ไปเก็บดาว ที่ภูสอยดาว
ทริปนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อผมกับคุณแม่กางแผนที่ประเทศไทยขึ้น
“ภูสอยดาว ชื่อเท่ห์ดีเนอะ! เราไปที่นี่ละกัน สวยแน่”
ผมบอกคุณแม่ทั้งๆที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ จุดเล็กๆบนแผนที่ที่ตั้งอยู่จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ชื่อว่า “ภูสอยดาว”
“มันไกลไหมอะปั้น” คุณแม่ถาม
“ไม่ไกลหรอกกกก เชื่อดิ อย่างมากก็ 5 ช.ม.จากกรุงเทพ!!”
การคาดการของผมมันผิดพลาดอย่างมหันต์เลยละครับ
ออกจากบ้านตอน 8 โมงเช้า กว่าจะมาถึงภูสอยดาว ก็เกือบหกโมงเย็น ผลัดกันขับรถทั้งวัน
ผมกับน้องๆก็รีบเอาเต็นท์ออกมากางก่อนฟ้าจะมืด พอจัดของเสร็จเรามองขึ้นบนฟ้า
ก็เข้าใจเลยละว่าทำไมที่นี้จึงชื่อว่า “ภูสอยดาว”
ดาวเต็มฟ้ามากๆ มันสมชื่อจริงๆ ภูสอยดาว คืนนี้ให้ผมสอยทั้งคืนก็ไม่หมด
“ปูน ปูน ไหนๆ ทางช้างเผือกอยู่ตรงไหน” น้องสาวผมเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ตอนนี้กำลังฝึกสอนเด็กมัธยม เรื่อง "ดวงดาว"
“ทางช้างเผือกมันคือ asteroid belt เข้าใจปะเฮียปั้น!”
“Asteroid belt นี่มันอะไรวะปูน”
“มันคือ แถบดาวเคราะห์น้อย ไงละ!! ไม่รู้เรื่องเลย”
“อ้าวปูนทางช้างเผือกนี่ไม่ใช่ที่ โกโบริ รอ อังศุมาลิน อยู่หรอ” ผมกวนตีนน้องสาวของผม
“อันนั้นก็ใช่! แต่จริงๆแล้วนะ โลกก็เป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือกนะ”
“มั่วเปล่า ถ้าโลกอยู่ในทางช้างเผือกแล้ว เราจะเห็นทางช้างเผือกได้ยังไงวะปูน”
“ไม่รู้เรื่องอีกละ! ทางช้างเผือกมันใหญ่มากๆ มีกาแล็คซี่น้อยใหญ่รวมกันอยู่นับล้านกาแลคซี่เลยละ ที่เราอยู่มันคือปลายทางช้างเผือก” ปูนมันรู้จริงคราวนี้
“อ้าวว ยังงี้ตามทฤษฎี โกโบริก็ไม่ได้ไปรอ อังศุมาลินที่ไหนไกลดิวะ รออยู่ในโลกก็ได้” ผมตอบปูนแบบกวนๆอีก
ในขณะนั้นผมกำลังจินตนาการไปไกลเลย ทมยันตี นี่คิดได้ไงวะ ต้องให้วิญญาณของโกโบริไปรอที่ ปลายทางช้างเผือกอีกข้างหนึ่งแล้ว พอถึงเทศกาลทานาบามัตสุริ ในวันที่ 7 ของเดือนที่ 7 ทั้งสองจะเดินข้ามทางช้างเผือกมาพบกัน.....สุดยอดดดอะ คิดได้ไงวะ
“เฮียปั้นนี่ไม่ไหวเลย” ปูนตีแขนผม
“เป็นนักเขียนได้ไงอะ ไร้จินตนาการจริงๆ”
Phu Soi Dao, Thailand
#TheWalkingBackpack
-----------------------------------------------------
ภาพนี้เป็นผลงานของผม แต่มันคือความลำบากของปูน น้องสาวผมเลยละครับ ผมสั้งให้ปูนเข้าไปในเต็นท์แล้วเอาไฟฉายส่องเต็นท์เป็นนาทีๆ แล้วก็ให้ปูนมากดชัตเตอร์ ถึอแฟลต ทำทุกอย่างที่พี่ชายสั่งเลยละ
ก็อย่างที่ผมบอกน้องผม เพจ The Walking Backpack คือธุรกิจครอบครัว ต้องช่วยๆกันทำ
แถบดาวเคราะห์น้อย 在 แถบดาวเคราะห์น้อย วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (โลก และดาราศาสตร์) 的必吃
แถบดาวเคราะห์น้อย ผลิตโดย สสวท. สื่อชิ้นนี้ประกอบการใช้งานกับ "หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.4-6 ดวงดาวและโลกของเรา" หน้า 37 ... ... <看更多>
แถบดาวเคราะห์น้อย 在 แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt)... - มิตรเอิร์ธ - mitrearth 的必吃
#แถบดาวเคราะห์น้อยหลัก (Main Asteroid Belt) คือ กลุ่มดาวเคราะห์น้อยที่โคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารและ ดาวพฤหัสบดี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยกลุ่ม ... ... <看更多>