บทบาทพนักงานสอบสวนในการกันคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
วิทยานิพนธ์ ของชัยวิวัฒน์ หิรัญวัฒนะ เรื่อง “บทบาทพนักงานสอบสวนในการกันคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” ได้กล่าวถึงสภาพปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice Process) ของประเทศไทย เกิดจากปริมาณคดีที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากและขาดมาตรการในการกันคดี ซึ่งก่อให้เกิดสภาพปัญหาความแออัดในเรือนจำ โดยปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมิใช่ปัญหาของระบบราชทัณฑ์แต่เป็นปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่อหาแนวทางกำหนดรูปแบบและมาตรการในการกันคดีบางประเภท ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการและศาล เพราะในปัจจุบันทฤษฎีการลงโทษผู้กระทำความผิด มิใช่แต่เพียงการลงโทษเพื่อการแก้แค้นและจะเกิดผลดีเสมอไป โดยเฉพาะเพื่อเป็นการลดปริมาณคดีเล็กๆ น้อยๆ หรือคดีที่ผู้กระทำความผิดไม่สมควรรับโทษจำคุก เพราะจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางสังคม ทำให้เกิดรอยมลทิน (Stigma) เสมือนเป็นตราบาปทางสังคม จึงเห็นได้ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยขาดมาตรการในการกันคดี (Diversion) ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งนับว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นในสภาพปัจจุบัน
ดังนั้น พนักงานสอบสวนในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาถือเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการเมื่อคดีอาญาเกิดขึ้น และมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด เห็นควรมีบทบาทในการหารูปแบบและมาตรการกันคดีบางประเภทให้ยุติได้ในชั้นพนักงานสอบสวน เพื่อช่วยลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลและผู้ต้องขังล้นเรือนจำ จากผลการศึกษารูปแบบและมาตรการกันคดีของต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำมาปรับใช้เป็นบทบาทพนักงานสอบสวนของไทย คือ
รูปแบบและมาตรการในการกันคดี
วิทยานิพนธ์ ของนายชัยวิวัฒน์ หิรัญวัฒนะ ได้กล่าวถึงรูปแบบและมาตรการในการกันคดีของตำรวจญี่ปุ่น ที่ตำรวจได้รับมอบอำนาจจากอัยการเพื่อกันคดีบางประเภทให้ยุติได้ในชั้นพนักงานสอบสวนโดยไม่ต้องส่งคดีให้พนักงานอัยการ ได้แก่
1.ความผิดฐานลักทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก ที่จำนวนความเสียหายเล็กน้อย สภาพความผิดเล็กน้อย มีการชดใช้ความเสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และไม่มีเหตุให้เกรงว่าจะมีการกระทำความผิดขึ้นอีก
2.คดีการพนันที่มุ่งทรัพย์สินเล็กน้อย ซึ่งมีสภาพความผิดเล็กน้อย รวมทั้งไม่มีเหตุให้เกรงว่าผู้ร่วมกันกระทำความผิดจะมากระทำความผิดซ้ำอีก
3.คดีความผิดอื่นๆ ซึ่งอัยการจังหวัดระบุ
ซึ่งคดีทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ต้องเป็นที่แน่ชัดว่า การลงโทษเป็นสิ่งไม่จำเป็น และตามเกณฑ์ในการสอบสวนคดีอาญา (anzai sousa kihan) มาตรา 197 กำหนดหลักเกณฑ์ว่าในการจัดการคดีความผิดเล็กน้อยนั้นให้ตำรวจดำเนินการ ดังนี้
1) ตักเตือนผู้ต้องหาให้ระวังอนาคตของตนเอง
2)เรียกผู้ปกครอง นายจ้าง บุคคลที่อยู่ในฐานะควบคุมดูแล หรือตัวแทนของผู้กระทำความผิดให้มาพบ และทำหนังสือว่าจะควบคุมดูแลอนาคตผู้กระทำความผิดโดยจะตักเตือนผู้ต้องหาในเรื่องที่สำคัญ
3)ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ความเสียหายแก่ผู้เสียหาย หรือขอโทษผู้เสียหาย หรือกระทำการอื่นที่เหมาะสม
ในคดีดังกล่าวไม่ต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ เพียงแต่ในทุกเดือนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกรวมกันในเอกสารที่เรียกว่า “การจัดการคดีความผิดเล็กน้อย” ซึ่งต้องมีข้อมูล วัน เดือน ปี ที่จัดการ ชื่อผู้ต้องหา ประเด็นสำคัญในคดี ตามเกณฑ์ในการสอบสวนคดีอาญา มาตรา 195 , 196 เพื่อเป็นการตรวจสอบและควบคุมอำนาจการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พนักงานอัยการมอบอำนาจให้ดำเนินการ
รูปแบบและมาตรการในการกันคดีดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบและมาตรการที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น มาตรา 246 ตามหลักการสอบสวนญี่ปุ่นอาจกระทำโดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือร่วมกันสอบสวน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสอบสวนความผิดอาญาใด ต้องส่งคดีพร้อมด้วยเอกสาร และพยานวัตถุไปยังพนักงานอัยการโดยเร็ว เว้นแต่ คดีที่พนักงานอัยการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นซึ่งหมายถึง “มาตรการคดีความผิดเล็กน้อย” ตามประกาศอัยการสูงสุด ปี 1950 เรื่อง วิธีการส่งคดีพิเศษให้อัยการจังหวัดสั่งการต่อตำรวจ และตามเกณฑ์ในการสอบสวยคดีอาญา มาตรา 197
ซึ่งถือเป็นรูปแบบการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการที่มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการในคดีประเภทความผิดเล็กน้อย นับเป็นรูปแบบและมาตรการในการกันคดีให้ยุติชั้นพนักงานสอบสวนได้อีกรูปแบบหนึ่งที่เห็นควรจะนำมาปรับใช้เป็นบทบาทพนักงานสอบสวนของไทยในการกันคดี ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
รูปแบบและมาตรการในการกันคดีที่เหมาะสมของประเทศไทย
ชัยวัฒน์ หิรัญวัฒนะ ได้เสนอแนะในงานวิทยานิพนธ์ ว่ารูปแบบและมาตรการที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้เป็นบทบาทพนักงานสอบสวนของไทย คือ รูปแบบและมาตรการในการกันคดีของประเทศญี่ปุ่นเนื่องจาก ดังนี้
1.หลักการสอบสวนของญี่ปุ่นและไทยเช่นเดียวกัน คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจของญี่ปุ่นมีอำนาจสอบสวนแต่ถูกควบคุมโดยพนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยก็มีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทำความเห็นเสนอสำนวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการควบคุมโดยพนักงานอัยการเหมือนกัน
2.หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของไทยไม่มีเช่นเดียวกับญี่ปุ่น คือ พนักงานอัยการญี่ปุ่นจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ โดยมีบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น และประกาศอัยการสูงสุด วางระเบียบหลักเกณฑ์ในการสอบสวนคดีอาญา ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจัดการตามมาตรการคดีความผิดเล็กน้อย ให้ยุติคดีได้ในชั้นพนักงานสอบสวน โดยไม่ต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ เพียงแต่ทุกเดือนต้องทำบันทึกการจัดการคดีความผิดเล็กน้อยถึงพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบเหมือนกัน
ดังนั้น เมื่อหลักการสอบสวนและหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของไทยและญี่ปุ่นเหมือนกัน การใช้รูปแบบและมาตรการก็ควรจะใช้เหมือนกันได้ โดยการโอนอำนาจจากพนักงานอัยการมาได้บ้างและให้เพิ่มฐานความผิดเล็กน้อยหรือผลของการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเล็กน้อย ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการโดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย หรือ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ เพื่อกำหนดเกณฑ์การสอบสวนคดีอาญามอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจัดการคดีความผิดเล็กน้อย และบันทึกรายงานการจัดการคดีความผิดเล็กน้อยเสนอพนักงานอัยการทุกเดือนเพื่อตรวจสอบ ดังเช่นรูปแบบและมาตรการของญี่ปุ่น ดังนั้น รูปแบบและมาตรการของญี่ปุ่นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้เป็นบทบาทพนักงานสอบสวนในการกันคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของไทยต่อไป
「ความผิดฐานลักทรัพย์」的推薦目錄:
- 關於ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 ทนายคู่ใจ - การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็น ... 的評價
- 關於ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 โทษของการลักทรัพย์นายจ้าง! - YouTube 的評價
ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
การกระทำที่มีกฎหมายยกเว้นความผิด (การป้องกัน)
กฎหมายที่ยกเว้นความผิดมีหลายกรณีด้วยกัน คือ 1. ป้องกัน 2.ยินยอม (ในที่นี่ขออธิบายการป้องกันเท่านั้น)
1.การกระทำโดยป้องกัน
การกระทำโดยป้องกันนั้น บัญญัติไว้ในมาตรา 68 มีหลักเกณฑ์อยู่ 4 ข้อ ดังนี้
1)มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2)ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3)ผู้กระทำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นจากอันตรายนั้น
4)การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นจะต้องไม่เกินขอบเขต
1)มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ภยันตราย หมายความถึง ภัยที่เป้นความเสียหายต่อสิทธิต่างๆของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินหรืออื่นๆก็ดี
ตัวอย่าง ภยันตรายต่อเสรีภาพ หนึ่งขังสองไว้ในห้อง เป็นต้น
ภยันตรายต่อชื่อเสียง เช่น หนึ่งหมิ่นประมาทสองหรือดูหมิ่นสองซึ่ง หรือเป็นชู้กับภริยาสอง สองจะทำการป้องกันสิทธิในชื่อเสียงของสองได้ด้วยวิธีใด ขณะนั้นหนึ่งกำลังหมิ่นประมาทสองหรือกำลังดูหมิ่นซึ่งหน้าสอง ถ้าสองตบปากหนึ่งนี่คือการใช้สิทธิป้องกันวิธีหนึ่ง ถ้าไม่ตบก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้นการตบปากจริงๆ แล้วก็คือการป้องกันนั่นเอง เป็นต้น
เป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย หมายความว่า ผู้
