เทคนิคการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน : ประสบการณ์ผู้เขียน
สิทธิกร ศักดิ์แสง
จากปัญหาและไม่เข้าใจว่า เอางานวิจัยมาบูรณาการและประโยชน์ในการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถาม การบูรณากานงานวิจัยสู่การเรียนการสอน เป็นอย่างไร
ตอบ การบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 นำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา โดยระบุวิธีการ กระบวนการมอบหมายงานให้นักศึกษาโดยกำหนดไว้ในแผนการสอน เข่น กำหนดไว้ใน มคอ.3
รูปแบบที่ 2 จัดเป็นหนึ่งของงานวิจัยให้นักศึกษาจัดทำเป็นปัญหาพิเศษหรือทดลองปฏิบัติในชั่วโมงปฏิบัติการ โดยอาจเป็นกิจกรรมกลุ่มหรือกิจกรรมเดี่ยวให้นักศึกษาหรืออาจารย์ระบุเรื่องที่จะทำวิจัยให้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่อาจารย์รับผิดชอบ
รูปแบบที่ 3 นำผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้ดำเนินการจนเสร็จ นำมาใช้ในการสอนในภาคทฤษฎี (เช่น การนำงานวิจัยในการเขียนหนังสือ ตำรา ในรายวิชาที่สอน) และต่อยอดในภาคปฏิบัติโดยให้นักศึกษาไปจัดทำกิจกรรมเพิ่มโดยเป็นงานวิจัยต่อยอดแล้วนำสรุปผล อภิปรายร่วมกัน
รูปแบบที่ 4 กำหนดหรือมอบหมายให้นักศึกษาทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์โดยจัดทำงานวิจัยในโครงการวิจัยเชื่อมโยงกับงานวิจัยของอาจารย์หรือนำงานวิจัยของอาจารย์มาแยกส่วนย่อยๆและมอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำไปดำเนินงานโดยจัดทำวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ
โดยประสบการณ์ของผู้เขียนจะใช้รูปแบบที่ 3 คือ นำผลงานวิจัยมาเขียนใน หนังสือ ตำรา ใช้สอนในภาคทฤษฎี และนำมาอภิปรายกลุ่มจัดทำกิจกรรม เช่น การทำกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งในรายวิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง โดยนำงานวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน :กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550”
และที่สำคัญในรายวิชาที่ผมสอนส่วนใหญ่รายวิชาที่เน้นภาคทฤษฎี การนำงานวิจัยมาเขียนในตำรา หนังสือ จึงเป็นส่วนสำคัญ
ถาม งานวิจัยที่เราทำไปนั้นเอามาใส่ในหนังสือ/ตำราได้อย่างไร
ตอบ จากประสบการณ์ที่ผมได้นำงานวิจัยที่ผมทำมาบูรณาการสู่การเรียนสอนในการเขียนหนังสือ/ตำรา การเขียนบทความวิจัย อยู่ 4 รูปแบบ
ถาม การนำงานวิจัยมาบูรณาการสู่หนังสือ/ตำรา ในรูปแบบที่ 1 ทำอย่างไร
ตอบ การนำงานวิจัมาบูรณาการในหนังสือ/ตำรา รูปแบบที่ 1 คือ นำงานวิจัย มาแทรกหรือเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาในหัวข้อหนึ่งในหนังสือ/ตำรา เช่น นำแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน จากงานวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550” มาใส่ในตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง ในเรื่องของการใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรง หรือ นำหลักการเรื่องการใข้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครอง จากงานวิจัยเรื่อง ปัญหาการใช้อำนาจผูกพัน อำนาจดุลพินิจของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคส่วผลกระทบต่อเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดขึมพร มาใส่ในเรื่อง หลักการใช้อำนาจทางปกครอง ในตำรากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เป็นต้น
ถาม การนำงานวิจัยมาบูรณาการในหนังสือ/ตำราในรูปแบบที่ 1 ต้องอ้างอิงหรือไม่
ตอบ ต้องอ้างอิงในงานวิจัยครับ ถึงแม้เป็นงานของตนเองก็ต้องอ้างอิง เพราะถ้าไม่อ้างอิงจะเป็นการคัดบอกผลงานตนเอง
ถาม การนำงานวิจัยในมาใส่ในหนังสือ/ตำราในรูปแบบที่ 1 ต้องขออนุญาติเจ้าของทุนวิจัยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องขออนุญาติจากเจ้าของทุนวิจัย
ถาม การนำงานวิจัยมาบูรณาการสู่หนังสือ/ตำรา ในรูปแบบที่ 2 ทำอย่างไร
