคดีที่ยุติธรรมและอิสระเพราะถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหาร
Secret police หมายถึงตำรวจลับซึ่งแทรกตัวเข้าไปในทุกอณูของสังคม ในเยอรมันตะวันออก หน่วยตำรวจสตาซีได้บีบบังคับให้ประชาชนมีการสอดแนมและแอบล้วงความลับกันเองแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์หรือสนิทแนบแน่นกันอย่างไรก็ตามก่อนจะรายงานให้ทางการทราบ
Secret prison หมายถึงคุกลับที่เน้นการทำให้นักโทษตายทั้งเป็นมากกว่าเป็นการสั่งสอนให้เกิดสำนึกด้วยวัตถุประสงค์คือทำให้ประชาชนซึ่งรู้คำเล่าลือไม่กล้าเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ
Strict censorship หมายถึงการเซนเซอร์หรือการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกอย่างเข้มงวดแม้แต่ด้านศิลปะ การแสดงออกเรื่องทางเพศ
Fear-inspiring หมายถึงการปลุกปั่นให้มวลชนเกิดความกลัวเช่นใช้กฎหมายแบบเข้มงวดจนเกิดจริงและไม่ตั้งอยู่บนเหตุผลแม้แต่น้อย จนประชาชนเกิด Self-censorship หรือการงดการแสดงออกทางการเมืองเพื่อไม่ให้มีปัญหากับรัฐ
8.Autocracy
Autocracy เป็นคำแปลของเผด็จการแบบรวมๆ คือ สามารถใช้แทนเกือบทุกคำข้างบนสำหรับผู้มีอำนาจปกครองแบบเด็ดขาด กระนั้นเองก็มีผู้สร้างคำว่า Liberal autocracy หรือการปกครองแบบเผด็จการแต่เน้นหลักการณ์แบบเสรีนิยมดังเช่นการที่อังกฤษปฏิบัติต่อเกาะฮ่องกงในช่วงเป็นอาณานิคม คือชาวฮ่องกงไม่สามารถเลือกผู้ว่าการเกาะเองได้ แต่อังกฤษก็ได้ปลูกฝังให้คนฮ่องกงมีความศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยและระบบนิติรัฐ อันเป็นสาเหตุให้ฮ่องกงไม่ค่อยมีความสงบทางการเมืองเลย ภายหลังจากที่อังกฤษส่งมอบเกาะให้กับจีนเมื่อปี 1997 เพราะคนฮ่องกงนั้นขาดความศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อนำไปเทียบกับรัฐบาลอังกฤษ
ระบอบเผด็จการอำนาจนิยมภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560
สำหรับประเทศไทย หากพิจารณาจากสื่อมวลชนที่เอียงข้างเข้าฝ่ายทหารจะพบว่ามีการเขียนสรรเสริญยกย่องรัฐบาลว่ามีลักษณะการปกครองแบบนี้เช่นเดียวกับ Benevolent dictatorship (เผด็จการใจดี) อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (ภายใต้มาตรา 44 รัฐธรรมนูญ 2557 และได้รับรองในมาตรา 265 รัฐธรรมนูญ 2569 ฉบับปัจจุบัน)โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ
กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ
ดังนั้นอำนาจนิยมของประเทศไทยมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล
แต่อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม (ใกล้เคียงกับระบอบคอมมิวนิสต์) ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้
ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยหลังจากการเปบี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประขาธิปไตยอันมีพระมกากษัตริย์ทรงเป็นมุข แต่กลับเปลี่ยนผ่านของการใช้อำนาจปกครองนำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายระบอบประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดปัจจุบันในประเทศไทย ถือได้ว่า “ระบอบประชาธิปไตย” ถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม ดังเช่น ที่เกิดขึ้นในประเทศบราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ภายใต้ “อำนาจนิยม” วางหลักการกำหนดที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือ “ระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง” ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ ที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคติ
อ้างอิง
https://prachatai.com/journal/2014/10
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Authoritarianism
http://en.wikipedia.org/wiki/Liberal_autocracy
1. Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
2. ↑ Linz, Juan (2000). Totalitarian and authoritarian. Boulder: Lynne Rienne.
