วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅MROST,也在其Youtube影片中提到,Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM ★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1 ★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/ ★ ...
「มรรค คือ」的推薦目錄:
- 關於มรรค คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最讚貼文
- 關於มรรค คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
- 關於มรรค คือ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
- 關於มรรค คือ 在 MROST Youtube 的最讚貼文
- 關於มรรค คือ 在 มรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 กรกฎาคม ... 的評價
- 關於มรรค คือ 在 เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan - มรรค...คือหนทาง... 的評價
มรรค คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
ความจริงในความถูกต้อง ชัดเจน ดีงาม ครบถ้วน ในศีล ธรรม กฏหมาย ประเพณี วัฒนธรรมของชาติ จากจุดเล็กๆ ของเรา(ของใครของมัน)คือ ความงดงาม สมบูรณ์ ยิ่งใหญ่ เป็นอมตะ เป็นมงคล น่ายกย่องสรรเสริญ ไปตลอดกาล
เราเกิดมาด้วย กรรมดี กรรมชั่ว ที่ เราทุกๆคนเวียนมาด้วยแบบนี้ กรรมดีคือบุญ เป็นกุศล ส่งผลดี มีความสุข กรรมชั่วคือบาปเป็นอกุศล ส่งผลร้าย มีความทุกข์ มันคือสัจธรรม ของมนุษย์ ก่อนเราจะก้าวข้ามไป สู่ หนทาง มรรค ผล นิพพาน เราต้องผ่านมีความรู้มีความเข้าใจ ในความจริงของชีวิตแบบนี้ แล้ว "ของใครของมัน" ในกาย วาจา ใจ พึงมีสติเพ่งมอง กรรมดี กรรมชั่ว ของเรานี่แหละ อย่าไปเสียเวลา ไปสอดส่อง มอง กรรมกุศล/อกุศล ของใครต่อใคร เสียเวลา และไป ขุ่นข้องหมองใจ อึดอัดขัดใจ สารพัดสารพัน
จะสิ้นเวลาที่เวียนไปอีกแล้ว 1 ปี รวดเร็ว ไม่ย้อนกลับ ตั้งสติ ทบทวนทุกๆเรื่องราว ของเราแต่ละคน ของใครของมัน ถูกผิดรู้ดีแก่ใจตน เริ่มต้นใหม่ ไม่มีอะไรสายเกินไป ให้อภัย ให้โอกาสตนเอง สำคัญที่สุด ครับ
ลักษณ์ ราชสีห์
มรรค คือ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
พจนานุกรมพุทธศาสน์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมาย 'ธรรม' ไว้ว่า สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ส่วน 'ธรรมชาติ' คือ สิ่งที่เกิดมีเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดา เช่น ดิน น้ำ คน สัตว์ ต้นไม้
และ 'ธรรมดา' คือ อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ ในภาษาไทยว่า สามัญ, ปกติ, พื้นๆ
...
🌳
ท่านพุทธทาสเทศน์ว่า "สิ่งทั้งปวงนี้ไม่มีอะไรอื่นนอกจากสิ่งที่เรียกว่า 'ธรรม'" โดยบอกว่า "ธรรมะซึ่งแปลว่า 'สิ่ง' เท่านั้นแหละ; สพฺเพ ธมฺมา ก็แปลว่าสิ่งทั้งปวง
'สิ่งทั้งปวง' หมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรหมด จะเป็นเรื่องโลกหรือธรรมะก็คือสิ่งทั้งปวง จะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็คือสิ่งทั้งปวง
สำหรับท่านพุทธทาส ตัวโลกหรือสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นวัตถุธรรม ก็คือธรรม
ตัวจิตใจที่จะรู้จักโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือธรรม
เมื่อกระทบกันแล้วเกิดรัก โกรธ เกลียด กลัวขึ้น หรือเป็นสติปัญญา รู้แจ่มแจ้ง ก็คือธรรมทั้งนั้น
ถูก-ผิด ดี-ชั่ว ก็คือธรรมทั้งนั้น
สติปัญญาก่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา อันนี้ก็คือธรรม
ความรู้เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติขึ้นมา เป็นศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัตินั้นก็คือธรรม
ครั้นปฏิบัติแล้วผลเกิดขึ้น เป็น มรรค ผล นิพพาน ผลที่เกิดขึ้นก็คือธรรม
ท่านพุทธทาสจึงบอกว่า ธรรมคือสิ่งทั้งปวง
...
🌳
ท่านยังบอกอีกว่า "ธรรมะล้วนๆ ไม่มีอะไรเจือนี้คือธรรมชาติ"
ธรรมะ แปลว่าสิ่งที่ทรงตัวมันอยู่ ถ้าสิ่งใดมีการทรงตัวอยู่แล้วสิ่งนั้นเรียกว่าธรรมะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
หนึ่ง, สิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สอง, สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลงจากการปรุงแต่ง กระแสไหลเวียนเปลี่ยนแปลงก็คือตัวมัน มันไหลเวียนแต่ก็ทรงตัวอยู่ในการไหลเวียนนั้น
สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้เปลี่ยนแปลง คือพระนิพพาน คือความว่าง ก็จะเป็นธรรมะประเภทที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
...
