#ให้อ้อน_ไม่ใช่การตามใจ
#เด็กที่ได้อ้อนอย่างเต็มที่จะเป็นเด็กที่พึ่งพาตัวเอง
มีคำถามที่น่าสนใจ
“ลูกประถมอ่านหนังสือเองได้แล้ว แต่ยังจะให้เราอ่านให้เราควรอ่านให้ลูกฟังมั้ย”
“ปกติลูก 5 ขวบก็อาบน้ำแต่งตัวเองได้ แต่บางวันก็อยากให้แม่อาบให้ ควรทำให้มั้ย”
“ลูก 4 ขวบ เพิ่งไปอนุบาล อยู่บ้านกินอาหารได้เอง
ไปโรงเรียนคุณครูก็ชมว่าช่วยเหลือตัวเองได้ดี แต่พักนี้บางครั้งให้อยากให้แม่ป้อน”
.
หมอเคยอ่านหนังสือ
เขียนเกี่ยวกับจิตใจของเด็กที่เติบโตขึ้น
จะเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่าง พึ่งพา และ ต่อต้าน
.
เมื่อแรกเกิด เด็กต้องพึ่งพาพ่อแม่อย่างเต็มรูปแบบ
เด็กที่ได้รับความรักจากพ่อแม่อย่างเต็มที่
ก็จะรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย
อยากเรียนรู้โลกกว้าง
อยากทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง
.
เมื่อโตมากขึ้น
รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถมากขึ้น
อยากมีอิสระ
อยากลองขีดจำกัดความสามารถของตัวเอง
หากพ่อแม่ไม่ปล่อยให้เค้าทำในสิ่งที่อยากทำบ้าง
จะรู้สึกขาดอิสระ
เด็กก็จะ #ต่อต้าน เพื่อแสดงให้รู้ว่า
ฉันทำเองได้แล้ว
เมื่อได้ลองทำหลายสิ่งหลายอย่างด้วยตัวเอง
ก็จะมีความรู้สึกกังวลใจ
โหยหาความอบอุ่นที่ได้รับ
กลับมาสู่ระยะพึ่งพาอีกครั้ง
กว่าเด็กน้อยจะเติบโต...ก็จะมีความรู้สึก
กลับไปกลับมา ระหว่าง
อยากพึ่งพาตัวเอง (พ่อแม่จะรู้สึกว่าลูกต่อต้าน)
อยากพึ่งพาพ่อแม่ คือ การอ้อนนั่นเอง
.
หมอชอบคำว่า
คนที่พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ใช่คนที่ไม่อ้อน
แต่เป็นคนที่ได้อ้อนอย่างเต็มที่ตอนเป็นเด็กต่างหาก
.
อย่าว่าแต่เด็กเลย
บางครั้ง ถึงแม้เราจะทำอาหารกินเองได้
แต่เราก็อยากให้แม่ทำเมนูโปรดให้เรากิน
บางครั้ง แม้จะเป็นของไม่ได้หนักอะไรมากมาย
แต่เราก็ยังอยากให้สามีเป็นคนยกให้เรา
บางครั้ง แม้เราจะรู้ว่าเพื่อนงานยุ่ง
และปัญหาของเราไม่ได้ใหญ่โต
เราจัดการเองได้
แต่เราก็ยังอยากโทรไประบายให้เพื่อนฟังอยู่ดี😁
.
ถามว่า
สิ่งที่เราอยากได้ คือ
อาหาร, คนยกของ, คนที่มาแก้ปัญหาให้เรา
อย่างนั้นหรือ?
เปล่าเลย....เราอยากอ้อนคนที่เรารัก
เราอยากรู้สึกว่า
เราเป็นคนสำคัญสำหรับใครบางคน
.
ลูกก็เช่นกัน
เด็กที่อ่านหนังสือได้เองแล้ว
ทำไมยังอยากให้เราอ่านให้ฟัง
ก็เพราะลูกต้องการเรา ไม่ใช่แค่หนังสือ
อาบน้ำเองได้แล้ว กินอาหารได้เองแล้ว
จะแปลกอะไร
ถ้าบางครั้ง เค้าอยากกลับมาพึ่งพาเรา
ถ้าเค้าทำเองได้
เค้าจะยังสำคัญกับแม่เหมือนเดิมรึเปล่า😁
เหตุการณ์นี้เกิดบ่อย
เมื่อเด็กต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
พ่อแม่มักจะปลอบว่า ลูกโตแล้ว ลูกทำได้
แค่ฟังก็ว้าเหว่แล้ว😅...งั้นกลับทำไม่ได้ก็คงจะดี
.
หมอคิดว่าการจับจังหวะของลูก
ก็เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจ
เมื่อเค้าแสดงความต้องการอย่างแรงกล้า
ที่จะทำหลายสิ่งหลายอย่างได้ด้วยตัวเอง
ก็ต้องเปิดโอกาสให้เค้าได้ทดลองทำ
โดยที่เราอาจจะคอยมองห่างๆอย่างห่วงๆ
เด็กก็จะเรียนรู้เรื่องขีดจำกัดความสามารถของตัวเอง
ณ ขณะนั้น
ทำไม่สำเร็จ ก็นำไปสู่การทดลองทำซ้ำในวิธีใหม่ๆ
ถ้าสำเร็จก็จะภาคภูมิใจในตัวเอง
.
แต่เมื่อไหร่ที่ลูกอยากกลับไปสภาวะพึ่งพิง
ลูกอยากจะอ้อนเราบ้าง
ก็ให้ลูกได้อ้อนเถิด...
เพราะการได้อ้อนคนที่เรารักอย่างเต็มที่
มันช่วยยืนยันว่าเราเป็นที่รักเสมอ
ไม่ว่าเราจะเป็นยังไงก็ตาม
ความรู้สึกตรงนี้
จะทำให้เรากล้าที่จะทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง
เพราะเรารู้ว่า เรามี #บ้านของใจ ให้กลับไปพัก
.
แค่จับจังหวะ
หากอยากเป็นอิสระ ก็ปล่อยได้ให้ทำเอง
หากอยากพึ่งพา ก็ปล่อยให้ลูกได้อ้อน
ลูกเติบโตและพึ่งพาตัวเองได้อย่างแน่นอนค่ะ
.
หมอแพม
ผู้ที่โตจนป่านนี้ก็ยังอ้อนแม่อยู่🤣
ลูก 4 ขวบ ต่อต้าน 在 วิธีรับมือกับโรคดื้อต่อต้านในเด็ก : Rama Square #RamaDNA 5.2 ... 的必吃
11K views · 4 years ago ...more. RAMA Channel. 711K. ... <看更多>
ลูก 4 ขวบ ต่อต้าน 在 883 “ลูกรุนแรงมาก... - หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก 的必吃
883 “ลูกรุนแรงมาก ต้องตีถึงหยุด ไม่งั้นไม่ยอมหยุด!” คำถาม....ลูกชายอายุ 4 ขวบ มีความคิดเป็นของตัวเองสูงมาก เมื่อไม่พอใจเขาจะเเสดงอาการโกรธมากๆๆ เช่น... ... <看更多>