เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพรหมวิหารสี่
ก่อนไปถึง 'อุเบกขา' อยากชวนคุยถึงคำที่องค์ทะไลลามะพูดบ่อยที่สุดคำหนึ่งนั่นคือ compassion (กรุณา)
ท่านเขียนไว้ในหนังสือ 'Beyond Religion' / 'ข้ามพ้นศาสนา' ในหัวข้อเกี่ยวกับความยุติธรรมอย่างน่าสนใจ ที่นึกถึงองค์ทะไลลามะเพราะท่านคือนักบวชที่ใช้ธรรมะมาคลุกเคล้าเข้ากับสังคมการเมืองและความทุกข์ในชีวิตอยู่เสมอ ในแง่หนึ่งท่านคือผู้ถูกกระทำจากรัฐบาลจีนกระทั่งต้องเดินทางออกจากบ้านตนเอง
ท่านกล่าวว่า ความกรุณาเป็นฐานให้ระบบโลกวิสัยได้ หลายคนมองกรุณาว่าคือให้อภัย อาจขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมซึ่งต้องลงโทษผู้กระทำผิด กรุณามากเข้าอาจทำให้ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษ
องค์ทะไลลามะชี้ว่าอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะ 'ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์' ไม่ได้บอกให้เรายอมจำนนต่อการกระทำผิดของผู้อื่น หรือก้มหน้ารับความอยุติธรรม ความกรุณาไม่สนับสนุนให้เราอ่อนแอหรือยอมตกเป็นเหยื่อ ตรงกันข้าม, มันต้องอาศัยความแข็งแกร่งและกล้าหาญอย่างสูง
ความกรุณาในมุมท่านทะไลลามะจึงสามารถลุกขึ้นต่อต้านความอยุติธรรมอย่างกล้าหาญโดยไม่รุนแรง
เช่นนี้แล้ว เมื่อเกิดความอยุติธรรมขึ้น เช่น คอร์รัปชั่น การบริหารจัดการที่ผิดพลาด การใช้อำนาจในทางที่ผิด การลัดคิวให้ผู้มีอภิสิทธิ์ หรือการกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุโดยไม่ปฏิบัติตามหลักสากล เราสามารถต่อสู้กับความอยุติธรรมนั้นได้ด้วยหัวใจที่มีกรุณา มิใช่ให้อภัยหรือลืมๆ ไป
ในนิยามขององค์ทะไลลามะ การต่อสู้ด้วยกรุณาคือเน้นไปที่ 'การกระทำ' พยายามเปลี่ยนการกระทำชั่วของผู้กระทำให้กลายเป็นสิ่งถูกต้อง
ธรรมะจึงคลุกเคล้าอยู่กับชีวิต
เปื้อนดิน เปื้อนฝุ่น เจ็บปวด รู้สึกรู้สากับบาดแผล สะเทือนใจกับน้ำตา สั่นสะเทือนกับความตายและการสูญเสีย
...
เช่นนี้แล้ว อุเบกขาคืออะไร
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนไว้
แต่ถ้าคนมีธรรมะจะลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมอย่างมีกรุณา ก็น่าจะสู้อย่างมีอุเบกขาได้เหมือนกัน อาจคล้ายกับคำพระที่บอกว่า 'รู้-แต่ไม่รู้สึก' ซึ่งปุถุชนไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นได้ง่ายๆ (ผมนี่รู้สึกอยู่ตลอด)
นั่นคือต่อสู้กับความอยุติธรรมโดยไม่ให้กระทบใจตัวเอง แน่นอนว่าไม่ใช่การวางเฉย หรือไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ส่วนตัวแล้วคิดว่าสามารถเข้าไปร่วมขัดแย้งได้ ในเมื่อขัดแย้งกับความไม่ถูกต้อง แต่ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกนั้นก่อให้เกิดเจตนาร้ายต่ออีกฝ่าย เช่น ทำร้ายร่างกายหรือฆ่าฟัน (อันนี้ใช่ว่าทุกคนจะทำได้)
ดังที่องค์ทะไลลามะและผู้ติดตามท่านไม่เคยยอมรับการยึดครองอธิปไตยทิเบตของจีน เห็นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง กระนั้นก็ต่อสู้ด้วยหัวใจของนักปฏิบัติภาวนา
...
