Beam’s Story เรื่องของบีมและญี่ปุ่น (EP25)🌸⛩
【ความผิดหวังที่ตัวเองคาดหวัง】📚
ความเดิมตอนที่แล้ว บีมกำลังเล่าถึงตอนที่บีมสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาลัย กำลังรอผล
หลังจากรอหลายเดือน ในที่สุดก็จะประกาศผลว่าเรามีสิทธิ์เรียนคณะไหน !!!
ที่เลือกไปก็จะคือ
1.อักษรศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น จุฬา
2.ศิลปศาสตร์ธรรมศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น
3.มนุษย์ศาสตร์ เกษตร ภาษาญี่ปุ่น
4.อักษรศาสตร์ ศิลปากร ญี่ปุ่น
ค่อนข้างมั่นใจว่า จะติดสักที่ในนี้ แหละ แต่ไม่มั่นใจว่าจะติดจุฬาไหม พึ่งโชคเลยอ่ะ นี่ถึงกับไปบนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์แถวๆโรงเรียนว่าขอให้เราติดจุฬา ด้วยความที่เราเรียนห้องคิงมาตลอดตั้งแต่ประถม เพื่อนๆเราเกินครึ่งห้องเลือกจุฬา เราก็อยากเลือกบ้างง่ะ TT เกรดเราไม่เคยต่ำกว่า 3.8 รอบข้างใครๆก็พูดถึงแต่จุฬา เราก็ไม่รู้จะทำไง 555 พี่น้องไม่มี ญาติก็ไม่มีใครเรียน ก็ไม่รู้จะถามใคร พ่อแม่ก็ไม่รู้
4 อันดับที่เลือกมาคือ เรียงลำดับการเลือกคณะต่างๆตามคะแนนสูงสุดต่ำสุดของแต่ละปี
ปรากฏวันผลสอบออก
เราบอกที่บ้านว่าไปอยู่ที่อื่นให้หมด เราจะดูคนเดียว
ยินดีด้วย “ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น”
เท่านั้นแหละ
กรีดร้องเลย ไม่ได้ดีใจนะ 55 เดี๋ยวทุกคนนึกว่าดีใจ คือร้องไห้โฮเหมือนคนบ้าเลยแหละ
เหมือนเด็กฝันสลายอ่ะ คือไม่ได้ว่าธรรมศาสตร์ไม่ดี แต่หัวเรามีแต่จุฬา ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราคิดว่าเราต้องอยู่จุฬา เราต้องอยู่จุฬา เราต้องอยู่จุฬา เราต้องอยู่จุฬา เราต้องอยู่จุฬา
เสียใจที่สุดเลยตอนนั้น ไล่แม่ไล่พ่อขึ้นไปบนบ้าน แล้วร้องไห้ลั่นเลย จากนั้นก็ร้องไห้หลายวันเลย จนแบบค่อยๆหายเสียใจ
ร้องไห้จนคิดว่า
จะมานั่งร้องไห้ทำบ้าอะไรเนี่ย (คิดได้เองอีก 555)
คนอื่นอีกหลายคนที่เขาอยากเข้าที่นี่แล้วไม่ได้เข้า
คนอื่นอีกหลายคนที่เขาอาจจะไม่มีโอกาสสอบเข้าได้เหมือนเรา
ทำไมต้องมานั่งเสียใจอะไรแบบนี้ด้วย
สอบเข้าได้นี่ก็ดีที่สุดแล้ว
ลืมเรื่องที่ผ่านมา แล้วตั้งใจเข้าสู่โลกใหม่ดีกว่า
ปีนั้นคะแนนต่ำสุดของเอกญี่ปุ่นจุฬา คือ 8020 คะแนน เราขาดอีกไม่ถึง 100 คะแนนก็จะเข้าได้แล้ว ประมาณว่ากาข้อสอบถูกอีกสักข้อสองข้อ มันก็เลยน่าเจ็บใจ พอผิดหวัง มันรู้สึกเหมือนโลกทลาย ดิ่งลงเหว อะไรประมาณนั้น ชีวิตเราไม่ค่อยมีเรื่องผิดหวังเท่าไหร่ เราเลยไม่ค่อยได้เรียนรู้ว่าความผิดหวังมันรู้สึกแบบไหน เรียกได้ว่าตอนนั้นใจเรายังไม่โต
