รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ
GDP ถอยไป SPI มาแล้ว
อ่านบทความเต็ม
https://bit.ly/35HcrJh
ฟังคลิป #Human_Talk #ThinkingRadio
https://youtu.be/7TyTzstKXQo
กว่า 80 ปีที่โลกทั้งใบ ถูกชี้ชะตาด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในแต่ละปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาถดถอยอย่างแรง -6.1% ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ในขณะที่ปี 2021 นี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าจีดีพีจะโตสูงสุดแค่ 3.5% แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน หลายองค์กรก็มีการปรับลดลงมาเรียบร้อยจากผลกระทบของโควิดละลอกสาม ทำให้มีกระแสความไม่พอใจพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่คนไม่เข้าใจก็คือ จีดีพีต้องนำมาเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของคนในประเทศนั้นจึงจะทำให้เห็นภาพของอำนาจการซื้ออย่างแท้จริง อย่างเช่นประเทศไทย แม้จีดีพีจะติดลบหรือเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดประเทศหนึ่งอันดับต้นๆ ของโลกทีเดียว
เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละเลยมิติอื่นของสังคม เช่น การสูญเสียและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตของประชาชน องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคมแบบใหม่ออกมา ตั้งแต่ปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 โดยได้ขอมติจากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมมือกัน มีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปี จนถึงปี 2030
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index – SPI) เป็นมาตรวัดที่สะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมที่แยกเด็ดขาดจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) 2) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations of Wellbeing) และ 3) โอกาส (Opportunity) ดำเนินการโดย Social Progress Imperative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากดีลอยท์ มูลนิธิ Skoll และได้รับความร่วมมือจาก ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ แห่งโรงเรียนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
ดัชนีดังกล่าวนี้เป็นการสำรวจทุกประเทศทั่วโลกใน 3 มิติ
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Foundations of Well-Beings) เช่น การเข้าถึงการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. โอกาสทางสังคม(Opportunities) สิทธิทางการเมืองและการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและเลือกทางเดินชีวิต การยอมรับความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ระบบความคุ้มครองทางสังคม และความก้าวหน้าทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
UN SDG Goal 2030 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้แก่
1: ขจัดความยากจน
2: ขจัดความหิวโหย
3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4: การศึกษาที่เท่าเทียม
5: ความเท่าเทียมทางเพศ
6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10: ลดความเหลื่อมล้ำ
11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ SPI (Social Progress Index) ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 79 ของโลกจากที่สำรวจทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เราตามหลังสิงคโปร์ (ลำดับที่ 29) และมาเลเซีย (ลำดับที่ 48) แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (ลำดับที่ 84) เวียดนาม (ลำดับที่ 88) ฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 98) กัมพูชา (ลำดับที่ 118) เมียนมาร์ (ลำดับที่ 120) และ ลาว (ลำดับที่ 133) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับสูงสุดของโลก 5 ประเทศแรกเรียงตามลำดับ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน
เมื่อวิคราะห์องค์ประกอบด้านต่างๆ ที่ประเทศไทยทำคะแนนได้ดี 5 ลำดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (Shelter) โภชนาการและการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Nutrition and Basic Medical Care) น้ำและสุขาภิบาล (Water and Sanitation) การเข้าถึงความรู้ขั้นพื้นฐาน (Access to Basic Knowledge) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality) อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ได้คะแนนน้อยและอาจจะต้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป ได้แก่ ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (Inclusiveness) สิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ทางเลือกและเสรีภาพส่วนบุคคล (Personal Freedom and Choice) และ การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง (Access to Advanced Education)
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เพราะเราได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานตั้งแต่พ.ศ.2542 โดยนำหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกด้วย
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยจะมอบแก่ National Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก 2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[1][2]
ตัวรางวัลเป็นรูปพานทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก มีแผ่นป้ายคำจารึกที่ฐานไม้มีข้อความว่า 'To His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006' เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยผู้คัดเลือกรูปแบบของรางวัลตั้งใจให้รางวัลเป็นรูปพานทรงกลม เพื่อสื่อความหมายถึงภาชนะที่สามารถใช้รองรับน้ำได้ เช่นเดียวกับผิวนอกของพาน ทำให้มองคล้ายสายน้ำ เนื่องจากเล็งเห็นว่าพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการพัฒนา จึงสมควรแก่การยกย่องเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ดังนั้น แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาและกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ SEP = SDG (Sufficiency Economy Philosophy = Sustainable Development Goal)
หวังว่า ทุกท่านคงเห็นด้วยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมองความสมดุลในภาพรวมอย่างที่ในหลวงรัชกาล ที่ 9 ได้ทรงมองครอบคลุมทุกมิติเสมอมา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
รวยกว่า จึงไม่ได้หมายความว่า สุขกว่าเสมอไป
同時也有29部Youtube影片,追蹤數超過3萬的網紅Poyja,也在其Youtube影片中提到,ลิ้งค์ร้านที่สั่งซื้อมาค่ะ [ แอพ Shopee ] -เครื่องวัดฝุ่น Xiaomi PM2.5 Smartmi Air Detector Mini Air quality Monitor เครื่องวัดอากาศ Xiaomi https://s...
