ช่วงนี้มีข่าวเรื่องนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ทุจริตเงิน 9 แสนจึงต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี ผมเลยค้นคว้าในเรื่องฝ่ายบริหารของเกาหลีใต้มาให้อ่านกันนะครับ
ฝ่ายบริหาร ของประเทศเกาหลีใต้
โครงสร้างฝ่ายบริหารของประเทศเกาหลีใต้ประกอบด้วย
ประธานาธิบดี (President)
นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเป็นต้นมา อาจถือได้ว่าเกาหลีใต้ยึดการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในระบบ ประธานาธิบดี (Presidential system) มาโดยตลอด ยกเว้นในช่วงสั้นๆระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 – กรกฎาคม 1961 ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบรัฐสภา (Parliamentary system) เท่านั้น ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นตัวแทนของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในกรณีที่ประธานาธิบดีเสียชีวิตหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการบริหารประเทศได้ นายกรัฐมนตรี หรือสมาชิกในคณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council) จะทำหน้าที่แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งบุคคลคนใหม่ดำรงตำแหน่งแทน
ประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งเพียงหนึ่งวาระเป็นเวลา 5 ปี โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สาเหตุที่มีการกำหนดวาระของการดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียวนี้เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งนี้เพราะในระหว่างทศวรรษที่ 1950 – 1970 แห่งคริสต์ศักราชที่ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประธานาธิบดีอยู่ในอำนาจได้หลายวาระจนทำให้สาธารณรัฐเกาหลีกลายเป็นรัฐเผด็จการไป
อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดีเป็นไปตามข้อกำหนด 7 ประการ ดังนี้
1. ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นตัวแทนของประเทศทั้งในระบบ
แห่งรัฐและในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ประธานาธิบดีเป็นผู้ให้การต้อนรับทูตานุทูตต่างประเทศ มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญเกียรติยศ รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านพิธีกรรมและให้อภัยโทษ หน้าที่สำคัญของประธานาธิบดีคือการปกป้องอธิปไตยของชาติให้ธำรงค์ความเป็นเอกราช ศักดิ์ศรีของชาติ และดินแดน อีกทั้งทำหน้าที่สำคัญในการรวมชาติ(กับเกาหลีเหนือ) ด้วยสันติวิธีเพื่อให้บังเกิดความสงบสุขบนคาบสมุทรเกาหลี
2.ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีจะทำหน้าที่ในการบังคับใช้
กฎหมายที่ได้ผ่านรัฐสภาแล้ว ในขณะเดียวกัน ออกพระราชกำหนด และข้อกำหนดอื่นๆเพื่อให้มีการกระทำตามกฎหมาย ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการเป็นผู้นำคณะกรรมการแห่งรัฐ และกำกับดูแลองค์กรที่ปรึกษาและหน่วยงานระดับสูง ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าหน่วยราชการและหน่วยงานการเมืองระดับสูง
3. ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ใน
การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับกองทัพ รวมทั้งมีอำนาจในการประกาศสงคราม
4.ภายใต้ระบบประธานาธิบดีของเกาหลีในปัจจุบัน ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรค และให้คำปรึกษาหารือกับพรรคในการเลือกสรรและแต่งตั้งผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูงในฝ่ายบริหาร
5.ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ากำหนดนโยบายและเป็นผู้นำในการเสนอร่างกฎหมาย เป็นผู้ชี้แจงกฎหมายที่เสนอเข้าสู่รัฐสภาด้วยตนเอง หรืออาจชี้แจงเป็นข้อเขียนก็ได้ ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภาได้ อนึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภาสามารถยื่นข้อกล่าวหา (impeach) เพื่อถอดถอนประธานาธิบดีได้
6.ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มที่ในการจัดการกับภาวะวิกฤต เช่น เกิดความยุ่งเหยิงและการจลาจลภายในประเทศ การคุกคามจากภายนอกประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยประธานาธิบดีสามารถออกพระราชกำหนด หรือ ประกาศภาวะฉุกเฉินให้เป็นผลตามกฎหมายได้เพื่อแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวจะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเปิดประชุมสภาผู้แทน นอกจากนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของสังคม จากนั้น ประธานาธิบดีต้องแจ้งแก่รัฐสภาเพื่อความเห็นชอบ หากประธานาธิบดีดำเนินการดังกล่าว คำสั่งเหล่านั้นจะไม่เป็นผลตามกฎหมาย
7.ประธานาธิบดีสามารถประกาศภาวะฉุกเฉินในกรณีที่เกิดสงคราม เกิดการสู้รบ หรือเกิดเหตุการณ์วิกฤตใดๆ การประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย
องค์กรในสังกัดสำนักประธานาธิบดี (Presidential agencies)ในการปฏิบัติภาระหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารนั้น ประธานาธิบดีจะได้รับการช่วยเหลือด้านบุคลากรและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นตรงต่อตัวเขา องค์กรเหล่านี้ได้แก่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) คณะที่ปรึกษาประชาธิปไตย และการรวมชาติโดยสันติ (Advisory Council on Democratic and Peaceful Unification)กรรมาธิการวางแผนและงบประมาณ (Planning and Budget Commission) กรรมาธิการด้านกิจการสตรี (Presidential Commission on Women’s Affairs) สภาประธานาธิบดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย(Presidential Council on Science and Technology) และ คณะกรรมการประธานาธิบดีด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Presidential Commission on Small and Medium Business) หัวหน้าของสภากรรมาธิการของแต่ละองค์กรจะมีตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี และทำหน้าที่รับผิดชอบในการตระเตรียมนโยบายให้แก่ประธานาธิบดีในภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเฉพาะขององค์กรแต่ละองค์กร
อนึ่ง นอกเหนือจากสภากรรมาธิการดังกล่าวข้างต้นนั้นแล้วยังมีอยู่อีก 2องค์กรที่ขึ้นโดยตรงต่อ ตัวประธานาธิบดี นั่นคือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และการไต่สวน (Board of Audit and Inspection) และหน่วยงานข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Service) หัวหน้าขององค์กรทั้งสองนี้จะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินและการไต่สวนนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและการไต่สวนมีอำนาจในการตรวจสอบบัญชีทุกประเภทของรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจอย่างกว้างขวางในการตรวจสอบการใช้อำนาจผิด ๆ ของข้าราชการที่มีพฤติกรรมมิชอบของเหล่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากนั้นจะต้องส่งรายงานผลการไต่สวนไปยังประธานาธิบดีและรัฐสภา
หน่วยข่าวกรองแห่งชาติมีหน้าที่ในการเก็บข่าวสารข้อมูลทางยุทธศาสตร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศอีกทั้งต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายของชาติ
นายกรัฐมนตรี (Prime Minister)
ในประเทศที่มีการปกครองระบบรัฐสภานั้น นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่สำหรับกรณีของเกาหลีใต้ซึ่งใช้ระบบการปกครองแบบประชากรชาตินายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย อันดับที่หนึ่งที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ในฐานะเป็นหัวหน้าเหล่าข้าราชการทั้งหมด ข้อมูลนับจนถึงเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1998 เกาหลีใต้มีกระทรวงหลัก 17 กระทรวง และหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (หรือเทียบเท่าทบวง) อีก 17 หน่วยงาน
นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบการใดๆที่วางไว้ว่าบุคคลที่เหมาะสมที่จะเข้าดำรงตำแหน่งนี้ควรจะเป็นเช่นไร ยกเว้นการเสนอการแต่งตั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
องค์กร/หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานประสานงานนโยบายของรัฐ (Office for Government Policy Coordination); กรรมาธิการการค้าเสรี (Fair Trade Commision); กระทรวงยุติธรรม (Ministry of Justice); สำนักงานสารนิเทศ (Office of Public Information); คณะกรรมการวางแผนภาวะฉุกเฉิน (Emergency Planning Committee ); และองค์การการบริหารผู้รักชาติ และทหารผ่านศึก (Patriots and Veterans Administration Agency)
นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการกำหนดนโยบายสำคัญๆของชาติ และเข้าร่วมประชุมรัฐสภา อนึ่ง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารงานในงานแทนประธานาธิบดีเมื่อได้รับมอบหมาย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการเสนอให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี หรือสมาชิกคณะมนตรีแห่งชาติ
คณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council)
ในการตัดสินและการแก้ไขปัญหาของชาติอยู่ที่การปรึกษาหารือ อย่างรอบคอบ
จากคณะมนตรีแห่งรัฐโดยจะใช้ฉันทามติในการกำหนดนโยบาย และกิจกรรมต่างๆของประเทศ คณะมนตรีแห่งรัฐนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ คณะรัฐมนตรี ดังเช่นของประเทศไทย คณะมนตรีแห่งรัฐนี้ปกครองด้วยสมาชิก ดังนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีราว 15-30 คน ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งเป็นประธาน และนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน เมื่อคณะมนตรีแห่งรัฐได้สรุปและให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายก่อนประกาศใช้ ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2000) คณะมนตรีแห่งรัฐประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ 17 คน รวมเป็น 19 คน
การที่คณะมนตรีแห่งรัฐ ประชุมร่วมกันเพื่อไตร่ตรองนโยบายหลักของชาติ และนำเสนอให้ประธานาธิบดีเพื่อตัดสินใจขั้นสุดท้าย อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะมนตรีแห่งรัฐเป็นเสมือนที่ปรึกษาของ ประธานาธิบดีนั่นเอง ทั้งนี้เพราะภาระหน้าที่ของคณะมนตรีแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญนั้น มิใช่เป็นองค์กรทำหน้าที่ตัดสินใจดังปรากฎในมาตรา 89 ในรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า คณะมนตรีแห่งชาติจะให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีในเรื่อง ดังต่อไปนี้
-แผนพัฒนาประเทศและนโยบายทั่วไปของกระทรวง ทบวง กรม
-การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญาสันติภาพ และเรื่องกิจการต่างประเทศ
-ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่างข้อเสนอกิจการต่างๆแห่งชาติ ร่างสนธิสัญญา ร่างกฎหมาย และร่างพระราชกำหนด
-ร่างงบประมาณแผ่นดิน การปิดงบประมาณ แผนการยกเลิกทรัพย์สินของรัฐ การทำพันธะสัญญาในเรื่องการเงิน การคลัง ของรัฐ
-คำสั่งประธานาธิบดีในภาวะวิกฤต ข้อปฏิบัติในวิกฤตการณ์ทางการคลัง และเศรษฐกิจของประเทศ และการประกาศใช้หรือยุติการใช้ภาวะฉุกเฉิน
-กิจการทางการทหารที่สำคัญ
-การขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยพิเศษ
-การมอบเหรียญรางวัลเกียรติยศ
-การอภัยโทษ
-การปรับโครงสร้างการบริหารงาน ของแต่ละกระทรวง
-แผนการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดสรรอำนาจของฝ่ายบริหาร
-การประเมินและวิเคราะห์ความก้าวหน้าในนโยบายที่สำคัญของรัฐ
-การกำหนดนโยบายและความร่วมมือของแต่ละกระทรวง
-คำสั่งการยุบพรรคการเมือง
-พิจารณาคำร้องและส่งคำร้องต่อฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายของรัฐบาล
-แต่งตั้งอัยการสูงสุด อธิการบดีมหาวิทยาลัย เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และข้าราชการ รวมทั้งผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจที่ได้รวมไว้ในกฎหมาย
-กิจการอื่นใดที่ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกของคณะมนตรีแห่งรัฐเสนอให้พิจารณา
「คณะรัฐมนตรี36คน」的推薦目錄:
- 關於คณะรัฐมนตรี36คน 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於คณะรัฐมนตรี36คน 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於คณะรัฐมนตรี36คน 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於คณะรัฐมนตรี36คน 在 iLaw - คณะรัฐมนตรีชุด "ประยุทธ์ 2" หรือ "คสช. 2" ชุดที่ใช้เวลา ... 的評價
- 關於คณะรัฐมนตรี36คน 在 ปรับครม. "ธนกร" ขึ้นแท่นเป็นรัฐมนตรี | เข้มข่าวค่ำ | 30 พ.ย. 65 的評價
คณะรัฐมนตรี36คน 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"ที่มาและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร : ในฐานะฝ่ายการเมืองของประเทศไทย