หลังจากทำใจได้นี่แบบ จิตใจโตขึ้นเลยอ่ะ 555555555555555
เพราะเวลามันย้อนกลับไปไม่ได้ปะ มันผ่านแล้ว ติดที่นี่แล้ว ควรจะดีใจ หาเพื่อนใหม่นะ
แล้วหลังจากที่เราปรับตัวเข้ากับ มธ.ได้แล้วชีวิตเรามีความสุขมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เราไม่ต้องปวดหัวกับเลขกับวิทย์ มีเพื่อนที่คุยเรื่องเดียวกัน อาจารย์เก่งๆทั้งญี่ปุ่นทั้งไทย เป็นชีวิตมหาลัยที่เราแบบมีความสุขมาก เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตการเรียนเราเลยก็ว่าได้
แล้วก็ตั้งใจเรียนมาเรื่อยๆจนได้เกียรตินิยมอันดับ 1 จบป.ตรีมาด้วยเกรด 3.76 แล้วก็ได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นมาเรียนต่อปริญญาโท
ครั้งหน้าบีมจะมาเล่าเรื่องตอนที่บีมเรียนเอกญี่ปุ่น ที่ธรรมศาสตร์ให้ฟังต่อค่ะ ว่าเรียนอะไรกันบ้างนะ แล้วผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะเรียนจบ
-----------------------------------------
แต่ถ้าบีมไม่ติดอันดับ 2 ในวันนั้น วันนี้อาจจะไม่มีเพจ BeamSensei ก็ได้นะ ฮ่า
ต่อตอนหน้าจ้า
BeamSensei
-------------------
อัพทุกวันศุกร์
ตอนเก่าๆไถหาเอาเองนะคับ แฮร่
「อักษรศาสตร์ คือ」的推薦目錄:
- 關於อักษรศาสตร์ คือ 在 BeamSensei Facebook 的最讚貼文
- 關於อักษรศาสตร์ คือ 在 BeamSensei Facebook 的最佳貼文
- 關於อักษรศาสตร์ คือ 在 สมองไหล Facebook 的最佳貼文
- 關於อักษรศาสตร์ คือ 在 อักษรเรียนอะไร จบไปทำอะไรดี| เปิดจักรวาล EP.4 คณะอักษรศาสตร์ ... 的評價
- 關於อักษรศาสตร์ คือ 在 เรียน จบ คณะ อักษรศาสตร์ เรา ทำ อาชีพ อะไร ได้ บ้าง นะ? - Facebook 的評價
อักษรศาสตร์ คือ 在 BeamSensei Facebook 的最佳貼文
Beam’s Story เรื่องของบีมและญี่ปุ่น (EP22)🌸⛩
【สอบเข้ามหาลัย เตรียมตัวยังไง เลือกมหาลัยอะไรบ้าง !!!】
ปล.นานแล้วนะ เกิน 10 ปี ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 📚
แต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับน้องๆและผู้อ่านค่ะ 🏫
บีมเตรียมอ่านหนังสือสอบเข้ามหาลัยตั้งแต่ช่วงปิดเทอมเล็กม.4 แต่ตอนนั้นอ่านแต่ภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียวนะ คือมีเวลาว่างก็พยายามอ่านทบทวน ท่องศัพท์ เอาข้อสอบเก่าๆมาทำ ทำทุกปิดเทอมเลย
ก็ยอมรับว่าขยันมากมาย ที่ขยันไปก็ไม่ใช่อะไร
นอกจากภาษาญี่ปุ่นกับคอมพิวเตอร์คือบีมไม่มีอะไรเรียนได้ดีเลยอะ 555
จนประมาณปลายเทอมม.5มั้งถึงเริ่มเรียนพิเศษวิชาที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม
ใจนึงบีมแอบเสียดายนะ กับความรู้(ที่ไม่ค่อยเข้าหัว555)ในสายวิทย์ที่บีมเรียนมา หลายๆคนคิดว่าถ้าบีมเรียนภาษาก็ได้ ไปทางสายวิทย์ก็ได้มันน่าจะต่อยอดออกไปได้หลายอย่าง ได้ทั้งวิชาสายวิทย์ แล้วก็ยังได้ภาษาอีก
ซึ่งบีมก็เคยคิดแบบนั้นแหละ บีมถึงเลือกเรียนสายวิทย์มา แต่พอมาเทียบกับความสุขในอนาคตที่น่าจะไม่มี เพราะทรมานกับการเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบแล้ว
ก็เลยตัดสินใจ "เท" ทุกอย่างไปหมด เป้าหมายอย่างเดียวคือ “ฉันต้องเข้ามหาวิทยาลัยภายได้ภาควิชาเอกภาษาญี่ปุ่นให้ได้”
สมัยรุ่นที่บีมสอบเป็นรุ่นที่เรียกว่า Admission โดยใช้ผลสอบ Anet-Onet +คะแนน Gpax ที่โรงเรียนรวมกัน บอกตรงๆว่าคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องจริงๆ คุยกับใครไม่รู้เรื่องด้วย เพราะรอบตัวเราไม่มีใครเป็นเหมือนเราเลย เพราะเราตัดใจแบบทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วเบนไปสายภาษา 100%
อาจารย์แนะแนวก็ช่วยแนะนำมากไม่ได้ นอกจากบอกว่าให้พยายามเข้านะ เธอน่าจะทำได้แหละ
สุดท้ายก็ช่วยกันดูกับแม่อย่างเดียวว่าเราจะเลือกที่ไหนบ้าง ใช้คะแนนสอบของอะไรบ้าง สรุปก็คือ เอกภาษาญี่ปุ่นที่บีมจะเลือกมี
1.อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
2.ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
3.มนุษย์ศาสตร์ เกษตร
4.อักษรศาสตร์ ศิลปากร
สมัยบีมให้เลือกได้ 4 อันดับค่ะ ซึ่งบีมเลือกตามนี้ เรียงลำลับตามนี้เลย วิชาที่ใช้สอบคือ
A-net ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น
O-net ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม
บีมถึงได้เทเลขกับวิทย์ได้ด้วยประการฉะนี้ 555
เทนี่คือ เทหมดหน้าตักนะคะ คือไม่แตะ ไม่อ่าน ไม่ทบทวน ไม่อะไรทั้งสิ้น
บีมขอไม่พูดถึงมหาลัยอื่นเพราะบีมจำข้อมูลไม่ได้ 555 จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า บางมหาลัยทุกคนต้องเริ่มเรียนนับ 1 ใหม่หมด บางมหาลัยต้องใช้คะแนนญี่ปุ่นเท่านั้นถึงเข้าได้ สามารถเข้าไปเรียนต่อระดับกลางได้เลย ซึ่งบีมขอยกตัวอย่างธรรมศาสตร์
ธรรมศาสตร์ในตอนนั้นหากจะเข้าเอกญี่ปุ่นรับ 2 แบบ คือ
1. มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นมาก่อน ใช้คะแนนญี่ปุ่นยื่น ถ้าติดก็เข้าไปเลย 25 คนของประเทศ
2. ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นมาก่อน ใช้คะแนนอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นยื่น ห้ามมีคะแนนญี่ปุ่น เข้าไปเอกรวม ลงเรียนวิชาญี่ปุ่นแล้วไปแข่งกันเข้าเอกทีหลัง