ที่พูดมามิใช่ว่าทำได้ ตรงกันข้าม, ทำไม่ได้เลยต่างหาก ยังโกรธเกรี้ยว หงุดหงิด บางทีก็ไม่มีกรุณา และบางคราก็ประสงค์ร้าย (ไม่สิ ไม่ควร) แต่แค่อยากหารือกับมิตรสหายว่า ธรรมะอย่างพรหมวิหารสี่นั้นสามารถนำมาปรับใช้เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมและการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้โดยไม่ลอยอยู่เหนือโลก
หากเราตีความว่า 'เมตตา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข 'กรุณา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ธรรมสองข้อนี้น่าจะทำให้หัวใจของเราสั่นไหวเมื่อเห็นคนถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกระทำ ถูกกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ถูกแย่งวัคซีน หรือสูญเสียญาติมิตรในชีวิต
หัวใจที่สั่นไหวต่อความทุกข์ของเพื่อนร่วมสังคม น่าจะเป็นหัวใจที่มีเมตตากรุณา ใช้หัวใจนั้นต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างมีอุเบกขา (ไม่ให้ความรู้สึกมาสร้างอารมณ์รุนแรงในใจ--แน่นอนว่าโคตรยาก) เพื่อสังคมที่เราอยากเห็น
สังคมที่เท่าเทียมน่าจะมีฐานของ 'มุทิตา' อยู่ในนั้น คือยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีชีวิตที่ดี อาจปรับมาใช้กับแนวคิดของการอยากเห็นผู้คนในสังคมมีสวัสดิการชีวิตที่ดี เกิดรัฐสวัสดิการขึ้น เพราะรู้สึกดีที่คนจนคนด้อยโอกาสมีมาตรฐานในการเรียนการรักษาพยายาลและโอกาสต่างๆ ดีขึ้น--เช่นนี้คือมุทิตาจิตใช่หรือไม่
...
พรหมวิหารสี่ คือ ที่อยู่ของพรหม
นั่นคือที่ที่ได้ดำรงชีวิตอย่างประเสริฐต่อตัวเองและผู้อื่น
จะว่าไปมันอาจหมายถึงสังคมที่ดี มีความเป็นธรรม มีความเท่าเทียม ไม่กระทำรุนแรงต่อประชาชน ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ไม่เขียนกฎหมายเข้าข้างตัวเอง ไม่เอาเปรียบเสียงจากประชาชนโดยมีอีก 250 เสียงตุนไว้ ก่อให้เกิดบ้านเมืองที่อยู่กันได้อย่างสันติ ยุติธรรม เคารพและให้เกียรติให้ความแตกต่างหลากหลาย เกื้อกูลให้คนด้อยโอกาสมีโอกาสเสมอหน้ากัน
ไม่แน่ใจว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดตีความถูกต้องหรือไม่ แต่อยากโยนความคิดลงไปเพื่อหารือกัน และคิดว่าถ้าเราสามารถนำธรรมะมาปรับใช้กับสังคมได้โดยไม่ละเลยความทุกข์ยากของผู้คนและสิ่งบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นในสังคม ธรรมะนั้นก็น่าจะใกล้ชิดกับชีวิตจริง
จึงแอบหวังให้ 'อุเบกขา' มาพร้อม 'เมตตา กรุณา และมุทิตา' ด้วย
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過265萬的網紅WOODY,也在其Youtube影片中提到,UNHCR มีแนวคิดนำหลักธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ประสบความยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ลี้ภัย มาเป็นแนวทางแก่พุทธศาสนิ...
「กรุณา คือ」的推薦目錄:
กรุณา คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
#คิดเรื่องความคิด
#Metacognition
.
ในหนังสือ ประถม 4.0 ที่อาจารย์ประเสริฐเขียน
มีคำหนึ่งที่หมออ่านแล้ว รู้สึกติดใจในความหมาย
จนต้องไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม คือคำว่า
Metacognition
(อ.ประเสริฐใช้คำภาษาไทยว่า เมตตาคอกนิชั่น
คิดเองว่า เมตตา จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าใจจิตใจตัวเอง
และนึกถึงจิตใจผู้อื่น ซึ่งคล้องกับความหมายของ
metacognition คือ think about thinking)
เมตตาคอกนิชั่น
สำคัญต่อการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งของมนุษย์ เพราะ
#เราต้องรู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร
ต้องรู้จักประเมินตนเอง ประเมินสถานการณ์
ประเมินความคิดของผู้อื่น ณ เวลาหรือ เหตุการณ์นั้นๆ
(ใครมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เขียนไว้ในตอนที่ 25-26/100 นะคะ)
.
และเมื่อวันก่อน
ได้ไปฟังเรื่อง visual learner ที่ อาจารย์ประภาภัทร กรุณา live ให้ได้ฟังกัน
(ใครยังไม่ได้ฟัง ไปฟังย้อนหลังที่ page สานอักษร ได้นะคะ) ซึ่งมาพ้องกับเรื่องนี้พอดี
.
เมื่อเอาความรู้ที่ได้อ่าน +ได้ฟัง+ การเลี้ยงลูก มารวมกัน เหมือนเป็น จิ๊กซอว์ เพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ในเด็ก
.
