ผมเอาเอกสารประกอบสอนวิชา นิติปรัชญา ที่ผมเรียบเรียงเพื่อขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่ปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย มาให้อ่านประกอบการค้นคว้านะครับ
บทที่ 8 การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) และ
การดื้อแพ่งทางกฎหมายของประชาชน (Civil Disobedience)
1. หัวข้อเรื่อง
การเคารพนับถือกฎหมายและการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
1.การเคารพนับถือกฎหมาย
2.เหตุผลในเชิงหลักการที่มารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย
3.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของปะชาชน
4.ลักษณะของการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
5.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
2.แนวคิด
การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) มีสุภาษิตกฎหมายลาตินอยู่บทหนึ่งว่า
“การเชื่อฟังกฎหมาย คือ แก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย” (Obedientia est legis essential Obedience is the essence of Law)
เมื่อพิจารณาถึงสุภาษิตดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญแห่งความเป็นกฎหมายนั้นอยู่ที่สภาพบังคับของกฎหมายหรือธรรมชาติของการที่กำหนดให้ผู้คนทั่วไปต้องคารพเชื่อฟังกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากำหมายและการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันเสมอไม่อาจแยกออกจากกันได้
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหรือสาระสำคัญดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลว่า “ทำไมเราจึงต้องเคารพกฎหมาย” นอกจากคำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันคือกฎหมายเท่านั้น” อีกครั้งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความกระจ่างเลยว่า “อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างการเคารพเชื่อฟังกฎหมายและธรรมชาติของกฎหมาย”
ประเด็นคำถามที่น่าศึกษาต่อมา คือ การเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายเป็นพันธะหน้าที่ทางศีลธรรม
(Moral duty)หรือไม่ เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมคงต้องยอมรับเห็นด้วยว่าเป็นพันธะเชิงศีลธรรมของสมาชิกในชุมชนที่ต้องผูกมัดตัวต่อกฎหมาย ทำนองเดียวกับพันธะทางศีลธรรมในการรักษาคำมั่นสัญญาในทรรศนะนี้บางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความคิดหรือข้อสรุป “เรื่องหลักนิติศาสตร์ธรรม” (The Rule of Law) ในสังคม
ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ชาติมาเป็นเวลาช้านานแล้วเกือบ 2,000 ปี มีที่มา คือ
1.โสเกรตีส (Socrates) ปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกได้ยืนยันในหลักการดังกล่าว โดยมอบชีวิตตัวเองให้แก่รัฐสมัยนั้นเพื่อพิสูจน์ความเชื่อของตนต่อความสมบูรณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของหลักการนี้
2.เซนต์ พอล (St. Paul) ได้จารึกไว้แก่พสกนิกรที่เป็นคริสต์เตียนทั้งหลายในกรุงโรม ยืนยันถึงพันธะทางศาสตร์ที่ทุกคนต้องเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายของฝ่ายอาณาจักร (Secular Law)
3.เซนต์ โทมัส อไควนัท (St. thomas Aquinas) ประกาศว่ากฎหมายของมนุษย์ (Human law) ควรต้องได้รับการเคารพเชื่อฟัง เว้นแต่กฎหมายนั้นจะขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ
4. เบนแธม (Bentham) ผู้ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติและสนับสนุนข้อสรุปว่า กฎหมายทุกฉบับควรอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์โดยคำนึกถึงหลักอรรถประโยชน์เป็นสำคัญ ก็ยืนยันว่าภายใต้รัฐบาลแห่งกฎหมาย สิ่งที่เป็นเสมือนภาษิตในใจของประชาชนที่ดี คือ “เคารพเชื่อฟังกฎหมายสม่ำเสมอตรวจสอบวิจารณ์กฎหมายโดยเสรี”
3.จุดประสงค์ของการสอน
1) เพื่อต้องการให้นักศึกษาทราบเหตุใดต้องยอมรับเชื่อฟังต่อกฎหมาย มีปรัชญารากฐานใดบ้างที่มีเหตุผลมีรองรับการเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายที่มันบกพร่องไม่เป็นธรรม เราจะเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายหรือไม่
2) เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงแนวการดื้อแพ่งต่อกฎหมายว่ามีลักษณะการดื้อแพ่งแบบใดที่นักปรัชญาเห็นว่าไม่สมควรจะยอมรับมัน
3) เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ถึงระบบกฎหมายไทยมีการสนับสนุนการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
หรือไม่เพียงใด
4.กิจกรรมระหว่างเรียน
1) ทำแบบฝึกหัดท้ายบท
2) ศึกษาเอกสารประกอบการสอนการเคารพนับถือกฎหมายและการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
3) ทำกิจกรรมในเอกสารประกอบการสอน
5.สื่อการสอน
1) เอกสารประกอบการสอน
2) แบบฝึกหัดท้ายบท
3) ปากกาไวส์บอร์ด
4) โปรเจ๊กเตอร์
6.การประเมินผล
1) ประเมินผลจากแบบฝึกหัดท้ายบท
2) ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา
เมื่ออ่านแผนการสอนขอให้ทำแบบฝึกหัดท้ายบทการเคารพนับถือกฎหมายและการดื้อ แพ่งต่อกฎหมายก่อนแล้วจึงศึกษาเอกสารประกอบการสอนเรื่องต่อไป
บทที่ 8การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) และการดื้อแพ่งทางกฎหมายของประชาชน (Civil Disobedience)
ในบทนี้ผู้เขียนขอกล่างถึงท่าที่ของคนที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) และการดื้อแพ่งทางกฎหมายของประชาชน (Civil Disobedience) ดังนี้
1. การเคารพนับถือกฎหมายและเหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย
1.1 การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law)
มีสุภาษิตกฎหมายลาตินอยู่บทหนึ่งว่า “การเชื่อฟังกฎหมาย คือ แก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย” (Obedientia est legis essential Obedience is the essence of Law)
เมื่อพิจารณาถึงสุภาษิตดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญแห่งความเป็นกฎหมายนั้นอยู่ที่สภาพบังคับของกฎหมายหรือธรรมชาติของการที่กำหนดให้ผู้คนทั่วไปต้องคารพเชื่อฟังกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากฎหมายและการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันเสมอไม่อาจแยกออกจากกันได้
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหรือสาระสำคัญดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลว่า “ทำไมเราจึงต้องเคารพกฎหมาย” นอกจากคำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันคือกฎหมายเท่านั้น” อีกครั้งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความกระจ่างเลยว่า “อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายและธรรมชาติของกฎหมาย”
ประเด็นคำถามที่น่าศึกษาต่อมา คือ การเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายเป็นพันธะหน้าที่ทางศีลธรรม
(Moral duty) หรือไม่เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมคงต้องยอมรับเห็นด้วยว่าเป็นพันธะเชิงศีลธรรมของสมาชิกในชุมชนที่ ต้องผูกมัดตัวต่อกฎหมายทำนองเดียวกับพันธะทางศีลธรรมในการรักษาคำมั่นสัญญาในทรรศนะนี้บางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความคิดหรือข้อสรุป “เรื่องหลักนิติศาสตร์ธรรมหรือหลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ในสังคม
ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ ชาติมาเป็นเวลาช้านานแล้วเกือบ 2,000 ปี มีที่มา คือ
1.โสเกรตีส (Socrates) ปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกได้ยืนยันในหลักการดังกล่าว โดยมอบ
ชีวิตตัวเองให้แก่รัฐสมัยนั้นเพื่อพิสูจน์ความเชื่อของตนต่อความสมบูรณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของหลักการนี้
2.เซนต์ พอล (St. Paul) ได้จารึกไว้แก่พสกนิกรที่เป็นคริสเตียนทั้งหลายในกรุงโรม ยืนยันถึง
พันธะทางศาสนาที่ทุกคนต้องเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายของฝ่ายอาณาจักร (Secular Law)
3.เซนต์ โทมัส อไควนัท (St.Thomas Aquinas) ประกาศว่ากฎหมายของมนุษย์ (Human
law) ควรต้องได้รับการเคารพเชื่อฟัง เว้นแต่กฎหมายนั้นจะขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ
4.เบนแธม (Bentham) ผู้ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติและสนับสนุนข้อสรุปว่า กฎหมายทุกฉบับ
ควรอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์โดยคำนึงถึงหลักอรรถประโยชน์เป็นสำคัญ ก็ยืนยันว่าภายใต้รัฐบาลแห่งกฎหมาย สิ่งที่เป็นเสมือนภาษิตในใจของประชาชนที่ดี คือ “เคารพเชื่อฟังกฎหมายสม่ำเสมอ ตรวจสอบวิจารณ์กฎหมายโดยเสรี”
1.2 เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย
ถ้าเริ่มพิจารณาที่เหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติตามกฎหมายดูเหมือนมีคำตอบ หลายแง่หลายมุมทั้งในแง่เหตุผลและในแง่จิตวิทยา นับแต่ความคร้าน (Indolence) ความเคารพ (Deference) ความเห็นตาม (Sympathy) ความกลัว (Fear) และความคิดรอบคอบ (เหตุผล = Reason) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลึก ๆ ลงสู่เหตุผลพื้นฐานของการต้องเคารพเชื่อฟังกฎหมาย พบว่ามีเหตุผลในเชิงหลักการหลาย ๆ ประการที่วางอยู่เบื้องหลังข้อสรุป ดังนี้ คือ
1.2.1 ในแง่สิทธิเสรีภาพ
การถือว่าทุกคนต้องเคารพกฎหมายต้องยอมรับก่อนในขั้นแรกว่าเป็นการมองในแง่อุดมคติ จึงจะสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่นัยสิทธิเสรีภาพได้ เพราะการเคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นจริง ๆ แล้วเมื่อวิเคราะห์ลึก ๆ จะเห็นว่า “เป็นไปเพื่อค้ำประกันผลประโยชน์ของทุกคน” ทั้งนี้เพราะทุกคนมีความเสมอภาคกันภายในกฎหมาย ดังนั้นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายจึงเป็นเรื่องภาระหน้าที่ ในทางนิติปรัชญาจึงถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเสมือนสิ่งที่ก่อให้เกิดเสรีภาพ แต่อย่างไรก็ตามนั้นจะต้องพิจารณาพันธะในการปฏิบัติตามกฎหมาย
เซอร์ พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้อธิบายเหตุผลในแง่ดังกล่าว ว่าการเคารพเชื่อฟังกฎหมายสืบแต่ความสำคัญของกฎหมายเอง กล่าวคือ เป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องมีกฎหมายใช้บังคับแก่สมาชิกทั้งหลายในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์สุขร่วมของสังคม โดยเฉพาะในนิติรัฐซึ่งถือว่ากฎหมายเป็นใหญ่และมีความสำคัญเหนือสิ่งใด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ราษฎรทั้งหลายต้องยอมรับนับถือกฎหมาย และรัฐเองต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรมิให้รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต
1.2.2 ในแง่สัญญาประชาคม (Social Contract) ตรงที่ต้องทำความเข้าใจทฤษฎีสัญญาประชาคมก่อนว่าทฤษฎีสัญญาประชาคม นั้นหมายถึงการบุคคลเข้ามาอยู่ในสัญญาประชาคมก็คือเสมือนกับได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาว่าอยู่ในสังคมร่วมกัน จะเคารพกติกาบ้านเมืองจะปฏิบัติตามคำสั่งของบ้านเมือง ซึ่งเราอาจมองได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด
2. การมอบอำนาจให้รัฐนั้นมันมีเงื่อนไขว่ารัฐไม่ต้องกระทำที่เป็นการมิชอบถ้ารัฐกระทำการมิชอบประชาชน สามารถยกเลิกสัญญาได้
ในแง่นี้การเอาสัญญาประชาคมมารับรองจะอยู่ใน ลักษณะที่ 1 คือ เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด ในแง่นี้ โสเกรติส ถูกตัดสินพิพากษาประหารชีวิตโดยข้อหาก่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์ด้วยการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าสร้าง พระองค์ใหม่ขึ้น และทำความเสื่อมเสียฉ้อฉลต่อศีลธรรมของหนุ่มสาวกรีกยุคนั้น ในระหว่างการรอประหารชีวิตด้วยการให้กินยาพิษฆ่าตัวตาย มิตรสหายของ โสเกรติส ได้พยายามชักชวนให้เขาหลบหนีการลงโทษ แต่ โสกราตีส กลับปฏิเสธโดยโต้แย้งว่าเขาได้อุทิศชีวิตของเขาทั้งหมดเพื่อสอนถึงความสำคัญของเรื่องความยุติธรรมและการเคารพต่อกฎหมายของรัฐ ดังนั้น แม้เขาจะยืนยันว่าเขาบริสุทธิ์ แต่การที่เขาได้ดำรงอยู่ในสังคมนั้นก็เสมือนว่าเขาได้ทำข้อตกลงที่จะเคารพเชื่อฟังกฎหมาย ดังนั้น เมื่อกฎหมายสั่งอย่างไรเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแม้ผลลัพธ์ของกฎหมายนั้นจะทำให้เขาได้รับอันตรายก็ตาม
