“ข้อสังเกต เกี่ยวกับการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ร่างเสร็จสิ้นในเวลา 23.25 น. วันที่ 24 มิถุนายน โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นเป็นการนับคะแนน
โดยหลังจากใช้ระยะเวลาในการนับคะแนนนานกว่า 2 ชั่วโมง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ประกาศต่อที่ประชุม ว่า กฎหมายกำหนดไว้ว่าการลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของสภา
ในปัจจุบัน รัฐสภามีสมาชิกที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ 733 คน ดังนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 367 เสียง วุฒิสมาชิก 1 ใน 3 คือ 84 คน
ร่างที่ 1 : พรรคพลังประชารัฐ 5 ประเด็น 13 มาตรา มติรับหลักการ 334 คะแนน เป็น ส.ส. 334 คะแนน ส.ว. 0 คะแนน ไม่รับหลักการ 199 คะแนน เป็น ส.ส. 71 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 173 คะแนน เป็น ส.ส. 75 คะแนน วุฒิสมาชิก 98 คะแนน เท่ากับร่างนี้ไม่ผ่านกระบวนการ
ร่างที่ 2 : พรรคเพื่อไทย-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน มีมติรับหลักการ 399 คะแนน เป็น ส.ส. 393 คะแนน วุฒิสมาชิก 6 คะแนน ไม่รับหลักการ 136 คะแนน เป็น ส.ส. 8 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 171 คะแนน เป็นส.ส. 79 คะแนน วุฒิสมาชิก 92 คะแนน เท่ากับร่างที่ 2 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 3 : พรรคเพื่อไทย-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ มีมติรับหลักการ 376 คะแนน เป็น ส.ส. 340 คะแนน วุฒิสมาชิก 36 คะแนน ไม่รับหลักการ 89 คะแนน งดออกเสียง 241 คะแนน เท่ากับร่างที่ 3 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 4 : พรรคเพื่อไทย-ที่มานายกรัฐมนตรี มีมติรับหลักการ 455 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 101 คะแนน งดออกเสียง 150 คะแนน เท่ากับร่างที่ 4 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 5 : พรรคเพื่อไทย-รื้อมรดกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติรับหลักการ 327 คะแนน เป็น ส.ส. 326 คะแนน วุฒิสมาชิก 1 คะแนน ไม่รับหลักการ 150 คะแนน งดออกเสียง 229 คะแนน เท่ากับร่างที่ 5 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 6 : พรรคภูมิใจไทย-ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 454 คะแนน เป็น ส.ส. 419 คะแนน วุฒิสมาชิก 35 คะแนน ไม่รับหลักการ 86 คะแนน งดออกเสียง 166 คะแนน เท่ากับ ไม่รับหลักการ
ร่างที่ 7 : พรรคภูมิใจไทย-รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 476 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 55 คะแนน ไม่รับหลักการ 78 คะแนน งดออกเสียง 152 คะแนน เท่ากับร่างที่ 7 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 8 : พรรคประชาธิปัตย์-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 469 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 48 คะแนน ไม่รับหลักการ 75 คะแนน งดออกเสียง 162 คะแนน เท่ากับร่างที่ 6 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 9 : พรรคประชาธิปัตย์-ตัดอำนาจ ส.ว.แก้รัฐธรรมนูญ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 415 คะแนน เป็น ส.ส. 400 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 102 คะแนน งดออกเสียง 189 คะแนน เท่ากับร่างที่ 9 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 10 : พรรคประชาธิปัตย์-แก้การตรวจสอบ ป.ป.ช. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 431 คะแนน เป็น ส.ส. 398 คะแนน วุฒิสมาชิก 33 คะแนน ไม่รับหลักการ 97 คะแนน งดออกเสียง 178 คะแนน เท่ากับร่างที่ 10 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 11 : พรรคประขาธิปัตย์-ที่มานายกรัฐมนตรี ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 461 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 21 คะแนน ไม่รับหลักการ 96 คะแนน งดออกเสียง 149 คะแนน เท่ากับร่างที่ 11 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 12 : พรรคประชาธิปัตย์-กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 457 คะแนน เป็นส.ส. 407 คะแนน วุฒิสมาชิก 50 คะแนน ไม่รับหลักการ 82 คะแนน งดออกเสียง 167 คะแนน เท่ากับร่างที่ 12 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 552 คะแนน เป็น ส.ส. 342 คะแนน วุฒิสมาชิก 210 คะแนน ไม่รับหลักการ 24 คะแนน งดออกเสียง 130 คะแนน เท่ากับร่างที่ 13 คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง และได้เสียงจากวุฒิสมาชิกเกิน 1 ใน 3 ดังนั้น ร่างนี้จึงผ่านขั้นรับหลักการ
จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ … พ.ศ. … จำนวน 45 คน แบ่งเป็น ส.ว. 15 คน และ ส.ส. 30 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 8 คน พรรคพลังประชารัฐ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 4 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน และจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ กมธ. หากผู้ใดมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นใดก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อ กมธ.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สภารับหลักการ
เมื่อพิจารณาสรุปการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เท่ากับร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอมา 13 ฉบับนั้น มีข้อพิจารณา ดังนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่รับหลักการ เงื่อนไขจำนวนเกินกึ่งหนึ่ง แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การรับหลักการนั้น ไม่เสียงมีจำนวน ส.ว. เห็นด้วย 1 ใน 3
2. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่รับหลักการ คือ เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งและส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3
3. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีการรับหลักการและเป็นไปตามเงื่อนไขเสียง ส.ว. มีเสียง ส.ว. เห็น 1 ใน 3
สรุปได้ว่า มีฉบับที่ 13 ผ่านเพียงฉบับเดียว
ข้อสังเกตเกี่ยวการผ่านพิจารณรารับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13
กล่าวคือ ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนี้
1. ร่างนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
2.ร่างนี้พรรคการเมืองพรรคใหญ่ และพรรคการเมืองที่มีฐานคะแนนเสียงย่อมได้เปรียบ
3.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ 13 ที่เสนอ โดย ปชป.และพรรคร่วม คือ ภูมิใจไทยและขาติไทยพัฒนาสนับสนุนก็จริง แต่ก็เป็นการเสนอเข้าทางหรือเกมส์พรรคประชารัฐ ที่ต้องการให้ ส.ว. อยู่ที่เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อยุบสภา คนของพรรคประขารัฐก็จะได้ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือ ประยุทธ์ ได้กลับมาอีก
4. เกมส์นี้เป็นการซื้อเวลาลดกระแส ทางการเมืองกับการรักษาคำพูด ว่าต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
5.เกมส์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามร่างฉบับที่ 13 พรรคที่เสียเปรียบ คือ พรรคเล็กและพรรคก้าวไกล เนื่องจากดูจากเขต แล้วไม่ค่อยได้ เมื่อแยกบัญชีรายชื่อกับ เขต เป็น 2 ใบ ทำให้ชัดเจนว่า จำนวน ส.ส. ลดแน่นอน เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เกินโควต้า ถ้ายกเลิกโควต้า คือ ใช้บัตร 2 ใบ ส.ส.เขตก็ได้ บัญชีรายชื่อก็ได้
6. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ จะมีปัญหาในวาระ ที่ 3 ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ กล่าวคือ วาระที่ 2 เป็นขั้นพิจารณาเรียงรายมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก คือ ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ได้รวมกันให้ได้ 375 เสียงขึ้นไป แต่หากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระที่ 3 ไม่น่าจะมีปัญหา แต่จะมีปัญหา ในวาระที่ 3 เป็นขั้นสุดท้าย ตรงเงื่อไขพิเศษ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ ส.ส.+ส.ว. ต้องได้เสียง 376 ขึ้นแต่มีเงื่อนไขพิเศษกำหนด ดังนี้
1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน
2)สมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ในวาระที่ 3 ปัญหาตรงเงื่อนไขพิเศษ 1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน ประเด็นนี้น่าจะมีปัญหาถ้าพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก่ไขเพิ่มเติม
「ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ」的推薦目錄:
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 กกต.สรุปอันดับพรรคต่างๆ ทั้ง ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อ - YouTube 的評價
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 เช็คแถว ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใครได้-ไม่ได้ l THAN TALK l 15/05/66 的評價
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 เปิดรายชื่อ ผู้สมัคร สส. บัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 ของแต่ละพรรค - YouTube 的評價
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 วิเคราะห์นัยบัญชีรายชื่อ "พรรคเพื่อไทย" | 4 เม.ย. 66 - YouTube 的評價
- 關於ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 THE STANDARD - ประกาศหมายเลขรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ... 的評價
ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
สูตรเลือกตั้ง !! ส.ส.แบบใหม่ "จัดสรรปันส่วน" สู่รัฐบาลผสม ใครได้ใครเสีย !?