ก่อภยันตรายนั้น ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำได้ หากมีอำนาจที่จะทำได้ชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับภยันตรายก็ไม่มีสิทธิที่จะป้องกัน
ตัวอย่าง กรณีผู้ก่อภยันตรายไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำได้ เช่น กรณีมิใช่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าราษฎรย่อมไม่ มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมผู้กระทำความผิด ดังนั้นการที่ราษฎรจะเข้าจับกุมจำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยทำร้ายผู้อื่นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันเพื่อให้พ้นจากการที่จะต้องถูกจับกุมจากราษฎรได้
กรณีที่ผู้ก่อภยันตรายมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำได้ เช่น หนึ่งใช้ปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุอันเป็นการกระทำความผิดกฎหมายตำรวจจะจับหนึ่ง อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย หนึ่งวิ่งหนีตำรวจไล่ตามจับกุม โดยตำรวจเพียงแต่ใช้ปืนยิง มิใช่ยิงโดยเจตนาฆ่า ดังนั้นการที่หนึ่งยิงตำรวจ หนึ่งจึงอ้างป้องกันมิได้ เหตุผลเพราะว่าการการที่ตำรวจจับหนึ่งนั้นตำรวจมีอำนาจตามกฎหมาย
การละเมิดกฎหมาย การละเมิดกฎหมายอาญานั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้ที่จะรับภยันตรายนั้นกระทำการโต้ตอบกลับมาโดยอ้างการป้องกันได้ การละเมิดกำหมายอาญานั้น อาจจะเป็นการละเมิดกฎหมายอาญาโดยประมาทก็ได้
การละเมิดกฎหมายแพ่ง ก็ถือว่าเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย
อันละเมิดต่อกฎหมายได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3789/2479 สามีฆ่าภริยาและชายชู้มาร่วมประเวณีกับภริยาของชายอื่นก็เป็นการละเมิดสิทธิในทางของสามี มีข้อสังเกตว่ามีคำพิพากษาฎีกาอีกฎีกาหนึ่งก็คือคำพิพากษาฎีกาที่ 249/2515 วินิจฉัยว่าถ้ามิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมาย ถ้ากำลังร่วมประเวณีกัน แล้วฝ่ายชายซึ่งเป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเห็นเหตุการณ์ ฝ่ายชายยิงไปอย่างนี้จะอ้างป้องกันไม่ได้ ต้องบันดาลโทสะ ทั้งนี้เพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในทางแพ่งของชายผู้เป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ที่อ้างบันดาลโทสะได้ก็เพราะถือว่าเป็นการข่มเหง ชายผู้เป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยเห็น ผู้ตายกำลังชำเราภริยาจำเลยในห้องนอน แม้ภริยาจำเลยจะไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ก็อยู่กินกันมา 15 ปี เกิดบุตรด้วยกัน 6 คน จำเลยย่อมมีความรักและหวงแหน การที่จำเลยใช้มีดพับเล็กที่หามาได้ในทันทีทันใดแทงผู้ตาย 2 ที่ถือว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เหตุที่อ้างป้องกันไม่ได้ ก็เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำอย่างนี้ของชายชู้และภริยานั้นก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมทิดสิทธิในทางแพ่งของสามี แต่ถือว่าเป็นก่ารข่มเหงชายผู้เป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยนกฎหมายอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เราก็ได้หลักจากคำพิพากษาฎีกา
การประทุษร้ายอันละเมิดต้อกฎหมายต้องเป็นการกระทำของบุคคล สัตว์หรือสิ่งของย่อมไม่อาจกระทำการอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม บุคคลอาจจะต้องรับผิดในการกระทำของสัตว์เช่น พิพากษาฎีกาที่ 3435/2527 ช้างเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่ดูแลโดยใกล้ชิดเพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้ ถือว่าจำเลยกระทำโดยประมาท การที่ช้างจำเลยใช้งาแทง ผู้เสียยิงช้างของจำเลย ผู้เสียหายก็อ้างป้องกัน ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้นั้น จะต้องถูกกระทำฝ่ายเดียว จึงได้กระทำไปเพื่อป้องกันสิทธิของตน
ผู้ที่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายมีดังต่อนี้ไปนี้
. ผู้ที่ก่อภัยขึ้น ในตอนแรก
. ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน
. ผู้ที่ก่อภัยขึ้นในตอนแรก ผู้ก่อภัยในตอนแรกไม่มีสิทธิกระทำการโต้ตอบกลับไปโยอ้าง
ป้องกัน ฎีกาที่ 2154/2519 จำเลยกับพวกก่อเหตุชกต้อยผู้เสียหาแล้ววิ่งหนี ผู้เสียหายไล่ตามต่อเนื่องไปไม่ขาดตอน จำเลยยิงผู้เสียหายดังนี้จำเลยจะอ้างป้องกันไม่ได้ เพราะจำเลยเป็นผู้ก่อภัยขึ้นก่อน
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน การวิวาทหมายถึง การสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528) ด้วยเหตุนั้น ถ้ายฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำแก่อีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำการโต้ตอบกลับไปโดยอ้างป้องกันมิได้ เพราะตนมีส่วนผิดในการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันเสียแล้ว
ข้อสังเกต ในกรณีที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันนั้น เมื่ออ้างป้องกันไม่ได้แล้วเมื่อพลาดไปถูกบุคคลที่ 3 ก็ย่อมป้องกันต่อบุคคลที่ 3 ไม่ได้เช่นกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 222/2513
ประเด็นต่อไป การสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันนั้น ถ้าปรากฏขาดตอนไปแล้วผู้ที่รับภยันตรายก็มีสิทธิป้องกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 2520/2529 จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกัน จนชกต่อยกอดปล้ำกัน จำเลยไม่มีอาวุธ เมื่อมีคนห้าม จำเลยก็หยุดวิวาทกับผู้ตาย ผู้ตายวิ่งไปหยิบไม้มา จำเลยวิ่งหนีขึ้นไปบนกุฏิของพระแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะวิวาทกับผู้ตายอีกแล้ว เพราะฉะนั้นการที่ผู้ตายถือไม้ไล่ตีจำเลยขึ้นไปบนกุฏิพระ ไม่เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกับการวิวาทครั้งแรกแต่ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นใหม่ที่จะทำร้ายจำเลย จำเลยมีสิทธิกระทำเพื่อป้องกันตนเองได้ การที่ผู้ตายถือไม้ไล่ตีจำเลยขึ้นไปบนกุฏิพระ ไม่เป็นการกระทำที่ต้อเนื่องกับการวิวาทครั้งแรก ถือได้ว่าผู้ตายก่อเหตุขึ้นใหม่ที่จะทำร้ายจำเลย
ประเด็นต่อไป อธิบายหลักข้อ 2 ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๘๒/๒๕๔๔ วินิจฉัยว่า หากภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงก็ย่อมไม่อาจกระทำเพื่อป้องกันได้ ประเด็นก็คือ ภยันตรายที่ใกล้จะถึงจะต้องหมายความว้า ผู้ก่อภยันตรายนั้นกระทำการถึงขั้นที่เป็นความผิดแล้วหรือยัง เช่น แดงต้องการฆ่าดำ ถ้าแดงเล็งปืนไปที่ดำแล้ว ความผิดของแดงต่อดำคือ ๒๘๘, ๘๐ อย่างนี้แน่นอนเป็นภยันตรายที่เกิดจากากรประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เพราะการกระทำของแดงต่อดำ ถึงขั้นที่เป็นความผิดแล้วถ้าแดงเล็งปืนไปที่ดำแล้วดำยิงโต้ตอบกลับมา ดำอ้างป้องกันได้แน่นอน
คำพิพากษาที่ ๒๒๘๕/๒๕๒๘
เพราะฉะนั้น เพียงแต่ผู้ก่อภัยชักปืนออกมาจากเอว แม้ว่าการกระทำของผู้ก่อภัยนั้นจะอยู่ในขั้นตระเตรียมฆ่า ผู้รับภยันตรายกระทำการโต้ตอบ กลับมาก็อ้างป้องกันได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้าภัยนั้นถึงแล้ว เป็นการละเมิดกฎหมาย เพราะผู้ก่อภัยไม่มีอำนาจที่จะทำได้ ด้วยเหตุนี้ หากภัยนั้นใกล้จะถึง ผู้รับภัยก็ป้องกันได้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๘๓/๒๕๔๔ ถ้าเพียงแต่เห็นว่าผู้ก่อภัยทำกิริยาคล้ายกับจะชักอาวุธออกมาทำร้าย ยังไม่ถือว่าภยันตรายใกล้จะถึง เพราะฉะนั้นฎีกาสองเรื่องต่างกัน ทำท่าจะชัก ชักออกมาแล้ว
ประเด็นต่อไปก็คือ ช่วงระยะเวลาในการใช้สิทธิป้องกัน การใช้สิทธิป้องกันเริ่มตั้งแต่ภยันตรายนั้นสิ้นสุดลง ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงชักปืนออกมาทำท่าจะยิงดำเพียงแต่ชักออกมาเท่านั้นจากบรรทัดฐานของ ฎีกาที ได้กล่าวมาเมื่อซักครู้แม้แดงจะยังไม่ทันได้เล็งปืนจ้องจะยิงดำ ดำก็เริ่มใช้สิทธิในการป้องกันชีวิตของตนเองได้แล้วและสามารถใช้สิทธิป้องกันนี้ได้ ตลอดไปจนกว่าการที่แดงยิงดำจะสิ้นสุดลง
คำพิพากษาฎีกาที ๔๕๕/๒๕๓๗ วินิจฉัยว่า ถ้าการที่แดงยิงดำสิ้นสุดลง เช่น ปืนหลุดจากมือแดงไปแล้ว ดำก็หมดสิทธิในการป้องกัน เว้นแต่แดงมีกิริยาว่ากำลังหยิบเอาปืนที่หลุดมือไปแล้วนั้นขึ้นมายิงดำอีก เพราะภยันตรายรอบใหม่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ในกรณีลักทรัพย์ คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๙/๒๕๔๑ ศาลฎีกาตัดสินว่าการที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เอาสร้อยคอของจำเลยไปเพื่อติดตามเอาสร้อยคอคืนในทันทีทั้นใดเป็นการป้องกัน กล่าวคือมิได้พาทรัพย์นั้นหนีอีกต่อไป สิทธิในการป้องกันก็หมดไป
ผู้รับภยันตรายจำเป็นจะต้องหลบหนีภยันตรายหรือไม่ ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนี อย่างไรก็ตาม ผู้รับภัยควรจะอยู่เฉยๆ ไม่ควรออกไปโต้ตอบ หากออกไปพบกับผู้ก่อภัยพกอาวุธปืนติดตัวไปด้วย อาจจะกลายเป็นว่า ไปสมัครใจเข้าวิวาทกับผู้ก่อภัยจะทำให้หมดสิทธิในการอ้างป้องกันไป เรื่องการป้องกันภยันตรายไว้ล่วงหน้า คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๒๓/๒๕๑๙
๓. ผู้กระทำจะต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภยันตรายนั้น
เพื่อป้องกันสิทธิ หมายถึงมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษแต่เป็นมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษประเภทยกเว้นความผิด ดังนั้นถ้าทำไปเพื่อแก้แค้นอ้างป้องกันไม่ได้ จะอ้างป้องกันได้ต้องกระทำไปเพื่อป้องกันสิทธิ
เพื่อป้องกันสิทธิคือเจตนาพิเศษเราจึงได้หลักว่า จะอ้างป้องกันได้