ตอนเด็กอายุ 2-3 ขวบ
เด็กมี cognition เด็กเรียนรู้ได้เร็ว
แต่เค้ายังมี metacognition ไม่มากนัก
การประเมินตัวเองไม่แม่นยำ
จึงเกิดปรากฏการณ์
“ไม่นะ....หนูจะทำเอง” อยู่ร่ำไป
สร้างความลำบากใจให้พ่อแม่ ว่าจะปล่อยให้ทำได้เหรอ?
เด็กเล็กรู้แต่สิ่งที่ (คิดว่า) ตัวเองทำได้
แต่ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง
ตัดสินจากตัวเอง เป็นความคิด
ความรู้สึกของที่ไม่ซับซ้อน
ชอบ สนุก ไม่ชอบ กลัว ฯลฯ
แต่เมื่อได้ทำ ได้ประสบความความผิดหวัง
ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้
แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ก็เกิดความรู้....เกิดทักษะในการประเมินตัวเอง
สั่งสมเป็นประสบการณ์
และ เมื่อโตขึ้น
มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้สึกที่มากขึ้นตามอายุ
ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เอามาประมวลผล คาดคะเนสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เช่น ผลงานของตัวเองในครั้งก่อนๆ ความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
ผลตอบรับของคนรอบตัว (สีหน้า ท่าทาง คำพูด ของพ่อแม่ ครู เพื่อนๆเป็นอย่างไร )
ได้เป็นผลลัพธ์ล่วงหน้า....
ทำแล้วจะได้อะไร และอยากจะทำหรือไม่
เป็นความคิดขั้นสูงที่ คาดคะเน การกระทำของตัวเองล่วงหน้า
.
จริงๆเหมือนไม่มีอะไรใหม่
แต่ทำให้หมอได้ฉุกใจคิด ว่าทุกย่างก้าวของการเติบโตของเด็ก
เกิดจากประสบการณ์เมื่อวานของลูกทั้งนั้น
และการเกิด metacognition
ไม่ได้มาจากแค่การขยายขนาดหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์สมอง
แต่มันขึ้นกับ
👉จำนวนประสบการณ์ ที่ได้ทำเอง
👉กลวิธีที่ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วล้มเหลว
👉ผลของการกระทำของตัวเอง
👉สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
👉ความคิดเห็น ความรู้สึกของคนอื่น ต่อการกระทำนั้น
👉แม้แต่ เรื่องของวัฒนธรรม ค่านิยม ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญให้คนคนหนึ่งพัฒนาเรื่อง metacognition
.
เผลอแป๊บเดียว ตอนนี้ลูกสาววัย 7 ปีของหมอ
ก็มีเมตตาคอกนิชั่น
ที่เราไม่รู้ว่ามันพัฒนามาเมื่อไหร่ อย่างไร
แต่มันน่าทึ่งมาก
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เล็กๆที่ เค้าเล่าให้หมอฟังว่า
มีอยู่วันหนึ่งที่เค้าถูกทำโทษหลังเลิกเรียน
แต่คุณครูอนุญาตให้ไปเข้าห้องน้ำก่อนได้
ขณะที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
เค้ามองเห็นว่าแม่มารับแล้ว
เค้าคิดว่า เค้าจะหนีกลับบ้านกับแม่เลยก็ได้
เพราะกระเป๋านักเรียนก็อยู่นอกห้อง
แม่ก็มารับแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปแก้ตัวกับคุณครูว่าแม่มีเรื่องด่วนต้องพากลับบ้านก่อน
แต่ถ้าครูรู้ว่าเค้าโกหก
คุณครูก็อาจจะผิดหวังในตัวเค้าที่ไม่ซื่อสัตย์
และตัวเองก็อาจจะไม่สบายใจ
ที่สำคัญหนีกลับวันนี้
ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ในวันพรุ่งนี้อยู่ดี
เค้าจึงตัดสินใจกลับเข้าห้องเรียน
ไปรับโทษเลยดีกว่า
ทั้งหมดนี้ อยู่ในสมองของเค้าในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
ภาพที่หมอเห็นคือ ลูกเดินมาจากห้องน้ำ เค้ายิ้มทักทาย และเรียกว่า “แม่”
และเดินกลับเข้าห้องไป ทำงานที่ครูให้ทำเป็นการไถ่โทษที่ทำผิด
.
ประเด็นคือ
1.เค้าคาดการล่วงหน้าได้อย่างไร ?
