“หลักนิติธรรม หลักนิติรัฐ และหลักศุภนิติกระบวน”
ผมได้อ่านปาฐกถาพิเศษ โดย ศ.ดร.วิษณุ เครืองามในการสัมนาทางวิชาการ เนื่องในวาระศาลรัฐธรรมนูญครบรอบ 17วันพุธที่ 29 เมษายน 2558 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีข้อความตอนหนึ่งที่ท่านอาจารย์พูดถึงหลักนิติธรรมในประเทศไทย มีอยู่ 5 ข้อ ดังนี้
ข้อที่ 1 จะต้องยึดถือรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าเป็นสิ่งสูงสุดเหนืออำเภอใจ จะต้องยึดรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศเหนืออำเภอใจ
ข้อที่ 2 จะต้องยึดหลักการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค
ข้อที่ 3 การเคารพการแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม
ข้อที่ 4 จะต้องยึดหลักนิคิกระบวน โดยไม่มีการออกกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเพื่อลงโทษย้อนหลังหรือเพื่อตัดโอกาสในการฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลหรือเพื่อทำให้บุคคลถูกดำเนินคดีซ้ำ หรือเพื่อบังคับให้คนต้องปรักปรำตนเองหรือเพื่อลบล้างข้อสันนิษฐานที่ว่า ทุกคนบริสุทธิ์จนกว่าพิสูจน์ความผิด
ข้อที่ 5 หลักนิติธรรมนั่นต้องเคารพหลักความเป็นกลาง ความเที่ยงธรรมของกระบวนการยุติธรรม
จากความคิดของ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม กล่าวมา ผมมีข้อสังเกต อยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นการรับเอาแนวคิดจองต่างประเทศมาใส่ในรัฐธรรมนูญประเทศ กับประเด็นหลักการที่กล่าวมา 5 ข้อที่ อาจารย์กล่าวมานี้ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ได้ทำตามที่พูกได้ สักกี่ข้อ ดังนี้
ประเด็นที่มาของนิติธรรม นิติรัฐ และศุภนิติกระบวน
จะพบว่า ข้อ 1 นี้ จะพบว่า การยุดหลักรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ได้รับเอาแนวคิดมาจาก รัฐธรรมนูญอเมริกา แต่ไม่รับมาโดยตรง คือ รัฐธรรมนูญอเมริกามีอิทธิพล ต่อกลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส บุคคลสำคัญที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส นำเข้ามา คือ ปรีดี พนมยงค์ และเอาแนวคิดนี้มาใส่ในรัฐธรรมนูญไทย หลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแแลงการปกครอง 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข้อที่ 2 การเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค รับมาจากประประเทศอังกฤษต้นแบบหลักนิติธรรม ซึ่งได้แฝงอิทธิพลมาก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญหลังการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพระองค์รพี พัฒนศักดิ์ได้ไปศึกษาและนำมาใช้ในประเทศไทย
ข้อที่ 3 ยุดหลักการแบ่งแยกอำนาจ ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศที่ใช้กลักนิคิรัฐ ในภาคพื้นยุโรป อย่างชัดเจน บุคคลสำคัญที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส เช่น อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ และบุคคลต่อที่ไปเรียนมาใช่ช่วงหลังพยามแต่งแต่งเดิมหลักการแบ่งแยกอำนาจให้สมบูรณ์ขึ้น
ข้อที่ 4 หลักนิติกระบวนหรือ ศุภริติกระบวน หลักการไม่ออกกฎหมายมาย้อนหลังที่เป็นโทษ ไม่มีกฎหมายมาตัดสิทธิในในการดำเนินคดีในศาล ได้รับมาจากอเมริกาโดยตรง บุคคลสำคัญที่นำแนวคิดนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อาจารย์ มรว. เสนีย์ ปราโมช
ข้อที่ 5 ความเป็นอิสระของศาลนี้ ได้รับอิทธิพล ทั้งในประเทศภาคพื้นยุโรปภายใต้หลักนิติรัฐ ประเทศอังกฤษภายใต้หลักนืติธรรม และประเทศอเมริกาภายใต้หลักนิติกระบวนหรือศุภนิติกระบวน มาผสมกันในรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ 2 ประเด็นด้านเนื้อหาทั้ง 5 ข้อที่ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม กล่าวมานั้น ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี รัฐบาลคสช. (รัฐบาลทหารที่มาจากการรัฐประหาร) และรัฐบาลที่ได้กลายพันธุ์ จาก คสช. หรือ เปลี่ยนเสื้อมาเป็นรัฐบาลพลเรือนได้ดำเนินการตามหลักนิติธรรม ทั้ง 5 ข้อหรือไม่