แนวคิดของ โสเกรติส นั้นสรุปได้ว่า โสเกรติส มองว่าพันธะในการที่การเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งสมบูรณ์ ทุกคนต้องยอมรับแม้จะเป็นผลร้ายแก่ตัวเองก็ตามนอกจากนั้นเขายังพยายามอ้างว่ารัฐเปรียบเสมือนพ่อแม่ที่เขาต้องเคารพเชื่อฟัง เราเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ฉันท์ใดเราก็ต้องเคารพรัฐฉันท์นั้น พ่อแม่จะปฏิบัติต่อลูกอย่างไรแม้ไม่ถูกต้องลูกก็ไม่มีสิทธิที่จะแก้แค้นหรือตอบโต้รัฐเช่นเดียวกัน รัฐจะกระทำต่อพลเมืองอย่างไรพลเมืองก็ไม่มีสิทธิตอบโต้การปฏิเสธรัฐปฏิเสธกฎหมายทำได้อย่างเดียว คือ ออกไปเสียจากสังคมนั้น ๆ เท่านั้น
1.2.3 หลักความเที่ยงธรรม (ความชอบธรรม) (Fairness) ถือว่าการที่มนุษย์อยู่สังคมมนุษย์ย่อมจะได้รับความสงบสุข เพราะคนในสังคมปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อคนอื่นปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นในสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นต่างคนต่างก็ต้องเคารพกฎหมายเพื่อมิให้การใช้สิทธิของตนไปกระทบกระเทือนบุคคลอื่นแม้
เหตุผลในเชิงหลักการข้างต้นดังกล่าวที่รองรับการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย แต่ทว่าหากเราลองมองสำรวจรอบ ๆ ตัว เราจะพบว่ามีคนอยู่ไม่น้อยที่เป็นคนดี บริสุทธิ์ ซึ่งละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย โดยพวกเขากลับไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิด บกพร่องทางศีลธรรมอะไรในการกระทำดังกล่าว
ตัวอย่าง เราอาจพบได้ในผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรที่ขับขี่รถเกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด, นักธุรกิจที่ทำสัญญาอย่างไม่เป็นการกันเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีที่เขาเห็นว่าสูงเกินความจำเป็นหรือในสังคม ร่วมสมัยก็ปรากฏนักวิจารณ์สังคม นักทำกิจกรรมเพื่อสังคม นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นจำนวนไม่น้อยที่ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมืองอย่างเปิดเผยและจงใจ เพื่อคัดค้านสิ่งที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้องโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจว่าตนกำลังละเมิดพันธะทางศีลธรรมที่ตนมี อยู่ต่อกฎหมายตรงกันข้ามกลับมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกต้องมากกว่า และการกระทำดังกล่าวจากมโนธรรมบริสุทธิ์ของตนเองข้อเท็จจริงเหล่านี้จึงดูเหมือนต้องการคำอธิบายที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้งมาก
2.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน (Civil Disobedience)
เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นในฝ่ายที่ไม่ยอมรับหรือเชื่อฟังกฎหมาย หรือการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi),มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luter King Jr.) เฮนรี่ เดวิด ธอโร่ (Henry David Thoreau) เป็นต้น
ปัญหาในเรื่องปฏิเสธไม่เคารพเชื่อฟังกฎหมาย ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้กล่าวว่า การที่บุคคลไม่เคารพกฎหมายนั้นมีอยู่ 4 ข้อ คือ
1. ความบกพร่องหรือความไม่ดีของกฎหมาย ซึ่งอาจมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น อาจเกิดจากเนื้อหาสาระที่ไม่เป็นธรรมของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งอาจเนื่องจากเป็นกฎหมายที่ออกมาตามอำเภอใจของผู้ปกครองโดยไม่คำนึงถึงผลร้ายที่จะตกอยู่แก่ผู้อยู่ใต้บังคับกฎหมาย
2. เนื่องจากผู้ออกกฎหมายบำเพ็ญตนอยู่เหนือกฎหมายเสียเอง
3. ไม่มีการอธิบายเหตุผลหรือประโยชน์ของกฎหมายให้คนทั่วไปเข้าใจ
4. กฎหมายนั้นมิได้ออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือออกมาโดยมิได้รับความยินยอม
เห็นชอบของประชาชนกฎหมายในลักษณะนี้ประชาชนอาจไม่นับถือปฏิบัติตามเพราะเห็นว่าไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นตัวกดขี่ข่มเหง
แต่อย่างไรก็ตาม การไม่เคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นอาจแบ่งได้ 2 กรณี คือ
1)เป็นกรณีที่เป็นความรู้สึกอยู่ภายในใจ