「ฝุ่นพิษ」的推薦目錄:
- 關於ฝุ่นพิษ 在 Facebook 的精選貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 รีวิวเอามันส์ by Belledoll Facebook 的精選貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 Poyja Youtube 的最佳貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 PRAEW Youtube 的最讚貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 Brianna's Secret Club TH Youtube 的精選貼文
- 關於ฝุ่นพิษ 在 "ฝุ่นพิษ" กำลังจะกลับมาคาดต้นปี 66 ฝุ่นพุ่งสูง | TNN EARTH 的評價
- 關於ฝุ่นพิษ 在 รพ.เกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ - ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำไม ... 的評價
ฝุ่นพิษ 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
เขียนไปโกรธไป งบสิ่งแวดล้อมปี 65 ครับ
งบลดลงเท่าไหร่
- งบประมาณรัฐบาลด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% จาก 1.6 หมื่นล้าน มาเป็น 8.5 พันล้าน
- คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดจาก 0.49% ของงบประมาณทั้งหมด มาเป็น 0.275 % [ถ้าเทียบกับ EU งบประมาณสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ประมาณ 0.70%]
- 5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ปีนี้ลดลงอย่างน่าตกใจ
- งบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดลงจาก 3หมื่นล้าน เป็น 2.93 หมื่นล้าน ลดลงประมาณ 3.44% ไม่ได้ลดลงเยอะมาก [แต่ก็สะท้อนว่างบในกระทรวงทรัพย์ มีเยอะกว่างบสิ่งแวดล้อมเกือบสามเท่า ถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? เป็นงบบุคลากรเยอะขนาดไหน เอาไปใช้โครงการที่ได้ผลเยอะขนาดไหน ?]
วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่รอการแก้ไข
- ขยะพลาสติกลงทะเล (ประเทศไทยติด top 10 โลก)
- ไฟป่า
- มลพิษทางอากาศ + PM2.5
- การกัดเซาะชายฝั่ง
- วิกฤติน้ำโขง
- เราติด top 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงจาก Climate change มากที่สุดในโลก [อิงจาก Global Climate Risk Index 2021 โดย germanwatch.org]
งบที่ตัดไป มีอะไรบ้าง
- [ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ / เพจ นักสิ่งแวดล้อม Environmentalist ที่ช่วยสรุปมาให้นะครับ
- การกำจัดของเสีย: 1.6 พันล้าน (2562) --> 787 ล้าน (2565) : ปัญหาขยะเรา ตอนนี้วิกฤติมาก มีแต่บ่อขยะที่จัดการไม่ถูกต้องเต็มประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่นิดเดียว ระบบแยกขยะโดยภาครัฐก็ไม่มี [ณ ตอนนี้กระทรวงทรัพฯไม่ได้ดูเรื่องขยะ แต่เป็นมหาดไทย ที่ให้งบผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่ต้องยื่นงบไปเสนอเอง ไม่มีแผนระดับชาติในการจัดการเรื่องนี้ ]