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
1.ที่มาของฝ่ายบริหาร
ที่มาของฝ่ายบริหารในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดินและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้แบ่งฝ่ายบริหารออกเป็น 2 ระดับ คือ “ฝ่ายการเมือง” (Political Affairs) กับ “ฝ่ายประจำ” ที่เรียกว่า “องค์กรฝ่ายปกครอง” (Administration) แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงที่มาฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายการเมืองที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในการกำหนดนโยบายของรัฐหรือเรียกว่า “การกระทำทางบริหาร” (Ministerial Act) หรือ เป็น “การกระทางรัฐบาล” (Act Government)ในการบริหารราชการแผ่นดิน นั้นแยกพิจารณาถึงฝ่ายบริหารของประเทศไทย ประกอบด้วย ประมุขของรัฐซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังนี้
1.1 พระมหากษัตริย์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีประมุขของรัฐ (Head of State) ที่เป็นพระมหากษัตริย์ (King) โดยการสืบราชสมบัติเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2476 พระมหากษัตริย์อาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติประมุขของรัฐของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันประมุขของรัฐเป็นชาย มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข้อสังเกต พระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย มิได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยมาตั้งแต่เดิม ดังนี้
1. เกิดจากความเชื่อที่สำคัญของคนไทย เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงประกอบด้วย “พระปุพเพกตปุญญตา ซึ่งแปลว่า ทรงทำความดีมาอย่างวิเศษกว่าคนอื่นๆในชาติปางก่อน” จึงทรงประสูติมาอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าคนอื่นๆ เมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้วก็มีพระราชปณิธานที่จะประกอบคุณงานความดีด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรและทำนุบำรุงพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ของคนไทยจึงเป็นพระธรรมราชาหรือพระธรรมิกราชาในสายคนไทย
2. เกิดจากความผูกพันของคนไทย ความผูกพันของพระมหากษัตริย์กับประชาชนคนไทยมมิได้ผูกพันในฐานะผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองอย่างทฤษฎีทางการเมืองตะวันตก แต่เป็นการผูกพันจากหัวจิตหัวใจที่พระมหากษัตริย์ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ด้วยความรักความเมตตา มิได้เป็นไปโดยข้อสัญญาที่มาจากการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นไปตามธรรมนิติที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดถือปฏิบัติมาตลอดว่า “...ผู้ปกครองบ้านเมืองพึงเอาใจใส่ดูแลประชาชน ทำนองเดียวกับ แม่เฒ่า แม่ปลาแม่ไก่และแม่โคเลี้ยงดูลูกของมันฉันนั้น”
1.2 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร
นายกรัฐมนตรี คือ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารในการบริหารปกครองระบบรัฐสภาที่คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินโดยความวางไว้วางใจและความรับผิดชอบต่อรัฐสภา ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดในทางการเมืองและการปกครอง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับโดยทั่วไป การบริหารราชการแผ่นดินและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการทั่วไป ฯลฯ
1.3 คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มี คณะรัฐมนตรี (Cabinet) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนและคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน รวมเป็น 36 คนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนรัฐมนตรีจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่มาจากสมาชิกวุฒิสภา
1.4 รัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี คัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนหรืออาจเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่ารัฐมนตรีนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสม คือ ไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ หรือเรียกว่า “การบริหารราชการแผ่นดิน” และเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี (Minister) แล้วจะเป็นสมาชิกรัฐสภาในเวลาเดียวกันก็ได้ และที่สำคัญก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วย
2. อำนาจหน้าท่ีของฝ่ายบริหารของประเทศไทย
ในประเพณีการปกครองในระบบรัฐสภาของประเทศไทยนั้นการกระทำของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีนั้นจำต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) และองค์พระมหากษัตริย์ในขณะเดียวกัน ซึ่งเราเรียกว่า “ระบบรัฐสภาแบบอำนาจคู่” (dualist) การกระทำของรัฐฝ่ายบริหาร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงการกระทำของรัฐบาลหรือการกระทำของฝ่ายบริหารซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วน คือ
2.1 การกระทำของฝ่ายบริหารในฐานะประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์
การกระทำพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหารสามารถแยกพิจารณาจากอำนาจของพระมหากษัตริย์ คือ การกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะกับการกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามแบบพิธี ดังนี้
2.1.1 การกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
การกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงพระราชอำนาจในการตัดสินใจของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมราชวินิจฉัยโดยหากเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์สามารถมีพระราชดำริขึ้นเองได้และสามารถตัดสินพระทัยไปได้โดยพระราชอัธยาศัยแล้วก็ดี ก็ให้ถือว่าเป็นกรณีที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะทั้งสิ้น แยกอธิบายได้ดังนี้
1.การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ และสามารถกระทำได้โดยง่าย กล่าวคือ ให้เป็นไปตามพระราชดำริของพระมหากษัตริย์โดยองคมนตรีเป็นผู้จัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลฯขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงปรมาภิไธย แล้วจึงส่งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อแจ้งเพื่อทราบ
ข้อสังเกต รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลฯแต่ประการใด เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่เพียงรับทราบเท่านั้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลฯ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เป็นเรื่องพระราชอำนาจส่วนพระองค์และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรใดทั้งสิ้น
2.การยับยั้งร่างกฎหมาย เป็นการใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองโดยแท้ คือ การใช้พระราชอำนาจในอันที่จะ ยับยั้ง (VETO) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว โดยเมื่อรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว ประธานรัฐสภาจะต้องส่งร่างกฎหมายนั้นให้แก่นายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายและเมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์
3. การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีและการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง คณะองคมนตรี หมายถึง คณะผู้ทรงคุณวุฒิที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย โดยในอดีตเคยใช้ชื่อ ปรีวีเคาน์ซิล (สภาที่ปรึกษาในพระองค์) ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ก็ ได้นำมาบัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งองคมนตรีเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งตามอัธยาศัยตามมาตรา 12 และ 13
4.การแต่งตั้งและให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 17 กำหนดให้เป็นพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและให้พ้นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์และสมุหราชองครักษ์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เนื่องจากการแต่งตั้งและให้พ้นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์และสมุห ราชองครักษ์นั้นเป็นกิจการภายในพระราชฐาน จึงเป็นบุคคลที่พระมหากษัตริย์มีความไว้วางใจพระราชหฤทัยให้มาประจำหน้าที่
5.การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการ (Regent) หมายถึง ผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือในพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ โดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากการที่พระมหากษัตริย์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ทรงประชวร หรือทรงอยู่ในต่างประเทศ จึงต้องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นมาเพื่อดำเนินการบริหารราชแผ่นดินแทนพระมหากษัตริย์
2. 2.2 การกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามแบบพิธี
การกระทำที่เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามแบบพิธี เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้เกิดจากการมีพระราชดำริขึ้นเองหรือเป็นเรื่องที่พระองค์จะใช้พระราชอำนาจตามอัธยาศัยได้โดยตลอดเพราะจำเป็นต้องมีบุคคลใดเป็นผู้เสนอเรื่องขึ้นเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าวเสียก่อนและจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทนพระองค์ด้วย จึงจะเป็นการใช้พระราชอำนาจที่มีผลในทางกฎหมาย ดังนี้
1.การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของการปกครองในระบบรัฐสภาของไทยมีนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้คัดเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อทูลเกล้าฯให้พระมหากษัตริย์ทรงพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนต
2.การแต่งตั้งรัฐมนตรีและการให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี คัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนหรืออาจเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่ารัฐมนตรีนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสม
3.การแต่งตั้งและให้ข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า พ้นตำแหน่งตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทรงแต่งตั้งและให้ข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า พ้นตำแหน่งตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่าถือว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญของข้าราชการในแต่ฝ่าย ซึ่งถือเป็นมือไม้ให้กับคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2.2 การกระทำของฝ่ายบริหารในฐานะรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารในฐานะรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีกับการบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดนโยบายและวางแนวทางในการปกครองประเทศ ซึ่งมีฐานะรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีกระทำร่วมกัน มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหารกระทำการตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนและตรงตามนโยบายที่ได้แถลงไว้กับฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้อำนาจทางการเมืองหรือการกระทำทางการเมือง ซึ่งเรียกว่า "ฝ่ายการเมือง" คือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ซึ่งใช้อำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดนโยบายที่เรียกว่า “การกระทำทางรัฐบาล” หรือ เรียกว่า “การกระทำทางการเมือง” และการกำกับดูแลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดย “ฝ่ายประจำ” หรือเรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการกระทำของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะรัฐบาลหรือในฐานะคณะรัฐมนตรีที่ปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เท่านั้น ดังนี้
2.2.1 การกำหนดนโยบายในการปกครอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ว่าก่อนที่ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล) จะเข้ารับหน้าที่ ต้องมีการแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ก็ต้องกำหนดนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของรัฐบาล ของกระทรวง และของรัฐมนตรีแต่ละคน ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ก่อนจึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้ นโยบายที่รัฐบาลนำเสนออาจเป็น
