ทำไม บางบริษัทมีกำไร แต่ไม่ยอมจ่ายเงินปันผล /โดย ลงทุนแมน
สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนจากการลงทุนจะมาจาก 2 ส่วน คือ
1. กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) และ
2. เงินปันผล (Dividend)
ซึ่งโดยพื้นฐาน ทั้ง 2 ส่วนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเรื่องของ กำไรของกิจการเป็นหลัก
เพราะโดยทั่วไปแล้ว ถ้าบริษัทมีกำไรเติบโตมาก
ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงจ่ายเงินปันผลมากขึ้น
แต่ประเด็นของบทความนี้ก็คือ มีบางบริษัท ที่แม้ว่าจะมีกำไรมาก แต่กลับเลือกที่จะไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเลย
มีเหตุผลอะไรที่บางบริษัทแม้ว่าจะมีกำไรมหาศาล
แต่เลือกที่จะไม่จ่ายเงินปันผลออกมา
แล้วถ้าเราอยู่ในฐานะนักลงทุน เราควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผลหรือไม่ ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า นักลงทุนบางส่วนที่ลงทุนในหุ้น หวังจะได้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุก ๆ ปี เพราะฉะนั้น นักลงทุนในกลุ่มนี้ จึงชอบมองหา บริษัทที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น จึงอาจมีนักลงทุนจำนวนหนึ่ง
ที่มีกฎเหล็กเลยว่า จะไม่ลงทุนในบริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผล
ในมุมของบริษัท หลัก ๆ แล้วจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ เมื่อในรอบปีบัญชีนั้น บริษัทมีกำไร และไม่มีผลขาดทุนสะสม
อย่างไรก็ตาม ก็มีบริษัทจำนวนไม่น้อย ที่เลือกไม่จ่ายเงินปันผล ทั้งที่บริษัทก็มีกำไร และไม่ได้ขาดทุนสะสม
ซึ่งก็มีเหตุผลที่ไม่จ่ายหลากหลายกรณี เช่น
กรณีแรก: บริษัทต้องการนำผลกำไรนั้น ไปลงทุนต่อ
การนำผลกำไรกลับไปลงทุนต่อ (Reinvesting Profits)
คือสิ่งที่หลายบริษัทเลือกทำ โดยเฉพาะถ้าบริษัทนั้น กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโต ซึ่งต้องการทุ่มเงินลงทุนไปในโครงการต่าง ๆ
บางบริษัทเชื่อว่า การนำผลกำไรนั้นกลับไปลงทุนต่อ จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า การที่ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล
ซึ่ง Netflix ผู้ให้บริการสตรีมมิงวิดีโอรายใหญ่ของโลก ก็คือกรณีศึกษาที่ดีของเรื่องนี้
เราลองมาดูผลประกอบการของ Netflix ในช่วงปี 2018-2020
ปี 2018 รายได้ 521,000 ล้านบาท กำไร 40,000 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 666,000 ล้านบาท กำไร 62,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 833,000 ล้านบาท กำไร 92,000 ล้านบาท
รู้ไหมว่า สิ้นปี 2020 Netflix มีกำไรสะสมมากถึง 252,000 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเลย
เนื่องจากบริษัทนำผลกำไรนั้นกลับไปลงทุนต่อในการผลิตคอนเทนต์ เช่น สร้างภาพยนตร์ สร้างแอนิเมชัน ซีรีส์ รวมไปถึงการจ่ายคืนหนี้ และซื้อหุ้นคืน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ถือหุ้นจะไม่ได้เงินปันผล แต่มูลค่าบริษัทของ Netflix ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 119,000 ล้านบาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 8.5 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน
หมายความว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น Netflix 1 ล้านบาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
มาวันนี้ เงิน 1 ล้านบาทนั้นของเรา จะกลายเป็น 71 ล้านบาท
และนั่นคงไม่ทำให้ผู้ถือหุ้น Netflix มีปัญหาอะไร แม้ว่าจะไม่เคยได้รับเงินปันผลเลยก็ตาม..