ตอบ การนำงานวิจัยมาบูรณาการในหนังสือ/ตำรา รูปแบบที่ 2 คือ นำงานวิจัย หัวข้อหนึ่งของงานวิจัยมาใส่เป็นบทหนึ่ง ของตำรา เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง นำมาใส่เป็นบทหนึ่งของตำรา กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง โดยการอ้างอิงที่มาของงานวิจัยนั้นด้วย เป็นต้น
ถาม การนำงานวิจัยมาบูรณาการในหนังสือ/ตำราในรูปแบบที่ 2 ต้องอ้างอิงหรือไม่
ตอบ ต้องอ้างอิงในงานวิจัยครับ ถึงแม้เป็นงานของตนเองก็ต้องอ้างอิง เพราะไม่อ้างอิงจะเป็นการคัดลอกผลงานตนเอง
ถาม การนำงานวิจัยในมาใส่ในหนังสือ/ตำราในรูปแบบที่ 2 ต้องขออนุญาติเจ้าของทุนวิจัยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องขออนุญาติจากเจ้าของทุนวิจัย แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของงานวิจัย
ถาม การนำงานวิจัยมาบูรณาการสู่หนังสือ ในรูปแบบที่ 3 ทำอย่างไร
ตอบ การนำงานวิจัยมาเป็นหนังสือใน รูปแบบที่ 3 หลังจากได้สรุปทำรายงานวิจัยเสนอต่อเจ้าของทุนวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยแล้ว ถ้าผู้วิจัยจะต่อยอดหรือการบูรณาการงานวิจัย เช่น การบูรณาการงานวิจัยเป็นหนังสือวิจัย ก็สามารถทำได้
ถาม การบูรณาการงานวิจัยในรูปแบบที่ 3 ต้องขออนุญาติเจ้าของทุนวิจัยหรือไม่
ตอบ ในกรณีงานวิจัยนั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของทุนวิจัย ผู้วิจัยต้องขออนุญาตเจ้าของทุนวิจัยก่อน เพราะในข้อสัญญาทุนวิจัย จะระบุว่าวิจัยนั้นเป็นของใคร ถ้าไม่ได้ระบุว่าเป็นของใคร ก็เป็นของผู้วิจัย แต่โดยหลักส่วนใหญ่งานวิจัยจะเป็นของเจ้าของทุนวิจัย ดังนั้นเอางานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากการเผยแพร่งานวิจัย ต้องไม่ต้องขออนุญาติเจ้าของทุนวิจัย
ในกรณีงานวิจัยของผู้เขียนเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าของทุนวิจัย ผู้วิจัยก็ได้ทำเป็นหนังสือรายงานวิจัยเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยก็อนุญาตให้ทำเป็นหนังสือวิจัย
หนังสือ รายงานการวิจัย โดยการนำงานวิจัยมาสังเคราะห์ เรียบเรียงเป็นหนังสือวิจัย มีอยู่ 2 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1 รายงานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำและการควบคุมการกระทำทางปกครองโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง : กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ” โดยการแยกหัวข้อ แต่ละหัวข้อ ออกมาเป็นบท คือ
บทที่ 1 ความสำคัญและความเป็นมา
บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง
บทที่ 3 แนวคิดว่าด้วยการควบคุมการกระทำทางปกครองและหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกควบคุมการกระทำทางปกครอง
บทที่ 4 กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
บทที่ 5 กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
บทที่ 6 กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
บทที่ 7 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ
บทที่ 8 บทสรุปข้อเสนอแนะ
เรื่องที่ 2 นำงานวิจัย เรื่อง “ปัญหาสถานะและการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัตืรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา” นำไปเขียนเป็นหนังสือ เรื่อง “สถานะอันหลากหลายของพระราชกฤษฎีกาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 “ โดยมีวิธีเขียนดังนี้
เอาบทที่ 1 มาย่อสรุปเขียนเป็นคำนำ
เอาบทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี ทบทวนวรรณกรรม แยกออกมาเขียนขยาย โดยแยกเป็นบทตามความเหมาะสมของเนื้อหา
ตัดบทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัยออกไป เพราะเนื้อหาส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในหนังสือ
เอาบทที่ 4 มาเขียนเพิ่มเติมพร้อมยกตัวอย่าง เช่น นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลปกครอง หรือข้อหารือคณะกรรมการต่างๆ มาเสริม
บทที่ 5 บทวิเคราะห์ ก็เขียนวิเคราะห์เพิ่มเติมแยกประเด็นให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เช่น นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลปกครอง มาเสริมและที่สำคัญมีตารางเปรียบเทียบได้ยิ่งดี
บทที่ 6 บทสรุป นำไปเขียนเป็นบทส่งท้าย เพิ่มขยายประเด็นการสรุปและประเด็นการนำเสนอหรือข้อเสนอแนะ
ถาม การบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอนในรูปแบบ 4 ทำอย่างไร
ตอบ การบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอนในรูปแบบที่ 4 คือ ผมได้นำงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความวิจัยมาวิเคราะห์ในประเด็นหัวข้อในงานวิจัย
อนึ่งการที่จะนำบทความความวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนได้โดยส่วนใหญ่งานวิจัยจะเป็นงานวิจัยในประเด็นหัวข้อหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเกือบทั้งหมด และใช้สอนในระดับปริญญาโท โดยใช้หลักวิชาในการเรียนการสอนมาวิเคราะห์ศึกษางานวิจัย ทำให้งานวิจัยนั้นสามารถเขียนเป็นบทความวิจัยได้หลายเรื่องแล้วนำมาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสื่อการสอนนอกจาก หนังสือ ตำรา คือ บทความวิจัย
ถาม การบูรณาการงานวิจัยเขียนบทความวิจัยเสนอตีพิมพ์นี้ต้องได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของทุนวิจัยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องครับ สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ได้เลยและต้องระบุงานวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย
ถาม ในงานวิจัยนั้นผู้วิจัยทำกันหลายคน นำไปตีพิมพ์เผยแพร่คนเดียวได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ครับ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าปู้วิจัยร่วมแสดงความยินยอมและรับทราบเป็นหนังสือ ก็อาจจะเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าผิดจรรยาบรรณ
ถาม การนำงานวิจัยทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ได้ทำมานานหรือยังไร
ตอบ การนำวิจัยมาบูรณาการสู่การเรียนการสอนนี้ ทั้ง 4 รูปแบบนี้ผู้เขียนได้ทำมาตั้งเริ่มเขียนเอกสารประกอบการสอน พัฒนาเป็นเอกสารคำสอนและพัฒนามาเป็นตำราและเขียนตำราเล่มแรกในปี 2549 และทำมาตลอด ถึงปัจจุบัน
ถาม การบูรณาการบริการวิชาการจากงานวิจัยสู่การเรียนการสอนได้อย่างไร
ตอบ จากการนำงานวิจัยไปบูรณาการสู่การเรียนการสอน มีได้หลายรูปแบบ ที่ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้และได้จัดทำกิจกรรมในการบริการวิชาการ
รูปแบบหนึ่งที่ผมทำ เช่น การจัดทำกิจกรรมของนักศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในทางการเมืองการณรงค์การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การเดินรณรงค์ให้เห็นความสำคัญการเลือกตั้ง ในการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน ในรายวิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง เป็นต้น
ถาม จากการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอนเราจะได้ประโยชน์อย่างไร บ้าง
ตอบ การบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน เราจะได้ประโยชน์หลายประการ ได้แก่
ประการที่ 1 การบูรณาการงานวิจัยสู่การเขียนหนังสือ ตำรา ผู้เขียนได้นำงานวิจัยมาเขียนไว้ในตำรา ที่ใช้สอน เช่น ตำราหลักกฎหมายมหาชน และได้นำตำรานี้เสนอตำแหน่งรองศาสตราจารย์
ประการที่ 2 การบูรณาการงานวิจัยเป็นหนังสือวิจัย เพื่อเตรียมเสนอขอตำแหน่งศาสตราจารย์ในอนาคต
ประการที่ 3 การบูรณาการงานวิจัยในหนังสือ ตำรา ใช้สอน มันจะช่วยให้การเรียนการสอนเกิดประโยชน์กับตัวเราและตัวนักศึกษา สามารถนำตัวอย่างประเด็นที่เราทำวิจัยมาอธิบายให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพ เห็นตัวอย่าง ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ในการเรียนการสอน
