"การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ : การแก้ไขมาตรา ๑ ทำได้หรือไม่”
ท่ามกลางกระแสข่าวการฟ้องร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา ๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ผมขออธิบายข้อกฎหมายและวิเคราะห์ข้อกฎหมายตามหลักกฎหมายไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในเรื่องข่าวแต่อย่างใดนะครับ เป็นเพียงอธิบายกฎหมายเท่านั้น
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๖๐ ฉบับประชามติ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ รัฐธรรมนูญฉบับนี้นับว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่ (โค -ตะ-ระ) ยากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆทุกฉบับที่ผ่านมา กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อยู่ ๒ มาตรา คือ มาตรา ๒๕๖ กับมาตรา ๒๕๖ ดังนี้
๑. ข้อห้ามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้ทำไม่ได้
๑.)การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ
๒.)เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
๒. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
๑.)ผู้มีสิทธิเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจาก
๑.๑ คณะรัฐมนตรี หรือ
๑.๒ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือ
๑.๓ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
๑.๔ จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
๒.)กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ ดังนี้
๒.๑ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
๒.๒ การพิจารณาในวาระที่ ๒ ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยการออกเสียงในวาระที่ ๒ นี้ ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ ๑๕ วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ ๓ ต่อไป
๒.๓ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่. ๓ ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง ๒ สภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
๓.การทูลเกล้าประกาศใช้เป็นกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการลงมติเห็นชอบแล้ว ให้รอไว้ ๑๕ วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำความในมาตรา ๘๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อสังเกต
๑.ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ หรือหมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการต่อไป
๒.ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยตาม (๗) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ใน ๑๐ ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของทั้ง ๒ สภารวมกัน แล้วแต่กรณีมีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี ว่าร่างรัฐธรรมนูญตาม (๗) ขัดต่อมาตรา ๒๕๕ หรือมีลักษณะตามข้อสังเกต ข้อ ๑ ข้างต้นและให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้
การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ ได้หรือไม่
เมื่อพิจารณาข้อความมาตรา ๑ มีใจความว่า
“มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้”
ข้อความในมาตรา ๑ นี้ กล่าวถึง
“ราชอาณาจักร” หมายถึง ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
“อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” หมายถึง ประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว
ซึ่ง มาตรา ๒๕๕ กล่าวว่า
“มาตรา ๒๕๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจะกระทำมิได้”
ดังนั้นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ จะกระทำไม่ได้ เป็นข้อห้ามตามมาตรา ๒๕๕ อาจถูกดำเนินคดีตามมาตรา ๔๙ มีใจความว่า
“มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง”
ซึ่งในมาตรา ๔๙ วรรค ๔ ได้กำหนดให้บุคคลที่ฟ้องต้องบุคคลที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๑ ถูกดำเนินคดีอาญา เข้าข่ายข้อหา กบฏ ได้ ตามมาตรา ๑๑๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งมีใจความดังนี้
มาตรา ๑๑๖ หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า “ข้อหายุยงปลุกปั่น” เป็นหนึ่งในกฎหมายอาญาซึ่งอยู่ในหมวดความมั่นคง โดยมาตรานี้ กำหนดองค์ประกอบผิดไว้ดังนี้
(๑) ผู้ใด
(๒) กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด
(๓) อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(ก) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(ข) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
(ค) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ส่วนประเด็นในเรื่องการแสดงความคิดในทางวิชาการ เสรีภาพในทางวิชาการ ในเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ นั้นมีความผิดกฎหมายอาญาหรือไม่
ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓๔ มีใจความว่า
“มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น”
เมื่อพิจารณาถึง ข้อเท็จจริงตามข่าวที่เกิดขึ้น มีการแสดงความคิดที่เกี่ยวกับการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ ซึ่งเป็นข้อห้าม ตามมาตรา ๒๕๕ บุคคลมีสิทธิร้องตามมาตรา ๔๙ วรรค ๔ ให้ดำเนิคคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖ แต่บุคคลที่แสดงความคิดเห็นก็สามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๔ ในเสรีภาพทางวิชาการ ในการแสเงความคิดเห็น ไม่ได้ “ทำการยุยงปลุกปั่น” ได้เช่นกัน กระบวนการยุติคงให้ความยุติธรรมที่ถูกที่ควรนะครับ
หนังสือ การพูด 在 Ning Saraichatt Facebook 的精選貼文
Omg ! I love this book; what on earth are you wearing by chloe quigley and daniel pollock!! Im reading it for my new How-to pocket book on how dressing up right can make you a better speaker! ชอบหนังสือเล่มนี้มาก เเนะเสื้อผ้า ว่าที่เราสวมใส่กันเนี่ยะ เรียกว่าอะไร เหมาะกับโอกาสไหน อย่าตกใจคะ ไม่ได้ผันตัวมาออกเเบบเเละขายเสื้อ เเค่อ่านประกอบการทำพ็อกเกตบุ๊คเล่มใหม่ เเนะนำการเป็นพิธีกรเเละการพูดในโอกาสอื่นๆ หนิงเชื่ิอว่าการพูดที่ดี น่าเชืี่อถือ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการเเต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เเละเหมาะกับตัวเรา หนิงก็เลยจะมีส่วนเเนะนำการเเต่งกาย เเต่งหน้า ทำผม อยู่ในหนังสือหนิงด้วย ใครไม่ได้สนใจเรื่องการพูดเท่าไหร่ ก็สามารถซื้ออ่านเรืี่องการเเต่งกายได้คะ ไม่เเน่อ่านเเล้ว อาจจะเป็นเเรงบันดาลใจให้คุณอยากพูดให้เก่งก็ได้นะคะ #หนังสือ #เเต่งตัว #เเต่งหน้า #การพูด #พูด #jumpsuit #shoes #book #books #eventmc #eventmcee #fashion #เเฟชั่น #gown #howto #howtobook #speech #tipsbyningsaraichatt #saraichattblog