กรณีที่สอง: เก็บเงินสดไว้ซื้อกิจการเป้าหมาย
อีกหนึ่งบริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมานานแล้ว คือ Berkshire Hathaway ที่มีวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังระดับโลกเป็นผู้บริหารอยู่
รู้ไหมว่า ปัจจุบัน Berkshire Hathaway นั้นมีเงินสดอยู่ในบริษัทกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งการที่ Berkshire Hathaway เลือกถือเงินสดไว้มาก ๆ เหตุผลหนึ่งก็คือ เก็บเอาไว้ใช้ซื้อกิจการที่น่าสนใจ
ตัวอย่างกิจการที่ Berkshire Hathaway เข้าไปซื้อในอดีตที่ผ่านมา เช่น
ปี 2010 ซื้อหุ้น 100% ของบริษัท BNSF Railway ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟรายใหญ่ ที่มีเครือข่ายในทวีปอเมริกาเหนือ มูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ปี 2013 ซื้อหุ้น 50% ใน The H. J. Heinz Company บริษัทแปรรูปอาหารและผลิตซอสมะเขือเทศ มูลค่ากว่า 410,000 ล้านบาท
แม้ว่าหลัง ๆ มา Berkshire Hathaway จะไม่ได้เข้าซื้อกิจการด้วยมูลค่ามาก ๆ เท่าในอดีต
แต่การที่บริษัทมีเงินสดอยู่มหาศาล ก็ทำให้บริษัทสามารถเข้าไปซื้อกิจการเป้าหมายได้ เมื่อไรก็ตามที่บริษัทต้องการ
กรณีที่สาม: ปัญหาทางการเงินของบริษัท
นอกเหนือจากการนำผลกำไรนั้นกลับไปลงทุนต่อ และเก็บเงินไว้เพื่อซื้อกิจการเป้าหมายแล้ว การที่บริษัทจะไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอาจเกิดจากปัญหาทางการเงินของบริษัทเอง
บางบริษัทแม้ว่า จะมีกำไรในบางปี แต่ก็ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลออกมาได้ เนื่องจากบริษัทยังมีผลขาดทุนสะสมอยู่ ซึ่งตามกฎแล้ว บริษัทจะยังไม่สามารถที่จะจ่ายเงินปันผลออกมาให้ผู้ถือหุ้นได้
หรือแม้แต่กรณีที่บริษัทมีกำไรสะสม และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ แต่บริษัทก็อาจจะยังไม่จ่าย เนื่องจากสถานะการเงินที่ยังไม่แข็งแรง จึงเลือกที่จะเก็บเงินสดไว้ระดับหนึ่งก่อน
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะพอได้ไอเดียแล้วว่า
ทำไมบางบริษัทที่มีกำไรแต่ไม่จ่ายเงินปันผลออกมาให้ผู้ถือหุ้น
เพราะว่าบริษัทเหล่านั้น ต้องการที่จะนำผลกำไรไปลงทุนต่อในธุรกิจตัวเอง ไปซื้อกิจการอื่น จ่ายคืนหนี้ ซื้อหุ้นคืน หรือแม้แต่เก็บเงินสดไว้ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน
ดังนั้น ก่อนที่เราจะปฏิเสธไม่ลงทุนในบริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผล เราต้องดูให้ดีก่อนว่า ที่บริษัทไม่ยอมจ่ายเงินปันผลนั้น เพราะอะไร หรือมีแผนเอาเงินที่ไม่จ่ายออกมาเป็นปันผลนั้น ไปต่อยอดได้ดีแค่ไหน
ถ้ามองแล้วว่า ถึงแม้บริษัทจะไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น
แต่มีการเอาเงินส่วนนั้น ไปต่อยอดสร้างอนาคตที่ดีให้กิจการ
หุ้นที่เราถืออยู่ ก็สามารถมีมูลค่าที่เติบโตเพิ่มขึ้น
จนทำให้สุดท้ายแล้ว เราในฐานะผู้ถือหุ้น ก็อาจได้ผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ซึ่งถ้าผู้ถือหุ้นอยากได้เงินสดมาใช้ ก็อาจแบ่งขายหุ้นออกมาได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.suredividend.com/why-companies-never-pay-dividends/
-https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/files/20200914_Dividend.pdf
-https://ir.netflix.net/financials/financial-statements/default.aspx
-https://www.investopedia.com/ask/answers/12/why-do-some-companies-pay-a-dividend.asp
-https://www.wallstreetzen.com/stocks/us/nasdaq/nflx/dividends
-https://finance.yahoo.com/quote/NFLX/balance-sheet?p=NFLX
-https://www.investopedia.com/ask/answers/021615/why-doesnt-berkshire-hathaway-pay-dividend.asp
-https://kunaldesai.blog/berkshire-hathaway-acquisitions/
「ซื้อหุ้น berkshire hathaway」的推薦目錄:
ซื้อหุ้น berkshire hathaway 在 KIM Property Live Facebook 的最佳解答
บัฟเฟตต์ซื้อหุ้นมากที่สุดในรอบปี สัญญาณดีของเศรษฐกิจโลก?