ครูคงผิดหวัง และตัวเองคงไม่สบายใจที่โกหก พรุ่งนี้ก็ต้องแก้ปัญหาใหม่ที่เกิดจากวันนี้
2. ความรู้สึกของคนอื่นที่ว่า “ผิดหวังในตัวเค้า” เค้าจะรู้ได้อย่างไร
3. สิ่งที่เค้าคาดคะเน อาจจะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงก็ได้
แต่เค้ารู้จัก สมมติเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เอามาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และเค้าเลือกทางที่คิดว่าได้ผลลัพธ์ดีกว่าสำหรับตัวเอง
.
ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ใ น เ ม ตต า ค อ ก นิชั่น (Metacognitive Experiences)
เป็นประสบการณ์ทาง
ความคิดหรือความรู้สึกที่มีต่อการใช้ “ปัญญา “ในการแก้ปัญหา และทำให้เกิดการกำกับตนเอง (Self-Regulation) นำไปสู่การกระทำที่ทำให้เกิดเป้าหมายที่เราต้องการ
.
เมตตาคอกนิชั่น.....
ไม่ได้โตเหมือนกับ น้ำหนักและส่วนสูง
และไม่สามารถ เปิดคอร์สสำเร็จรูป สอนให้เด็กมีเมตตาคอกนิชั่นได้ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในทุกๆวันของการเติบโต
เช่นกัน #ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร
นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง
อาจจะสร้างปัญหาให้ผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
สิ่งที่เราช่วยลูกได้
❤เติมประสบการณ์ดีๆให้แก่สมองลูก
❤อ่านหนังสือด้วยกัน หนังสือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ที่ทำให้เค้าเข้าใจผู้อื่น ผ่านเหตุการณ์ณ์ของตัวละคร
❤พาไปท่องเที่ยวเห็นสิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องหรูแต่ให้เห็นชีวิต เห็นสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
❤ประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำเอง และผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อมูลที่แม่นยำที่สุดที่คนๆหนึ่งจะใช้ในการประเมินตัวเอง ดังนั้น ปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเองให้มาก
❤รับฟังสิ่งที่ลูกคิด อย่างให้เกียรติว่าเค้าก็เป็นปัจเจก และปลูกฝังสิ่งดีๆจากการพูดคุยที่ให้เกียรติกัน ถ้าเราฟังลูก ลูกก็จะฟังเราอย่างเปิดใจ
ขอจบที่คำพูดของอาจารย์ประภาภัทร นิยม
“ทฤษฎี ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก ที่ได้อ่าน ได้รับรู้กันมากมาย ไม่ใช่เพื่อเอาไปคิด เอาไปเครียดว่าจะสอนลูกอย่างไรให้ได้ตามทฤษฎี แต่ให้รู้เพื่อให้วางใจได้ว่า เด็กเค้าเรียนรู้เองได้เองจริงๆ”
.
ทำยาก แต่จะพยายามค่ะ
.
หมอแพม
กรุณา คือ 在 Toktak A4 Facebook 的精選貼文
ยอดผู้ป่วยโควิด เชียงใหม่ เชียงรายเพิ่ม อยากบอก คนที่ลักลอบเข้าเมือง หรือ เข้าถูกกฏหมายก็ตาม กรุณานะคะ กรุณา รับผิดชอบต่อสังคม กักตัวค่า คือ ไม่ได้กลัวโควิด แต่กลัว คนที่เค้าเพิ่งฟื้นตัวทำมาหากิน จะลำบากอีก อีชั้นก็ขี้เกียจนั่งคุยกับต้นไม้แล้วค่า จังหวัดเค้าก็เพิ่งเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นช่วงหารายได้ ดันมาเจอพวกคุณที่เห็นแก่ตัว มันใช่เหรอ คิดสิคิด!!!!
แม่ขอประนาม แม่จะไม่ทน !!’
เป็นกำลังใจให้ทุกคน นะคะ
กรุณา คือ 在 WOODY Youtube 的最佳解答
UNHCR มีแนวคิดนำหลักธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ประสบความยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ลี้ภัย มาเป็นแนวทางแก่พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติตาม โดยเฉพาะพรหมวิหารธรรม 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพื่อช่วยเติมความหวังและทำให้โลกเป็นโลกแห่งการช่วยเหลือ ต้องการช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันเพื่อเยียวยาความสูญเสีย และเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

กรุณา คือ 在 ชุมชนกรุณา คืออะไร - YouTube 的必吃

... Peaceful Death) ความรู้น่าสนใจจาก: งานอบรมการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายด้วยหัวใจ กรุณา วันที่ 15-16 สิงหาคม 2562 ณ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์. ... <看更多>
กรุณา คือ 在 คุณธรรมข้อต่างๆ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มี ... 的必吃
คุณธรรมข้อต่างๆ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีความเชื่อมโยง ส่งเสริมกันได้อย่างไร? การที่พระพุทธองค์ตรัสคุณธรรมต่างๆ... ... <看更多>