1.นโยบายทั่วไปในการจัดการปกครองภายในประเทศ เช่น การปฏิรูประบบราชการ การแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น
2.นโยบายเกี่ยวกับการต่างประเทศ เช่น การมีความสัมพันธไมตรีและการค้ากับต่างประเทศ การทำสนธิสัญญา เป็นต้น
2.2.2 การกำกับดูแลนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยฝ่ายปกครอง
การกำกับดูแลนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยฝ่ายประจำหรือฝ่ายปกครอง เมื่อกำหนดแล้ว คณะรัฐมนตรีย่อมมีอำนาจดำเนินการหรือปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้ คือ การกำกับดูแล การนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดยฝ่ายประจำหรืออาจเรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” คณะรัฐมนตรีมีอำนาจดังนี้
1.ออกกฎหมายบางประเภทได้ คือ ออกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ที่อาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้น
2.แต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนให้คุณให้โทษข้าราชการ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ในระดับตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า เป็นต้น
2.2.3 การเสนอร่างกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1. ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2.ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเสนอร่างกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ คือ เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ
2.2.4. การออกกฎหมายและประกาศใช้กฎอัยการศึก
โดยหลักการแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ออกกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติมาบังคับใช้แก่ประชาชนและให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้นำกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ออกมาบังคับใช้กฎหมาย เมื่อฝ่ายบริหารนำกฎหมายมาใช้บังคับแก่ประชาชน ฝ่ายบริหารจะประสบอุปสรรคบางประการเช่น ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ฝ่ายบริหารจะขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขกฎหมาย ก็อาจจะเป็นการเสียเวลาเพราะฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้มีการประชุมตลอดปีและถ้ารอคอยฝ่ายนิติบัญญัติแล้วประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นหรือบางกรณีถ้ามีเหตุการณ์ร้ายแรงจากภายนอกประเทศ ฝ่ายบริหารจะต้องสามารถดำเนินการได้โดยฉับพลันทันท่วงที รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ คือ พระราชกำหนด ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกพระราชกฤษฎีกาได้และให้อำนาจฝ่ายบริหารประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นดังนี้
2.2.4.1 การตราพระราชกำหนด
การตราพระราชกำหนด (Royal Act) หมายถึง กฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงอาศัย พระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญถวายแก่พระองค์ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีและมีค่าบังคับเช่นพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารตราพระราชกำหนดได้ 2 กรณี เท่านั้น คือ
1.กรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ความมั่นคงของรัฐหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ดังนี้
1)เป็นไปเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ (ความมั่นคงของรัฐ) หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องภัยพิบัติสาธารณะ (การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ)
2)ทำได้เฉพาะเมื่อฝ่ายบริหาร เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
2.กรณีที่มีความจำเป็นจะต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนหรือลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งต่ออยู้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1)อยู่ในระหว่างสมัยประชุม
2)มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา
3)จะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
แต่อย่างไรก็ตามพระราชกำหนดที่ประกาศใช้แล้วเมื่อถึงสมัยประชุมสภานิติบัญญัติจะต้องนำพระราชกำหนดที่ประกาศใช้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติผ่านพิจารณาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นจะกลายเป็นพระราชบัญญัติทันที แต่ถ้าพระราชกำหนดนั้นไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นจะตกไป
2.2.4.2 การตราพระราชกฤษฎีกา
การตราพระราชกฤษฎีกา (Royal Decree) ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจบริหารโดยพระมหากษัตริย์ตามที่คณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ ซึ่งการตราพระราชกฤษฎีกาในเรื่องที่ไม่เกินอำนาจของฝ่ายบริหารหรือเกินกว่าอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติกำหนดไว้
ข้อสังเกต พระราชกฤษฎีกามีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญซึ่งอาจจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดระเบียบการบริหารราชการหรือแบบพิธีบางอย่าง เช่น การออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมาใหม่การออกพระราชกฤษฎีกาในกรณียุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่การออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อเรียกประชุมขยายเวลาประชุมและปิดประชุมรัฐสภา เป็นต้น หรือการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องที่สำคัญบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น การออกพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนกระทรวง ทบวงกรม เป็นต้น
2. พระราชกฤษีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสหการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เป็นต้น
2.2.4.3 การประกาศใช้กฎอัยการศึก
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2475 เป็นมาตรการที่ให้อำนาจฝ่ายบริหาร คือ ฝ่ายทหารในการักษาเอกราช ความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เมื่อฝ่ายทหารจะได้ดำเนินการได้อย่างเฉียบขาด รวดเร็ว ตลอดจนการดำเนินคดีในศาล การประกาศใช้กฎอัยการศึกตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2475 มีอยู่ 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีเมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ปราศจากภัยซึ่งจะมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักร เป้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะประกาศพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึกทุกมาตรหรือบางมาตรา ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขการบังคับใช้ในส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในราชอาณาจักร
2. กรณีเมื่อสงคราม
3. กรณีเมื่อมีจลาจล
การประกาศใช้กฎอัยการศึกในกรณีที่ 2 และที่ 3 นั้นผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของทหารนั้น แล้วต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด ซึ่งในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่หากนอกเขตใช้กฎอัยการศึกหรือในเรื่องอื่นอันไม่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฝ่ายทหารจะไม่มีอำนาจดังกล่าวเหนือพลเรือน
2.2.5 การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญโดยนายกรัฐมนตรี
หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานสภาวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า
ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้แต่มิใช่กรณีตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไปและให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา 150 หรือแล้วแต่กรณีไป
2.2.6 การยุบสภา
การยุบสภา (Dissolution of Parliament) หมายถึง การที่ประมุขของรัฐ คือ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของฝ่ายบริหารประกาศให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมาหัวหน้าฝ่ายบริหารได้แก่ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ถวายคำแนะนำและลงนามสนองบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกาทุกครั้ง การยุบสภาจึงเป็นวิธีการที่ฝ่ายบริหารใช้ในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการคืนอำนาจให้กับประชาชนในการเลือกตั้งตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติใหม่
2.2.6.1 วัตถุประสงค์ของการยุบสภา
วัตถุประสงค์ของการยุบสภา คือ เป็นการหาทางออกของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ตามวิถีทางประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ การยุบสภาผู้แทนราษฎรก็เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ต่อประชาชน โดยให้ประชาชนตัดสินว่า ข้อขัดแย้งที่มีอยู่นั้นใครเป็นฝ่ายถูก
2.2.6.2 หลักการสำคัญของการยุบสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้วางหลักการสำคัญในกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ดังนี้
1. การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากพระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง ดังนั้นจะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯขอพระบรมราชานุญาตเท่านั้น
2. การยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมมีผลเป็นการยุบสภาทันที ในการนี้ย่อมต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎรและวันเลือกตั้งต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
3. การยุบสภาผู้แทนราษฎรกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน หมายถึง หากจะมีการยุบสภาอีกครั้ง มิอาจอ้างเหตุผลหรือเหตุการณ์ที่ใช้ในการยุบสภาครั้งก่อนได้
4. การยุบสภาผู้แทนราษฎรกระทำลงก่อนครบวาระของสภา คือ สามารถกระทำในเวลาใดก็ได้ ในช่วงก่อนสภามีวาระครบ 4 ปี แม้อยู่ในช่วงปิดสมัยประชุม แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีกรณีการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแล้ว ย่อมไม่สามารถยุบสภาได้
5. การยุบสภาผู้แทนราษฎรทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ส่วนสมาชิกภาพของวุฒิสภาหาได้สิ้นสุดลงจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ ดังนั้นยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้
1) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา เช่น การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล การแต่งตั้งรัชทายาท การให้ความเห็นชอบประกาศสงคราม เป็นต้น
2) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
3) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
2.2.6.3 ผลทางกฎหมายที่เกิดจากการยุบสภา
เมื่อมีการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรผลทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่เกิดจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลดังนี้
1. ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทันที จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้
2. ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งหรือคณะรัฐมนตรีอยู่ตำแหน่งไม่ได้ แต่คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่
2.2.7 การกระทำอื่นๆที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
การกระทำอื่นๆที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นๆกับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น
คณะรัฐมนตรี36คน 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
รวมแถลงการณ์ค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม (อัพเดท 1 พ.ย. 2556)
Sat, 2013-11-02 11:16
หลายกลุ่มออกแถลงการณ์และจดหมายเปิดผนึก คัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอที (1 พ.ย. 2556)
แถลงการณ์กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอที
ตามที่สภาผู้แทนราษฎรภายใต้การสนับสนุนของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลได้ผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ในวาระที่สามเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 และมีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา ๓ ความบางส่วนว่า
“..หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งภาย หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง..”