2)เป็นกรณีที่การแสดงออก ซึ่งในกรณีนี้เป็นการแสดงออกค่อนข้างมีผลกระทบอย่างมาก
เพราะเมื่อมีการแสดงออกนั้นอาจจะ แสดงออกโดยการละเมิดกฎหมายการท้าทายกฎหมายหรือแม้กระทั่งใช้ความรุนแรงต่อกฎหมายที่ไม่เป็น ธรรมก็ได้ ซึ่งเรียกว่า “การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย”
2.1 ปัญหารากฐานของการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน
การดื้อแพ่งต่อกฎหมายหมายถึงกระทำที่เป็นฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยสันติวิธีเป็นการกระทำในเชิงศีลธรรมเป็นการประท้วงหรือคัดค้านคำสั่งกฎหมายของผู้ปกครองที่อยุติธรรมหรือเป็นการต่อต้านการกระทำของรัฐบาลที่ประชาชนเห็นว่าไม่ถูกต้องฉะนั้นในเบื้องต้นเมื่อกล่าวถึงการดื้อแพ่งต่อกฎหมายจึงเป็นการกระทำที่มิได้ดำเนินไปทางกฎหมายหากจะเป็นการละเมิดต่อกฎหมายโดยมีเป้าหมายเพื่อคัดค้านคำสั่งหรือการกระทำของผู้ปกครองซึ่งการกระทำนี้ไม่ได้อิงอยู่บนสิทธิของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในขณะนั้น แนวความคิดเช่นนี้จึงแตกต่างจากความเข้าใจต่อกฎหมายที่มีอยู่ในสังคมควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดความวุ่นวายความไม่สงบเรียบร้อยบังเกิด ขึ้น
การกระทำที่เรียกว่า การดื้อแพ่งต่อกฎหมายวางอยู่บนแนวคิดที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ
1.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายเป็นการกระทำที่ยืนยันถึงสิทธิของมนุษย์ที่มีอยู่และควรได้การ
เคารพเมื่อพิจารณาถึงความหมายของสิทธิในปัจจุบัน อาจแบ่งแยกออกได้ 2 ประเภท
1) สิทธิประเภทแรก คือ สิทธิที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย (Legal rights) ตามนัยสิทธิประเภทนี้ถือว่าสิ่งที่จะถูกจัดว่าเป็นสิทธิโดยถูกต้องนั้นจำเป็นต้องได้รับการรับรองตามกฎหมาย
ก่อนและมีแต่สิทธิประเภทนี้เท่านั้นซึ่งจะเป็นหลักของการอ้างอิงรวม
2) สิทธิประเภทสอง คือ สิทธิที่อาจนำไปสู่การฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตาม
กฎหมายของรัฐที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้นการดื้อแพ่งต่อกฎหมายแม้จะเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายของรัฐแต่ในอีกแง่มุมหนึ่งเป็นการกระทำของบุคคลที่ทำตามความเชื่อหรือมโนธรรมส่วนตัวเป็นสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมมากกว่า
2.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายเป็นภาพสะท้อนถึงความล้มเหลวของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทน
ในปัจจุบันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสาร การครอบงำลัทธิทางการค้าเสรีแพร่ขยายไปทั่วโลกมีการจัดตั้งองค์กรโลกบาลเพื่อจัดวางกฎเกณฑ์ทางด้านการค้าและธุรกิจ รัฐและกลไกของรัฐต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลการชี้นำขององค์กรโลกบาลมากขึ้น(ยกตัวอย่างเช่น องค์กร WTO เป็นต้น) รวมกับการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองพรรคการเมืองเองทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ดังปรากฏจากการดำเนินนโยบายของรัฐจำนวนมากที่เกิดผลกระทบต่อผู้คนอย่างกว้างขวาง (เช่นโครงการขุดท่อก๊าซไทย – มาเลเซีย ที่สงขลา) แต่โครงการดังกล่าวก็มักจะเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรโลกบาลและนักการเมืองภายในประเทศนั้น โครงการสร้างเขื่อนเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนความล้มเหลว ของระบบนี้ได้เป็นอย่างดี
การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย จึงเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ที่ปฏิเสธการเมืองแบบตัวแทน แต่เป็นการสร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ขึ้นเป็นการเมืองที่ประชาธิปไตยแบบทางตรง (Direct Democracy) รูปแบบเก่า
2.2 ลักษณะของการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
