ล้วงลึก “โมเดลธุรกิจ” และ “รายได้” วงการ “KOL” ในแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์ “จีน”
.
คอลัมน์: ปากตลาดจีน BY อ้ายจง
ผู้เขียน: ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
จากบทความ KOL คราวที่แล้ว มีคำถามถามไถ่อ้ายจงมาว่า “KOL แพลตฟอร์ม และ ตัวเจ้าของสินค้า มีโมเดลรายได้ระหว่างกันอย่างไรบ้าง?” ฉะนั้น วันนี้อ้ายจงขออาสามาล้วงลึก ไขข้อข้องใจนี้ โดยขอโฟกัสไปที่ตลาดประเทศ “จีน”
.
วงการผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด หรือ KOL (Key Opinion Leader) กับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ประเทศ “จีน” มียอดเงินจากการขายสินค้าโดย KOL สูงถึง 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะทะลุไปถึง 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า
.
ในประเทศจีน KOL ที่ขับเคลื่อนวงการอีคอมเมิร์ซหรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ
.
กลุ่มแรก คือ KOL ที่สร้างสรรค์เนื้อหาทั่วไปตามด้านที่ตนเองถนัดและสนใจ พอเป็นที่รู้จัก มีคนติดตามในระดับหนึ่ง ก็เริ่มรับรีวิวสินค้าเพื่อขายทางออนไลน์ ซึ่งกลุ่มนี้พวกเราคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี อาจรวมกลุ่มศิลปินดาราเซเลปคนดังเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดเช่นกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มแฟนคลับของแต่ละคนเอง ถึงขั้นเกิดเป็น “Fan Economy”
.
กลุ่มที่สอง คือ KOL ที่ดังมาจากการรีวิวขายสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงที่แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์จีน เถาเป่า (Taobao) ในเครือ Alibaba ได้สร้างฟีเจอร์ไลฟ์สดขึ้นมาบนแพลตฟอร์มในปี 2016
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #KOL #จีน #ตลาดจีน #สังคมออนไลน์จีน #Ecommerce #Marketing #ChineseMarketing
「สังคมออนไลน์จีน」的推薦目錄:
- 關於สังคมออนไลน์จีน 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於สังคมออนไลน์จีน 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
- 關於สังคมออนไลน์จีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
- 關於สังคมออนไลน์จีน 在 True Digital Park - ลบภาพจีนแบบเดิมๆ ไปได้แล้ว! ถึงเวลามา ... 的評價
- 關於สังคมออนไลน์จีน 在 เพจอ้ายจง ชี้ ! นักท่องเที่ยวจีนเดือด ผุดกระแส "เที่ยวไทยอันตราย" 的評價
สังคมออนไลน์จีน 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
ชวนคุยเรื่องจีน : เมื่อแม่เจ้าสาวโวยแหลกในงานแต่งลูกสาว เนื่องจาก "มีการรับซองงานแต่ผ่านQRCode"
ฤๅ สังคมไร้เงินสดใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์?
ถ้าคุณจัดงานแต่ง "จะรับซองงานแต่งผ่าน QRCode หรือไม่?" เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย?
-----
อ้ายจงเพิ่งจะคุยกับเพื่อนคนไทยในประเด็น "สังคมไร้เงินสด - การใช้จ่ายผ่านออนไลน์ของคนจีน" เป็นเบื้องหลังสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดCOVID-19 และคนจีนแทบไม่ต้องปรับตัว
แต่รู้หรือไม่ว่า ? สังคมไร้เงินสดในจีน อาจใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์
บทสนทนากับเพื่อนเมื่อช่วงเช้า ทำให้อ้ายจงฉุกคิดถึงประเด็นนี้ และหวนนึกถึงเรื่องราวโซเชียลจีนเมื่อ3ปีที่แล้ว
.
คือเมื่อ3ปีที่แล้ว มีประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาบนWeibo สังคมออนไลน์จีน เมื่อในงานแต่งงาน-มงคลสมรสของบ่าวสาวชาวจีนคู่หนึ่งเกือบจะล่มไม่เป็นท่า
เนื่องจาก แม่เจ้าสาวโวยแหลก สาเหตุจาก
"มีการรับซองงานแต่งผ่านทาง Alipay ในงานแต่งลูกสาว"
.
ในครั้งนั้นชาวเน็ตจีนเสียงแตก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย"
.