ซึ่งพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว แปลความหมายได้ว่ามีเจตนาและความมุ่งหมายที่จะลบล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีทุจริตต่าง ๆ และให้คดีที่ยังค้างคาเป็นอันต้องยุติไป ให้ผู้กระทำความผิดในคดีทุจริต ทั้งในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ พ้นจากความรับผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิงนั้น
พวกเราในฐานะ กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอที เห็นว่าการผ่านพรบ.ดังกล่าวจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการต่อสู้คอร์รัปชันในประเทศไทยและทำลายกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายลงอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ถ้อยคำในร่างมาตรา ๓ เป็นการส่งเสริมการกระทำทุจริต ส่งผลให้ผู้มีส่วนสมรู้ร่วมคิดทั้งตัวการ ผู้สนับสนุน และผู้ถูกใช้ให้กระทำ ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งจะทำให้คอร์รัปชันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นจนมิอาจประมาณความสูญเสียได้
2. การล้างผิดในคดีทุจริตเป็นการทำลายระบบคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมอย่างร้ายแรง สังคมไทยและโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนชาติ จะมีค่านิยมใหม่ว่าโกงแล้วไม่มีความผิด โกงแล้วล้วนได้แต่ผลดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวทางสังคมอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าจะแก้ไขได้
3. ถ้อยคำในร่างกฎหมายดังกล่าวส่งผลเสียโดยตรงและอย่างรุนแรงต่อผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากถูกตัดโอกาสที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมให้ถึง ที่สุด หมดโอกาสที่จะได้ใช้ความจริงพิสูจน์ข้อกล่าวหาและลบล้างความระแวงแคลงใจของคนในสังคม ที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็จะหมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่สามารถทำให้สังคมเชื่อในคำตัดสิน และไม่สามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษตามครรลองของกฎหมาย เพื่อชดใช้และรับผิดต่ออาชญากรรมร้ายแรงที่กระทำต่อแผ่นดินและคนไทยทั้งประเทศได้
4. ถ้อยคำในร่างมาตรา ๓ ดังกล่าว เกี่ยวพันกับประเด็นสาธารณะนำมาซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นล้างผิด ทำลายหลักสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่พวกเราล้วนยึดถือเป็นหลักในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พวกเราในฐานะครูบาอาจารย์ที่สังคมให้การยอมรับนับถือ ได้สังเกตเห็นปรากฎการณ์ทางสังคมเหล่านี้มาระยะเวลาหนึ่ง มองเห็นความสั่นคลอนทางสังคมในหมู่ลูกศิษย์ของพวกเรา ที่ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มสีใด แม้จะมีความเห็นทางการเมืองต่างกัน แต่ก็ล้วนลุกขึ้นมาต่อสู้คัดค้านประเด็นสาธารณะนี้ร่วมกันด้วยหัวใจบริสุทธิ์ พวกเราไม่สามารถปล่อยให้อนาคตของชาติเหล่านี้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวได้ พวกเราเห็นควรแสดงจุดยืนและตอกย้ำน้ำหนักให้ลูกศิษย์เหล่านั้นสามารถเชื่อมั่น ในหลักการเหล่านี้อย่างเต็มภาคภูมิ เชื่อมั่นในเราในฐานะอาจารย์ เชื่อมั่นว่าประเทศชาติจะยังคงเดินหน้าต่อไปได้ร่วมกัน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอทีจึงขอยืนยัน คัดค้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และเน้นย้ำจุดยืนว่าบรรดาคดีในฐานความผิดคอร์รัปชันและคดีอาญาทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องของกระบวนการยุติธรรมในสังคม
ลงชื่อกลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอที ดังต่อไปนี้
1. รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ สถาบันไอเอ็มซี
2. ผศ.ดร เกริก ภิรมย์โสภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. อ.เชษฐ พัฒโนทัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. ผศ.นครทิพย์ พร้อมพูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ผศ.ดร.สุกรี สินธุภิญโญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ผศ.ดร. จารุโลจน์ จงสถิตย์วัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. รศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. ผศ.ดร.เขมะฑัต วิภาตะวนิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. รศ. ณัฐวุฒิ ขวัญแก้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. ดร.ธนาวินท์ รักธรรมานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
13. ดร.พีระ ลิ่วลม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14. รศ.ดร.อุศนา ตัณฑุลเวศม์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15. ดร.มนต์ชัย โศภิษฐกมล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16. รศ.ยืน ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
17. อ.กรวิทย์ ออกผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
18. ผศ.ดร.ชวลิต ศรีสถาพรพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19. ดร.วาธิส ลีลาภัทร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
20. ดร.กรชวัล ชายผา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
21. ดร.วิชชา เฟื่องจันทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
22. ผศ.บุญฤทธิ์ กู้เกียรติกูล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
23. อ.อภิศักดิ์ พัฒนจักร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
24. รศ.ดร.ตรัสพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25. ดร.นราธิป เที่ยงแท้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26. รศ.ดร.สรรพวรรธน์ กันตะบุตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27. ดร.ศรัญญา กันตะบุตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28. ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
29. ดร.จักริน สุขสวัสดิ์ชน มหาวิทยาลัยบูรพา
30. ดร.อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน มหาวิทยาลัยบูรพา
31. ดร.เอกสิทธิ์ เทียมแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
32. อ.พรพจน์ หันหาบุญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
33. ดร.ปกป้อง ส่องเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. ผศ.วิรัตน์ จารีวงศ์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. ดร.วนิดา พฤทธิวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
36. รศ. ดร. ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. ดร.ภิญโญ แท้ประสาทสิทธิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
38. อ.โอภาส วงษ์ทวีทรัพย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
39. อ.สุธน แซ่ว่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
40. ดร.ฐิติมา ศรีวัฒนกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
41. อ.อารยา ฟลอเรนซ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
42. ดร.ประสิทธิ์ นครราช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
43. ผศ.ดร.มงคล ปุษยตานนท์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
44. ผศ.ดร.บงกช สุขอนันต์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
45. อ.ชยพล เหมาะเหม็ง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
46. รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
47. ดร.รุ่งรัตน์ เวียงศรีพนาวัลย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
48. ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
49. นายเจษฎา จงสุขวรากุล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
50. อ.จินดาพร หมวกหมื่นไวย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
51. อ.ทัศนีย์ กรองทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
52. อ.พรพิมล ตั้งชัยสิน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
53. อ.จีระพร สังขเวทัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
54. อ.นิรมิษ เพียรประเสริฐ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
55. อ.พนมยงค์ แก้วประชุม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
56. อ.สุทธิพงษ์ พงษ์วร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
57. อ.สุชิรา มีอาษา โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จ.นครนายก
58. อ.สุนันทา พุฒพันธ์ โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม จ.ยโสธร
59. อ.เสาวลักษณ์ เจ่าสกุล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
60. อ.วรวุฒิ วงศ์วีระขันธ์ โรงเรียนบ้านมูลนาค จ.ขอนแก่น
61. อ.สิริศักดิ์ สีนวล โรงเรียนปิยะจิต กรุงเทพฯ
ขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม (1 พ.ย. 2556)
ในสถานการณ์ที่การเมือง สังคมไทยกำลังถกเถียงเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ในขณะนี้
ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายคัดค้าน และล่าสุด สภาผู้แทน ฯ ได้ลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ไปแล้ว โดยต่อไปก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการของวุฒิสภา
สถานการณ์ดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความตรึงเครียดของคนในสังคม ซึ่งกังวลว่า ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับดังกล่าว จะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งรอบใหม่
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จึงขอแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วยต่อการผลักดัน ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับดังกล่าว จึงได้ออกแถลงการณ์ เพื่อแสดงจุดยืนในครั้งนี้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
เชื่อมั่นในพลังประชาชน
บก.ลายจุด (1 พ.ย. 2556)
"จม ถึงคุณทักษิณ และ พรรคเพื่อไทย"
ผมไม่สามารถกล่าวแสดงความยินดีกับคุณทักษิณได้
แต่อยากให้กำลังใจคุณทักษิณทำสิ่งที่ยากลำบากนี้ให้สำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำครั้งนี้และมองไม่เห็นประโยชน์รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำประเทศชาติกลับสู่ความสงบสุขดังที่คุณทักษิณกล่าว แต่ผมตระหนักอยู่เสมอว่าสิ่งที่ผมเห็นเบื้องหน้าในขณะนี้นั้นไม่ใช่สิ่งที่คุณทักษิณมองไม่ออก นี่คือสิ่งที่คุณทักษิณและพทได้คำนวนอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจะต้องเผชิญกับต้นทุนและความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่นั่นไม่ทำให้ความมุ่งมั่นที่จะผลักดัน พรบ นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยนี้หยุดลง นั่นเพราะคุณเห็นว่านี่คือหนทางเดียวและไม่มีทางเลือกอื่นแล้วจึงยืนยันเช่นนั้น
ภาพรวมที่ผมเห็นและที่คุณทักษิณเห็นไม่เท่ากัน และอาจให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านั้นแตกต่างกัน ต่อจากนี้พรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณซึ่งเป็นคนตัดสินใจเรื่องนี้ต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น และต้องประคับประคองสถานการณ์บ้านเมืองให้ไปถึงการลดความขัดแย้งและการเริ่มต้นใหม่ดังที่ได้ประกาศไว้ให้จงได้ หรือไม่ก็ใกล้เคียง
ไม่ต้องห่วงว่าเสื้อแดงที่เห็นต่างจะล้มรัฐบาลที่เราเลือกมากับมือ แต่ก็ไม่มีหลักประกันหรือข้อผูกพันใด ๆ ที่พวกเราจะต้องเลือกคุณเป็นรัฐบาลในทุกครั้งไป
บก.ลายจุด
แดงเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มวันใหม่ (1 พ.ย. 2556)
แถลงการณ์ร่วม กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มวันใหม่
เรื่อง การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอย
ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้มีมติในการประชุมพิจารณาวาระที่สองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2556 ให้แก้ไขเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติให้มีผลกับการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ หรือผู้ถูกใช้ แต่ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งจะทำให้มีผลครอบคลุมไปถึงผู้นำฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารที่มีอำนาจสั่งการสลายการชุมนุม และแกนนำผู้ชุมนุมประท้วงทุกฝ่ายด้วย และในเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติในการประชุมวาระที่สาม เป็นคะแนนเสียงเห็นชอบ 310 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 314 คน รับร่างพระราชบัญญัติแล้วนั้น