3. ↑ Badie, Bertrand, Dirk Berg-Schlosser, and Leonardo Morlino (2011). International encyclopedia of political science. Thousand Oaks, Calif.: SAGE Publication
4. ↑ Linz, Juan (2000). Totalitarian and authoritarian. Boulder: Lynne Rienne.
5. ↑ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (2552). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
6. ↑ Kesboonchoo-Mead, Kullada (2012). “The cold war and Thai democratization”. In Southea and the cold war. New York: Routledge
7. เกษียร เตชะพีระ (2547). “วัฒนธรรรมการเมืองอำนาจนิยมแบบเป็นปฏิปักษ์กับการปฏิรูปภายใต้ระบอบทักษิณ” ใน สมชาย หอมลออ (บ.ก.), อุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร: บทสะท้อนวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย, กรุงเทพฯ : คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน, หน้า 3-19
8. https//prachatai.com/journal/2014/10
9.
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Authoritarianism
10.
http://en.wikipedia.org/wiki/Liberal_autocracy
「authoritarianism totalitarianism」的推薦目錄:
authoritarianism totalitarianism 在 方志恒 Brian Fong Facebook 的最佳解答
【#閱讀筆記】《完美的獨裁》作者斯坦.林根教授發公開信,呼籲中國研究者應視當今中國為「極權政體」(totalitarian state),而不止是「專制政體」(authoritarian state)。今年是改革開放40周年,中國卻在專制與極權之間來回折返,世事諷刺,莫過於此。
Prof. Stein Ringen, the author of “The Perfect Dictatorship”, wrote an open letter to fellow China analysts asking them to face up to the fact that China is now a "totalitarian state", not “an authoritarian system”. This year marks the 40th anniversary of "Reform and Opening-up". It is indeed ridiculous that China is still pacing up and down between authoritarianism and totalitarianism.
#完美的獨裁 #斯坦林根 #極權 #專制 #中國
#PerfectDictatorship #SteinRingen #totalitarianism #authoritarianism #China
------------------------------
Follow me in social media
------------------------------
1. Facebook:facebook.com/brianfonghk
2. Instagram:instagram.com/brianfonghk
3. Twitter:twitter.com/brianfonghk
4. Medium:medium.com/@brianfonghk
5. Google+:goo.gl/XN1oVC
authoritarianism totalitarianism 在 陶傑 Facebook 的最佳解答
Tyranny 往往伴隨一人的情緒喜好,而且在權力絕對化之後,必然發生。羅馬帝國的尼祿、卡利古拉,即是一人獨裁演化為暴政下的暴君。
尼祿甚至精神不正常,卡利古拉則心理變態,一個縱火而俯視羅馬焚燒哈哈大笑,另一個則亂倫。一人的權力完全不受制約,心智一但出現異化,如朱元璋患有被逼害妄想症和極度猜忌,一個朝廷,進而一個國家即刻血流成河。
帝王專政是中國的文化傳統,到了 21 世紀,已經一再驗證成功。
所謂「帝制」,無疑對專制獨裁統治認知過分簡單。
在英文之中,對於「專制」至少有以下詞彙:Dictatorship、Autocracy、Totalitarianism、Authoritarianism、Despotism、Tyranny。
詳細全文:
https://goo.gl/S8MSQU
延伸專題:
【陶傑:喳!】
https://goo.gl/g1zFQK
【20 種方法對抗暴政】
https://goo.gl/wMEKci
【鄭立:如何令你的專制變得開明?】
https://goo.gl/2hVOp9
==========================
【 CUP 媒體 】
在 www.cup.com.hk 留下你的電郵地址,即可免費訂閱星期一至五的日誌。
authoritarianism totalitarianism 在 Totalitarianism vs. Authoritarianism - YouTube 的必吃
Hey there! Welcome to this Mometrix video on totalitarianism vs. authoritarianism. We understand that distinguishing the two can be a little ... ... <看更多>