สติปัฏฐาน ๔ หมายถึงหลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ความระลึกได้ ใช้สติเป็นประธานในการกำหนดระลึก รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ซึ่งจะทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงได้
.
มีทั้งหมด ๔ ประการ
.
" กายานุสสติปัฏฐาน " คือการตั้งสติพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น เห็นว่ากายเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
.
เมื่อจับธาตุต่าง ๆ แยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่าร่างกายก็จะหายไป ดังเช่นที่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เคยเปรียบเทียบร่างกายเหมือนกับเครื่องยนต์..
.
“การทำลายเรือนของอุปาทานทำยังไง คือให้พิจารณาแยกร่างกายกระจายออกไป อย่าให้มีตัว แยกอวัยวะทุกชิ้นส่วนออกไป แยกออกเป็นส่วน ๆ จนหมดตัวคน คนเลยไม่มี เหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล หรือเครื่องยนต์อันหนึ่ง”
.
" เวทนานุสสติปัฏฐาน " คือ การตั้งสติพิจารณาเวทนา กำหนดรู้ในความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆที่ปรากฏขึ้นในตัวเอง ล้วนเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
.
" จิตตานุสสติปัฏฐาน " คือการตั้งสติพิจารณาจิต หรือที่คุ้นเคยกับคำว่า การดูจิต..การดูจิตก็คือการมีสติระลึกรู้เท่าทัน พิจารณาความนึกคิด อารมณ์ที่เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งราคะ โทสะ โมหะ ฟุ้งซ่าน โดยมีสติตามรู้สภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ด้วยใจที่อุเบกขาเป็นกลาง ไม่เข้าไปปรุงแต่งเพิ่ม
.
" ธรรมานุสสติปัฏฐาน " คือ การตั้งสติพิจารณาธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร
.
ขอความสุข สงบ เจริญในธรรม จงมีแก่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านด้วยเถิด
.
" วันพระ "
วันพุธที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด
「อริยสัจ 4 ได้แก่」的推薦目錄:
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最佳貼文
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 Phongsathon Srijun Facebook 的最佳解答
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 พี่แชมป์ น้องปาน Facebook 的最讚貼文
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย ... 的評價
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ (เสียงธรรม) - YouTube 的評價
- 關於อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา : อริยสัจ 4 Ep.1 - YouTube 的評價
อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 Phongsathon Srijun Facebook 的最佳解答
สถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงปฐมเทศนา คือ การแสดงธรรมครั้งแรก เป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา)
ปฐมเทศนา มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมจักร ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่อง อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นเอง
อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 พี่แชมป์ น้องปาน Facebook 的最讚貼文
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2557 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)
ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด
cr.www.dmc.tv
อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ (เสียงธรรม) - YouTube 的必吃
ความจริงของธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือทุกข์เหตุให้เกิดทุกข์ความดับทุกข์ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ... ... <看更多>
อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา : อริยสัจ 4 Ep.1 - YouTube 的必吃
หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหลักธรรมสำคัญในการแก้ปัญหา แบ่งเป็นหลักแห่งเหตุและผล ประกอบด้วย 1.ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ... ... <看更多>
อริยสัจ 4 ได้แก่ 在 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย ... 的必吃
อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ... 4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง มี ... ... <看更多>