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยมีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนี้เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและสวัสดิภาพของประชาชน ทั้งยังเป็นการบิดเบือนหลักนิติรัฐและประชาธิปไตย เพราะในสังคมที่ยึดถือไว้ซึ่งหลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น ประชาชนย่อมคาดหวังว่าตนจะสามารถแสดงออกและเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองได้โดยได้รับความคุ้มครองโดยรัฐและกฎหมายจากภยันตรายต่างๆ และผู้ใดที่ประทุษร้ายต่อประชาชนก็ผู้นั้นก็จะต้องได้รับโทษ ถ้าหากว่าการนิรโทษกรรมเปิดช่องให้แกนนำผู้ชุมนุมและผู้มีอำนาจสั่งการของภาครัฐได้หลุดพ้นจากความผิดและข้อกล่าวหาทั้งปวงด้วยแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดที่ต้องมาเหลียวแลต่อความเสียหายของประชาชนอีก คนที่ตายก็ตายเปล่า คนที่เจ็บก็เจ็บฟรี คนที่ยังอยู่ก็ต้องอยู่อย่างหัวหด ไม่กล้ามีปากเสียงเพราะไม่มีหลักประกันว่าตัวเองจะไม่ตายเปล่าหรือเจ็บฟรี สังคมที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยย่อมไม่อาจยอมรับสภาพเช่นนี้ได้ และยิ่งเมื่อการกระทำดังว่านี้เป็นฝีมือของผู้แทนของประชาชนที่เคยรับปากไว้อย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะทวงคืนความเป็นธรรมให้กับผู้เสียหาย และยังเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจแห่งหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญมาใช้อย่างบิดเบือนด้วยแล้ว ยิ่งยอมรับไม่ได้
กว่าแปดสิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยของเราได้พยายามที่จะพัฒนาโครงสร้างแห่งระบอบประชาธิปไตยให้ทัดเทียมกับบรรดาประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย เรามีทั้งรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีศาลและองค์กรอิสระที่คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลมากมายเต็มไปหมด มีอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งโดดเด่นอยู่ใจกลางเมืองหลวง แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยให้ความสำคัญและพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังนั่นคือวัฒนธรรมแห่งระบอบประชาธิปไตย วัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจสูงสุด การปกครองด้วยหลักนิติรัฐ การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของประชาชน ประเทศไทยจึงยังคงมีผู้ก่อรัฐประหารที่สามารถเชิดหน้าชูตาอยู่ในแวดวงการเมืองได้ ยังคงมีคนเรียกร้องให้ทหารปกครองประเทศแทนพลเรือน ยังคงมีนักการเมืองที่ลืมคำสัญญาที่ให้กับประชาชนอย่างง่ายดาย ยังคงมีพรรคการเมืองที่เป็นเพียงเครื่องมือพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้นำพรรคเหนือผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้งพรรค และยังคงมีการนิรโทษกรรมให้กับแกนนำและผู้สั่งการเพื่อเป็นทางออกสำหรับชนชั้นนำด้วยกันเองโดยไม่เห็นหัวประชาชนผู้เสียหายอยู่ตราบจนทุกวันนี้ วัฒนธรรมประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่สังคมประชาธิปไตยขาดไม่ได้ และหนึ่งในวัฒนธรรมที่สังคมที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยจะต้องคำนึงถึง คือ การไม่ยอมให้ผู้ใดที่บงการให้เกิดการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยและประทุษร้ายต่อประชาชนผู้แสดงออกทางการเมืองสามารถลบล้างความผิดที่ตนมีและโทษที่ตนต้องรับได้
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยจึงขอประกาศว่า เราจะไม่ยอมรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอยฉบับนี้เด็ดขาด ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาหลังจากนี้หยุดยั้งการผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้จงได้ และขอเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยผู้ริเริ่มการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอยในครั้งนี้ ทบทวนถึงบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้พิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตยและผลประโยชน์ของประชาชน หากมีโอกาสได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติอีกครั้งจะต้องไม่กระทำการซ้ำรอยเดิม และยุติความพยายามใดๆ ที่จะนิรโทษกรรมให้กับแกนนำผู้ชุมนุม และผู้มีอำนาจสั่งการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนอีก
ทั้งนี้ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยเคยแสดงจุดยืนต่อการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองไว้ว่า จะต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับแกนนำผู้ชุมนุมและผู้มีอำนาจสั่งการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน เพราะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำของมวลชนและผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะต้องนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 112 เพราะมาตรานี้ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง จะต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับต่างๆ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการโดยตรง จะต้องดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างเร่งด่วนที่สุด และจะต้องมีมาตรการเยียวยาแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อิสรภาพ และทางทำมาหาได้ และในวันนี้เรายังคงยืนยันในจุดยืนนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ขอให้ทุกท่านอย่ามองแต่เพียงว่าเราเรียกในครั้งนี้เพื่อแก้แค้นหรือเป็นการจองล้างจองผลาญอย่างไม่จบสิ้น สิ่งที่เรามุ่งหวังคือการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง และการสร้างบรรทัดฐานแห่งสังคมประชาธิปไตยที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดบงการประทุษร้ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด แล้วหาทางนิรโทษกรรมตัวเองในภายหลังอยู่เรื่อยไป เพื่อให้การเมืองไทยมีความเข้มแข็ง เราเชื่อมั่นว่า หากการเรียกร้องในครั้งนี้เป็นผลสำเร็จ จะเป็นการยืนยันถึงความเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประชาชน และจะเป็นก้าวที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมแห่งระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงสืบต่อไป
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มวันใหม่
1 พฤศจิกายน 2556
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (31 ต.ค. 2556)
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ตามจดหมายเปิดผนึก ดังนี้
จดหมายเปิดผนึก
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมือง
ด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการซึ่งนานาประเทศต่างให้การคุ้มครองรับรองว่า สำคัญยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่จะดำรงตนด้วยความปลอดภัย อิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ยังได้ยืนยันโดยปรารภไว้ว่า เป็นการจำเป็นที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
นายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ ๒๔ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของประชาธิปไตยเราไม่สามารถและต้องไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และต้องสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตยด้วยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งประชาธิปไตยยังไม่ใช่เพียงเสียงข้างมาก แต่เป็นการใช้อำนาจในวิถีทางที่เคารพต่อเสียงส่วนน้อยด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายในราชอาณาจักรไทย ณ ปัจจุบัน อยู่ในสภาวะที่ละเอียดอ่อน ประชาชนอันเป็นองคาพยพที่สำคัญยิ่งของรัฐยังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะนับแต่ได้มีความขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างรุนแรง และการละเมิดต่อกฎหมายอันเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐซึ่งสำคัญยิ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการโต้แย้งในการตรากฎหมาย และเนื้อหาแห่งร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พ.ศ. .... ในกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภาเนื่องด้วยมีทั้งกระแสสนับสนุนและคัดค้านของประชาชนในสังคมและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง สุ่มเสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคง การดำรงอยู่ของหลักนิติรัฐหลักนิติธรรมหลัก ธรรมาภิบาล อันเป็นสาระสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเช่น การลบล้างความผิดร้ายแรงซึ่งได้กระทำโดยเจตนาล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อาจนำไปสู่การเป็นเยี่ยงอย่างให้มีการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนซ้ำอีกในอนาคต
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
๑) การพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ที่อยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา จะต้องยึดถือหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมหลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR)และที่ปรากฏในหลักการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการต่อต้านการไม่ต้องรับผิดของผู้ทำผิด (Set of Principles for the Protection and Promotion of Human Rights Through Action to Combat Impunity --- สหประชาชาติรับรองเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๕) ดังนั้น การตรากฎหมายที่มีความละเอียดอ่อนสมควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
๒) ควรเร่งรีบพิจารณาถึงสวัสดิภาพของประชาชนที่มิใช่ผู้นำทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองไปในทิศทางใด แต่ได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การถูกจับกุม การถูกกักขัง การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือการถูกจำคุกด้วยเหตุที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง เพื่อให้เกิดผลเห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงเห็นสมควรเสนอเจตจำนงมายังท่านเพื่อร่วมกันยึดมั่นในหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมหลักธรรมาภิบาล หลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สำคัญอย่างยิ่งจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย (31 ต.ค. 2556)
แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย
พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมกำลังสร้างวิกฤติที่อาจจะนำหายนะมาสู่สังคมไทย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยอันเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักวิชาการทั่วประเทศ ที่ได้ช่วยเสนอทางออกให้แก่สังคมมาในวิกฤติต่างๆ มาหลายครั้งแล้ว ได้วิเคราะห์ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เห็นว่าสังคมไทยทุกภาคส่วนควรจะต้องร่วมกันแก้ไขวิกฤติดังกล่าว ดังนี้
หนึ่ง รัฐบาลคือเจ้าภาพหลักที่ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ ด้วยเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและวิสัยทางการเมืองการปกครอง อีกทั้งรัฐบาลนี้ก็ได้นำเสนอเป็นนโยบายมาตั้งแต่ที่ได้หาเสียงเลือกตั้ง ร่วมกับที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา นั่นก็คือนโยบายที่จะสร้างความปรองดอง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐสภา ที่ความจริงรัฐบาลก็คุมเสียงข้างมาก แต่ก็ได้ปล่อยให้ปัญหาได้สั่งสมมาถึงขนาดนี้ รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขให้ปัญหานี้ยุติโดยเร็ว เช่น ขอให้ ส.ส.ของรัฐบาลถอน พ.ร.บ.นี้เสียก่อน แล้วไปเริ่มกระบวนการสร้างความปรองดองทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดึงมาสู่การสร้างความปรองดองทางการเมืองต่อไป