. เจตนาธรรมดา ประสงค์ต่อผล หรือ เล็งเห็นผล หรือ เจตนาโดยพลาด
. ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษ “เพื่อป้องกันสิทธิ” ขาดอันใดอันหนึ่งไปจะอ้างป้องกันไม่ได้
ตัวอย่าง แดงกำลังจะยิงดำ แต่ดำไม่รู้ตัว ขณะนั้น ดำกำลังหยิบปืนขึ้นมาเช็ดถู
ทำความสะอาด ดำไม่ระมัดระวังให้ดี ปืนลั่นออกมา กระสุนไปถูกแดงตาย ถามว่าอย่างนี้ดำอ้างป้องกันได้หรือไม่ ไม่ได้ เพราะการกระทำของดำต่อแดงเป็นการกระทำโดยประมาท ดำจึงอ้างว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันไม่ได้ เพราะจะอ้างป้องกันได้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยมีเจตนา
. คือการกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นจะต้องไม่เกินขอบเขต
คำว่า “ไม่เกินขอบเขต” เหตุที่ไม่ใช้คำว่า “ไม่เกินสมควรแก่เหตุ” ทั้งนี้เพราะว่า
มาตรา ๖๙ มิใช้ ๒ กรณี คือ เกินสมควรแก่เหตุ กรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งคือ เกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปใช้คำว่า เกินสมควรแก่เหตุก็ยังไม่ครบถ้วน
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ จะต้องประกอบไปด้วยหลัก ๒ ประการ คือ
. ผู้ป้องกันได้กระทาการปอ้งกันสิทธิของตนเองหรนือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายด้วยวิถีทางน้อยที่สุด
. ผู้ป้องกันได้กระทาการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายด้วย วิถีทางน้อยที่สุด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๓/๒๕๒๑ ข้อเท็จจริงมีว่า แดงใช้ไม้จะทำร้ายดำ ดำใช้ปืนยิงแดง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ถือได้ว่าเกินสัดส่วน เกินสมควรแก่เหตุ ถ้าผู้ก่อภัยใช้ปืนจะยิง ผู้จะถูกยิงใช้ปืนยิงโต้ตอบกลับไปก็ถือว่าได้สัดส่วน บางกรณีแม้ภยันตรายจะเกิดจากมีด การที่ผู้ป้องกันใช้ปืนยิงไปก็ถือว่าได้สัดส่วน
เรื่องความยินยอม มีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน ก็คือ
. ความยินยอมที่ทำให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด โดยถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอกไปเลย
ตัวอย่าง ความผิดฐานลักทรัพย์ โกงเจ้าหนี้ ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์ หรือบุรุก
ความผิดต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าผู้เสียหายยินยอม ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดนั้น การกระทำไม่เป็นความผิด ไม่ผิดเพราะขาดองค์ประกอบภายนอก
เรื่องการกระทำด้วยความจำเป็น อันเป็นเหตุยกเว้นโทษ จำเป็นมี ๒ กรณี คือ จำเป็นตาม ๖๗(๑) จำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ และ ๖๗(๒) จำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย
อนุมาตรา ๑ มีการบังคับให้กระทากรที่เป็นความผิดจากภายนอก ผู้ถูกบังคับไม่ได้คิดริเริ่มกระทำการนั้นด้วยตนเอง ตัวอย่างแดงขู่ว่าจะยิงดำ ถ้าดำไม่ใช้ไม้ตีหัวขาว ขาเป็นเพื่อนรักของดำดำกลัวตายจึงใช้ไม้ตีขาวหัวแตก ดำกระทำความผิดต่อขาวฐานทำร้ายร่างกาย แต่อ้างจำเป็นตามมาตรา ๖๗(๑) เพื่อยกเว้นโทษได้
จำเป็นตามมาตรา ๖๗(๒) นั้นไม้มีการบังคับให้กระทำ แต่มีภยันตรายนั้นโดยกระทำความผิดด้วยความคิดริเริ่มของตนเอง ตัวอย่าง แดงวิ่งไล่ทำร้ายดำ ดำวิ่งหนี โดยตัดสินใจวิ่งเข้าไปในบ้านของขาว ดำมีความผิดฐานบุกรุกบ้านขาวแต่อ้างจำเป็นตามมาตรา ๖๗(๒) เพื่อยกเว้นโทษได้ ไม่มีใครบังคับให้ดำบุกรุกบ้านของขาวแต่ดำบุกรุกบ้านของขาวโดยความคิดริเริ่มของดำเอง อย่างนี้เป็น ๖๗ (๒)
มาตรา ๖๗(๑) ก็คือจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ มีหลักเกณฑ์อยู่ ๔ ข้อ
ข้อ ๑. อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ
ข้อ ๒. ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
ข้อ ๓. ผู้กระทำจะต้องไม่ได้ก่อเหตุการณ์นั้นขึ้นด้วยความผิดของตน
อธิบายข้อ ๑. อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ หมายความว่า มีการบังคับให้กระทำหรือไม้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดจากภายนอก ซึ่งการกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นความผิด
มาตรา ๖๙ ให้ใช้กับเรื่องจำเป็นด้วย
เกินสมควรแก่เหตุ คือ เกินวิถีทางน้อยที่สุด หรือเกินสัดส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง
เกินวิถีทางน้อยที่สุดก็คือเกินขั้นต่ำที่จำต้องกระทำ ก็มีหลักอย่างเดียวกับกรณีของเรื่องป้องกัน แต่ว่าในเรื่องสัดส่วน สัดส่วนของการกระทำโดยจำเป็นตามมาตรา ๖๗(๑) จะใช้หลักอย่างเดียวกับเรื่องป้องกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะว่า จำเป็นนั้นเป็นการกระทำต่อบุคคลที่สาม บุคคลที่สามเขาไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายนั้นเพราะฉะนั้น ในกรณีต่อไปนี้ ต้องถือว่าเป็นากรจำเป็นเกินสัดส่วน และผลก็คือ เกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ความรู้ทั่วไปของกฎหมายอาญา
ในทางกฎหมายอาญาจัดเป็นกฎหมายมหาชนว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญามีบทบัญญัติถึงความเกี่ยวพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ แม้การกระทำบางอย่างจะได้กระทำโดยตรงต่อเอกชนให้ได้รับอันตรายเสียหายก็ตาม การกระทำความผิดนั้นก็ยังเชื่อว่ากระทบกระเทือนต่อมหาชนเป็นส่วนรวม ถึงขนาดที่รัฐต้องเข้าดำเนินการป้องกันและปราบปราม ดังนั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่กำหนดความผิดและโทษซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. การกำหนดเป็นความผิด ได้แก่ การพิจารณาว่าการกระทำใดสมควรจะลงโทษในทางอาญา เช่น การฆ่าผู้อื่น การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการฉ้อโกงประชาชน ตลอดจนการกระทำอื่นๆ ที่กระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2. การกำหนดโทษ ได้แก่ การที่บุคคลจะรับโทษทางอาญาได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายในขณะกระทำกำหนดโทษไว้ ดังนั้น การบัญญัติโทษ ภายหลังการกระทำจึงไม่ย้อนไปใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นมาก่อนการบัญญัตินั้น แต่ถ้าเคยกำหนดโทษไว้ในขณะกระทำ แล้วต่อมายกเลิกโทษนั้นไป ผู้กระทำย่อมหลุดพ้นจากโทษนั้นไปด้วย
ตามที่ได้กล่าวมานี้เราพอสรุปลักษณะของกฎหมายอาญาได้ดังนี้
1)กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน
2) กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญา
3) กฎหมายอาญาตามปกติบังคับการกระทำในอาณาเขต
4) กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
5) กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลังในทางลงโทษหนักขึ้นหรือให้รับโทษหนักขึ้น
ประมวลกฎหมายอาญาไทย มีบทบัญญัติทั้งหมด 398 มาตราได้แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้ คือภาคทั่วไป ภาคความผิด และภาคลหุโทษ ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2500
1. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ซึ่งเป็นภาคทั่วไปที่ต้องนำไปใช้ในความผิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งประกอบด้วยการใช้กฎหมายอาญา โครงสร้างความผิดอาญา การใช้บทบังคับของกฎหมาย และบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ ซึ่งสามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้
1.1 การใช้กฎหมายอาญา
การใช้กฎหมายอาญานั้นจะต้องคำนึงถึงบุคคล สถานที่ และเวลาในการกระทำความผิดดังต่อไปนี้
1.1.1 การใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับบุคคล
บุคคลที่กฎหมายอาญาใช้บังคับแก่คนไทยและคนต่างด้าวเสมอหน้ากันหมด แต่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปนี้คือ
1.ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้กำหนดยกเว้นไม่ใช้กฎหมายอาญาบังคับกับบุคคลดังต่อไปนี้
1) พระมหากษัตริย์ไทย ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆมิได้
2)สมาชิกรัฐสภาไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา มีเอกสิทธิในการแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนในการประชุมของรัฐสภา และคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุมเป็นต้น
2. ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลซึ่งกฎหมายกำหนดข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศอันได้แก่
1) ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ทูต และบุคคลในคณะทูตและครอบครัว
2) เจ้าหน้าที่หรือพนักงานขององค์การระหว่างประเทศซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศให้เอกสิทธิ์และคุ้มครองไว้
3) กองทหารต่างประเทศที่เข้ามายึดครองราชอาณาจักร การกระทำความผิดใดๆในกองทัพ ไม่ขึ้นกับอำนาจศาลของประเทศที่กองทัพนั้นยึดครองอยู่
1.1.2 การใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับสถานที่
กฎหมายอาญาใช้บังคับโดยหลักดินแดน มาจากหลักที่ว่า “กฎหมายของรัฐใดย่อมใช้บังคับ แก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น” ดินแดนในราชอาณาจักรไทย ได้แก่
1. พื้นดินและพื้นน้ำที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย
2. ทะเลอันเป็นอ่าวไทย
3. ทะเลอาณาเขตของไทย 12 ไมล์ทะเล
4. พื้นอากาศเหนือ ข้อ 1,2,3
5. เรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด กฎหมายให้ถือว่าเป็นการกระทำในราชอาณาจักรไทย
1.1.3 การใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับเวลา
มาจากหลักที่ว่ากฎหมายไทยไม่มีผลย้อนหลัง คือกฎหมายจะไม่ย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันที่กฎหมายใช้บังคับ ไม่ว่าจะเป็นความผิด การลงโทษหรือการเพิ่มโทษก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม มีการยกเว้น ในกรณีที่กฎหมายอาญาที่บัญญัติขึ้นมาใหม่นั้นออกใช้บังคับที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำก็สามารถย้อนหลังได้
1.2 โครงสร้างความผิดอาญา
การจะวินิจฉัยความรับผิดทางอาญานั้น ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามโครงสร้างความรับผิดอาญา ซึ่งประกอบด้วยส่วนใหญ่ 3 ส่วน ตามลำดับ คือ การพิจารณาว่ามีการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ถ้ามีพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้นๆ มีอำนาจกระทำก็ต้องรับผิด แล้วจึงพิจารณาต่อไปเป็นประการสุดท้ายว่ามีเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำการหรือการกระทำนั้นๆ หรือไม่ ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ
1.2.1 องค์ประกอบความผิดอาญา
องค์ประกอบความผิดอาญา พิจารณาได้จากบทบัญญัติของกฎหมายประกอบด้วย องค์ประกอบภายนอก องค์ประกอบภายใน การพยายามกระทำความผิด และความรับผิดในกรณีผู้กระทำหลายคน
1. องค์ประกอบภายนอก คือ สิ่งที่เป็นส่วนภายนอกที่ประกอบอยู่ในความผิดฐานใด ฐานหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ส่วนภายในจิตใจของผู้กระทำ (การกระทำโดยเจตนาที่มีจิตชั่วร้าย)
สิ่งที่เป็นส่วนภายนอกหรือองค์ประกอบภายนอกมีอยู่หลายอย่างเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดแต่ละฐาน ซึ่งประกอบด้วย
1) ผู้กระทำ โดยปกติกฎหมายจะใช้คำว่า “ผู้ใด” ซึ่งหมายความว่าจะเป็นใครก็ได้ไม่จำกัด แต่หากกฎหมายมุ่งที่จะลงโทษบุคคลใดโดยเฉพาะก็จะระบุโดยชัดเจนในบทบัญญัตินั้นๆ เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่น หรือระบุว่าหญิงใด หรือผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน หรือชายใดตามที่ปรากฏ ใน พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร เป็นต้น
2) การกระทำ เป็นไปตามความหมายในความผิดแต่ละฐาน เช่น การ “ฆ่า” ในความผิดต่อชีวิต “การทำร้าย” ในความผิดต่อร่างกาย “การเอาไป” ในความผิดฐานลักทรัพย์ “การใส่ความ” ในความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น
3) กรรมของการกระทำ (ผู้ถูกกระทำ) ซึ่งก็เป็นไปตามฐานความผิดนั้นๆ เช่น ในความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย กรรมของการกระทำ คือผู้อื่น (ผู้ถูกกระทำ) ซึ่งต้องมีสภาพความเป็นมนุษย์ในความผิดฐานทำแท้ง คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในครรภ์มารดา ในความผิดฐานลักทรัพย์ วัตถุแห่งการกระทำคือทรัพย์ของผู้อื่น เป็นต้น
4) ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลเพื่อจะได้ทราบว่าผู้กระทำเป็นเหตุให้เกิดผลหรือไม่และควรรับผิดในผลนั้นเพียงใด ถ้าผลที่เกิดไม่สัมพันธ์กับการกระทำหรือไม่ใช่ผลโดยตรง แล้วผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิด ผลโดยตรงนี้ ได้แก่ผลตาม “ทฤษฎีเงื่อนไข” ซึ่งมีสาระสำคัญว่า “ถ้าไม่มีการกระทำผลไม่เกิด” ต้องถือว่า ผลเกิดจากการกระทำนั้น แม้จะมีเหตุอื่น หรือสุขภาพไม่ดีอยู่ก่อน แต่ถ้าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากการกระทำที่เรียกว่า “เหตุแทรกแซง” แล้วผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้นปลายเหตุที่เกิดขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาโดยละเอียดต่อไป
2. องค์ประกอบภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความรับผิดของบุคคล โดยหลักแล้วบุคคลจะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยเจตนา การกระทำนั้นกฎหมายให้รวมถึงการงดเว้นการกระทำตามที่ตกลงใจหรือเจตนาที่จะงดเว้นการกระทำ
แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้การกระทำนั้นไม่ได้เจตนากฎหมายก็บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ว่าความผิดใดต้องรับผิด เมื่อได้กระทำโดยประมาทหรือกำหนดไว้ชัดแจ้งว่า แม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็ต้องรับผิด
1)การกระทำโดยเจตนา คือการกระทำไปโดยรู้สำนึก และผู้กระทำนั้นประสงค์ต่อผลหรือผู้กระทำนั้นย่อมเล็งเห็นผล บางประการของการกระทำนั้น
2)การกระทำโดยประมาท คือการกระทำที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจให้เกิดผลร้ายแก่ใคร แต่เนื่องจากการกระทำโดยไม่ระมัดระวังหรือระมัดระวังไม่เพียงพอทำให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่นถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทแล้ว
3)การกระทำที่ไม่ได้เจตนา คือการกระทำที่ผู้กระทำตั้งใจทำเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่งแต่ผลเกิดขึ้นมากกว่าที่ตั้งใจเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ว่ากระทำในลักษณะเช่นนั้นต้องรับผลร้ายผู้กระทำต้องรับผิดด้วย
4)การกระทำโดยพลาด คือการกระทำที่มีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป กฎหมายให้ถือผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่ผู้ซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำ
5)การกระทำที่สำคัญผิด คือการกระทำที่สำคัญนี้อาจมีได้ 2 ลักษณะคือ การกระทำที่สำคัญผิดในตัวบุคคล กับ การกระทำที่สำคัญผิดในข้อเท็จจริง
(1)การกระทำที่สำคัญผิดในตัวบุคคล คือการกระทำที่ผู้กระทำเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิดเรียกว่า เป็นการสำคัญผิดตัว
(2)การกระทำที่สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริง การกระทำที่สำคัญผิดในข้อเท็จจริงแยกออกไปเป็น 3 กรณี คือ
ก.การกระทำที่สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ทำให้ไม่เป็นความผิด เช่นการป้องกันตัวสมควรแก่เหตุ การกระทำที่จำเป็น
ข.การกระทำที่สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ทำให้ไม่ต้องรับโทษ เช่น การลักทรัพย์บิดา มารดา เป็นต้น
ค.การกระทำที่สำคัญผิดที่ทำให้รับโทษน้อยลง เช่น การบันดาลโทสะ หรือการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ เป็นต้น
6)การกระทำที่ไม่รู้กฎหมาย บุคคลใดก็ตามเมื่อได้กระทำผิดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย หรือไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้เป็นความผิดเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่าถูกกฎหมายปิดปาก (Estoppel Law) แต่ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลนั้นอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดศาลอาจอนุญาตให้ผู้นั้นแสดงพยานหลักฐานต่อศาล ซึ่งถ้าศาลฟังพยานหลักฐานนั้นแล้วเชื่อว่าเป็นจริงก็อาจจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ศาลพิจารณาลงโทษให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดซึ่งกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
3. การเริ่มต้นกระทำความผิด สำหรับการเริ่มต้นกระทำความผิดนั้น มีกระบวนการจากการคิด ตกลงใจ และกระทำตามที่ตกลงใจนั้น ซึ่งส่วนสุดท้ายนี้ เป็นส่วนที่แสดงออกภายนอกแล้ว ซึ่งอาจมีขั้นตอนของการเตรียมลงมือกระทำไปตลอดจนบรรลุผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม การรอจนกระทั่ง ผู้กระทำลงไปจนความผิดสำเร็จ ย่อมก่อความเสียหายกระทบกระเทือนความสงบของสังคมอย่างมาก สำหรับความผิดที่ร้ายแรงที่ผู้กระทำได้แสดงเจตนา ออกมาเป็นการกระทำอย่างชัดแจ้งแล้ว กฎหมายจำต้องยับยั้งไว้ เพื่อมิให้ลุกลามเป็นความผิดสำเร็จก่อความเสียหายต่อไปโดยการกำหนดเป็นความผิดเสียก่อนตั้งแต่เริ่มแรก เช่น ในเรื่องอั้งยี่ ซ่องโจร หรือ ผู้ใช้ให้กระทำความผิด กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดโดยไม่ต้องมีการกระทำความผิดที่ได้ตกลงกัน หรือตามที่ได้ใช้ให้กระทำการ ตระเตรียมในความผิดที่ร้ายแรงบางความผิดก็เป็นความผิดในตัวเองได้เลย ตลอดจนการพยายามกระทำความผิด กฎหมายก็กำหนดให้รับผิดโดยไม่ต้องรอให้เกิดผลสำเร็จ เพียงแต่ผู้กระทำมีการกระทำที่แสดงเจตนาและมุ่งต่อความผิดสำเร็จโดยไม่มีการหยุดยั้ง
ดังนั้น ความผิดอันเป็นการเริ่มต้นเหล่านี้ย่อมเป็นธรรมดาที่จะไม่มีการพยายามกระทำความผิดในฐานะต่างๆ เหล่านั้นอีกไม่ว่าจะเป็นการพยายามเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรหรือพยายามใช้ให้กระทำความผิด เพราะความผิดเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการพยายาม หรือการตระเตรียมการกระทำความผิดเสียอีก
การพยายามกระทำความผิด ประกอบด้วย การลงมือและการไม่บรรลุผล
1)การลงมือ ในการที่กฎหมายจะลงโทษการพยายามกระทำความผิดนั้น ขั้นแรกผู้กระทำจะต้องมีเจตนา กระทำความผิดเสียก่อน ถ้าไม่มีเจตนาก็จะเป็นการพยายามกระทำความผิดไม่ได้ ต่อจากนั้นผู้กระทำต้องมีการกระทำเพื่อมุ่งถึงผลสำเร็จ การกระทำที่จะเป็นการพยายามกระทำคามผิดต้องถึงขั้น “ลงมือ” เช่น การพยายามฆ่า พยายามทำร้ายร่างกาย พยายามข่มขืน เป็นต้น
ข้อสังเกต เกี่ยวกับการลงมือกระทำแล้วไม่บรรลุผลที่เรียกว่าพยายาม ตามแนวคิดของศาล(ไทย) ศาลไทยถือว่าการลงมือได้แก่การกระทำที่ใกล้ชิดกับผลสำเร็จ คือหลักความใกล้ชิดต่อผล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลในแต่ละเรื่องว่าแค่ไหนเพียงใดถึงจะว่าใกล้ชิด หรือห่างไกลความสำเร็จการตีความดังกล่าวอาจจะยืดหยุ่นดีแต่ขาดความแน่นอนชัดเจนกรณี