ซึ่งบีมเลือกแบบแรก บีมก็ใช้คะแนนญี่ปุ่นยื่นไปเลย แต่มาคิดย้อนหลังก็ใจกล้ามากนะ ไม่ได้เรียนศิลป์ญี่ปุ่นมาด้วย เรียนพิเศษเป็นงานอดิเรก แต่ประเมินตัวเองจากเพชรยอดมงกุฎที่ผ่านมา ถ้าพยายามมากขึ้นก็น่าจะติดจุฬาได้อยู่
พูดตามตรงว่า คณะที่บีมใฝ่ฝันคืออักษรศาสตร์จุฬา เพราะด้วยความที่เราได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง ใครๆก็พูดว่าจุฬาๆๆๆ บีมต้องเข้าจุฬาให้ได้
แต่บีมไม่ได้คิดว่ามหาลัยอื่นไม่ดีนะ เพียงแต่ไม่มีข้อมูลในหัวเลยตอนนั้น ไม่มีอิมเมจเลยว่ามหาลัยอื่นเป็นยังไง รู้จักแค่อักษรจุฬาจริงๆ บีมอยากจะไปยืนจุดที่บีมคิดว่าบีมน่าจะพอใจถ้าบีมทำได้
จะพูดเรื่องการเตรียมตัวสอบ ทำไมมันยาวขนาดนี้ได้ 555
บีมค่อนข้างเป็นเด็กที่มีระเบียบกับชีวิต นอกจากการเขียนบันทึกแล้วบีมจะตั้งเวลาและตารางไว้เลยว่าวันนี้บีมจะทำอะไรบ้าง ต้องเสร็จกี่โมง และบีมจะภูมิใจมากถ้าวันนั้นการใช้ชีวิตของบีมเป็นไปตามตารางที่บีมตั้งไว้ ซึ่งทุกวันนี้บีมก็ยังมีนิสัยอย่างนั้นอยู่นะ 555 มันถึงทำเพจมาได้นานขนาดนี้อะทุกคนนน
ตั้งแต่เด็กๆพ่อแม่ไม่เคยบังคับให้บีมอ่านหนังสือเลย บีมจะอ่านเอง คือเป็นคนไม่เครียดเรื่องอะไรในชีวิตเลย ยกเว้นอย่างเดียวคือเรื่องเรียน เกรดบีมจะตกกว่า 3.8 ไม่ได้ เคยแค่เทอมเดียว ได้ 3.76 บีมร้องไห้ไม่หยุดเลย 555555 บ้าบออออออออออออออ
คือเราก็มีเป้าหมายของเราอะเนอะ เราเป็นคนที่มีนิสัยตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้สูงมากตั้งแต่ตอนเด็กๆ เป้าหมายสูงๆเพื่อทำให้ตัวเราพยายามก้าวไปให้ถึง แต่พอร่วงนี่เจ็บปวดรวดร้าวมากจ้า
ที่บ้านไม่เคยพูดว่าถ้าแกสอบไม่ได้เกิน 3.8 จะไม่ได้ค่าขนมไรงี้ ไม่มีเลย เป็นคนที่กดดันตัวเองเอง ทำตัวเองล้วนๆ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน
ดังนั้นตอนปลายๆม.5 บีมก็เริ่มจริงจังละ บีมตั้งไว้เลยว่าวันนี้บีมจะอ่านทบทวนวิชาอะไร กี่โมงถึงกี่โมง ต้องนอนกี่โมงตื่นกี่โมง
บีมวางหนังสือเรียงไว้เลย ทำตารางไว้เลยของทั้งปี คนส่วนมากทำตารางเป็นวันเป็นสัปดาห์เนอะ ของบีมคือ มีเขียนไว้ตั้งแต่ วัน สัปดาห์ เดือน ปี บ้าไปแล้ว
วางหนังสือเรียงไว้เต็มห้อง
อันนี้สำหรับอ่านวันนี้ อันนี้พรุ่งนี้ แยกชัดเจน แบ่งเวลาชัดเจน เทคนิคของบีมคือ
1. ใช้เวลาครึ่งปีอ่านทบทวนทั้งวิชาที่จะใช้ทั้งหมดก่อน ให้มีข้อมูลวนไปวนมาให้อยู่ในหัว
2. ไปอ่านที่ไหนมาไม่รู้ว่าไม่ควรอ่านหนังสือดึกๆ ควรอ่านเช้าๆเพราะจะจำได้ดี บีมทำขนาดที่ว่าบีมนอนสอง-สามทุ่ม แล้ว ตื่นตี3 ตี4 ทุกวันเพื่ออ่านหนังสือ 555 แล้วพอตี 5 ก็แต่งตัวไปโรงเรียน บังคับให้พ่อซื้อแบรนด์ซื้อวีต้ามากินด้วย ทำแบบนี้อยู่หลายเดือนเลยนะ