ตามแนวความคิดของ จอห์น รอลส์ (Jhon Rawls) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้เขียนงานชิ้นสำคัญ คือ “ทฤษฎีความยุติธรรม” (A Theory of Justice) รอลส์ ให้นิยามการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชนว่า คือ การฝ่าฝืนกฎหมายด้วยมโนธรรมสำนึก ซึ่งกระทำโดยเปิดเผยในที่สาธารณะโดยไม่ใช้ความรุนแรงและเป็นการกระทำในเชิงการเมืองที่ปกติแล้ว มุ่งหมายจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล
ตามแนวความคิดของ รอลส์ เขาเห็นด้วยกับการเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่โดยธรรมชาติของประชาชนในการรักษาสถาบันแห่งความยุติธรรม โดยสร้างพื้นฐานของสังคมยังคงมีความเป็นธรรมอยู่ แต่ถ้ากฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม รอลส์ ก็ก้มหัวให้กับความชอบธรรมในการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์ของการสร้างความเป็นธรรมให้กิดแก่สังคมเป็นการกระทำในเชิงการเมือง แต่ต้องมิใช่เป็นมุ่งทำลายระบบกฎหมายทั้งหมดหรือรัฐธรรมนูญ (Constitutional theory of civil disobedience)
2. กฎหมายที่ต่อต้านหรือดื้อแพ่งนั้น ต้องเป็นกฎหมายที่ขาดความชอบธรรมเป็นอย่างมาก อันเป็นการฝ่าฝืนหลักความเป็นธรรมขั้นพื้นฐานหรืออิสรภาพขั้นมูลฐานของประชาชน
3. การไม่เคารพหรือต่อต้านกฎหมายต้องถือว่า เป็นปฏิบัติการซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากประสบความล้มเหลว ในการแก้ปัญหากฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและความสุจริตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายตามปกติ ซึ่งอาจเป็นลักษณะของการยื่นคำร้องผ่านพรรคการเมืองต่อรัฐสภา หรือสถาบันของรัฐที่รับผิดชอบเรื่องการตรวจสอบแก้ไขกฎหมาย
4. การต่อต้านกฎหมายต้องกระทำโดยสันติวิธีโดยเปิดเผย และในหลายกรณีมีข้อจำกัดในแง่ที่ต้องเคารพต่อสิทธิในการดื้อแพ่งของบุคคลอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนั้นย่อมหมายความด้วยว่าผู้ต่อต้านจะต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญหน้ากับผลทางกฎหมายจากการดื้อ แพ่งดังกล่าว เงื่อนไขข้อนี้เท่ากับเป็นการชี้ให้เห็นลึกๆลงแล้วในมโนธรรมสำนึก ของผู้ดื้อแพ่งต่อกฎหมายยังเปี่ยมไปด้วยความซื่อสัตย์เชื่อมั่นต่อสถาบันกฎหมาย เป็นการใช้ความสงบ นุ่มนวล เปิดเผยและพร้อมที่จะรับโทษทัณฑ์จากการกระทำนั้นๆ
3. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดื้อแพ่งในระบบกฎหมายไทย
ในระบบกฎหมายไทยมีการกล่าวถึงสิทธิในการดื้อแพ่งต่อกฎหมายไว้หรือไม่ ท่ามกลางสถานการณ์ที่สังคมไทยปรากฏข่าวคราวการชุมนุมประท้วงอย่างแพร่หลาย คำถามที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในระบบกฎหมายไทยยอมรับต่อการกระทำในลักษณะที่เป็นการดื้อแพ่งต่อกฎหมายหรือไม่
เมื่อเราพิจารณาถึงระบบกฎหมายไทยแล้วมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550,ประมวลกฎหมายอาญา
3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายที่สูงสุดมีอยู่ 3 ประเด็นที่อยู่ในข่ายของการพิจารณาว่ารับรองการดื้อแพ่งต่อกฎหมายหรือไม่ คือ
1.การรับรองสิทธิเสรภาพการชุมนุม ได้รับรองเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนที่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้อย่างชัดเจน แต่การรับรองไว้เช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าการชุมนุมอย่างสงบเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกสถานการณ์ (มาตรา 63 วรรคแรก ) แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 63 วรรค 2 ก็ได้บัญญัติให้จำกัดเสรีภาพ
1)เป็นการจำกัดเสรีภาพให้ชุมนุมในด้านสถานที่โดยอนุญาตให้จำกัดเสรีภาพนี้ได้ในกรณีที่เป็นการคุ้มครอง ความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะซึ่งได้แก่ ถนนหนทาง สถานที่ราชการ เป็นต้น
2)เป็นการจำกัดเสรีภาพในด้านช่วงเวลา เฉพาะช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างภาวะสงครามหรือในช่วงเวลาฉุกเฉินหรือมีการประกาศกฎอัยการศึก ช่วงเวลาเหล่านี้เสรีภาพการชุมนุมก็อาจถูกจำกัดได้
