ทั้งนี้ เกาหลีเหนือประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียก่อนหน้านี้ หลังจากศาลฎีกาในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีคำพิพากษาเมื่อต้นเดือนนี้ให้เนรเทศนายมุน ชอล-มยอง ชายสัญชาติเกาหลีเหนือ ให้แก่สหรัฐตามข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดน เนื่องจากรัฐบาลวอชิงตันต้องการตัวนายมุนไปดำเนินคดีในข้อหาฟอกเงิน ว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หลักนิติธรรม และขอบเขตอำนาจตุลาการของมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียทิ้งท้ายว่า ยังคงให้ความสำคัญกับเกาหลีเหนือในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อปี 2516 และยังคงพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัฐบาลเปียงยาง นับตั้งแต่เกิดกรณีการลอบสังหารนายคิม จอง-นัม พี่ชายต่างมารดาของนายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เมื่อ 4 ปีก่อน
หลักนิติธรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"ลักษณะของรัฐธรรมนูญ"
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 กรณีนายกรัฐมนตรีอาศัยบ้านพักทหารไม่ขัดต่อมาตรา 184 และมาตรา 186 รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้เกิดความกังขา ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดหรือไม่ ทั้งที่เขียนไว้ว่าเป็น กฎหมายสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามในความคิดบริสุทธิ์ ถือว่ารัฐธรรมนูญของประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ ยังถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด อยู่ดี
รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่สำคัญมีดังนี้
1.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญจึงมีในฐานะเป็นที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์กรของรัฐทุกองค์กรในรัฐต้องเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หลายมาตรา เช่น ในมาตรา 3 มาตรา 5 และ มาตรา 25 เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบการตรากฎหมายและเนื้อหาของกฎหมายต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คือ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีชื่อหรือศัพท์ใช้เรียกเฉพาะเพื่อชี้ให้เห็นว่าพิเศษและต่างจากกฎหมายอื่นๆ ดังนี้
1) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร มีการเคลื่อนไหวพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คำวินิจฉัยของศาลหรือการตีความของศาลจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า "กฎเกณฑ์ใหม่ทำให้รัฐธรรมนูญมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ” ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามนอกจากคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติหรือจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญขององค์กรทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติเชื่อกันว่าต้องทำตามก็ทำให้เกิดบรรทัดฐานหรือกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นได้เช่นกัน
2) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง การใช้อำนาจทางการเมือง รวมไปถึงการกระจายอำนาจการปครอง ดังนี้
(1) รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์
รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์ ซึ่งรัฐธรรมนูญจะประกาศอุดมการณ์ว่าสังคมนั้นๆ เลือกที่จะเป็นสังคมแบบใด เช่น ประเทศไทยเป็นสังคมที่ประกาศอุดมการณ์ในการปกครองแบบรัฐเดี่ยว มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นต้น มีการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ ประกาศอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกทางตลาด และให้รัฐมีอำนาจเข้าแทรกแซงได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น
(2) รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์กับองค์กรในการใช้อำนาจทางการเมือง
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด เช่น การกำหนดว่ารัฐสภากับคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งรัฐสภามีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ซึ่งการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ดีหรือทั้งคณะก็ดี ในทางกฎหมายก็คือการให้ถอดถอนรัฐมนตรีคนนั้นหรือทั้งคณะออกจากตำแหน่ง และในด้านกลับกันก็ให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิถวายคำแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็คือการถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนออกจากตำแหน่งครบวาระนั่นเอง เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรีจึงมีความสัมพันธ์ที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันหรือคานอำนาจกัน (Check and Balance) ในแง่ที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจถอดถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ รัฐสภาถอดถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ฝ่ายบริหารก็ถอดถอนรัฐสภาออกจากตำแหน่งได้ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจะกำหนดให้ศาลมีอิสระในการทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้แก่ตนอย่างเป็นอิสระไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือคำบังคับบัญชาของรัฐสภาและทั้งคณะรัฐมนตรี ศาลมีหน้าที่ผูกพันแต่เฉพาะกฎหมายเท่านั้นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ต้องเคารพและผูกพันปฏิบัติตามคำสั่งคำบังคับบัญชาของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี และที่สำคัญมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ความเป็นอิสระของศาลไม่ผูกพันกับองค์กรใดและไม่ต้องรับผิดชอบกับองค์กรใด แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาและระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับความเป็นอิสระของศาลในการพิพากษาอรรถคดี