ตัวอย่าง เช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 1685/2516 ในกรณีข่มขืนกระทำชำเราแม้จำเลยซึ่งนุ่งผ้าขาวม้าอยู่ตัวเดียวกระทำการถึงขั้นกดหญิงผู้เสียหายนอนลงที่พื้นขึ้นคร่อมและถลกผ้าขึ้นแล้วด้วยเจตนาจะกระทำชำเรา ศาลก็เห็นว่ายังไม่ถึงขึ้นพยายาม ทั้งที่มีการข่มขืนใจหญิงแล้วเพียงแต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะกระทำชำเราได้เท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1885/2522 ในกรณีความผิดฐานชิงทรัพย์ เมื่อประทุษร้ายแล้วแม้ยังไม่ได้ทรัพย์ไป ศาลก็ลงโทษฐานพยายามชิงทรัพย์ หรือคำพิพากษาฎีกาที่ 41/2510 ในกรณีเพียงงัดประตูบ้านเข้าไป ยังไม่ทันได้เห็นทรัพย์ที่จะลัก ศาลก็ถือว่าลงมือแล้วเช่นdyo
จากคำพิพากษาของศาลไทยดังกล่าวข้างต้นนั้นแสดงว่าศาลไทยตีความคำว่าลงมือเพื่อคุ้มครองทรัพย์มากกว่าคุ้มครองหญิงจะถูกข่มขืน การกระทำอันที่จริงการลงมือควรถือ การกระทำที่จะนำไปสู่ความสำเร็จโดยไม่มีการหยุดยั้งในระหว่างการกระทำนั้น มิฉะนั้น แม้ผู้กระทำถูกจับได้ก็ลงโทษได้ โอกาสจะป้องกันความเสียหายก็จะลดลง
2)การไม่บรรลุผล ได้แก่ การกระทำไม่เกิดผล เป็นความผิดสำเร็จตามที่ผู้กระทำเจตนา ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้กระทำยังไม่ได้กระทำให้ครบถ้วนทุกขั้นตอนที่ตนมุ่งหมายหรือกระทำไปครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้วผลไม่เกิดขึ้นความที่คิดไว้ การไม่บรรลุผลมีได้ 3 ลักษณะคือ
(1)การไม่บรรลุผลโดยบังเอิญ กาจเกิดได้จากสาเหตุ 2 ประการคือ
ก.การไม่บรรลุผลเพราะกระทำไปไม่ตลอด หมายถึงว่าผู้กระทำได้ลงมือแล้วแต่จำต้องยุติการกระทำนั้นโดยไม่สมัครใจเพราะมีเหตุมาป้องปัดขัดขวาง
ข.กระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล ได้แก่การที่
ผู้กระทำได้ลงมือกระทำการทุกอย่างที่เขาเชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดความผิดสำเร็จขึ้นได้ แต่ก็ไม่บรรลุผล ซึ่งอาจเป็นเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ หรือเหตุแห่งปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด
(2)การไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้ ได้แก่ กรณีที่ผู้กระทำจะทำ
อย่างไรก็ไม่มีทางบรรลุผลเป็นความผิดสำเร็จได้เป็นการพิจารณาในแง่จิตใจผู้กระทำ ถ้ากระทำได้กระทำโดยมุ่งต่อผล ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะปัจจัยที่ใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ
ส่วนการไม่บรรลุผลเพราะความเชื่ออย่างงมงาย เช่น คั่วพริกสาปแช่ง โดยวิธีการไสยศาสตร์ ด้วยความเชื่ออย่างงมงายว่าจะเป็นวิธีทำอันตรายผู้อื่นได้ แต่ไม่สามารถทำอันตรายได้ แต่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษเช่นกันแต่ศาลจะลงโทษก็ได้ เพราะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาอันชั่วร้ายที่จะกระทำความผิดอาญาของผู้กระทำแล้วหากไม่ลงโทษเพื่อเป็นการตักเตือนยับยั้งเสียก่อน ผู้กระทำอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการกระทำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
(3)การไม่บรรลุผลเพราะผู้กระทำเอง ได้แก่การสมัครใจกระทำการเพื่อไม่ให้ความมุ่งหมายอันที่ร้ายของตนบรรลุผล ซึ่งอาจเป็นการยับยั้งเสียเอง คือได้ลงมือไปแล้ว แต่สมัครใจยุติการกระทำของตนเอง ไม่กระทำต่อไปให้ตลอดทั้งๆที่ตนเองมีความมั่นใจว่าสามารถกระทำไปให้ตลอดได้ ซึ่งอาจเป็นเหตุภายนอกหรืออาจจะเป็นเหตุภายใน การยับยั้งนี้ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ หากเป็นไปเพราะถูกกดดันจนผู้กระทำรู้สึกว่าไม่สามารถกระทำไปได้ ดังนี้เป็นการยับยั้งโดยไม่สมัครใจ
4. โทษของการพยายามกระทำความผิด โดยหลักแล้วการพยายามกระทำความผิดมีโทษดังนี้คือ
1)มีโทษ 2 ใน 3 ส่วน ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับผิดนั้นตาม
2)มีโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งเป็นการพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้หรือไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้
3)ศาลอาจไม่ลงโทษเลยก็ได้กรณีกระทำลงด้วยความงมงาย
ข้อสังเกต การพยายามกระทำความผิดที่มีโทษเท่ากับความผิดสำเร็จได้แก่การพยายาม กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ และการพยายามกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐและสัมพันธ์ไมตรี
ข้อสังเกต การพยายามกระทำผิดที่ไม่มีโทษ ได้แก่ การพยายามกระทำความผิดแต่ยับยั้งเสียเอง หรือกลับใจแก้ไข ไม่ให้การกระทำบรรลุผล การพยายามกระทำความผิดลหุโทษและการพยายามทำให้แท้งลูก
5. ผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในการกระทำความผิดฐานหนึ่ง อาจมีผู้กระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปซึ่งอาจแยกได้ 3 ลักษณะ คือ
1)ตัวการ คือ เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันคือ
(1) จะต้องมีการกระทำร่วมกัน เช่น อาจแบ่งหน้าที่กันทำหรือ
อยู่ร่วมในการเกิดเหตุ
(2) มีเจตนาร่วมกัน ได้แก่ การที่ผู้กระทำความผิดทุกคนมี
เจตนาร่วมกันกระทำความผิดโดยถือว่าการกระทำของผู้ร่วมถึงการกระทำทุกอย่างที่เป็นความผิดร่วมกระทำจะต้องรู้ถึงเจตนาของกันและกัน ดังนั้นถ้ามีเจตนาร่วมเพียงใด ก็เป็นตัวการเพียงนั้น
2)ผู้ใช้ หมายถึงผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด คือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้อื่นตัดสินใจกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีการอื่นใด เมื่อได้มีการใช้แล้วผู้ใช้มีความผิดทันที แม้ว่าผู้ถูกใช้จะยังไม่ยอมกระทำหรือรับปากว่ากระทำแล้ว หรือเปลี่ยนใจไม่กระทำหรือผู้ถูกกระทำใช้ยังมิได้ลงมือกระทำ แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำถึงขึ้นลงมือแล้ว ผู้ใช้ก็รับโทษเสมือนตัวการ
3)ผู้สนับสนุน ได้แก่บุคคลที่เข้าช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่
ผู้กระทำความผิดก่อนหรือ ขณะกระทำความผิดหรือการให้สถานที่ หรืออุปกรณ์ในการกระทำความผิด ซึ่งจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ไปว่า การให้สนับสนุนแค่ไหนมีความผิด มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1)การสนับสนุนต้องมีเจตนาที่จะช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแต่การกระทำความผิดด้วย
(2)การสนับสนุนจะต้องเกิดขึ้นก่อนหรือขณะกระทำความผิดหากเกิดขึ้นหลังการกระทำความผิดแล้ว ก็ไม่ใช่การสนับสนุน
(3)ถ้าผู้กระทำไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นองค์ประกอบความผิดได้
4)กรณีการกระทำเกินขอบเขต ถ้าความผิดที่เกิดขึ้นนั้นกระทำได้กระทำไปเกินขอบเขตที่ใช้หรือผู้สนับสนุน คงรับผิดเท่าที่อยู่ในขอบเขตของตนเท่านั้น
ข้อสังเกต ถ้าโดยพฤติการณ์อาจเล็งเห็นได้ว่า ผู้ถูกใช้จะกระทำไปเกินขอบเขตเช่นนั้น ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนต้องรับผิดทางอาญาที่เกิดได้จริง
1.2.2 ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา
เมื่อได้มีการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามข้อ 1.2.1 ทั้งองค์ประกอบภายในและภายนอกแล้ว ถ้ามีกฎหมายหรือเหตุยกเว้นความผิด ทำให้การกระทำนั้นเป็นความผิดแต่ยกเว้นโทษ ดังนี้
1. เหตุยกเว้นความผิดที่ไม่ต้องรับผิดทางอาญานั้นต้องเป็นการกระทำดังนี้
1)การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่มีการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายมาคุกคามโดยที่รัฐไม่สามารถเข้าคุ้มครองได้ทันท่วงที กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ผู้ที่จะต้องเสียหายถูกประทุษร้ายมีอำนาจป้องกันตนเองได้โดยไม่ต้องรอให้ความเสียนั้นเกิดขึ้นก่อน ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้
(1)ต้องมีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้แก่ ภยันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำใดอย่างหนึ่ง โดยที่ผู้ก่อภยันตรายนั้นไม่มีอำนาจตามที่จะทำได้
(2)ภยันตรายใกล้จะถึง ต้องดูตามพฤติการณ์ถ้าเกิดขึ้นในทันทีทันใดย่อมเป็นภัยที่ใกล้จะถึง
(3)ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย
(4)การกระทำโดยป้องกันนั้นไม่เกินขอบเขตหรือพอสมควรแก่เหตุ
ข้อสังเกต การป้องกันโดยสำคัญผิด การป้องกันโดยพลาดไป นั้นยังถือว่าเป็นการป้องกันอยู่ ซึ่งจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ในการป้องกันสมควรแก่เหตุเท่านั้นที่จะชอบด้วยกฎหมาย
2)ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำในขณะหรือก่อนที่จะมีการกระทำความผิด
ต้องเป็นความยินยอมที่มิได้เกิดจากการข่มขู่ประทุษร้าย และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3)กฎหมายประเพณี เช่น การชกมวยตามกติกาแม้จะมีการตายเกิดขึ้นผู้กระทำก็ไม่มีความผิด
4)กรณีกฎหมายอื่นให้อำนาจกระทำได้
2. เหตุยกเว้นโทษทางอาญา แม้การกระทำนั้นจะยังคงความผิดทางอาญา แต่ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษ ถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ดังนี้คือ
1)เหตุที่ผู้กระทำไม่มีทางเลือก เหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้นี้เป็นเพราะผู้กระทำความผิดไม่มีอิสระในการตัดสินใจ แบ่งออกได้ 2 กรณีคือ
(1)ความจำเป็น เป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพราะเหตุถูกบังคับซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำตกอยู่ภายใต้อำนาจของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่จะใกล้ถึงโดยไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ทั้งนี้ภยันตรายนั้นต้องมิใช่เกิดจากการกระทำผิดของตนเอง
(2)กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน โดยสุจริตใจแม้คำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้อง แต่ผู้กระทำเชื่อโดยสุจริตใจว่าตนเองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามผู้นั้นก็ไม่ต้องรับโทษ