สอง พรรคการเมืองและนักการเมืองที่แตกแยกกันอยู่ ที่ต่างก็มีมวลชนเป็นแนวร่วมจำนวนมาก ต้องไม่นำมวลชนออกมาเผชิญหน้ากัน การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบสันติ สร้างความรู้ ใช้เหตุผล และมองอนาคตของชาติร่วมกัน รวมทั้งมวลชนของภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ก็ควรจะมีวิจารณญาณแยกแยะผลประโยชน์ของชาติออกจากผลประโยชน์ของนักการเมือง ไม่สนับสนุนกับการเอาแพ้เอาชนะของนักการเมืองที่ใช้ประชาชนและความหายนะของชาติเป็นสะพานทอดไปเสวยสุขซึ่งอำนาจและความมั่งคั่ง รวมทั้งการอยู่เหนือกฎหมายโดยใช้เสียงข้างมาก
สาม ภาคเศรษฐกิจและสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกับท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และกลุ่มองค์กรประชาชน จะต้องเตรียมพร้อมหากรัฐบาลไม่แสดงความรับผิดชอบเข้าแก้ไขปัญหา ทั้งนักการเมืองและรัฐสภาก็ไม่สนใจที่จะคลี่คลายวิกฤติ กระทั่งสุ่มเสี่ยงต่อการล่มสลายของระบบรัฐสภาและรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะโดยกลุ่มอำนาจหรือกลุ่มมวลชน องค์กรในภาคส่วนต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะต้องยับยั้งและต่อต้านการกระทำการดังกล่าวในแนวทางสันติ ได้แก่ การไม่ยอมรับและป้องกันไม่ให้การใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญเช่นนั้นบังเกิดขึ้น
ประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี แม้ว่าจะมีวิกฤติทางการเมืองมาหลายครั้ง ก็ยังสามารถกลับฟื้นและพัฒนาประเทศมาได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยานุภาพที่สำคัญประการหนึ่งก็คือความรัก ความสามัคคี และความเอื้ออาทร ที่เรามีต่อกันมาอย่างยั่งยืน การนิรโทษกรรมโดยการฝืนความรู้สึกของคนจำนวนมาก รังแต่จะทำให้ความแตกแยกในบ้านเมืองจะเพิ่มขึ้น การดับวิกฤติครั้งนี้จึงควรทำที่ต้นตอคือต้องถอนหรือยับยั้ง พ.ร.บ.ฉบับนี้เสียก่อน แล้วไปเริ่มต้นกระบวนการสร้างความปรองดองด้วยปัจจัยานุภาพที่มีอยู่ในสังคมไทยนั้นต่อไป
ชมรมแพทย์ชนบท (31 ต.ค. 2556)
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท ฉบับที่ 1 วันที่ 31 ตุลาคม 2556
ขอให้รัฐบาลยุติการผลักดันร่าง พรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยในทันที
สืบเนื่องจาก ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมที่มีการแปรญัตติวาระสองในชั้นกรรมาธิการที่เปลี่ยนหลักการจากการนิรโทษกรรมเฉพาะชาวบ้านผู้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง มาเป็นการนิรโทษโทษกรรมสุดซอยให้กลับทุกกลุ่มคนอย่างเหมาเข่ง ดังที่ปรากฏในร่างมาตรา 3 ที่ว่า "ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง"
ชมรมแพทย์ชนบทได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในสามสี่วันนี้ที่มีความน่าเป็นห่วงยิ่ง เพราะเป็นการประลองใจประลองกำลังครั้งสำคัญภายใต้การผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งของรัฐบาลเพื่อไทยที่ได้รับการคัดค้านทั่วสารทิศ ที่แม้แต่พี่น้องเสื้อแดงก็ยังคัดค้านการนิรโทษแบบสุดซอยเหมาเข่ง ที่ปล่อยคนผิดทุกกรณียกเว้น ม.112 ให้พ้นผิด และขายฝันว่า พรบ.ฉบับนี้เป็นการ set zero หรือเริ่มต้นกันใหม่ เพื่อให้ประเทศก้าวเดินไปข้างหน้าได้ แต่แท้จริงกลับจะยิ่งสร้างความแตกแยกร้าวลึก เกิดผลข้างเคียงจากการนิรโทษกรรมที่อาจตีความล้างผิดอย่างกว้างขวางเกินกว่าเหตุ ส่งผลให้คนธรรมดาที่เสียชีวิตจากการชุมนุมต้องตายฟรี คนสั่งฆ่าหรือคนโกงกินคนที่ศาลตัดสินว่ามีความผิดกลับสามารถเดินยิ้มลอยนวลในสังคมได้ เป็นบาดแผลและเป็นชนวนสู่ความแตกแยกอีกยาวนาน
สถานการณ์การชุมนุมที่กรุงเทพในหลายพื้นที่ทั้งอุรุพงษ์ สวนลุม สามเสน สีลมหรืออนุสาวรีย์ จะมีความครุกกรุ่นและสุ่มเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนสูง และในต่างจังหวัดกำลังจะมีการชุมนุมด้วยในหลายจังหวัดใหญ่ๆ ตำรวจเริ่มตรวจแหลกตั้งด่านสกัดไม่ให้ผู้คนเข้ากรุงเทพมาร่วมการชุมนุม รัฐบาลคงเพิ่มพื้นที่ที่จะประกาศ พรบ.ความมั่นคงเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมคงไม่สนและยืนยันจะชุมนุมท้าทายอำนาจรัฐ อีกทั้งด้วยการสื่อสารในยุคโซเชียลมีเดียที่มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่น้อย จะทำให้สถานการณ์ในช่วงนี้มีความยากในการกุมสภาพ มีความไม่แน่นอนสูง มือที่หนึ่งสองสามต่างชิงไหวชิงพริบ ตามทฤษฎีไร้ระเบียบ ช่วงนี้นับเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่สถานะที่ยุ่งเหยิงจนไม่อาจทำนายอนาคตได้
ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสมาชิกและรัฐบาลดังนี้
1. ขอให้สมาชิกชมรมแพทย์ชนบท พี่น้องชาวโรงพยาบาลชุมชน พี่น้องชาวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พี่น้องชาวกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งชาวไทยผูั้รักประเทศชาติทุกท่าน ทุกท่านต่างมีวิจารณญาณของตนเองต่อ พรบ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้ ใครใคร่ทำอะไรก็รีบทำ เพราะเราก็คือประชาชนเจ้าของประเทศคนหนึ่ง ประเทศชาติก็เป็นของเราด้วย อย่างน้อยก็ให้ความเห็น แชร์ความคิด เขียนป้ายบอกทัศนะและจุดยืนติดหน้าบ้านหน้าโรงพยาบาล แม้แต่ถ่ายรูปพร้อมป้ายจุดยืนส่วนบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ตามแต่ การกดดัน สส.ในพื้นที่ การสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการ หรือแม้แต่ร่วมการชุมนุม ด้วยความหวังว่า พลังมติมหาชนไม่เอานิรโทษกรรมเหมาเข่งจะทำให้ฝ่ายรัฐบาลยอมถอย ถอยก่อนที่จะเป็นชนวนไปสู่ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ไม่อาจหวลกลับ
2. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ในทันที แล้วกลับไปตั้งต้นที่ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทั่วไปที่กระทำความผิดจากการเข้าร่วมการชุมนุมเท่านั้น โดยไม่นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งแก่ระดับแกนนำ ดังที่เสียงของประชาชนทุกกลุ่มเรียกร้อง
ด้วยความเป็นแพทย์ ชมรมแพทย์ชนบทไม่อยากให้ต้องมีการสูญเสียใดๆอีกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ขอให้ทุกฝ่ายเคลื่อนไหวอย่างมีสติ เดินหน้าสู่เป้าหมายด้วยสันติวิธี
นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
ประธานชมรมแพทย์ชนบท
31 ตุลาคม 2556
นิติราษฎร์ (31 ต.ค. 2556)
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อ่านแถลงการณ์นิติราษฎร์ ต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ห้องประชุม LT1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้
ความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... และข้อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
ตามที่นายวรชัย เหมะ กับคณะได้เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหลักการและเหตุผลคือ ให้นิรโทษกรรมแก่ประชาชนที่กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมือง เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศ รักษาและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง อันจะเป็นรากฐานที่ดีของการลดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดอง และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติในวาระที่หนึ่งรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว หลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาและมีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว โดยขยายการนิรโทษกรรมครอบคลุมไปถึง “บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมา ที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” แต่ไม่นิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
เมื่อพิจารณาจากร่างพระราชบัญญัติฯ ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการในวาระที่หนึ่งแล้ว พบว่าสภาผู้แทนราษฎรนิรโทษกรรมเฉพาะแก่ “บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น” จากถ้อยคำดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติ ฯ ที่ถูกเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จะเห็นได้ว่า สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนผู้กระทำการตามที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น โดยไม่นิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ทั้งไม่นิรโทษกรรมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่อย่างใด และเมื่อพิจารณาประกอบกับชื่อของร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวที่ใช้ชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” แล้ว ยิ่งทำให้เห็นประจักษ์ชัดว่าร่างพระราชบัญญัติฯ นี้มุ่งหมายนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนเท่านั้น การที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ให้รวมถึงบุคคลอื่นนอกจากประชาชน จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่หนึ่ง อันเป็นการต้องห้ามตามข้อ 117 วรรคสามแห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้กระบวนการตราพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวนี้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ห้ามมิให้การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สองขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ
นอกจากประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว คณะนิติราษฎร์เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ยังมีปัญหาในประการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) การนิรโทษกรรมตามที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ซึ่งครอบคลุมไปถึงบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมอันนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายของประชาชนที่เข้าร่วมในการชุมนุมนั้น นอกจากจะไม่เป็นธรรมต่อผู้สูญเสียในเหตุการณ์สลายการชุมนุมแล้ว ยังขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) การปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของประชาชนรอดพ้นจากความรับผิดดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในอดีตนอกจากจะเป็นการตอกย้ำบรรทัดฐานที่เลวร้ายให้ดำรงอยู่ต่อไปแล้ว ยังสร้างความเคยชินให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหาร ในการปฏิบัติต่อประชาชนในลักษณะดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ต้องกังวลว่าตนจะต้องรับผิดในทางกฎหมายในอนาคต
2) ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น กำหนดยกเว้นไม่นิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถึงแม้ว่าการกระทำความผิดของบุคคลนั้นจะเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม การบัญญัติกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดหรือแย้งกับหลักแห่งความเสมอภาคที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 เนื่องจากหลักดังกล่าวเรียกร้องให้รัฐต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกัน ให้เหมือนกัน และปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันออกไปตามสภาพของสิ่งนั้นๆ การนิรโทษกรรมตามความมุ่งหมายของร่างพระราชบัญญัตินี้มีสาระสำคัญอยู่ที่การยกเว้นความผิดให้แก่บุคคลที่กระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง โดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะเป็นความผิดฐานใด ดังนั้น การที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตัดมิให้ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง ได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงเป็นการปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระอย่างเดียวกันให้แตกต่างกัน และขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ
3) เนื่องจากการนิรโทษกรรมในครั้งนี้ มีผลกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์จำนวนมาก มีบุคคลที่อาจได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้หลายกลุ่ม และบุคคลดังกล่าวถูกดำเนินคดีในขั้นตอนที่แตกต่างกัน จากเหตุหลายประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความซับซ้อนจนหลายกรณีไม่อาจระบุลงไปให้แน่ชัดได้ว่าบุคคลใดบ้างเข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรม ในขณะที่ร่างพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงอาจทำให้การวินิจฉัยไม่เป็นเอกภาพ ส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคในชั้นของการบังคับใช้กฎหมายในท้ายที่สุด
4) ถึงแม้ว่ากระบวนการกล่าวหาบุคคลที่เกิดขึ้นโดยองค์กรหรือคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จะดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องชอบธรรม และบุคคลที่ถูกกล่าวหาและถูกพิพากษาว่ามีความผิดสมควรได้รับคืนความเป็นธรรมก็ตาม แต่โดยที่ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้มุ่งหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลที่กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งมีสภาพและลักษณะของเรื่องแตกต่างไปจากการกระทำของบุคคลที่ถูกกล่าวหาโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ประการสำคัญ ในสภาวการณ์ความขัดแย้งของสังคมขณะนี้ การเสนอให้นิรโทษกรรมแก่บุคคลดังกล่าวอาจเหนี่ยวรั้งให้การหาฉันทามติในการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างล่าช้า หรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ทั้งนี้ การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมให้กับบุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการทำรัฐประหารสมควรกระทำด้วยการลบล้างผลพวงของรัฐประหารตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
5) มีข้อสังเกตว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการนิรโทษกรรมให้กับการกระทำความผิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่พ.ศ. 2547 จึงไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่ผ่านการรับหลักการในวาระที่หนึ่ง ซึ่งนิรโทษกรรมให้แก่การกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 การกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการนิรโทษกรรมตั้งแต่พ.ศ. 2547 อาจส่งผลให้มีเหตุการณ์หรือการกระทำความผิดบางอย่างที่ไม่สมควรได้รับการนิรโทษกรรม เพราะไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารเมื่อวันที่ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ด้วย
6) นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยว่า โดยที่ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้กำหนดให้บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบต่อเนื่องมา ไม่ว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้บุคคลนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนั้น เมื่อพิจารณาจากคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงย่อมทำให้รัฐต้องคืนสิทธิให้แก่ผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรม เช่น ในคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ได้รับนิรโทษกรรมแล้ว รัฐมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยึดมาตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา ถึงแม้ว่าคณะนิติราษฎร์จะเห็นว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาหรือถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดโดยองค์กรหรือคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร มีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการที่จะได้รับคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดไปโดยกระบวนการทางกฎหมายที่เชื่อมโยงกับการทำรัฐประหาร แต่การที่จะได้รับคืนทรัพย์สินดังกล่าวนั้นควรจะต้องเป็นไปโดยหนทางของการลบล้างคำพิพากษาตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ว่าด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร มิใช่โดยการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัติฯ นี้
ข้อเสนอคณะนิติราษฎร์
โดยเหตุที่ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ มีปัญหาบางประการดังกล่าวมาข้างต้นคณะนิติราษฎร์ จึงขอเสนอแนวทางแก้ปัญหา ดังต่อไปนี้
1) ต้องแยกบุคคลซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ตลอดจนบุคคลที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองแต่กระทำความผิดโดยมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง ออกจากบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
2) ให้ดำเนินการนิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ตลอดจนบุคคลที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองแต่กระทำความผิดโดยมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยไม่นิรโทษกรรมให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ ทั้งนี้ ตามร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง ที่คณะนิติราษฎร์ได้เคยเสนอไว้
3) สำหรับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้ลบล้างคำพิพากษา คำวินิจฉัย ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในทุกขั้นตอนที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำรัฐประหาร ทั้งนี้ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ว่าด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร
4) อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ไม่ได้รับการพิจารณานำไปปฏิบัติจากผู้เกี่ยวข้อง ประกอบกับขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวาระที่สองของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งกระทำความผิดหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมืองเป็นไปโดยรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดที่เป็นอยู่ คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้พิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ จนขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฯ ที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการในวาระที่หนึ่ง ทำให้มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติฯ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จึงไม่สามารถใช้เป็นฐานในการพิจารณาในวาระที่สองได้ ด้วยเหตุนี้ สภาผู้แทนราษฎรจึงสมควรแก้ไขความบกพร่องดังกล่าวโดยการลงมติว่ากระบวนการตราพระราชบัญญัติฯ นี้ขัดกับข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรข้อ 117 วรรคสาม เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฯ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ตกไป
4.2 ให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติยกเลิกคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดเดิม และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภาเพื่อเริ่มพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ในวาระที่สองใหม่
คณะนิติราษฎร์: นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คณาจารย์และบุคลากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (31 ต.ค. 2556)
แถลงการณ์คณาจารย์และบุคลากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เรื่อง การคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบยกเว้นความรับผิดในทุกกรณี
การที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่มีการแก้ไขมาตรา 3 ความว่า ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง หรือกล่าวโดยง่ายว่าเป็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบยกเว้นความรับผิดในทุกกรณี ในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556 นั้น
คณาจารย์และบุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตามรายนามที่แนบ ขอคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะทำให้บุคคลพ้นจากความรับผิดในทุกกรณี ทั้งนี้ พวกเราเห็นว่าผู้มีความผิดกรณีทุจริต และคอร์รัปชั่นซึ่งคือความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ไม่ควรได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้ มิฉะนั้นแล้วจะทำให้การทุจริต คอร์รัปชั่น กลายเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องของสังคม
แม้ว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ในการใช้อำนาจดังกล่าวควรพิจารณาผลที่จะตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่จะกระทบต่อความยั่งยืนของฐานรากสังคม
31 ต.ค. 56
1.รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
2.รศ.ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์
3.รศ.ดร.ระวีวรรณ เอื้อพันธ์วิริยะกุล
4.รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
5.รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
6.ดร.จุฑารัตน์ ชมพันธุ์
7.ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต
พร้อมทั้งคณาจารย์และบุคลากรที่ลงนาม รวมจำนวนทั้งสิ้น 491 คน
สื่อเครือมติชน (31 ต.ค. 2556)
หมายเหตุมติชน : หยุดเพื่อส่วนรวม
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... หรือเรียกย่อๆ ว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เดิมมีหลักการตามที่ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และพวกเสนอ คือให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทุกสีเสื้อที่กระทำความผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง โดยหลักการดังกล่าวมีการตอกย้ำหลายครั้ง ทั้งที่เป็นมติของพรรคเพื่อไทย ทั้งที่เป็นคำอภิปรายในการพิจารณาวาระ 1 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
แต่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาในมาตรา 3 ขยายขอบเขตการนิรโทษกรรมให้ครอบคลุมถึงผู้สั่งการ และแกนนำการชุมนุม ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดโดยองค์กรที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 ที่เรียกกันว่า "สุดซอย" หรือ "เหมาเข่ง" ซึ่งอาจมีแกนนำพรรคได้รับประโยชน์ด้วยและแตกต่างจากเนื้อหาเดิมที่เสนอต่อสภา จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเบื้องแรก คือนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน ไม่รวมผู้สั่งการและแกนนำ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการนิรโทษกรรมผู้สั่งการและแกนนำด้วย สังคมและสาธารณชน ไม่ได้รับรู้ ไม่ได้เตรียมความคิดมาก่อน ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ จึงเกิดปฏิกิริยาและคำถาม ทำให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งควรจะเป็นร่างกฎหมายที่นำไปสู่ความปรองดอง กลับกลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดเหตุการณ์ตึงเครียด กระทั่งน่าหวาดวิตกว่า จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงซ้ำรอยเดิม
"มติชน" มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมืองที่เกิดจากความเห็นต่าง และผลกระทบ ที่จะเกิดจากร่าง พร.บ.นี้ โดยเฉพาะคดีสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ซึ่งกระบวนการยุติธรรมกำลังทำหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริง บางคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน บางคดีอยู่ในชั้นอัยการ และบางคดีกำลังเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล ผลการพิสูจน์ข้อเท็จจริงแต่ละคดีจะออกมาเช่นไรย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม ไม่ควรตีตนไปก่อนไข้หรือคาดการณ์ในเชิงลบ เพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ปฏิเสธกระบวนการนี้
สังคมไทยผ่านความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาแล้ว ขณะนี้อยู่ในห้วงเวลาการฟื้นฟูความบอบช้ำ เสียหายในด้านต่างๆ ไม่ใช่เวลาที่จะมาสร้างเงื่อนไข ผลักมิตรเป็นศัตรู เพิ่มบรรยากาศของความเป็นปฏิปักษ์
"มติชน" จึงขอเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลในฐานะพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ทบทวน ยุติ ระงับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในแนวทางที่เป็นปัญหานี้ทันที และกลับคืนสู่แนวทางอันเป็นที่ยอมรับ หรือแนวทางที่สภารับหลักการในวาระที่ 1 โดยคำนึงถึงเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาอันแท้จริงในการสร้างสังคมไทยให้กลับคืนสู่ความปรองดองอย่างแท้จริง