🌳
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเห็น 'ธรรม' ตามจริง เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นธรรมะ จะไปยึดถือว่าเป็นเรา-ของเราได้อย่างไร
เช่นนี้ ธรรมะจึงแปลว่าธรรมชาติ หรือธรรมดา หรือตถตา คือมันเป็นอย่างนั้นเอง
ถ้าเห็นสิ่งทั้งปวงตามจริง ย่อมว่างจากตัวตน คือการพยายามใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการบงการ ควบคุม ตัดสิน หรือพยายามยึดมั่น เกาะเกี่ยว เหนี่ยวรั้งสภาพบางอย่าง สถานะบางอย่าง หรือตัวตนที่ชอบเอาไว้
ท่านพุทธทาสบอกว่า "จะศึกษาความว่างก็ต้องศึกษาสิ่งทั้งปวง"
...
🌳
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการศึกษาสิ่งนอกตัว (วัตถุ) ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป รวมถึงเหตุปัจจัยที่ประกอบกันเป็นสิ่งหนึ่ง ผลลัพธ์หนึ่ง สถานการณ์หนึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจเริ่มจากการศึกษาผ่านความคิด เป็นสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา เพื่อทำความเข้าใจ (อย่างน้อยในแง่คอนเส็ปต์) ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจังและอนัตตา คือเปลี่ยนแปลงและไม่มีตัวตนแท้จริง ล้วนเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งของการรวมกันของเหตุปัจจัย
ส่วนการศึกษาสิ่งในตัว (จิตใจ) ทำให้เรารู้ซึ้งถึงความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสภาพจิต และความร้อนของการยึดถือที่เราพยายามยึดบางอย่างไว้เสมอ พยายามยึดสุขและผลักไสทุกข์ ถ้าเห็นสิ่งนี้บ่อยมากขึ้น เห็นโทษของมัน สัมผัสถึงความร้อนของมัน เราจึงจะคลาย และค่อยๆ วางความยึดมั่นลงทีละนิด--เป็นภาวนามยปัญญา
ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะธรรมชาติ
เป็นธรรมะ
เป็นธรรมดา
ทั้งของโลกและของเรา
ซึ่งจะว่าไปแล้ว ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งนั้น
...
🌳
ที่เราเป็นทุกข์เพราะไม่สามารถอยู่กับธรรมชาติที่เป็นไปทั้งภายนอกและภายในได้ ไม่สามารถยอมรับความธรรมดาของสิ่งทั้งปวงได้ เมื่อมองไม่เห็นความเป็นไปอย่างแท้จริง เราจึงใช้ชีวิตเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปตามที่เราคิดและคาดหวัง ครูบาอาจารย์บอกว่าสิ่งนี้คืออวิชชา หรือหลงผิด เพราะไม่รู้ในความจริง
จึงน่าคิดว่า วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการกดปุ่มสารพัด เลือกอุณหภูมิ เลือกตั้งเวลา เลือกปรับสภาพแสง สี เสียง ทำให้เราใช้ชีวิตกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติน้อยลง จนหลงคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายควบคุมได้ และทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงได้
การไม่เคยชินกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้เราทุกข์ง่ายขึ้นหรือไม่
วิถีชีวิตที่ไกลจากต้นไม้ แสงแดด สรรพสัตว์ ทำให้เราห่างไกลความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือเปล่า
ความเร่งรีบจนไม่มีเวลาสังเกตจิตใจตัวเอง ทำให้เรามองไม่เห็นธรรมชาติอันปั่นป่วนของจิตใจตนเอง นำมาซึ่งความเครียดโดยไม่รู้สาเหตุหรือไม่
เราอยู่กับความจริงหรือไม่จริงมากกว่ากัน
เราอยู่กับธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน
ธรรมชาติในความหมายของความธรรมดาที่เป็นไป
ที่ว่ากันว่า "คนสมัยใหม่ห่างธรรมะ" อาจไม่ได้หมายถึงห่างวัด แต่อาจหมายถึงห่างจากสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
รวมถึงห่างจากจิตใจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตัวเองด้วย
-------------------------------------------------------------
ตื่นมาทำการบ้านเตรียมไปชวนคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช และพี่เชน-มล.ปริญญากร วรวรรณ คุยในงานครบรอบ ๑๐ ปี สวนโมกข์กรุงเทพฯ x พื้นที่ชีวิต ในหัวข้อ 'ธรรมะกับธรรมชาติ'
ใครไปงานวันนี้ พบกันครับ :)
มรรค คือ 在 MROST Youtube 的最讚貼文
Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM
★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1
★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/
★ Facebook: https://www.facebook.com/MYMROST
★ Twitter: https://twitter.com/OkaySalt
★ Youtube: https://www.youtube.com/c/mrost
ชีวิต, คิดสั้น, #ความหมายของชีวิต #กำลังใจ, ทำไมชีวิตคนบางคนถึงมี #ความสุข อยู่ตลอดเวลา ขณะที่บางคนทุกข์อยู่, ทำไมชีวิตมีแต่ความทุกข์ยาก? ชีวิต มี แต่ ทุกข์ ชีวิตไม่มีความสุขเลย ไม่ชอบชีวิตตอนนี้เลย, ชีวิตมันยาก
มรรค คือ 在 เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan - มรรค...คือหนทาง... 的必吃
มรรค...คือหนทาง มรรคง่าย...ง่ายกว่าที่คิด นายรากหญ้า ๑๖ กค.๕๙. ... <看更多>
มรรค คือ 在 มรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 กรกฎาคม ... 的必吃
มรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 กรกฎาคม 2566 ที่สุดของทุกข์ก็อยู่ตรงที่สุดของขันธ์ ค่อยๆ ฝึก ก่อนจะถึงจุดนี้ ... ... <看更多>