2. การรับรองมาตรา 130 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 รับรองสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการและบุคคลที่ประธานรัฐสภา อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในสภาฯ ตลอดจนบุคคลผู้พิมพ์รายงานการประชุมตามคำสั่งของสภาฯย่อมมีเอกสิทธิ์ ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องเป็นความผิดทางอาญา ทางแพ่งหรือทางวินัยอย่างใดมิได้ เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้เป็นการรับรองการดื้อแพ่งต่อกฎหมายหรือไม่ (ในความคิดผู้เขียนคิดว่าไม่ใช่เป็นการรับรองการดื้อแพ่งต่อกฎหมายแต่ประการใด)
3. การรับรองตามมาตรา 69 ได้กำหนดว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้” ผู้เขียนเห็นว่ากรณีเช่นนี้เป็นการรับรองการดื้อแพ่งทางกฎหมายได้
นอกจากรัฐธรรมนูญแล้วในส่วนการดื้อแพ่งต่อกฎหมายที่ปรากฏชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อ กฎหมาย เช่น การปิดถนนประท้วงราคาข้าวตกต่ำให้รัฐเข้ามาแทรกแซงราคา,การปิดล้อมอาคารสถานที่ราชการ ตัวอย่างเช่น การเข้ายึดเขื่อนปากมูลที่จังหวัด อุบลราชธานี ทางหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินคดีแก่แกนนำของการชุมนุมในครั้งนี้จำนวน 14 คน คนละ 7 ข้อหา ในบรรดาข้อกล่าวหากระทำผิดต่างๆเหล่านี้ บุคคลผู้กระทำผิดจะอ้างถึงการของตนว่าเป็นการดื้อแพ่งต่อกฎหมายเพื่อพ้นจากการรับผิดได้หรือการได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษจากกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่
3.2 ประมวลกฎหมายอาญา เมื่อพิจารณาจากประมวลกฎหมายอาญามีหลักกฎหมายซึ่งกำหนดให้กระทำบางอย่างที่เป็นความผิดตาม กฎหมายแต่เมื่อได้กระทำไปแล้ว อาจถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดหรือเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษหรือเป็นความผิดที่ต้องรับโทษแต่อาจได้รับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ (มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ซึ่งอาจแยกพิจารณาดังนี้
1. กรณีที่บุคคลผู้กระทำความผิดและไม่ถูกลงโทษ ถือว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่า ป้องกัน (มาตรา 68 ) การกระทำประเภทนี้ต้องเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นและเพื่อพ้นจากภัยอันตรายที่เกิด จากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและต้องเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึง
ตัวอย่างเช่น มีคนร้ายซึ่งมีอาวุธปืนเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านนาย ก. ซึ่งมีลูกสาวนาย ก. อยู่บ้านคนเดียวได้เห็นคนร้ายและมีอาวุธปืน เกิดความกลัวจึงใช้ปืนของนาย ก.ยิงคนร้ายตาย การกระทำในลักษณะเช่นนี้ของลูกสาวนาย ก. สามารถเรียกได้ว่า เป็นการป้องกัน และเป็นการกระทำไปโดยสมควรแก่เหตุ
2. กรณีที่บุคคลผู้กระทำความผิดและไม่ถูกลงโทษ ถือว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่า โดยจำเป็น (มาตรา 67) เป็นการกระทำความผิดแต่กฎหมายอาญาถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 67) การกระทำในลักษณะเช่นนี้ต้องเป็นการกระทำเพราะตกอยู่ภายใต้การบังคับที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้หรือ กระทำไปเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภัยอันตรายที่ใกล้ถึงและภัยอันตรายนั้นตนเองมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิด ขึ้น
ตัวอย่างเช่น นาย ก บังคับให้ นาย ข ฆ่า นาย ค โดย นาย ก ปืนจ่อหัว นาย ข หากว่า นาย ข ไม่ฆ่า นาย ค นาย ข ต้องตาย ดังนั้น นาย ข จึงจำเป็นต้องฆ่า นาย ค เพื่อให้ตัวเองพ้นจากภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงและภัยอันตรายนั้น นาย ข เองมิได้เป็นผู้ก่อขึ้น
3. การกระทำที่เป็นความผิดและต้องได้รับโทษแต่อาจจะได้รับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การกระทำที่เกิดขึ้นโดยบันดาลโทสะ (มาตรา 72) การบันดาลโทสะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการถูกข่มเหงร้ายแรงไม่เป็นธรรมและได้ตอบโต้ผู้ข่มเหงใน ขณะนั้น