2)เหตุเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบ ถ้าผู้กระทำความผิดกระทำไปโดยไม่รู้ผิดชอบกฎหมายยกเว้นโทษให้เพราะเห็นว่าผู้กระทำไม่ได้มีความชั่วร้ายในการกระทำความผิด การลงโทษบุคคลดังกล่าวจึงไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นเหตุเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบในการกระทำที่ยกเว้นโทษดังนี้
(1)การกระทำของเด็ก เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี โดยแยกออกเป็นกรณีเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ ส่วนกรณีเด็กอายุ 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนวางข้อกำหนดหรือคุมประพฤติเด็กนั้นได้
(2)ความบกพร่องทางจิต (คนวิกลจริต) ได้การที่ผู้กระทำได้ทำ
ลงไปในขณะที่ตนไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีโรคจิตจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือน
(3)ความมึนเมา โดยหลักแล้วความมึนเมาเพราะเสพสุราหรือของมึนเมาจะยกขึ้นแก้ตัวเพื่อให้ตนไม่ต้องรับโทษไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้นได้เกินขึ้นโดยการไม่รู้ของผู้กระทำ กล่าวคือ ผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือเพราะถูกขืนใจให้เสพและผู้นั้นกระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
3)เหตุเกี่ยวกับการเป็นสามีภริยา ความเป็นสามีภริยาที่จะได้รับยกเว้น
โทษนี้ต้องเป็นสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์ เช่นการลักทรัพย์ , วิ่งราวทรัพย์ ,ฉ้อโกง ซึ่งไม่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษ
1.3 การบังคับใช้ของกฎหมายอาญา
การบังคับใช้ของกฎหมายอาญานี้จะได้กล่าวถึงความหมายของโทษ และการกำหนดโทษ การใช้วิธีการเพิ่มความปลอดภัยและการระงับความผิดและโทษ ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดดังนี้
1.3.1 โทษทางอาญา
โทษทางอาญา ที่จะใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดมีอยู่ 5 ชนิดเท่านั้น หากผู้ใดกระทำความผิดอาญา เมื่อจะลงโทษผู้ลงโทษจะสรรหาวิธีการลงโทษแปลกๆมาลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ ต้องใช้โทษอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ลงโทษซึ่งเรียงจากโทษหนักไปหาโทษเบา คือ
1.โทษประหารชีวิต ได้แก่ การใช้วิธีการฉีดยาพิษให้ตาย
2.โทษจำคุก ได้แก่ การเอาตัวไปขังในเรือนจำ
3.โทษกักขัง ได้แก่ การเอาตัวไปกักขังหรือควบคุมไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนด
ไว้อันมิใช่เรือนจำ
4.โทษปรับ ได้แก่ การลงโทษด้วยการปรับให้ผู้กระทำจ่ายเงินให้แก่รัฐ
5.ให้ริบทรัพย์สิน ได้แก่ การลงโทษริบเอาข้าวของเงินทองของผู้กระทำความผิด
มาเป็นของรัฐ
ข้อสังเกต การลงโทษตามกฎหมายอาญานั้นมีจุดประสงค์ในการลงโทษ มี 4 ประการ คือ
1)เพื่อเป็นการปราบปรามโจรผู้ร้าย โดยทำโทษผู้กระทำผิดกฎหมายอาญาให้เป็นตัวอย่างเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้ร้ายรู้สำนึก
2)เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ความผิดเกิดขึ้นอีก โดยการทำให้ผู้ร้ายไม่สามารถจะกระทำร้ายได้ต่อไป เช่น คำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตก็ย่อมทำให้ผู้รับโทษไม่สามารถกระทำความผิดอีกได้
3)เพื่อเป็นการดัดสันดานผู้ร้ายให้กลายเป็นคนดี ถ้าเด็กกระทำแต่ถ้ามีทางดัดสันดานได้ ศาลก็มีอำนาจที่จะไม่ลงโทษเด็กและส่งเด็กไม่ยังสถานฝึกอบรมแทนได้ ถ้าผู้ใหญ่กระทำผิดและเป็นความผิดเล็กน้อย ศาลก็จะรอการลงโทษได้
4)เพื่อชดใช้ความเสียหาย ไม่ใช่แต่ของผู้ถูกทำอันตรายเท่านั้นแต่เป็นการทำให้เหมาะสมกับความประสงค์และเป็นที่พอใจของสาธารณชนของสังคม
1.3.2 การกำหนดโทษทางอาญา
การกำหนดโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิดและเหมาะสมแก่ตัวผู้กระทำความผิดจึงจะเกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมในการกำหนดโทษจึงต้องคำนึงถึงการกระทำและพฤติการณ์ต่างๆ ประกอบด้วยกันดังนี้
1. หลายบทหลายกระทง บุคคลคนเดียวอาจกระทำความผิดได้หลายฐาน ใน
การกระทำอันเดียวกันหรือหลายๆ การกระทำ ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ
1)ความผิดหลายบท ได้แก่ กรณีเมื่อการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทการกระทำกรรมเดียวนี้อาจหมายถึงเจตนาเดียวและมีการกระทำเดียว ซึ่งเป็นความผิดต่อเนื่องกลายเป็นความผิดที่สำเร็จเด็ดขาดซึ่งผิดกฎหมายหลายฐานและผิดกฎหมายฐานเดียวหลายครั้ง
2)ความผิดหลายกรรมต่างกัน การจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่มีแสดงว่ามีเจตนาต่างกันซึ่งในการพิพากษากรณีการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกฎหมายให้ศาลพิพากษาโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แล้วรวมโทษทุกกระทงเข้าด้วยกัน
2. เหตุเพิ่มโทษและเหตุลดโทษ เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว การ
กำหนดโทษผู้กระทำจะต้องคำนึงถึงเหตุต่างๆ เกี่ยวกับตัวผู้กระทำด้วย เพื่อกำหนดโทษให้เหมาะสมกับตัวผู้กระทำความผิด ที่ศาลจะเพิ่มโทษหรือลดโทษถ้ามีเหตุ ดังนี้
1)เหตุเพิ่มโทษ ได้แก่ กรณีที่ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษเพราะได้กระทำความผิดมาแล้ว ได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการควบคุม ข่มขู่ให้ผู้ที่พ้นโทษแล้วกลับมาทำความผิดอีก
2)เหตุลดโทษ ได้แก่ผู้กระทำความผิดมีได้หลายลักษณะ คือ
(1)การกระทำความผิดโดยทั่วไปที่ลดโทษ ได้แก่ ความไม่รู้กฎหมาย ความมึนเมา ความมีอายุน้อย ความเป็นญาติ การกระทำโดยป้องกันหรือจำเป็นเกินขอบเขต
(2)การกระทำความโดยเหตุแห่งบันดาลโทสะ ผู้ที่กระทำความผิดเพราะบันดาลโทสะนั้น กฎหมายลดโทษให้บ้างเพราะเห็นว่าผู้นั้นถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมและได้กระทำต่อผู้ที่เป็นต้นเหตุให้บันดาลโทสะนั่นเอง
3)เหตุบรรเทาโทษอื่น ได้แก่ ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลา เบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้นลุแก่โทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาหรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน
ข้อสังเกต เหตุเพิ่มโทษและเหตุลดโทษนี้อาจมาจากเหตุส่วนตัวและเหตุในลักษณะคดี
3. วิธีการกำหนดโทษ เมื่อศาลได้พิจารณาความผิดแล้วจะกำหนดโทษผู้กระทำความผิดโดยมีเหตุที่อาจจะเพิ่มโทษ ลดโทษและรอการลงโทษเป็นขั้นตอนในการวางโทษให้เหมาะสมแก่ผู้กระทำความผิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันสังคม และเพื่อเยียวยาแก้ไขผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นคนดีเข้าอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ผู้อื่น ดังนี้คือ
1)การเพิ่มโทษหรือลดโทษ การเพิ่มโทษหรือลดโทษนี้ มี 2 ลักษณะคือ การเพิ่มโทษ หรือลดโทษตามอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้
2)การรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกรณีที่ศาลวางโทษที่จะลงสำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือแม้จะเคยต้องโทษจำคุกแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ หลังจากลดหย่อนโทษแล้ว ถ้าผู้นั้นจะต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี เมื่อศาลใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรปราณีให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวมาเป็นคนดี เข้าอยู่ในสังคมได้โดยไม่ต้องจำคุก ก็อาจส่งรอการกำหนดโทษจะกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติด้วยหรือไม่ก็ได้
ข้อสังเกต นอกจากการเพิ่มโทษ การลดโทษการรอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษแล้วในประมวลกฎหมายอาญายังกำหนดมีการเปลี่ยนโทษ ซึ่งกฎหมายให้ศาลทำได้ได้ 2วิธีคือ วิธีให้ยกเว้นโทษจำคุกเสียกับวิธีเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง
4. วิธีการเพื่อความปลอดภัย ในกรณีบุคคลที่อาจเป็นอันตรายต่อสังคม เช่น การเสพสุรา ยาเสพติด ซึ่งยังไม่กระทำความผิดหากปล่อยบุคคลเหล่านี้ไปเฉยๆ ก็อาจไปก่อความผิดขึ้นได้กฎหมายจึงกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกัน หรือปรับปรุงแก้ไขบุคคลเหล่านี้ มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ กักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนดเรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาลและห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง การบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ข้อสังเกต วิธีการเพื่อความปลอดภัยนี้ไม่ใช่โทษผู้ที่ถูกใช้วิธีการดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับโทษและนำไปใช้ย้อนหลังได้ ซึ่งก็อาจทำให้เกิดข้อคิดว่าหากมีการนำวิธีการนี้ไปใช้อย่างกว้างขวางแล้วอาจกระทบกระเทือนเสรีภาพของบุคคลได้เพราะวิธีการบางอย่าง
1.3.3 การระงับความผิดและโทษทางอาญา
ความผิดอาญาและโทษทางอาญาย่อมระงับไปด้วยเหตุต่างๆ เช่นเมื่อมีกฎหมายออกมายกเลิกการกระทำความผิดนั้น (โปรดดูการยกเลิกกฎหมายที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่7) ยกเว้นโทษนั้นหรือเมื่อขาดอายุความ เป็นต้น ประมวลกฎหมายได้กำหนดในเรื่อง การระงับความผิดและโทษไว้ดังนี้
1. ความตายของผู้กระทำความผิด เมื่อผู้กระทำความผิดตายโทษทั้งหลายก็เป็นอันระงับไป