- การควบคุมและกำจัดมลภาวะ: 3.0 พันล้าน (2562) --> 2.3 พันล้าน (2565) : คงไม่ต้องบอกว่าปัญหาฝุ่นเราเยอะและแย่ขนาดไหน โดยเฉพาะในภาคเหนือช่วงไฟป่า [เชียงใหม่ขึ้นอันดับ 1 โลกในบางวัน] รวมถึงการบริหารงานที่ยังกระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆนาๆมากมาย (มหาดไทดูจราจร / อุตสาหกรรมดูโรงงาน / กระทรวงทรัพฯดูป่าสงวนและอุทยาน / สาธารณสุขดุการก่อมลพิษเป็นกรณีๆไป) Clean air Act เมื่อไหร่เราจะมี / และกรมควบคุมมลพิษเมื่อไหร่จะมีอำนาจมากกว่าแค่ "ให้ข้อเสนอแนะกับออกความเห็น" เสียที อยากได้แบบ EPA [environmental protection agency] ของอเมริกา
- การรักษระบบนิเวศวิทยาcละภูมิทัศน์ 3 พันล้าน (2564) ---> 2.6 พันล้าน (2565)
- การวิจัย: 907 ล้าน (2562) --> 0 บาท : ไม่เหลือเลยครับ T T…. (ของปี 64 ก็เป็น 0 เช่นกัน)
- การสิ่งแวดล้อมอื่น: 8.4 พันล้าน (2564) --> 1.7 พันล้าน (2565) : ลดลง 5 เท่า
- รายจ่ายลงทุน: 12.0 พันล้าน (2564) --> 4.9 พันล้าน (2565)
การจัดอันดับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ
- คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยในภาพรวม อันดับ 78 จาก 180 ประเทศ [ส่วน GDP เราอยู่อันดับ 26 ในปี 2020]
- คุณภาพอากาศโดยรวม อันดับ 85 จาก 180 ประเทศ
- ฝุ่นพิษ PM2.5 อันดับ 88 จาก 180 ประเทศ
- มลพิษโอโซนภาคพื้นดิน อันดับ 102 จาก 180 ประเทศ
- การจัดการขยะ อันดับ 84 จาก 180 ประเทศ
- ความไม่ปลอดภัยจากน้ำที่ดื่มกิน อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ
- การบำบัดน้ำเสีย อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ทรัพยากรน้ำ อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ระบบนิเวศ อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ
- ความหลากหลายทางชีวภาพ อันดับ 114 จาก 180 ประเทศ
แล้วงบที่ได้ เอาแผนจะเอาไปทำอะไรบ้าง [สรุปจากการอภิปรายของคุณนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.]
ปัญหาภาพรวม
- ตัวชี้วัดของรัฐตอนนี้ ไม่ได้ผลในการชี้วัด ไปทำ survey ถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าพึงพอใจไหม มากกว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นวิชาการ
- งบประมาณที่ได้น้อยมาก ไม่พอจะตอบโจทย์ที่รัฐบาลเป็นคน set เองด้วยซ้ำ
ตัวอย่างการใช้งบ
-งบประมาณตั้งรับเรื่องโลกร้อน 1.1 พันล้านบาท [900 ล้าน [80.6%] ให้กรมอุตุ ไปซื้อเครื่องมือวัดอากาศอัตโนมัติ / เครื่องวัดลมเฉือน เพื่อการแจ้งเตือน ไม่ใช่เพื่อการแก้ปัญหา /เหลือ 15.4% ให้กระทรวงทรัพฯ ]
- Comment: จริงๆเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม ฝนผิดฤดูกาล ปลาหมดทะเล แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ความเสียหายมันเยอะมาก ได้งบแค่นี้
-เรื่องแก้ปัญหากัดเซาะทะเลชายฝั่ง + จัดการบริหารทรัพยากรทางทะเล
- โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง 1,378.7428 ล้านบาท เป็น 57 โครงการ [ผ่านสามกรม กรมโยธาฯ/กรมเจ้าท่า/กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]
- ส่วนใหญ่เป็นของกรมโยธาฯ 53 โครงการทั้งที่ต่อเนื่องและทำใหม่ เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น !
- งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมอีก 175 ล้านบาท
- Comment: ตอนนี้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เลยกลายเป็นเอะอะอะไรก็ทำกำแพง เพราะทำง่าย โดยไม่ดูความเหมาะสมของพื้นที่ บางพื้นที่ก็นำไปสู่การกัดเซาะของชายหาด เช่นที่หาดม่วงงาม
-งบให้กระทรวงพลังงาน 1.5 พันล้านให้พัฒนาพลังงานสะอาด แต่
- 500 ล้านถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันปาล์มดิบ ของ กฟผ. ซึ่งน้ำมันปาล์มนั้นขึ้นชื่อเรื่องทำลายป่าและสร้างมลพืษ ซึ่งสุดท้ายก็ปล่อย Carbondioxide เหมือนกัน
-Comment: พลังลม Solar EV เมื่อไหร่จะมาเต็มเสียที ประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วในเรื่องนี้
สรุป
ช่วง หลายปีมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างชัดเจน รวมถึง COVID-19 ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน และไม่ว่าโควิดจะหนักหนาขนาดไหน บอกได้เลยว่าโควิดนี้เผาหลอก แต่ตอนโลกร้อนมาเต็มนี้ เผาจริงแน่นนอน ลองคิดภาพโลกที่ฤดูกาลรวนจนปลูกอะไรไม่ได้เลย พายุหนักมาปีละหลายครั้งจนโครงสร้างพื้นฐานเสียภายทั้งระบบ โลกที่อากาศสกปรกจนไม่สามารถหายใจได้ด้วยปอดเปล่าๆอีกต่อไป
แทนที่จะปฏิบัติต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเป็นเรื่องไม่จำเป็น ที่สามารถลดงบครึ่งหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ จริงๆมันควรจะเข้าไปอยู่ในทุกๆมิติของการบริหารประเทศได้แล้ว ตั้งแต่ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุข จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของทุกๆมิติของสังคม และเราเองถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด แต่เราเองเป็นหนึ่งในประทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด และผู้นำเองก็มองการไกลเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เอาเงินไปซื้อรถถังเรือดำน้ำ
และอย่างที่เราเห็นจากโควิด พอภัยพิบัติธรรมชาติมา คนจนคือคนที่เสียหายสุด ไม่มีระบบ support ใดๆ ทางรัฐเองก็แทบไม่มีความสามารถดูแลกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดอย่างทั่วถึงเลย ถ้าจะมียุทธศาสตร์ชาติระยะยาวจริงๆ เรื่องพวกนี้มันหายไปไหนหมด
ถ้าถึงคราวระบบนิเวศของโลกไม่ไหวขึ้นมาจริงๆ เรื่องอื่นๆมันจะดูไม่สำคัญไปเลย นี่คือวิกฤติที่มนุษย์เพิ่งเคยต้องเจอเป็น Generation แรกตั้งแต่เราอยู่บนโลกนี้มา แล้วเดิมพันสูงมาก คือถ้าทำไม่ได้คือตายกันหมด
โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัวกูนี่แหล่ะ
ป.ล. ใครมีข้อมูลงบเพิ่มเติมอีก ใส่ไว้ใน Comment ได้เลยครับผม
Ref
https://www.youtube.com/watch?v=0a05p8F3Z8U
https://germanwatch.org/en/19777
https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
https://prachatai.com/journal/2020/05/87560
https://www.pcd.go.th/pcd_structure/472/
https://siamrath.co.th/n/246320
https://datastudio.google.com/u/0/reporting/8bf91139-3edf-4a10-b004-1db027852b23/page/pWdOB?fbclid=IwAR0rTy7G1eb-7CM7YVJTL8CyQx1V-Ega88cOmn91cy8DYLq3SX5zQbJw2ow
https://beachlover.net/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%86%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%86-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2565/