(3) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ การใช้และการตีความรัฐธรรมนูญเป็นการใช้และการตีความที่มีการกระจายอำนาจสูง ไม่มีองค์กรใดในรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดสามารถตีความรัฐธรรมนูญได้ทุกเรื่องแต่เพียงผู้เดียว ขึ้นอยู่ตามความสำคัญแต่ละเรื่องไป ซึ่งบางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนกระบวนการตรากฎหมาย บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายบริหารใช้และตีความตามรัฐธรรมนูญในการบริหารราชการแผ่นดิน บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายตุลาการใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนการตัดสินคดีตามกฎหมาย เป็นต้น
3. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
กฎหมายที่มีแนวคิดพื้นฐานเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐ ย่อมส่งผลให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้อำนาจของรัฐไม่ให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่รับรองไว้โดยกฎหมายกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญก็จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้โดยกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ เป็นการใช้หลักการปกครองที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะกระทำการใดได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจและต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมาย (หลักนิติรัฐ) โดยบังคับใช้กฎหมายเสมอภาคเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม)
หลักนิติธรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
นั่งจิบกาแฟเตรียมสอนวิชานิติปรัชญา
ในเรื่อง “รัฏฐาธิปัตย์” สรุปสั้นๆมาให้อ่านกันครับ
ประเด็นวิจารณ์ต่อแนวความคิดต่อปัญหา “รัฏฐาธิปัตย์” อยู่ที่เรื่อง ข้อวิตกใน “อำนาจที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของรัฏฐาธิปัตย์” ซึ่งอาจนำไปการออกกฎหมายโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ภายใต้แนวคิดที่เน้นแต่ “เรื่องความมั่นคงหรือความมีวินัยของสังคม” เท่านั้น จุดบกพร่องสำคัญยังอยู่ที่ไม่มีการแยกแยะให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง “รัฏฐาธิปัตย์ถูกต้องตามกฎหมาย” (De Jure Sovereignty) และ “รัฏฐาธิปัตย์ในสถานะที่เป็นจริง” (De Facto Sovereignty) ซึ่งอาจหมายถึงผู้ที่ขึ้นมามีอำนาจในการปกครองแผ่นดิน โดยใช้อำนาจและบังคับผู้อื่นให้เคารพเชื่อฟังตน ไม่ว่าโดยแบบการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร
ข้อวิตกต่อเรื่องลักษณะของอำนาจทางการเมืองของรัฐาธิปัตย์จึงทำให้มีผู้วิจารณ์ว่า ทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว (ปฏิฐานนิยม) มองกฎหมายในแง่แบบพิธีเก่านั้นหรือมองกฎหมายเป็นเพียงคำสั่งคำบังคับของผู้มีอำนาจอย่างเดียว (ปฏิฐานนิยมของจอห์น ออสติน) โดยมิได้คำนึงถึงประเด็นมูลฐานของกฎหมายในแง่ของความตกลงยินยอมของผู้ปกครองและผู้ภายใต้ปกครอง (ปฏิฐานนิยมของ เอช แอล เอ ฮาร์ท) โดยนัยนี้กฎหมายจึงกลายเป็น
“ยานพาหนะที่สามารถบรรทุกสินค้าใด ๆ ก็ได้กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และไม่ยุติธรรมก็ใช้บังคับได้สมบูรณ์เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ดีที่สุด”
นอกจากนี้ในวิจารณ์ดังกล่าวยังหนุนรับข้อวิจารณ์ในแง่หลักการทางความคิดเรื่องแยกกฎหมายออกจากศีลธรรมหรือความยุติธรรม (ในทำนอง “อย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วหรือความยุติธรรม”) ซึ่งก็มีผู้มองว่า “เป็นแนวคิดเชิงเครื่องมือนำไปสู่ระบบเผด็จการ”
อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าคิดอยู่มากต่อความสมจริงในประเด็นข้อวิจารณ์ทางการเมืองไทยต่อ “ทฤษฎีคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” ภายหลังที่มีการแพร่หลายของทฤษฎีนี้มากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 (จากนะบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ซึ่งตามมาเมื่อ “การปฏิวัติรัฐประหารหรือการยื้อแย่งการเป็น “องค์รัฏฐาธิปัตย์” เป็นระลอกๆ ปัญหาเรื่องประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติในฐานะที่เป็น “คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” ได้กลายเป็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรง ว่า “เป็นกฎหมายที่มีความสมบูรณ์” ที่สอดคล้องกับการปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมหรือไม่
ปัจจุบันวงจรอุบาทก์ของสังคมไทย ที่มาของ “องค์อธิปัตย์” ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมของจอห์น ออสติน ด้วยการรัฐประหาร และแปลงร่างมาเป็น รัฏฐาธิปัตย์ ที่มาจากการกำหนดกติกาพิลึกกึกกือผ่านกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐ (ของรัฏฐาธิปัตย์) ให้ประชาชน ปฏิบัติตามแบบมึนงงภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 โดยอ้างหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม นับเป็นเรื่องที่น่าขบคิดและน่าวิตกเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทย
หลักนิติธรรม 在 ความคิดเรื่องหลักนิติธรรม... - sittikorn saksang 的必吃
ความคิดเรื่องหลักนิติธรรม (คัดลอกมาจากหนังสือ ของสิทธิกร ศักดิ์แสง... ... <看更多>
หลักนิติธรรม 在 ฺClip VDO. BR 5_หลักนิติธรรม - YouTube 的必吃
ประเทศไทยปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งในประเทศไทยนั้น หลักนิติธรรม คือหลักการพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ยึดถือหลักการปกครองโดยกฎหมาย ... ... <看更多>