จริงๆบีมว่าอาหารเสริมไม่น่าช่วยอะไรหรอกมั้ง แต่ช่วยทางจิตใจได้มากเลย 55555555
3. หลังจากอ่านทบทวนทุกอย่างเสร็จ ก็เริ่มทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง 10 ปี ของทุกวิชาที่ต้องใช้
4. การทำข้อสอบของบีมบีมไม่ได้ทำในหนังสือเลย บีมซื้อกระดาษคำตอบมาแบบที่ใช้สอบที่โรงเรียน อิใบเขียวๆอะ 555
แล้วเขียนชื่อวิชา เขียนปีของข้อสอบ แล้วกาในกระดาษคำตอบเลย (บีมยังเก็บซากไว้อยู่นะ)
5. ข้อสอบฉบับเดียวไม่ได้ทำครั้งเดียว เพื่อไม่ให้เบื่อ บีมทำสลับไป สามวิชา อังกฤษไทยสังคม ย้อนหลังประมาณ 10 ปี ข้อไหนผิดเราก็ไปอ่านเฉลยดูว่าผิดได้ยังไง จำที่เราผิดพลาด แล้ววนทำใหม่อีกนะ
สุ่มเอาว่าจะได้ทำฉบับไหน
6. ภาษาญี่ปุ่นก็เช่นกัน บีมท่องศัพท์ในหนังสือได้ทุกคำ เพราะบีมคิดว่าเรียนมาแล้วมันไม่ควรลืม โอ๊ย 555
แล้วบีมเรียนด้วยหนังสือ Minna no Nihongo นะตอนนั้น ซึ่งเด็กที่เรียนศิลป์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เรียนด้วย Akiko to Tomodachi
ด้วยความที่บีมคิดว่าบีมอาจจะสู้เด็กศิลป์ญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะหนังสือแบบเรียนสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน บีมไปหาซื้อ Akiko to Tomodachi มาหมด 6 เล่มเลย แล้วอ่านตั้งแต่แรกยันจบ ลิสต์คำศัพท์และรูปไวยากรณ์ที่ไม่มีในหนังสืออีกเล่มที่บีมใช้เรียน
7. ในส่วนของข้อสอบชุดนึงบีมทำหลายรอบเหมือนกัน ทำวนไปโดยการสุ่ม จะได้จำไม่ได้ว่าทำไปแล้วหรือยังไม่ได้ทำ พยายามดูว่าเราผิดตรงไหน ต้องหาคำตอบให้ได้ บีมตั้งเป้าไว้ว่าบีมต้องทำคะแนนภาษาญี่ปุ่นให้ได้เกิน 90 เต็ม 100 ทุกฉบับย้อนหลัง (ตอนทำก็ได้บ้างไม่ได้บ้างนะ แต่ไม่เคยได้ 100 เต็ม ฮ่าๆๆ)
8. สามเดือนหลังบีมก็เลิกอ่านหนังสือแล้ว ทำข้อสอบเก่าๆอย่างเดียว อันไหนไม่เข้าใจค่อยไปเปิดอ่านทบทวน ซึ่งชีวิตม.6 บีมก็วนอยู่แค่นี้แหละ จนถึงวันสอบ
------------------------
เป็นไงสาวอึดมั้ย
ยอมรับว่าเป็นคนมีวินัยในตัวเองมากจริงๆ
ใครมาชมก็คือจะไม่ถ่อมตัวเลย เพราะเรารู้ว่าตัวเองมีนิสัยแบบนั้น
ก็ภูมิใจว่าความมีวินัยของเราคือสิ่งที่ทำให้เรามีวันนี้นะ ควรภาคภูมิมากกว่าถ่อมตัว 555555555555555555
อยากรู้แล้วใช่มั้ยวันสอบเป็นยังไง
น้ำตาแตกหลายรอบเลยจ้า
รออ่านตอนต่อไปนะ
*ตอนเก่าๆไถหาเอานะ*
BeamSensei
อักษรศาสตร์ คือ 在 สมองไหล Facebook 的最佳貼文
หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจเเละ เป็นที่ถกเถียงกันมากในยุคนี้ คือ
.