ที่ประชุมกรธ.ประชุมได้ร่วมกันกำหนด หลักการ สำคัญ เพื่อให้เป็นกรอบการพิจารณาเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งในอนาคต ประกอบด้วย
1. ส.ส.ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
2. ระบบการเลือกตั้ง ไม่ควรซับซ้อน ประชาชนเข้าใจง่าย
3. เพื่อเป็น การเคารพประชาชนที่ลงคะแนน จึงพยายามทำให้คะแนนเลือกตั้งที่ประชาชนให้ทุกคะแนนมีความหมาย ไม่ว่าจะลงคะแนนให้ใคร คะแนนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ควรสูญเปล่า
4. เป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ประชาชนสนใจออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
5. เข้ากับบริบท หรือวิถีชีวิตของคนไทย โดยไม่ขัดหลักสากล
โดยเรื่องระบบการเลือกตั้งนั้น จะใช้ระบบการเลือกตั้งที่กำหนดให้เอาคะแนนของผู้สมัคร ส.ส. ที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง ไปคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยประชาชนจะลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งเพียงหนึ่งใบ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการยกตัวอย่างว่า สมมติเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้สมัคร ส.ส.จำนวน 5 พรรค หากพรรค ก.ได้รับคะแนนสูงสุด ให้ถือว่าผู้สมัครพรรคนั้นได้เป็น ส.ส.ทันที แต่ให้เอาคะแนนของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครไม่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 4 พรรค ไปคำนวณเพื่อหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคต่อไป ขณะที่ คะแนนของพรรคที่ได้รับเลือกให้เป็นส.ส.เขตแล้ว จะไม่ถูกนำมาคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ.กล่าวถึงวิธีการคิดคะแนนเลือกตั้งด้วย การนำคะแนนแพ้ของ ส.ส.แบบแบ่งเขต เพื่อมาคิดหา ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้นว่า เป็นเพียง
แนวคิดของ กรธ.ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนชื่อเรียกระบบดังกล่าวมีหลายชื่อ อาทิ การเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม หนึ่งเสียงหนึ่งส.ส. ทุกคะแนนได้ผู้แทนแน่ 1 คะแนน 1 ผู้แทนของทุกคน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้แต่ละภาคได้ ส.ส.กระจายครบทุกพรรค และส่งเสริมให้เกิดการปรองดอง
ในขณะที่สัดส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อยังไม่มีข้อยุติ แต่ส่วนใหญ่เสนอว่าควรเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 3 คือ แบบบัญชีรายชื่อ 1 ส่วน และแบบแบ่งเขต 3 ส่วน โดยผลของการเลือกตั้งมีความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐบาลผสมแต่ก็ไม่เสมอไป ส่วนแนวทางที่จะกำหนดให้ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต้องชนะคะแนนงดออกเสียงหรือโหวตโนนั้น ยังเป็นเพียงข้อเสนอ
ระบบที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอดังกล่าว ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ อธิบายแบบง่ายๆ คือ เรายังจะมี ส.ส.สองระบบเช่นเดิม คือ 1.ส.ส.ระบบเขต และ 2.ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ แต่การลงคะแนนของประชาชนจะไม่ต้องกาบัตร 2 ใบเหมือนที่ผ่านมา โดยผู้ลงคะแนนจะลงคะแนนในเฉพาะแบบเขตเท่านั้น และในเขตนั้นใครที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งก็ถือว่าได้เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตในเขตนั้นไป