มติชน 31 ต.ค.2556
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (30 ต.ค. 2556)
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง หยุดการบิดเบือนกฎหมายนิรโทษกรรม หยุดการตระบัดสัตย์ของพรรคเพื่อไทย
การแก้ไขกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังบังเกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของพรรคเพื่อไทยนับว่าเป็นการกระทำที่ “บิดเบือน” ต่อหลักการสำคัญของกฎหมายนิรโทษกรรมที่ได้มีการนำเสนอไว้ในวาระแรกอย่างแจ้งชัด ความเร่งรีบต่อการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวก็ยิ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษอันบิดเบี้ยวฉบับนี้อย่างไม่อาจปฏิเสธ
กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่ประเด็นสำคัญของกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งพอจะเป็นที่ยอมรับกันได้อย่างกว้างขวางในชั้นต้นก็คือ การนิรโทษกรรมให้แก่บรรดามวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดหรือสีใดก็ตาม ซึ่งก็ได้เป็นส่วนสำคัญของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่เสนอในวาระแรกโดย ส.ส. ของพรรคเพื่อไทยเอง รวมทั้งการยืนยันว่าจะไม่มีการนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาผู้นำ ผู้สั่งการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ได้กระทำความผิดอย่างรุนแรงต่อการทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมาสู่การพิจารณาในวาระที่สอง พรรคเพื่อไทยก็ได้ปฏิบัติการ “ตระบัดสัตย์” ต่อหลักการที่นำเสนอมา
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ประการแรก การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งซึ่งทำให้บุคคลทุกฝ่ายพ้นไปจากความผิด จะเป็นการกระทำที่ทำให้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยถูกซุกเข้าไปอยู่ใต้พรมอีกครั้งหนึ่ง นอกจากจะทำให้บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามสามารถลอยนวลไปจากความผิดแล้ว สังคมไทยจะไม่ได้เรียนรู้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาบังเกิดขึ้นได้อย่างไร และโดยกระบวนการอย่างไร และใครบ้างที่ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ อันจะเป็นประเด็นสำคัญต่อการทำความเข้าใจและนำไปสู่การพยายามป้องกันไม่ให้ความรุนแรงได้บังเกิดซ้ำรอยขึ้นอีกในอนาคต
ประการที่สอง แม้กฎหมายนิรโทษกรรมอยู่ในอำนาจทางการเมืองของฝ่ายนิติบัญญัติก็ตาม แต่การใช้อำนาจในทางการเมืองก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะติดตามมาจากการใช้อำนาจดังกล่าว ซึ่งกรณีการบิดเบือนกฎหมายนิรโทษกรรมโดยพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนว่ากำลังสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงการไม่เห็นด้วยในหมู่ญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ บรรดาแกนนำหรือนักการเมืองฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก็ต่างพร้อมเข้าสู่กระบวนการพิจาณาคดีเพื่อให้ความจริงปรากฏ ความพยายามในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งของพรรคเพื่อไทยจึงไม่อาจถูกมองไปเป็นอย่างอื่นได้นอกจากการมุ่งรับใช้ “นายใหญ่” แบบไม่ลืมหูลืมหา กระทั่งไม่สนใจว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวจะสร้างผลเสียเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ประการที่สาม แม้ว่าฝ่ายเสื้อแดงจำนวนหนึ่งอาจไม่อยากแสดงความขัดแย้งต่อพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีความเห็นว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพันธมิตรกับฝ่ายตนเองมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ แต่ต้องพึงตระหนักว่าการจะสัมพันธ์กับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใดๆ ก็ตาม พรรคการเมืองก็จะต้องรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของบุคคลผู้ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรค หากพรรคการเมืองใดตัดสินใจดำเนินนโยบายของตนไปโดยเห็นแก่ผู้มีอำนาจภายในพรรคและไม่เห็นหัวฐานเสียงของพรรค ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องให้การสนับสนุนพรรคดังกล่าวต่อไป
มวลชนคนเสื้อแดงควรต้องตระหนักว่าพรรคเพื่อไทยก็จะอยู่ในภาวะเฉกเช่นเดียวกันกับพรรคการเมืองอื่นๆ หากยังคงดำเนินการไปในลักษณะที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเสียงเรียกร้องที่ได้บังเกิดขึ้น ทั้งต้องตระหนักว่าการปกป้องระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่การปกป้องพรรคเพื่อไทย หากมวลชนคนเสื้อแดงไม่สามารถกดดันให้พรรคเพื่อไทยทำการแก้ไขกฎหมายนิรโทษกรรมได้ก็แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยก็พร้อมจะทิ้งกลุ่มที่เป็นมวลชนของพรรคไปได้อย่างง่ายดายเช่นกัน พรรคการเมืองเช่นนี้ย่อมไม่สามารถฝากความหวังต่อการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไปได้อย่างแน่นอน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่ตระหนักถึงความจำเป็นของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้ร่วมกันกดดันและปฏิบัติการเพื่อยุติการบิดเบือนกฎหมายนิรโทษกรรมและการตระบัดสัตย์ของพรรคเพื่อไทย ด้วยการแสดงความเห็นคัดค้านและถอนตัวจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย เพื่อเป็นการแสดงถึง “อำนาจ” ของประชาชนในการกำกับนโยบายและทิศทางของพรรคการเมือง ทั้งนี้จะไม่เพียงเป็นการสั่งสอนพรรคเพื่อไทยเท่านั้น หากยังจะเป็นบทเรียนให้กับพรรคการเมืองอื่นๆ ได้ตระหนักต่อไปถึงความสำคัญของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองต่อไปในวันข้างหน้า
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
30 ตุลาคม 2556
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ และภาคีภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุน (28 ต.ค. 2556)
แถลงการณ์
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ และภาคีภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุน คัดค้านล้างผิดคดีโกง
ตามที่กรรมาธิการเสียงข้างมากในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ความบาง ส่วนว่า “..หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง..” ซึ่งมองได้ว่ามีเจตนาและความมุ่งหมายที่จะลบล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีทุจริตต่าง ๆ และให้คดีที่ยังค้างคาเป็นอันต้องยุติไป ให้ผู้กระทำความผิดในคดีทุจริต ทั้งในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ พ้นจากความรับผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิงนั้น
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสมาชิกองค์กรภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุน อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมนัก วิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่ามติดังกล่าวจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการต่อสู้คอร์รัปชันที่ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน เอกชน รวมถึงภาครัฐที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นแกนหลัก ได้พยายามขับเคลื่อนร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เป็นที่ทราบว่าสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น ในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ตัวเลขจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปกับการทุจริตมากกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้อย่างมาก
2. ถ้อยคำแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา ๓ เป็นการส่งเสริมการกระทำทุจริต ส่งผลให้ผู้มีส่วนสมรู้ร่วมคิดทั้งตัวการ ผู้สนับสนุน และผู้ถูกใช้ให้กระทำ ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งจะทำให้คอร์รัปชันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นจนมิอาจประมาณความสูญเสียได้
3. การล้างผิดในคดีทุจริตเป็นการทำลายระบบคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมอย่างร้ายแรง สังคม ไทยและโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนชาติ จะมีค่านิยมใหม่ว่าโกงแล้วไม่มีความผิด โกงแล้วล้วนได้แต่ผลดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวทางสังคมอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าจะแก้ไขได้
4. มติแก้ไขเพิ่มเติมในร่างกฎหมายดังกล่าว ส่งผลเสียโดยตรงและอย่างรุนแรงต่อผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากถูกตัดโอกาสที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมให้ถึงที่สุด หมดโอกาสที่จะได้ใช้ความจริงพิสูจน์ข้อกล่าวหาและลบล้างความระแวงแคลงใจของคนในสังคม ที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็จะหมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่สามารถทำให้สังคมเชื่อในคำตัดสิน และไม่สามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษตามครรลองของกฎหมาย เพื่อชดใช้และรับผิดต่ออาชญากรรมร้ายแรงที่กระทำต่อแผ่นดินและคนไทยทั้งประเทศได้
5. รัฐบาลได้เคยแสดงความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านคอร์รัปชัน โดยนำส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 ให้คำมั่นว่าการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นภารกิจหน้าที่ และนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและข้าราชการทุกคน ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ พร้อมกับได้วางยุทธศาสตร์ มาตรการต่างๆ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม ทว่า การแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ขัดแย้งอย่างชัดแจ้งต่อคำประกาศเจตนารมณ์ของรัฐบาล ซึ่งส่งจะผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความพยายามต่างๆ ของรัฐบาลอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่ควรเกิดขึ้น
6. รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption : UNCAC 2003) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 แต่ทว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงว่าจะขัดแย้งและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ กรณีนี้อาจทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในโลกที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคดีอันเป็นความผิดฐานคอร์รัปชันภายหลังลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียในสายตาของประชาคมโลก
ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสมาชิกองค์กรภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุนดังรายนามข้างต้น จึงขอยืนยันคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 เพื่อล้างผิดคดีทุจริต และเน้นย้ำจุดยืนว่า บรรดาคดีในฐานความผิดคอร์รัปชันทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องของกระบวนการยุติธรรมในสังคม และเพื่อให้การปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชันเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและน่าเชื่อถือ
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอให้คำมั่นว่าเราจะทำทุกอย่างที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคม และขอเชิญชวนให้ประชาชนผู้ต้องการเห็นสังคมไทยปราศจากคอร์รัปชันร่วมสนันสนุน ในการคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ครั้งนี้
เราจะเอาชนะคอร์รัปชันได้ด้วยพลังของสังคม
28 ตุลาคม 2556
คณะรัฐมนตรี36คน 在 ปรับครม. "ธนกร" ขึ้นแท่นเป็นรัฐมนตรี | เข้มข่าวค่ำ | 30 พ.ย. 65 的必吃
ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศ แต่งตั้ง รัฐมนตรี ใหม่ 3 คน ... #ธนกร #ปรับครม #PPTVHD36 #เข้มข่าวค่ำ #เรื่องข่าวเรื่องใหญ่ #ช่อง 36 #PPTVNews ... ... <看更多>
คณะรัฐมนตรี36คน 在 iLaw - คณะรัฐมนตรีชุด "ประยุทธ์ 2" หรือ "คสช. 2" ชุดที่ใช้เวลา ... 的必吃
ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อให้ได้ รัฐมนตรีสี่คนที่เปิดตัวเป็นแกนนำพรรคพลัง ... จากรายชื่อคณะรัฐมนตรีทั้ง 36 คน ก็พบว่า จำนวน 16 คน ... ... <看更多>