คนที่มีความรู้เเบบ "รู้กว้าง” หรือ มีความรู้หลากหลายเเต่ไม่เด่นสักด้าน กับ “รู้ลึก" หรือ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ่งเพียงเรื่องเดียว
.
ความสามารถเเบบไหนที่ตลาดในยุคนี้ต้องการมากกว่ากัน ?
.
ซึ่งกระแสใหม่ในช่วงนี้ ค่อนข้างจะหนักไปทาง “รู้กว้าง” ว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า ซึ่งสวนทางกับค่านิยมในอดีตที่มองว่า คนที่เชี่ยวชาญในด้านในด้านหนึ่งน่าจะได้เปรียบกว่า
.
ข้อถกเถียงดังกล่าว จึงนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยเขาได้ทำการสำรวจผู้ที่เรียนจบ MBA จำนวน 400 คน จนพบว่าคนที่จบด้าน Investment Banking โดยเฉพาะ จะได้รับการเสนองานน้อยกว่าคนที่มีภูมิหลังเเละประสบการณ์เเบบรู้กว้าง
.
สรุปง่ายๆ ก็คือ คนที่ “รู้กว้าง” ได้รับการเสนองาน “มากกว่า” คนที่ “รู้ลึก” นั่นเอง
.
เช่นเดียวกับข้อมูลจาก บริษัทจัดหางานในอินเดียอย่าง Randstad India เเละ TeamLease services ก็พบว่า เเนวโน้มการจ้างงานของบริษัทต่างๆ ในทุกวันนี้เป็นการมองหาคนที่ “รู้กว้าง” มากขึ้น
.
เเละยังพบอีกว่าคนที่จบด้าน Liberal Arts เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อักษรศาสตร์ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งๆ ที่เคยถูกมองว่าจบมาเเล้วหางานยาก เพราะไม่ใช่สายอาชีพโดยตรง
.
ซึ่งสาเหตุที่บริษัทในยุคนี้เริ่มต้องการคนที่ “รู้กว้าง” มากกว่า คือ
.
- ยุคนี้เป็นยุคที่เน้นการทำงานเเบบทีมเล็ก
.
สังเกตง่ายๆ คือ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กระเเส Startup เริ่มมาเเรง ซึ่งการทำงานเเบบ Startup จะเป็นการทำงานเเบบทีมเล็ก เพื่อประหยัดต้นทุน ประหยัดคน เเละใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเเทน เมื่อทีมเล็กลง คนที่ทำงานก็จำเป็นต้องทำได้หลายอย่าง
.
ดังนั้น การจ้างคนรู้ลึกหรือชำนาญเพียงด้านใดด้านหนึ่งจึงมีความจำเป็นลดลง
.
- ยุคนี้บริษัทเริ่มมองหาคนที่สามารถนำมาฝึกฝนได้
.
ยิ่งเป็นเด็กจบใหม่บริษัทจะสนใจคนที่รู้กว้างที่มีกระบวนการคิดที่ดี มากกว่าคนที่รู้ลึกเฉพาะทางเเค่ด้านใดด้านหนึ่ง
.