2. การยอมความ ในความผิดอันยอมความได้ คือความผิดส่วนตัว ซึ่งหมายถึงความผิดทางอาญาที่ไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้วรัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้และถึงแม้จะได้ดำเนินคดีไปบ้างแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อสังเกต ในคดีอาญาความผิดอาญามีการแบ่งความผิดส่วนตัวแล้ว จะมีการแบ่งความผิดต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง ความผิดในทางอาญาเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่นอกจากจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายยังมีผลกระทบต่อสังคมอีกด้วย คือทำให้บุคคลที่อยู่ในสังคมเกิดความหวาดกลัวว่าสักวันเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้นกับตนก็ได้ รัฐจึงจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ซึ่งประมวลอาญาได้กำหนดไว้ว่าอะไรเป็นความผิดส่วนตัวที่ยอมความได้กับความผิดต่อแผ่นดินอันยอมความไม่ได้
3. อายุความ การฟ้องหรือการลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาต้องกระทำภายในขอบเขตอายุความ อายุความฟ้องคดีมี 3 ประเภทดังนี้ คือ
1)อายุความฟ้องคดีทั่วไป มี 5 ระดับ คือ 20 ปี, 15 ปี, 10 ปี, 5 ปี และ1 ปี
2)อายุความฟ้องคดีความอิดอันยอมความได้ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและภายในอายุความทั่วไป
3)อายุความฟ้องขอให้กักกัน จะฟ้องไม่พร้อมกันการฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดเหตุกักกัน
2. กฎหมายอาญาภาคความผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามีหลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะลักษณะความผิดที่มีผลกระทบต่อประชาชนและเป็นคดีไปสู่ศาลมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ คือ
2.1 ความผิดที่เกี่ยวกับรัฐและความสงบสุขของส่วนรวม
ความผิดที่เกี่ยวกับรัฐและความสงบสุขส่วนรวมเป็นความผิดสาธารณะเราสามารถแยกพิจารณาศึกษาทำความเข้าใจได้ดังนี้คือ
2.1.1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ได้แก่ การกระทำความผิดที่มีผลกระทบของประเทศชาติบ้านเมืองหรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านหรือต่างประเทศหากปล่อยให้มีการกระทำความผิดประเภทนี้เกิดขึ้น ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายไม่สงบ เช่น
1. การคิดร้ายทำลายสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าด้วยการใช้กำลังทำร้ายหรือดูหมิ่น
เหยียดหยามด้วยวิธีการใดๆหรือแม้เพียงแต่ตระเตรียมจะทำก็เป็นความผิด
2. การคิดร้ายทำลายผู้แทนของประเทศเพื่อนบ้านหรือต่างประเทศที่มีไมตรีกับประเทศไทย
3. การคิดร้ายต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งตัวเป็นกบฏล้มล้างรัฐธรรมนูญแบ่งแยกดินแดน หรือก่อกวนให้เกิดความไม่สงบ ยุยงให้เกิดความบาดหมางระส่ำระสายในประเทศหรือการเข้าไปอยู่ฝ่ายรัฐคู่สงครามกับรัฐไทย
2.1.2 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนได้แก่ ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ทำลายทางสาธารณะหรือสัญญาณไฟ ไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ปลอมปนอาหาร ยา เครื่องอุปโภค บริโภค ก่ออันตรายแก่ยานพาหนะ หรือเครื่องสัญญาณไฟการจราจร เป็นต้น
2.1.3 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ได้แก่ความผิดเกี่ยวกับการเหยียดหยามศาสนา เป็นอั้งยี่ โดยสมคบกันจัดตั้งเป็นองค์การเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นช่องโจร โดยสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิด
2.1.4 ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน
ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานเป็นเรื่องที่กำหนดความผิดที่ประชาชนกระทำต่อเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งของตน ดังนี้ คือ
1. ความผิดที่ประชาชนกระทำต่อเจ้าพนักงานที่กระทำตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ประเทศ ซึ่งประชาชนส่วนรวมย่อมได้รับความเดือดร้อน หรือเรียกว่าความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
1)การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
2)การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
3)การติดสินบนเจ้าพนักงาน เป็นต้น
2. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของเจ้าพนักงาน ได้แก่ การกระทำ
ความผิดที่ผู้กระทำเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานของรัฐอาศัยโอกาสและตำแหน่งหน้าที่กระทำความผิดเสียเอง จำต้องรับโทษหนักกว่าการที่บุคคลทั่วไปกระทำความผิด เช่น
1)เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของทางราชการ
2)เจ้าพนักงานรับสินบน
3)เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบ
4)เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
5)เจ้าพนักงานละทิ้งหน้าที่ เป็นต้น
2.2 ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของผู้อื่น
มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิในตัวเองเกี่ยวกับชีวิตร่างกายที่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย หากแต่เมื่อผู้ใดผู้นั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับการฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่นย่อมเป็นความผิด ซึ่งได้แก่ การฆ่าคนตาย การทำร้ายผู้อื่น และการทอดทิ้งเด็ก คนป่วย คนชรา ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้คือ
2.2.1 ความผิดฐานฆ่าคนตาย
การฆ่าคนตายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ และจะได้ทำลงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ย่อมมีความผิด ซึ่งจะต้องรับโทษมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้นั้น
ข้อสังเกต ความผิดฐานฆ่าคนตายที่ต้องรับโทษหนักกว่าการฆ่าผู้อื่นโดยทั่วๆไปหรือการทำให้คนตาย คือ
1.การฆ่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
2.ฆ่าเจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
3.ฆ่าผู้อื่นโดยการไตร่ตรองไว้ก่อน
4.ฆ่าเพื่อกระทำความผิดอย่างอื่นเพื่อปกปิดความผิด
2.2.2 ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น
การทำร้ายร่างกาย คือ การทำผู้อื่นให้ได้รับความเจ็บปวดทรมาน โดยตนเองไม่มีสิทธิจะทำได้ ผลจากการทำร้ายที่นั้นความหนักเบาไม่เท่ากันย่อมจะส่งผลถึงการลงโทษผู้กระทำ ซึ่งแบ่งผลของการทำร้ายร่างกาย ออกได้ 4 ระดับตามความหนักเบา คือ
1. ทำร้ายไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย เช่น ตบหน้า 1 ที ไม่มีแผลเป็นความผิดลหุโทษลงโทษเปรียบเทียบปรับได้
2. ทำร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกาย เช่น ตบหน้าจนบวมช้ำ บาดแผลรักษาไม่เกิน 20 วัน เป็นต้น
3. ทำร้ายเป็นอันตรายสาหัส เช่น ตบหน้าจนหูหนวก เป็นต้น
4. ทำร้ายจนถึงตาย เช่น ซึ่งเป็นการทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เช่นต่อยหน้าเขาล้มหัวฟาดพื้น เป็นต้น
ข้อสังเกต การทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ที่มีบาดแผลรักษาเกินกว่า 20 วัน หรือถึงตาย เป็นคดีที่เป็นความผิดต่อแผ่นดินยอมความกันไม่ได้ และเปรียบเทียบปรับไม่ได้
2.2.3 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วย หรือคนชรา
การทอดทิ้งคนซึ่งไม่สามารถช่วยตนเองได้ เช่น เด็กเล็กอายุไม่เกิน 9 ขวบ คนป่วย คนพิการ คนแก่ คนชรา ซึ่งต้องอาศัยคนช่วยเหลือ ซึ่งหากญาติพี่น้องทอดทิ้งไม่สนใจ ใยดีอาจทำให้คนเหล่านี้ อดอยาก หิวโหย และอาจถึงตายได้ ดังนั้นกฎหมายจึงเอาผิดต่อญาติพี่น้อง ซึ่งมีหน้าที่ดูแล แล้วทอดทิ้งคนเหล่านี้ด้วย
2.2.4 ความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง
ความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง ได้แก่การข่มขู่ให้ผู้อื่นกระทำการหรือไม่กระทำการหรือยอมจำนนต่อสิ่งใดโดยให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ หรือบุคคลที่สาม หรือหน่วงเหนี่ยว กักขังผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรียกค่าไถ่ พรากผู้เยาว์ ล่อลวงผู้เยาว์ไปเพื่อการค้าหากำไรหรือเพื่ออนาจารทั้งที่ผู้เยาว์เต็มใจและไม่เต็มใจ ตลอดจนความผิดข่มขืนกระทำชำเรา และการเป็นแมงดา แม่เล้าด้วย ความผิดฐานเปิดเผยความลับ ซึ่งอาจได้มาเพราะวิชาชีพ เช่น เป็นแพทย์ เภสัชกร หรือทนายความ ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น
2.2.5 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
การกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ได้แก่ การกระทำให้เกิดความเสื่อมเสียในทางเพศ แก่ผู้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กสาวหรือหญิงสาวแต่บางความผิดอาจเป็นผู้ชาย หรือคนชราก็ได้
1. ความผิดที่กระทำต่อหญิงโดยเฉพาะความผิดที่กระทำต่อหญิงโดยเฉพาะ เราสามารถแยกพิจารณาทำเข้าใจได้ดังนี้ คือ
1)การข่มขืน ร่วมประเวณีกับผู้หญิงซึ่งไม่ใช่ภริยาตนโดยหญิงนั้นไม่
ยินยอม
2)การร่วมประเวณีกับเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปีมีความผิด ไม่ว่า
เด็กหญิงนั้นยินยอมหรือไม่ก็ตาม
3)พาหญิงไปเพื่อการอนาจารหรือการล่วงเกินทางเพศแต่ไม่ถึงขนาด
ร่วมประเวณี โดยหญิงไม่ยินยอม
4)เป็นคนกลางพาหญิงไป เพื่อให้ผู้อื่นทำอนาจารไม่ว่าหญิงจะสมัครใจ
หรือไม่
5)เป็นแมงดา เกาะผู้หญิงเขากิน หรือให้ผู้หญิงที่ค้าประเวณีเลี้ยงดู
2. ความผิดที่กระผิดต่อคนทั่วไปความผิดที่กระทำต่อคนทั่วไปเราสามารแยก
อธิบายได้ดังนี้ คือ
1)ทำอนาจารหญิงหรือชายโดยเขาไม่ยินยอม
2)ทำอนาจารเด็กหญิงหรือเด็กชายอายุไม่เกิน 14 ปี
3)การค้าวัตถุลามก
2.3 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
2.3.1 ความผิดฐานลักทรัพย์