แต่ที่ต่างไปคือคะแนนของคนแพ้ในเขตนั้นๆ จะถูกนำมารวมกับคนแพ้ทั้งประเทศ (โดยแบ่งเป็นแต่ละพรรค) และนำมาคำนวณเป็นจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เหตุผลที่เลือกนำเสนอสู่สาธารณะคือ “คะแนนของผู้ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งจะไม่สูญเสียไป”
ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว คะแนนของคนที่ชนะแบบแบ่งเขตจะไม่ถูกนำมาคำนวนเป็นจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แปลว่าผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจะค่อนข้างเสียเปรียบในระบบนี้ เพราะตามธรรมชาติ คะแนนของแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อจะไม่ต่างกันมากนัก
หมายความว่าพรรคใดที่ได้คะแนนแบบแบ่งเขตมาก ก็มักจะได้แบบบัญชีรายชื่อมากตามไปด้วย
ดังนั้นจุดสำคัญที่ต้องรอดูในระบบนี้คือ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะกำหนดจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไว้เท่าไหร่ เพราะหากสัดส่วนระหว่าง ส.ส.แบบแบ่งเขต และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแตกต่างกันมาก เช่น ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ก็จะไม่ส่งนัยใดๆ มากนัก
แต่หากจำนวน ส.ส.ทั้งสองแบบก้ำกึ่งหรือเท่ากัน เช่นนี้จะส่งผลกระทบทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่น หากมี ส.ส.เขต 250 และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 200 คน แล้วเกิดปรากฏการณ์ที่มีพรรคการเมืองใดได้ที่นั่ง ส.ส.เขตแบบเกินกึ่งหนึ่ง เช่น มีพรรค ก.ได้คะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขต 130 คน เท่ากับคะแนนที่คำนวณแบบบัญชีรายชื่อจะหายไปถึง 130 เขต
หรือหากคิดง่ายๆ เขตที่ชนะได้ 40,000 คะแนน 130 เขตที่ถูกตัดไปจะหมายถึง 5,200,000 คะแนน นั่นหมายถึงจะเป็นแต้มต่อของพรรคที่แพ้การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เพราะหากสมมุติแพ้แบบสูสี แต่ละเขตที่แพ้หากได้เขตละ 30,000 คะแนน ก็เท่ากับ 3,900,000 คะแนน ในขณะที่พรรคคู่แข่งที่แม้จะมีความนิยมเป็นอันดับหนึ่งแต่จะไม่มีเลยแม้แต่คะแนนเดียว
โดนจากสูตรที่คลอดกันออกมาในเบื้องต้น ทางฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ลองคิดคำนวณจากฐานตัวเลขเดิม ซึ่งพบว่าทำให้คะแนนเสียงของพรรคการเมืองต่างๆเริ่มขยับทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง
แต่ที่แน่นอนและชัดเจนมากๆก็คือรัฐบาลใหม่ภายใต้สูตรเลือกตั้งดังกล่าวน่าจะออกมาเป็นรัฐบาลผสม
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แสดงความคิดเห็นสนับสนุนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในการกำหนดระบบเลือกตั้ง สส.แบบใหม่ ที่ให้นำคะแนนของผู้สมัครที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งใน สส.ระบบเขตเลือกตั้งไปคำนวณเพื่อหาจำนวน สส.ระบบบัญชีรายชื่อ และเป็นการส่งเสริมให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 มีจำนวน สส.ใกล้เคียงกัน