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4081664865213737&id=972261292820792
https://fb.watch/62VhvOx84s/
ฝุ่นพิษ 在 รีวิวเอามันส์ by Belledoll Facebook 的精選貼文
❤️สเปรย์ดักฝุ่น ประจำบ้าน #วาตานาเบ้ ที่ขาดไม่ได้
ขอเท้าความก่อนว่า คุณชุนเป็นหนึ่งในสามีแห่งชาติที่รักความสะอาดมากๆ ทำให้เบลล์ก็พลอยเสพติดเรื่องนี้ไปด้วย เรื่องฝุ่นคือซีเรียสมากเนื่องจาก คุณสามีเป็นภูมิแพ้ ต้องมีเครื่องดูดฝุ่น เครื่องดูดไรฝุ่น รวมถึงสเปรย์ปรับอากาศ ลองมาหลายยี่ห้อมาก ส่วนมากจะติดใจแบรนด์ญี่ปุ่น จนมาเจอ Phytfoon อ่านว่า ไฟท์ฝุ่น นะจ๊ะ สเปรย์ฟอกอากาศ ลดฝุ่น จากสารธรรมชาติ ที่ช่วยลดฝุ่นในอากาศ ฉีดปุ๊ปฝุ่นลดปั๊บ ลดได้ถึง ฝุ่นพิษPM2.5 เลยแหละ หมดห่วงเรื่องภูมิแพ้ อากาศจะสดชื่น หอมเลยหลังใช้ อยู่นาน 8 ชมเลย แล้วแถมยังปลอดภัยต่อเด็ก ก็ฉีดเวลาที่เอจิคุงอยู่ได้ด้วยช่วยปกป้องน้องจากฝุ่น ไม่มีปัญหา No แอลกอฮอล์ด้วย ใช้ได้ทั้งบ้านเลย
กลิ่นหอมไม่ฉุนเลย I love
วิธีใช้ก็แค่ ฉีดเลย ทั่วพื้นที่ พ่น 1-2 ครั้ง ต่อพื้นที่ 4 ตรม. (อันนี้อ่านมา)
พิกัด https://m.facebook.com/phytfoonspray/
ราคา มี 2 ขนาด
160ml. - 389 บาท
300ml. - 599 บาท
ฝุ่นพิษ 在 Poyja Youtube 的最佳貼文
ลิ้งค์ร้านที่สั่งซื้อมาค่ะ [ แอพ Shopee ]
-เครื่องวัดฝุ่น Xiaomi PM2.5 Smartmi Air Detector Mini Air quality Monitor เครื่องวัดอากาศ Xiaomi
https://shp.ee/hs5nyw3
ฝุ่นพิษ 在 PRAEW Youtube 的最讚貼文
คลิปใหม่ คลิก http://bit.ly/PRAEW
Facebook : https://www.facebook.com/sherlynsmomme
Line : https://line.me/R/ti/p/%40praew
IG : https://www.instagram.com/praew.official
Youtube : http://bit.ly/ติดตามPRAEW
#PM2.5 #PM2.5เกิดจากอะไร #แม่ลูกอ่อน
ฝุ่นพิษ 在 Brianna's Secret Club TH Youtube 的精選貼文
คลิปนี้แม่ผึ้งและแด็ดดี้จะมารีวิวสร้อยกันฝุ่น PM 2.5 เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาสุดเจ๋งจากญี่ปุ่นให้ทุกคนได้ดูกันคะ เหมาะสำหรับคนที่ต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านและไม่สะดวกที่จะสวมหน้ากากอนามัยมาแนะนำคะ
หากสนใจสามารถซื้อได้ที่ Banana IT หรือเว็บ iblethailand คะ ฝากกด Like ? กด Share ?♀ และ Subscribe ด้วยนะคะ ?
คอมเมนต์ติชมกันมาได้คะ ขอบคุณมากนะคะ ?
? ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสารของบรีแอนน่าได้ที่ ?
➡️ YouTube : Brianna's Secret Club
➡️ Facebook : Brianna's Secret Club
➡️ Instagram : Brianna's Secret Club
➡️ TikTok : Brianna
ติดต่องานสปอร์นเซอร์ได้ที่ไลน์ jira_skyler_brianna
หรืออีเมล briannassecretclub@gmail.com
ขอบคุณคะ
ครอบครัวบรีแอนน่า -
#บรีแอนน่า #Brianna
ฝุ่นพิษ 在 รพ.เกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ - ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำไม ... 的必吃
ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำไมใครก็ว่าร้าย? แม้จะเล็กเกินว่าที่ตาเราสามารถมองเห็น แต่ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน ( PM2.5) คือภัยที่กำลังคุกคามสุขภาพของคนไทย... ... <看更多>
ฝุ่นพิษ 在 "ฝุ่นพิษ" กำลังจะกลับมาคาดต้นปี 66 ฝุ่นพุ่งสูง | TNN EARTH 的必吃
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 คาดการณ์ว่าฝนในช่วงปลายปีไปจนถึงต้นปีหน้ามีแนวโน้มน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่า ฝุ่น PM2.5 ... ... <看更多>