หลักการที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงวาทะกรรม ไม่มีความหมายใดๆ ปกครองประเทศ หรือไม่
ยังคงเป็นคำถามในใจ หรือคับแค้นในอกของประชาชนบางกลุ่ม ในขณะนี้
「สิทธิเสรีภาพ คือ」的推薦目錄:
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 สิทธิและเสรีภาพของคนไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ... 的評價
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 สิทธิและเสรีภาพของเด็กและเยาวชน - YouTube 的評價
- 關於สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang - "สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญใน ... 的評價
สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ลักษณะของกฎหมายข้อที่ 1
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
ข้อพิจารณาถึงลักษณะความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างกับกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำบางอย่าง ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ” ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ
1) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่กระทำการ” (Duty of Act)
2) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” (Duty to Refrain from Acting)
ดังนั้นการที่กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำบางอย่างหรือห้ามกระทำบางอย่างถือเป็น “ความผูกพัน” (Relationship) ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคล” แยกพิจารณา ดังนี้
1) สิทธิ (Rights) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองคุ้มครองประโยชน์ให้ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิพล ดังนี้
(1) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หรือ สิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” (State) เกิดขึ้น โดยมีลักษณะติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ไม่อาจถูกพรากหรือถ่ายโอนจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิได้และเป็นสิทธิที่มีลักษณะสากล คือ เป็น สิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันอย่างเสมอภาค สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
(2) สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เป็นสิทธิที่เกิดมาภายหลังที่ได้มีกาจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้ว เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง จะพบว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ “สิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด” โดยคุ้มครองทั่วไปไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดในโลก แต่สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้มาภายหลัง เมื่อทำสัญญาประชาคมจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้วจะคุ้มครองกับพลเมืองของรัฐนั้น
2) ส่วนเสรีภาพ (Liberty) หมายถึง สิ่งที่ปราศจากการกักขังหน่วงเหนี่ยวทั้งทางร่างกายและทางความคิด
ดังนั้น เมื่อคุ้มครองสิทธิจะต้องรวมถึงเสรีภาพด้วย เพราะจะมีเสรีภาพได้ต้องได้รับสิทธิมาก่อน จึงเรียกว่า “สิทธิเสรีภาพ” การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิเสรีภาพในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมถือเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็น “บรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม” (Practical Norms of Society) โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็น “ปรากฏการณ์ทางสังคม” (Social Phenomenal) ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ ตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละบริบทของแต่สังคมแต่ละประเทศ
สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
สรุปเนื้อหากฎหมายมหาชน
“นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน”
"นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน" หมายถึง กระบวนการวิธีคิดที่เป็นระเบียบแบบแผนในทางกฎหมายมหาชน บนพื้นฐานประโยชน์สาธารณะ และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม
ดังนั้นกระบวนวิธีคิดในทางกฎหมายมหาชน ประกอบด้วย นิติวิธีหลักกับนิติวิธีประกอบ ดังนี้
1.นิติวิธีหลัก คือ
1.1 นิติวิธีเชิงปฏิเสธหลักกฎหมายเอกชน
จะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้ เพราะกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนแตกต่างกัน ทั้งในประโยชน์ที่จะคุ้มครอง การเข้านิติสัมพันธ์และการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งการปฏิเสธ คือ
1)จะปฏิเสธทั้งในระบบวิธีพิจารณา เอกชนได้ระบบกล่าวหา มหาชนใช้ระบบไต่สวน
2)ปฏิเสธในระดับองค์กรพิจารณาคดี เอกชนพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรม มหาชนพิจารณาคดีโดยศาลพิเศษ เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
1.2 นิติวิธีเชิงสร้างสรรค์
เมื่อปฏิเสธหลักกฎหมายเอกชน ก็ต้องสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมา คือ "นิติวิธีเชิงสร้างสรรค์" บนพื้นฐาน 2 หลัก คือ
1) หลักประโยชน์สาธารณะที่เป็นประโยชน์สาธารณะเชิงการกระทำ เช่น การบริการสาธารณะทางปกครอง การบริการสาธารณะทางพาณิชกรรมและอุตสาหกรรม แลการบริการสาธารณะทางสัมคมและวัฒนธรรม กับประโยชน์สาธารณะในการควบคุมการกระทำของรัฐ เป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
2) หลักการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
สิทธิ ที่จะรับรองทั้งสิทธิพลเมืองกับสิทธิมนุษยชน คุ้มครองชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ส่วน เสรีภาพเป็นสิ่งที่ปราศจากการกักขังหน่วงเหนี่ยวที่รัฐให้สิทธิ จึงเรียกว่า สิทธิเสรีภาพ ในด้านต่างๆ
2. นิติวิธีประกอบ
เป็นวิธีคิดเชิงปรัชญาหรือหลักการที่อยู่เบื้องหลังของนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 หลักคิด ดังนี้
2.1 นิติวิธีเชิงเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบของต่างประเทศที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อจะมาใช้หรือสร้างหลักกฎหมาย
2.2 นิติวิธีเชิงประวัติศาสตร์ การที่จะนำหลักกฎหมายของต่างประเทศมาเปรียบเทียบหรือนำมาใช้เป็นแบบอย่างจำเป็นต้องศึกษาความเป็นมาหลักกฎหมายนั้นว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วต้องศึกษาประวัติศาสตร์ ของเราจะนำมาใช้เพราะอะไร
2.3 นิติวิธีเชิงสังคมวิทยา เป็นการคิดวิเคราะห์ ว่าการสร้างนิติวิธีเชิงสร้างบนพื้นหลักประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นเหมาะสมหรือไม่ในสังคมของเรา
ดังนั้นสรุปได้ว่า นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน จึงเป็นกระบวนการคิดในทางมหาชนที่เป็นส่วนรวมไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องของการสร้างหลักกฎหมายที่บังคับฝ่ายเดียว เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแต่ก็คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมทางกฎหมายมหาชน
สิทธิเสรีภาพ คือ 在 สิทธิและเสรีภาพของเด็กและเยาวชน - YouTube 的必吃
41K views · 2 years ago #กรมคุ้มครอง สิทธิ และ เสรีภาพ #RLPD #วัฒนธรรมองค์การ ...more ... สิทธิ มนุษยชน คือ อะไร | สังคม สนุกคิด. ... <看更多>
สิทธิเสรีภาพ คือ 在 sittikorn saksang - "สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญใน ... 的必吃
สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับรองและคุ้มครองให้ กฎหมายในที่นี้เป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด คือ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) ... ... <看更多>
สิทธิเสรีภาพ คือ 在 สิทธิและเสรีภาพของคนไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ... 的必吃
RLPD #กรมคุ้มครอง สิทธิ และ เสรีภาพ วิสัยทัศน์ “สังคมรู้หน้าที่ เคารพ สิทธิ มนุษยชน ... สิทธิ มนุษยชน คือ อะไร | สังคม สนุกคิด. ... <看更多>