เรื่องราวมีอยู่ว่า ในงานแต่งแห่งหนึ่งในเขตเฉาหยาง มหานครปักกิ่ง ทางบ่าวสาวได้จัดโต๊ะลงทะเบียน รับซอง เขียนคำอวยพรหน้างานแต่ง แบบงานแต่งทั่วๆไป
แต่ เพื่อนเจ้าสาวที่รับหน้าที่เก็บซองแดงงานแต่งตามธรรมเนียมจีน ได้แขวนบัตรQRCodeสำหรับคนที่ต้องการให้ซองผ่านทาง Alipay ซึ่งแขกในงานหลายคนก็แฮปปี้กับวิธีนี้ แต่งานมาเข้าที่แม่เจ้าสาว
.
"แม่เจ้าสาวมองว่า การรับซองจากแชกผ่านทาง Alipay เป็นการไม่ให้เกียรติธรรมเนียมจีน"
เธอจึงตะโกนบอกแขกทุกคนว่า ให้เอาเงินมาให้ที่เธอแทน และบอกเพื่อนเจ้าสาวคนนั้นให้ถอดบัตรออกจากคอ เพื่อที่จะรับซองแบบปกติ
เพื่อนเจ้าสาวคนดังกล่าว เปิดเผยว่า "ก่อนที่จะเริ่มงาน พวกเราได้ตกลงกับคู่บ่าวสาวแล้ว ว่าเราจะใช้ Alipay ในงานนี้ด้วย ซึ่งไม่คิดมาก่อนเลยว่าจะเกิดเรื่องขึ้น"
.
หลังจากเรื่องนี้ถูกเปิดเผย ชาวโซเชียลจีนแสดงความคิดเห็นในวงกว้าง โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย
- ทีมเพื่อนเจ้าสาว มองว่า นี่ยุคใหม่แล้ว การให้ซองแดงผ่าน Alipay หรือ WeChat ไม่ใช่เรื่องแปลก สะดวกสบายดีด้วย แต่คราวหน้าอาจจะปรับมาติดไว้ตรงมุมโต๊ะแทน
- ส่วนทีมแม่เจ้าสาว เห็นด้วยกับขุ่นแม่ ที่มองว่า งานแต่งงานควรให้ซองแบบใส่เงินในซอง เพราะเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติมานานและแสดงถึงความจริงใจ ที่ต้องการอวยพรบ่าวสาวจริงๆ
.
สำหรับอ้ายจง มองว่า มันเป็นการเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมและความแตกต่างทางความคิดของคนที่มีช่วงอายุ-ช่วงวัยต่างกัน แต่เราสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนทางความคิดเพื่อหาทางออกร่วมกันได้
ทุกคนล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้?
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #เล่าข่าวจีน #สังคมไร้เงินสด #งานแต่งคนจีน
สังคมออนไลน์จีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
ใน Weibo สังคมออนไลน์จีน ชาวโซเชียลจีนต่างพากันโพสต์แสดงความเสียใจและไว้อาลัยแก่การจากไปของ นักร้องนำวง Linkin Park
บัญชีผู้ใช้งานอย่างเป็นทางการของ Linkin Park ใน Weibo รวมถึง Weibo ของนักร้องดังคนอื่นๆทั้งจีนและต่างประเทศ โพสต์แสดงความเสียใจและไว้อาลัยเช่นกัน
อ้ายจงรู้จักและเคยฟังเพลงของ Linkin Park มาตั้งแต่เด็กๆ ก็รู้สึกเสียใจจากการจากไปของ Chester Bennington ในครั้งนี้เช่นกัน ขอจงสู่สุขคติ และขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว Chester Bennington ด้วยครับ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
สังคมออนไลน์จีน 在 เพจอ้ายจง ชี้ ! นักท่องเที่ยวจีนเดือด ผุดกระแส "เที่ยวไทยอันตราย" 的必吃
ห้องข่าวภาคเที่ยง - เกิดกระแสว่อนสื่อ สังคมออนไลน์จีน เที่ยวไทยอันตราย ระมัดระวังหากจะไปเที่ยวไทย ร้อนไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ... ... <看更多>
สังคมออนไลน์จีน 在 True Digital Park - ลบภาพจีนแบบเดิมๆ ไปได้แล้ว! ถึงเวลามา ... 的必吃
ถึงเวลามาทำความรู้จักกับผู้บริโภคจีนยุค 4.0 ที่มีไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัล Chinese Market - Understand China ... นอกจากสื่อสังคมออนไลน์จะเป็นช่องทางทำมาค้าขายแล้ว ... ... <看更多>