บรรยากาศการลงทุนในสัปดาห์นี้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งตอบรับกับข่าวดีหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะวัคซีนที่ทั้งทาง Moderna และ Pfizer ต่างก็ประกาศผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนที่สูงถึง 95% เรียกว่าไม่ยอมน้อยหน้ากันเลยทีเดียว ซึ่งก็ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและทำให้ผู้คนทั่วโลกมีความหวังว่าสถานการณ์เลวร้ายต่าง ๆ จะจบลงในไม่ช้า
โดยบรรดานักวิเคราะห์ก็ได้ออกมาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะฟื้นตัวกลับมาในปีหน้าพร้อมกับแนะนำให้เริ่มสะสมหุ้นดี ๆ กันได้แล้วก่อนที่คุณจะตกรถ
อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจกำลังจะดีขึ้นคือทิศทางการลงทุนของตำนานที่มีชีวิตอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมานั้นมีหลายประเด็นที่น่าสนใจมากเลยครับ
ไปดูในภาพรวมกันก่อนคือตั้งแต่ต้นปีก่อนโควิด19 ระบาดนั้นบริษัท Berkshire Hathaway ของบัฟเฟตต์ถือเงินสดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ราว ๆ 1.37 แสนล้านดอลลาร์และในไตรมาส 2 ที่โควิด19 ระบาดหนักนั้นบัฟเฟตต์ก็ได้ทำการขายหุ้นสุทธิไป 1.28 หมื่นล้านดอลลาร์
แต่ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมานั้นปริมาณซื้อ-ขายสุทธิของ Berkshire นั้นกลับมาเป็นฝั่งบวกหรือ “ซื้อสุทธิ” อีกครั้ง โดยซื้อสุทธิไป 4.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมากที่สุดในรอบ 1 ปี (นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2019) และนี่ยังไม่นับรวมการซื้อหุ้นคืนอีกกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ นั่นแสดงให้เห็นว่าตอนนี้คุณปู่บัฟเฟตต์เริ่มหาจุดหมายปลายทางให้กับเงินสดมหาศาลที่ถือมานานได้แล้ว
ประเด็นที่สำคัญกว่าตัวเลขการซื้อขายสุทธิคือเมื่อเปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรมของหุ้นที่บัฟเฟตต์ซื้อและขาย ระหว่างไตรมาส 2 กับไตรมาส 3 แล้วมันสะท้อนให้เห็นมุมมองและกลยุทธ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
ในไตรมาส 1 และ 2 นั้นบัฟเฟตต์ได้ทำการขายหุ้นสายการบินทิ้งทั้งหมด โดยเขาให้เหตุผลว่า “มองไม่เห็นอนาคต”
และเขายังได้ทำการขายหุ้นธนาคารออกไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีหลายตัวที่เขายังถืออยู่โดยเฉพาะ Bank of America ที่เขาได้ทำการซื้อเพิ่มด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์ก็ตีความกันว่านี่คือบริษัทผู้ชนะของกลุ่มสถาบันการเงินในสายตาของบัฟเฟตต์
ส่วนหุ้นที่ซื้อในไตรมาส 2 นั้นจะเป็นกลุ่มที่เน้นกระแสเงินสด นิ่ง ๆ ไม่ผันผวน ได้แก่