การลักทรัพย์ ได้แก่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาเอาไปเป็นของตน โดยเจ้าของทรัพย์ไม่ยินยอมให้เอาไปหรือเจ้าของทรัพย์ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้เอาไป เช่น ล้วงเอาเงินในกระเป๋าของผู้อื่น เป็นต้น
2.3.2 วิ่งราวทรัพย์
การวิ่งราวทรัพย์ ได้แก่การลักทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยใช้กริยาฉกฉวยเอาของนั้นไปซึ่งหน้าของเจ้าของทรัพย์ เช่น ใช้มือกระชากสร้อยคอของผู้อื่นที่เขาสวมใสอยู่ที่คอไปโดยเร็วเป็นต้น
2.3.3 ความผิดฐานการชิงทรัพย์
การชิงทรัพย์ ได้แก่การลักทรัพย์ของผู้อื่น โดยผู้ลักได้ใช้กำลังประทุษร้าย (ทำร้าย) เจ้าของทรัพย์หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย(ทำร้าย) นั้นก็เพื่อ
1. ให้เกิดความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
2. เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
3. เพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
4. เพื่อปกปิดการกระทำผิดนั้น
5. เพื่อให้พ้นจากการจับกุม
2.3.4 ความผิดฐานปล้นทรัพย์
การปล้นทรัพย์ ได้แก่การชิงทรัพย์ของผู้อื่น โดยคนร้ายที่ร่วมกันทำการชิงทรัพย์นั้นต้องมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หากคนร้ายที่ทำการชิงทรัพย์นั้นไม่ถึง 3 คน ก็ไม่เป็นการปล้นทรัพย์
ข้อสังเกต การกระทำความผิดเช่นไรเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ เราสามารถพิจารณาให้เข้าใจ ดังนี้ คือ
1.ความผิดลักทรัพย์ คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตโดยไม่มีการใช้กำลังทำร้ายคนร้ายจะมีกี่คนไม่สำคัญ
2. ความผิดวิ่งราวทรัพย์ คือการลักทรัพย์ผู้อื่นโดยการฉกฉวยทรัพย์นั้นไปต่อหน้าไม่มีการใช้กำลังทำร้าย
3.ความผิดฐานชิงทรัพย์ คือการลักทรัพย์โดยมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำร้ายหรือขู่เข็ญ ว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย คนร้ายจะต้องไม่เกิน 3 คน
4. ความผิดปล้นทรัพย์ คือ การชิงทรัพย์โดยคนร้ายจะต้องมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปถ้าไม่ถึง 3 คนไม่เป็นการปล้นทรัพย์
2.3.5 ความผิดฐานการยักยอกทรัพย์
การยักยอกทรัพย์ ได้แก่ การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ทรัพย์ของบุคคลอื่นมาไว้ในความครอบครองของตน เช่น มีคนเอาของมาฝากหรือรับทรัพย์ไว้เพราะมีหน้าที่ต้องรับแล้วเบียดบังทรัพย์นั้นไว้เป็นของตนหรือบุคคลอื่นเสียเช่นนี้เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
อนึ่งการเก็บของทรัพย์ที่หล่นหายเอาเป็นของตนถือว่าเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของหล่นหาย
2.3.6 ความผิดฐานการฉ้อโกงทรัพย์
การฉ้อโกงทรัพย์ ได้แก่ การกระทำความผิดโดยใช้วิธีหลอกลวงคนอื่น ไม่ว่าการหลอกลวงนั้นกระทำโดยการพูดการแสดงออกโดยท่าทางหรือโดยพฤติการณ์ก็ตาม โดยผู้กระทำ (ผู้หลอกลวง) นั้นมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสิทธิและจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้กระทำ(ผู้หลอกลวง) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ที่ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ
อนึ่งการฉ้อโกงทรัพย์จะมีลักษณะความผิดอันยอมความได้ ถือเป็นความผิดส่วนตัว แต่ถ้าฉ้อโกงทรัพย์ 10 คนขึ้นไปที่เรียกว่าฉ้อโกงประชาชนจะเป็นความผิดต่อแผ่นดินจะยอมความไม่ได้
2.3.7 ความผิดฐานรับของโจร
การรับของโจรเป็นความผิดอาญา ซึ่งนอกจากผู้รับของโจรจะต้องคืนข้าวของให้แก่เจ้าของที่แท้จริงโดยไม่ได้ค่าตอบแทน ซึ่งมีความผิดและมีโทษมีความผิดฐานรับของโจร
ลักษณะสำคัญของการรับของโจร เราอาจพิจารณาทำความเข้าใจ ได้ดังนี้ คือ
1.รู้ว่าของสิ่งนั้นเป็นของโจร หรือของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย คือมาจากการลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ แล้วรับเอาทรัพย์ไว้
2. มีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิ่งของผิดกฎหมายโดยตรง ด้วยการรับซื้อไว้ รับฝาก รับจำนำ รับดูแลหรือรับไว้ด้วยวิธีใดๆ
3.การเข้าไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิ่งของกฎหมายนั้นด้วยการช่วยหาที่ซ่อนให้ ช่วยขาย ช่วยหาคนซื้อ จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน เป็นต้น
2.3.8 ความผิดฐานบุกรุก
การบุกรุก คือการเข้าไปรบกวน หรือเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านที่อยู่อาศัยของคนอื่นโดยผู้บุกรุกเองไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น และเจ้าของเขาไม่ยินยอมให้ทำเช่นนั้น ซึ่งได้แก่
1. เข้าไปรบกวนเขา เช่น เข้าไปขโมยของ เข้าไปตัดฟันต้นไม้ใบหญ้าของเขา เข้าไปเกะกะที่ทางของผู้อื่น เป็นต้น
2. เข้าไปอยู่อาศัย เช่น เข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยในเขตป่าสงวน การเข้าไปปลูกบ้านหรือทำกินในเขตการรถไฟ เข้าไปทำนาในที่ทางของเขา เป็นต้น
3. ภาค 3 ความผิดลหุโทษ
ความผิดลหุโทษภาค 3 นี้เราแยกพิจารณา คือลักษณะสำคัญของความผิดลหุโทษ ความผิดลหุโทษในฐานต่างๆ และข้อสังเกตความผิดลหุโทษ
3.1 ลักษณะสำคัญของความผิดลหุโทษ
ความผิดลหุโทษมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ
1.ความผิดลหุโทษเป็นที่มีโทษเบากว่าความผิดอื่นเป็นความผิดเล็กน้อยที่กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.แม้การกระทำโดยไม่เจตนาก็เป็นความผิด
3.ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ
4.ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ
5.ผู้ที่ถูกจำคุกในความผิดลหุโทษมาแล้วและกระทำความผิดอื้นขึ้นอีก ไม่ห้ามที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกในคดีหลังเป็นกักขัง ไม่ห้ามที่ศาลจะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ และไม่ให้นำความผิดลหุโทษมาบวกกับโทษที่กำหนดไว้ก่อนหรือลงโทษที่รอไว้
6.ความผิดลหุโทษไม่ใช่ต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามมาตรา 120
3.1 ความผิดลหุโทษในฐานความผิดต่างๆ
ความผิดลหุโทษในฐานความผิดต่างๆมีดังนี้ คือ เมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อที่อยู่เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อที่อยู่อันเป็นเท็จ , ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานที่ชอบด้วยกฎหมาย , ทำให้สิ่งที่เจ้าพนักงานปิด-แสดงไว้เสียไป , ส่งเสียง-กระทำอื้ออึงโดยมีเหตุอันควร,พาอาวุธไปในที่ชุมชน,ทะเลาะกันในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถาน, ปละปล่อยละเลยบุคคลวิกลจริต, ไม่ช่วยผู้อยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต, ทำให้สิ่งระบายสาธารณะขัดข้อง, ยิงปืนในที่ชุมชนโดยใช้ดินระเบิด, ปล่อยปละละเลยสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย, เมาครองสติไม่ได้-ประพฤติวุ่นวายในถนนสาธารณ-สาธารณสถาน,ชัก-แสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ทำให้เกิดปฏิกูลในที่น้ำขัง,ทารุณสัตว์-ฆ่าสัตว์ให้รับทุกขเวทนา ใช้สัตว์ทำงานเกินควรไม่ช่วยเมื่อเพลิงไหม้-สาธารณะภัยอื่น ,บอกกล่าวความเท็จให้ประชาชนตกใจ กีดขวางทางสาธารณะโดยไม่จำเป็น, ปัก-วางสิ่งเกะกะ-ไม่แสดงสัญญาณในทางสาธารณะ,ติดตั้งสิ่งของที่อาจตก-พังลงในทางสาธารณะ,กระทำการอันควรขายหน้าโดยเปลือย-ลามกต่อสาธารณะกำนัล, ทำให้ของแข็งตก-ให้ของโสโครกเปรอะเปื้อน,กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ,ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ, ทำให้ผู้อื่นกลัว-ตกใจโดยการขู่เข็ญ,ดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยโฆษณา,ไล่ต้อนสัตว์เข้าไปสวน-ไร่นาของผู้อื่น,ปล่อยปละละเลยให้สัตว์เข้าสวน-ไร่-นาผู้อื่น, ทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็นในทางสาธารณะหรือริมทางสาธารณะ,ข่มเหงทำให้ผู้อื่นอับอายเดือดร้อนรำคาญ ,ทารุณเด็ก คนป่วย คนชรา การกระทำดังกล่าวล้วนเป็นความผิดลหุโทษที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
3.2 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกระทำความผิดลหุโทษ
การกระทำความผิดลหุโทษมีข้อสังเกตมีดังนี้ คือ
1. เป็นความผิดที่แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิดซึ่งต่างกับหลักของกฎหมายอาญาทั่วไป คือ บุคคลต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ตามบทบัญญัตินี้จะมีบทบัญญัติว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา
2. การเพิ่มโทษ ความผิดลหุโทษนั้นว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อเพิ่มโทษ
3. การพยายามกระทำความผิด ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
4. ผู้สนับสนุน ในความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ
5. ความผิดลหุโทษ ไม่ต้องห้ามในการที่ศาลจะพิจารณารอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษ
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ “หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป”กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน,2546
หยุด แสงอุทัย “กฎหมายอาญาภาค 1”กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 โทษของการลักทรัพย์นายจ้าง! - YouTube 的必吃

... ทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ... ความผิดฐานลักทรัพย์ มาตรา 334. Woody Law•56K views · 7:30. Go to channel ... ... <看更多>
ความผิดฐานลักทรัพย์ 在 ทนายคู่ใจ - การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็น ... 的必吃
ผู้ที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องถูกระวางโทษ : จำ ... ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท . องค์ประกอบความผิด ... <看更多>