ทั้งนี้ มีรายงานจาก กกต. ระบุว่า กกต.ได้นำผลคะแนนจากการเลือกตั้ง สส.เมื่อปี 2548 มาลองคำนวณ พบว่าหากใช้ระบบใหม่ที่ กรธ.กำหนด พบว่าคะแนนรวมของผู้สมัครที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งของ 25 พรรค รวมแล้วจะเท่ากับ 11,081,047 คะแนน และเมื่อนำมาคำนวณหาจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ จะทำให้
พรรคประชาธิปัตย์ได้ สส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นอีก 11 คน จากที่มีอยู่เดิม 26 คน
พรรคชาติไทย เพิ่มขึ้นอีก 13 คน จากเดิมมี 7 คน
ขณะที่พรรคไทยรักไทยหรือพรรคเพื่อไทย (พท.) ปัจจุบัน จะเป็นพรรคการเมืองเดียวที่จะมีจำนวน สส.บัญชีรายชื่อลดลง 47 คน จากที่เคยมีอยู่ 67 คน
ส่วนพรรคการเมืองที่ไม่เคยมี สส.บัญชีรายชื่อมาก่อน ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะทำให้ได้ สส.บัญชีรายชื่อด้วย เช่น พรรคมหาชน 19 คน พรรคคนขอปลดหนี้ 2 คน และพรรคความหวังใหม่ 1 คน
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. กล่าวว่า จะทำให้เกิดรัฐบาลผสมประมาณ 10 พรรค ซึ่งจะมีผลให้ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลดังกล่าวย่อมมีความเป็นไปได้ที่อาจจะได้เห็นการกำหนดให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอกไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเข้ามาแก้ไขในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเลือกนายกฯ ที่เป็น สส.ได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างปัญหาทางการเมืองในอนาคตแน่นอน
"เป็นการพยายามให้พรรค การเมืองขนาดเล็กมีที่นั่งและป้องกันพรรคการเมืองใหญ่ เชื่อว่าพรรคใหญ่คงไม่ยอมรับแนวคิดนี้ เพราะทำให้เขาจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างลำบากมากยิ่งขึ้น"
ส่วนที่น่าสนใจเพิ่มเติมก็คือปฏิกิริยาจากฝ่ายนักเลือกตั้งทั้งหลายที่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยพอใจกับสูตรจัดสรรปันส่วนที่ว่านี้สักเท่าใดนัก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. กล่าวว่า หากเจตนาแท้จริงของ กรธ.คือการร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยนั้น คงไม่ปรากฏสูตรพิสดารมากมายแบบนี้ การพยายามเสนอสูตรนำคะแนนฝ่ายแพ้เลือกตั้ง ส.ส.เขต ไปนับเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อ โดยอ้างว่าเพื่อให้ทุกคะแนนเสียงไม่ถูกทิ้งนั้น เป็นการให้เหตุผลที่ขัดกับข้อเท็จจริง เพราะโดยหลักการ ทุกคะแนนมีความหมายอยู่ในตัวเอง ฝ่ายชนะได้ทำหน้าที่ ส่วนฝ่ายแพ้ก็เห็นมติของประชาชน ทั้งฝ่ายแพ้และชนะมีสิทธิแข่งขันกันทำงานในพื้นที่ แสดงบทบาทเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ทั้งนี้ น่าสงสัยว่าสูตรนี้ห่วงคะแนนฝ่ายแพ้ ส.ส.เขต หรือห่วงพรรคที่ผูกปีแพ้มายาวนานให้มีโอกาสชนะ หรือลดความห่างของที่นั่งในสภา สร้างอำนาจต่อรองตอนตั้งรัฐบาล เพื่อเปิดทางให้นายกฯ คนนอกกันแน่ ส่วนแนวคิดที่ให้ตัดสิทธิผู้สมัครที่แพ้คะแนนโนโหวตตลอดชีวิตนั้น ก็เป็นวิธีคิดแบบหลุดโลก ไม่อาจยอมรับได้ว่า การลงสมัครรับเลือกตั้งแล้วได้คะแนนน้อยนั้น เป็นความผิดฉกรรจ์ถึงขั้นไม่มีสิทธิทางการเมืองต่อไป ประชาธิปไตยต้องเปิดกว้าง ไม่ได้รับเลือกวันนี้ไม่ได้แปลว่าจะพลาดตลอดไป หรือชนะวันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะได้ตลอดกาล ถ้ายึดวิธีคิดนี้ คนขัดขวางการเลือกตั้ง หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารต่างหาก ที่ไม่ควรมีสิทธิทางการเมือง