ประการที่ 4 การบูรณาการงานวิจัย มาเขียนบทความวิจัย เพื่อบริการวิชาการ และเกิดผลงานวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ ประโยชน์ในการประกันคุณภาพของคณะและมหาวิทยาลัย และที่สำคัญนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน เป็นต้น
แนวคิดทฤษฎี คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
การวิเคราะห์สังเคราะห์งานวิจัยด้วยบทสรุปผู้บริหาร
ผมคิดอยู่เสมอตั้งแต่เคย เป็น ผอ.วิจัย ม.ตาปี เมื่อ ปี 2556 ว่าเราทำอย่างไรกับงานวิจัยที่ได้ทำมาแล้ว นั้นมาแนวทางพัฒนาต่อยอดได้อย่างไร ทั้งตัวผู้วิจัยและหน่วยงานให้ทุนวิจัย จะได้ประโยชน์และมีแนวทางพัฒนาต่อหน่วยงานอย่างไร แต่ผมก็ไม่ได้ทำตามความต้องการเพราะลาออกจากงาน เพื่อเตรียมไปอยู่กับพี่สาวที่เยอรมัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ไป ว่างงานมาทำงานที่ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยก็ยังอยู่เสมอ
ในส่วนพัฒนาตนเอง จะดำเนินการต่อยอดงานวิจัย คือ
1. การนำงานวิจัย มาพัฒนา คือ
1) นำงานวิจัยมาเขียนไว้ใน หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ในแต่หัวที่เกี่ยวข้อง
2) นำงานวิจัยมาเขียนเป็นหนังสือรายงานวิจัย โดยมีการเขียนเพิ่มเติม ในรูปแบบหนังสือ
2.นำงานวิจัยไปเขียนบทความวิจัย ถึงแม้งานวิจัยเหล่านั้นไปปิดเล่มไปแล้ว
ในส่วนของการพัฒนาองค์กร
1.ในส่วนที่ตนเองสามารถทำได้ ซึ่งตัวเองเป็นบุคลากรในองค์กร ที่สามารถทำได้ก็คือ
1)กระตุ้นให้เพื่อนร่วมวิชาการ เขียนผลงานด้วยงานวิจัย เช่น การเขียนบทความวิจัย มากกว่าการนำงานวิจัยแต่ประชุมวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อการประกันคุณภาพการศึกษา
2)กระตุ้นให้เพื่อร่วมวิชาการ นำงานวิจัยมาบูรณาการ เขียนเอกสารประกอบสอน เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา โดยได้เขียนหนังสือเทคนิคการเขียนผลงานวิชาการบูรณาการสู่การเรียนการสอน: ประสบการณ์ผู้สอน ขายและแจกแก่คณาจารย์ที่สนใจ
2.ในส่วนการพัฒตาที่ตนเองทำไม่ได้ ตัวเอง
1) แต่ได้เสนอแนวคิดการจัดทำยกร่างการคุ้มทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากร กับมหาลัย
2) เสนอให้มกาวิทยาลัยได้ทำการวิเคราะห์ งานวิจัยของมหาลัยว่าได้ประโยชน์อะไร บ้าง ต่อยอดอะไรบ้าง
ถ้าได้ ซึ่งต้องรื้อค้นข้อมูลทั้งหมดหรือต้องการสกัดออกมา ได้จากบทคัดย่อ เท่านั้น อาจก็ไม่ได้ข้อมูลอะไร
ผมได้นั่งคิด ว่าควรมีแนวทางอย่างไร ผมคิดได้ จากที่ผมได้รับทุนวิจัยของวุฒิสภาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในรายงานวิจัยนั้นต้องเขียน บทสรุปผู้บริหารด้วย นอกจาก บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ เนื้อหา บทที่ 1 ความเป็นมา บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี บทที่ 3 วิธีวิจัย บทที่ วิเคราะห์งานวิจัย บทที่ 5 สรุปเสนอแนะ และบรรณานุกรม
ซึ่งในส่วนของบทสรุปผู้บริหาร นั้นทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาเป็นเรื่อง ๆ ทำเป็นหนังสือรวมวิจัย เพื่อ
1.บริการวิชาการ
2.เป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์วิจัยของหน่วยงาน เพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัย
สำหรับผมเลยเสนอเงื่อนไข ทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ทำ “บทสรุปผู้บริหาร” มาด้วยนอกข้อกำหนด และควรทำแบบฟอร์ม แบบให้มีความชัดเจนที่ทุกคนต้องทำ เพราะคิดว่าบทสรุปผู้บริหารมีข้อมูลเพียงพอที่มหาลัยจะทำอะไรต่อไปได้ อะไรมากมาย
แนวคิดทฤษฎี คือ 在 R004_ศาสตร์ แนวคิดทฤษฎี และการวิจัย - YouTube 的必吃
[Research] EP.14 ทฤษฎีคือ อะไร และการใช้สร้างสมมติฐานการวิจัย (Theory & Hypothesis building). Is that nerd วิจัย วิทยานิพนธ์. ... <看更多>