1. การเข้าซื้อสินทรัพย์ของบริษัทพลังงานอย่าง Dominion Energy
2. ซื้อหุ้นเหมืองทองคำทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบทองคำมาตลอด
3. ซื้อหุ้น 5 บริษัทการค้าขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น
แต่ในไตรมาสที่ 3 นี้ทิศทางการซื้อขายหุ้นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือบัฟเฟตต์ได้ทำการขายหุ้นเหมืองทอง Barrick Gold ที่พึ่งซื้อมาสด ๆ ร้อน ๆ ไปถึง 42% จากที่ถืออยู่และได้ทำการขายหุ้น Apple ออกไปเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่มีทั้งหมดกว่าครึ่งพอร์ต ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าในกรณีของ Apple นั้นน่าจะเป็นการขายเพื่อปรับสมดุลของพอร์ตเท่านั้น เนื่องจากราคาของหุ้น Apple ขึ้นมาค่อนข้างเยอะในปีนี้
ส่วนสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือทิศทางของหุ้นสถาบันการเงิน โดยในไตรมาสที่ 3 นี้บัฟเฟตต์ได้ทำการขายหุ้นของ Wells Fargo, M&T Bank, PNC Financial และ JPMorgan Chase ออกไปอีก จนบางตัวคือแทบจะหมดพอร์ตแล้ว และยังได้ทำการซื้อ Bank of America สวนทางตัวอื่นเพิ่มอีกรอบด้วย
ไฮไลท์สำคัญคือหุ้นที่บัฟเฟตต์ซื้อในไตรมาส 3 ที่ประกอบด้วย
1. หุ้นของบริษัทยา 4 บริษัทได้แก่ AbbVie, Bristol-Myers, Merck และ Pfizer ที่พึ่งประกาศความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนในเฟส 3 ไป กลุ่มนี้เรียกว่าซื้อปุ๊บก็ขึ้นปั๊บ เรียกศรัทธาในตัวปู่กลับมาอีกครั้ง
2. หุ้น IPO ของ Snowflake อย่างที่สร้างเสียงฮือฮากันไปก่อนหน้านี้
3. หุ้น GM หรือ General Motor ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก
4. หุ้น Kroger ที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตเก่าแก่ที่มีการปรับตัวมาทำตลาดออนไลน์เพื่อสู้กับ Amazon
5. หุ้น T-Mobile US ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายชั้นนำในสหรัฐอเมริกา
จะเห็นได้ว่ากลุ่มของหุ้นที่ซื้อในไตรมาส 3 นี้บัฟเฟตต์มีความบู๊มากขึ้น คือเป็นการเดิมพันว่าการวิจัยวัคซีนจะสำเร็จในไม่ช้า ทำให้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมา โดยเฉพาะการบริโภคที่มากขึ้นก็จะเป็นผลดีกับบริษัทเหล่านี้ ต่างจากในไตรมาสที่ 2 ที่จะซื้อหุ้นปลอดภัยเน้นกระแสเงินสดเป็นหลัก
ก็นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ปู่คงไม่ทำให้ผิดหวังนะครับ เพื่อน ๆ คนไหนเป็นสาวกของวอร์เรน บัฟเฟตต์บ้าง คิดยังไงกับการซื้อหุ้นรอบนี้ของเขาครับ?
.
แอดปุง
เเจ้งข่าว สัมมนารอบต่อไป
เริ่มต้นอาชีพนายหน้าอสังหาฯ รุ่นที่ 6
วันที่ 6 ธ.ค. 2563
ดูรายละเอียดที่ลิงค์ในคอมเมนท์ครับ