เพราะกระบวนการคิดที่ดีฝึกฝนไม่นานก็เก่งหรือเชี่ยวชาญได้ ดีกว่าไปเสี่ยงจ้างคนที่ชำนาญเฉพาะทางซึ่งมีค่าตัวที่เเพงกว่า
.
- ลักษณะงานทุกวันนี้มีความหลากหลายมากขึ้น
.
เพราะทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นเเละเทรนด์ต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนเเปลงอยู่ตลอด ส่งผลให้งานที่ทำต้องปรับเปลี่ยนตามไปเรื่อยๆ เช่นกัน
.
ซึ่งคนที่เชี่ยวชาญเเค่ด้านเดียวมักจะทำงานนอกเหนือขอบเขตความรู้ตัวเองไม่ค่อยเป็น เเละอาจไม่สามารถปรับตัวตามสภาพเเวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้ทัน จึงทำให้สภาพเเวดล้อมเเบบนี้ส่งผลดีกับคนรู้กว้างมากกว่า
.
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะหลายคนยังมองว่าคนที่รู้ลึกยังมีข้อได้เปรียบอยู่เนื่องจากคนที่รู้เเบบกว้างเเต่ไม่เด่นสักอย่างนั้นก็เสี่ยงที่จะถูกเเทนที่ได้ง่ายเช่นกัน
.
พูดง่ายๆ ก็คือ หางานง่ายกว่า เเต่ก็ถูกให้ออกง่ายกว่าเหมือนกัน
.
เเละไม่ใช่ทุกวงการที่ต้องการคนรู้กว้าง เช่น วงการเเพทย์ ที่ยังต้องการคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูงอยู่
.
สรุปเเล้วการมีความรู้เเบบไหนถึงจะดีที่สุด ?
.
คำตอบคือ "การมีความรู้เเบบตัว T ครับ"
.
หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ “ต้องรู้ลึกหรือเชี่ยวชาญอะไรสักด้าน ขณะเดียวกันก็ต้องรู้กว้างในด้านอื่นๆ ด้วย”
.
เพราะการเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องดี เเต่ยุคนี้มันอาจไม่เพียงพอ เพราะการรู้กว้างจะทำให้เราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เเละสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนเเปลงที่รวดเร็วในยุคนี้ได้ทัน
.
.
.
อ่านเรื่องราวที่จะทำให้รู้ว่าคุณจะต้องปรับตัวอย่างไรให้ทันในยุค Disruption ต่อได้ในหนังสือ THE DISRUPTOR
“เปลี่ยนตัวเองเป็นคนที่ดีขึ้น ด้วยการอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม”
.
เเต่ถ้าไม่รู้ว่าตัวเองควรอ่านเล่มไหน ทักมาปรึกษาสมองไหลได้เลย
.
สั่งซื้อหนังสือออนไลน์ง่ายๆ ส่งตรงถึงหน้าบ้านคุณ
ได้ที่ Inbox เพจ #สมองไหล
อักษรศาสตร์ คือ 在 เรียน จบ คณะ อักษรศาสตร์ เรา ทำ อาชีพ อะไร ได้ บ้าง นะ? - Facebook 的必吃
เรียนจบคณะ อักษรศาสตร์ เราทำอาชีพอะไรได้บ้างนะ? . ▶️https://vt.tiktok.com/ZSRnRwdj3/ . #Chula #FutureLeaders #InnovationsForSociety. ... <看更多>
อักษรศาสตร์ คือ 在 อักษรเรียนอะไร จบไปทำอะไรดี| เปิดจักรวาล EP.4 คณะอักษรศาสตร์ ... 的必吃
คณะ อักษรศาสตร์ เรียนแค่ภาษา? จบไปทำงานอะไร? สอบเข้าคณะอักษร? ขอแนะนำให้รู้จักพี่เพชรจากคณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ... ... <看更多>