เมื่อพิจารณาถึงเหตุยกเว้น 3 ประการแล้วจะพบว่าไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย เนื่องจากการกระทำที่เป็นการป้องกันต้องมีการประทุษร้ายอันเป็นการละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นก่อนในขณะ ดื้อแพ่งต่อกฎหมาย เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิเสธกฎหมาย จึงไม่มีการละเมิดในทางกฎหมายใดๆต่อผู้กระทำการดื้อแพ่ง หากเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความชอบธรรมมากกว่า รวมการกระทำโดยจำเป็นด้วย ส่วนเหตุบันดาลโทสะต้องเป็นการข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งการกระทำเช่นนี้ ได้ถูกอธิบายให้ หมายถึง การกระทำส่วนบุคคล เช่นการด่าทอบุพการี การหยามเกียรติระหว่างปัจเจกบุคคล กฎหมายหรือนโยบายของรัฐที่กระทบสิทธิของประชาชนไม่อาจถูกจัดเข้าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมตาม กฎหมายได้
สรุป เมื่อเราพิจารณาการดื้อแพ่งต่อกฎหมายในระบบกฎหมายไทยการกระทำที่เรียกว่า “การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย” ว่ามีกฎหมายรับรองไว้หรือไม่ นั้นคงมีปรากฎไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 69 “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้” ผู้เขียนเห็นว่ากรณีเช่นนี้เป็นการรับรองการดื้อแพ่งทางกฎหมายได้ แต่การรับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเปิดเผย มาตรา 63 นั้นเป็นการกระทำนั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเฉพาะอื่นๆไม่เป็นการรรับรองการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
ส่วนในเรื่องความรับผิดทางกฎหมาย แม้กฎหมายอาญาจะยอมรับเหตุยกเว้น บางประการที่ทำให้ผู้กระผิดอาจไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ไว้ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด การดื้อแพ่งต่อกฎหมายไม่อาจถูกนำมาเป็นเหตุยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญาได้กำหนดเอาไว้ได้
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. ในทรรศนะของท่านสังคมประชาธิปไตยควรยอมรับกฎหมายต่อความเป็นธรรมของการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชนหรือไม่ เพราะเหตุใด และท่านคิดว่าปัญหาการดื้อแพ่งต่อกฎหมายนี้มีความสัมพันธ์กับเรื่องความยุติธรรมทางสังคมหรือไม่เพียงใด
2.การดื้อแพ่งทางกฎหมายของประชาชนกับการประกอบอาชญากรรมคืออะไร เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร และในทรรศนะของท่าน รัฐควรใช้มาตรการลงโทษทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันต่อการกระทำทั้งสองหรือไม่ เพราะเหตุใด
3.จงสรุปวิเคราะห์ ในเชิงเหตุผลในหลักการของเรื่องการเคารพเชื่องฟังกฎหมาย และท่านคิดว่าการปฏิเสธกฎหมายในรูปของการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชนจัดเป็นอาชญากรรมแท้จริง ที่สมควรได้รับโทษเต็มที่หรือไม่ เพราะเหตุใด
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบ
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2538
รองพลเจริญพันธ์ “นิติปรัชญา”กรุงเทพฯ : มหาวิทยารามคำแหง,2529
สมชาย ปรีชาศิลปกุล “ศาสตร์แห่งการไม่เชื่องฟังรัฐ สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย” กรุงเทพฯ : สถาบัน
พัฒนาการเมือง,2543
「สื่อการสอน หมายถึง」的推薦目錄:
สื่อการสอน หมายถึง 在 ความหมายและประเภทของสื่อการเรียนการสอน - YouTube 的必吃
วิดีโอนี้จัดทำขึ้นสำหรับเป็น สื่อ เสริม การ เรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การสื่อสารการ ศึกษา และ การ เรียนรู้ รายละเอียดของเนื้อหาเป็นการนำเสนอเนื้อหาโดยสังเขป ... ... <看更多>
สื่อการสอน หมายถึง 在 การใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน ความหมายของสื่อ ... - Facebook 的必吃
ความหมายของ สื่อ การเรียน การสอน (Instructional Media) สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดหรือนำความรู้ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ให้ ... ... <看更多>
สื่อการสอน หมายถึง 在 ตอนที่ 1 ความหมายของสื่อการสอน - YouTube 的必吃
ช่องทางการติดต่อครับ Line ID : niwatisateacher E-mail : [email protected] การอบรมออนไลน์เรื่อง "การพัฒนา สื่อการสอน ... ... <看更多>