"อยากให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และ กรธ.ตรงไปตรงมา ถ้ารับงานแป๊ะแล้วต้องตามใจแป๊ะ ก็ใส่เต็มที่แล้วไปตัดสินกันในประชามติ การเปิดประเด็นใหม่ตลอดเวลา อย่าเข้าใจว่าประชาชนจะลืมเรื่อง คปป.กับนายกฯ คนนอก ถ้าคิดจะใส่แน่ ทั้งที่เป็นเหตุให้ฉบับนายบวรศักดิ์ถูกคว่ำก็พูดให้ชัด ดีกว่ากั๊กไว้แล้วประชาชนมาจับได้ทีหลัง"
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงการวางแนวทางระบบการเลือกตั้งของ กรธ.ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับหลักที่ให้ สส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง หากยึดหลักการนี้ควรยกเลิกระบบ สส.บัญชีรายชื่อ เพราะไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชนโดยตรง แต่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารพรรคเป็นผู้คัดสรรมาและยัดเยียดให้ประชาชน พร้อมนำหลักการนี้ไปใช้กับ สว.หากต้องเลือกตั้งโดยตรงเพียงอย่างเดียว ไม่ควรให้คนไม่กี่คนเลือก สว.ในลักษณะสรรหา แล้วมาอุปโลกน์ตัวเองว่าเป็นผู้แทนของประชาชน แต่ทางที่ดีไม่จำเป็นต้องมี สว.ด้วยซ้ำ
“ผมยังไม่เห็นด้วยที่บอกว่า จะให้ประชาชนใช้ใบลงคะแนนเลือก สส.เขตเพียงใบเดียว แล้วนำคะแนนของผู้แพ้แต่ละเขตไปคิดเป็นคะแนนของ สส.บัญชีรายชื่อ เพราะในความเป็นจริง ประชาชนต้องการลงคะแนนให้กับบุคคล แต่กลับถูกนำไปยัดใส่เป็นคะแนนพรรค ซึ่งไม่ตรงกับเข้าตั้งใจของประชาชนในการลงคะแนน”
ท้ายสุดก็ต้องมาจับตามองกันว่าปฏิกิริยาจากทุกภาคส่วนที่มีต่อสูตรการเลือกตั้งแบบใหม่จะออกมาเป็นอย่างไร
ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 เช็คแถว ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใครได้-ไม่ได้ l THAN TALK l 15/05/66 的必吃
ผลการเลือกตั้ง 2566 กกต. สรุป ส. ส.แบ่งเขต- บัญชีรายชื่อ พรรค ไหนได้ เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ กกต.เผยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566 ... ... <看更多>
ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 เปิดรายชื่อ ผู้สมัคร สส. บัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 ของแต่ละพรรค - YouTube 的必吃
สนามข่าว 7 สี - นอกจาก สส.แบบแบ่งเขต แล้ว อีกหนึ่งอย่างที่น่าจับตามอง ว่าจะมีใครบ้างที่จะมีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นในสภาบ้าง ... ... <看更多>
ส ส พรรคเพื่อไทย บัญชีรายชื่อ 在 กกต.สรุปอันดับพรรคต่างๆ ทั้ง ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อ - YouTube 的必吃
กกต.สรุปอันดับ พรรค ต่างๆ ทั้ง ส. ส.เขต- บัญชีรายชื่อ #เลือกตั้ง66 #เลือกตั้ง2566 #เลือกอนาคต ประเทศไทย #ข่าว ไทย พีบีเอส #ข่าวที่คุณวางใจ ... ... <看更多>