การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจของประเทศไทย
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจ นั้นมีลักษณะของการจัดองค์กรได้ 2 หลัก คือ การจัดองค์กรในหลักกระจายอำนาจทางอาณาเขตกับการจัดองค์กรในหลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ ดังนี้
1. การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต ซึ่งอยู่ 2 ลักษณะ คือ การจัดระเบียบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ซึ่งเป็นมีอยู่ 3 รูปแบบคือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กับ การจัดระเบียบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ดังนี้
1.1 เทศบาล
การจัดระเบียบเทศบาลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1.1 ประเภทของเทศบาล
ประเภทของเทศบาล เทศบาลมีอยู่ 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
1.1.2 การจัดตั้งเทศบาล
เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันควรยกฐานะเป็นเทศบาลให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้นๆ เป็นเทศบาลโดยการตราพระราชกฤษฎีกายกฐานะท้องถิ่นนั้นขึ้นเป็นเทศบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นการจัดตั้งแต่ละประเภทของเทศบาล มีดังนี้
1.เทศบาลตำบลอาจมีได้อยู่ 2 กรณี คือ
1) เทศบาลตำบลพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เป็นเทศบาลที่กำหนดไว้ได้แก่ท้องถินที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ซึ่งมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเทศบาลตำบลไว้โดยเฉพาะ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐบาลที่จะพิจารณาตามแต่จะเห็นสมควร กระทรวงมหาดไทยจึงได้วางแนวปฏิบัติในการกำหนดท้องถิ่นที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลไว้ดังนี้
(1) มีประชากรั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป
(2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 1,500 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
(3) มีรายได้เกินกว่า 5 บาท ขึ้นไปไม่รวมทุนอุดหนุน
2) เทศบาลตำบลนั้นอาจมาจาก การเปลี่ยนสถานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2552
2. เทศบาลเมือง เทศบาลเมืองมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1) ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดทุกแห่งต้องตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลไม่ได้ แต่ถ้าเป็นจังหวัดที่เจริญมาก ก็อาจตั้งเป็นเทศบาลนครได้
2) ในชุมชนท้องถิ่นอื่นนอกจากท้องถิ่นตามข้อ 1) ที่มีลักษณะดังนี้
(1) มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
(2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 3,000 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
(3) มีรายได้เพียงพอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำสำหรับเทศบาลเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
3. เทศบาลนคร ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้กำหนดการจัดตั้งเทศบาลนคร ดังนี้
1) ในชุมชนท้องถิ่นที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คน ขึ้นไป
2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3) มีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำสำหรับเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ข้อสังเกต การเปลี่ยนแปลงชื่อ เปลี่ยนแปลงเขต เปลี่ยนแปลงฐานะหรืออาจถูกยุบเลิกเทศบาล นั้น ต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทำได้ง่ายกว่าการจัดตั้งเทศบาลที่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.1.3 องค์การของเทศบาล
องค์การของเทศบาลประกอบด้วย สภาเทศบาล คณะผู้บริหารเทศบาล สำนักงานเทศบาล สรุปได้ดังนี้
1. สภาเทศบาล ที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาการสิ้นสภาพของสมาชิกสภาเทศบาล มีดังนี้
(1) ที่มาของสมาชิกสภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2546 โดยให้อยู่ตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามมติของสภาเทศบาล ส่วนสมาชิกสภาเทศบาลแต่ละเทศบาลจะมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้
ก. เทศบาลตำบลมีสมาชิกสภาจำนวน 12 คน
ข. เทศบาลเมืองมีสมาชิกสภาจำนวน 18 คน
ค. เทศบาลนครมีสมาชิกสภาจำนวน 24 คน
(2) การสิ้นสภาพสมาชิกสภาเทศบาล มีดังนี้
ก. ถึงคราวออกตามวาระหรือยุบสภาเทศบาล
ข. ตาย
ค. ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งต้องให้คณะกรรมการเลือกตั้งยื่นต่อศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเพิกถอนสิทธิสมาชิกสภาเทศบาล
จ.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทยสอบสวนแล้วสั่งให้ออกโดยเห้นว่าไม่มีภุมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้น
ฉ. สภาเทศบาลวินิจฉัยให้ออกด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ในตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤตินทางที่เสื่อมเสียแก่เทศบาล
ช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออกโดยเห้นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือเสื่อมเสียแก่เทศบาลหรือราชการ ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสัวสดิภาพของประชาชน หรือไม่มาประชุมสภาเทศบาล 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร
2) อำนาจหน้าที่สภาเทศบาล คือ ทำหน้าที่ร่างเทศบัญญัติ ติดตามและตรวจสอบการทำงานคณะเทศมนตรี
2. คณะผู้บริหาร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาของคณะผู้บริหาร คือ นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งติดต่อกันกี่วาระก็ได้ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ดังนี้
(1) เทศบาลตำบลให้ มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 2 คน
(2) เทศบาลเมืองให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 3 คน
(3) เทศบาลนครให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 4 คน
2) อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี มีดังนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติและนโยบาย
(2) สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาลนี้ หรือกฎหมายอื่น
3) สำนักงานเทศบาล ให้มีปลัดเทศบาล 1 คน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลรองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
1.1.4 อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล แต่ละเทศบาลมีหน้าที่ที่ต้องทำนั้นมีความแตกต่างกันตามกฎหมายหลัก คือ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. เทศบาลตำบล มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลในเรื่องต่างๆ เช่น รักษาความสงบเรียบร้อยราษฎร ให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้ราษฎรรับการศึกษา เป็นต้น
2. เทศบาลเมือง มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลเมืองในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมจากหน้าที่ของเทศบาลตำบล เช่น ให้มีน้ำสะอาดหรือประปา ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น เป็นต้น
3. เทศบาลนคร มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลนครในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมจากเทศบาลเมือง เช่น ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น
1.1.5 สหการ
สหการ ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ที่จะรวมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้นเรียกว่า “สหการ” ดังนี้
1. สหการมีสภาพเป็นทบวงการเมือง
2. สหการมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
3. การจัดตั้งสหการและการยุบเลิกสหการจะต้องทำโดยพระราชกฤษฎีกา
4. สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและอาจกู้เงินได้
1.1.6 การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล
การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนกลาง เทศบาลมีงบประมาณและทรัพย์สินแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งเทศบาลอาจมีรายได้ เช่น
1. รายได้จากภาษีอากร
2. ค่าธรรมเนียม
3. ค่าใบอนุญาต
4. ค่าปรับตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
5. รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
6. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
1.1.7 การควบคุมเทศบาล
การควบคุมเทศบาล พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนด ดังนี้
1) ให้นายอำเภอ ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบล
2) ผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลเมือง เทศบาลนคร
3) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจ เช่น สั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น
1.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนั้นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 สามารถอธิบายสรุปได้ดังนี้
1.2.1 การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล
1.2.2 การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้
1. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งให้มีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งดังนี้
(1) จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 24 คน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 500,000 คนแต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คนแต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิกได้ 36 คน
(4) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,500,000 คนแต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิกได้ 42 คน
(5) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 2,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คน
สมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกตั้งสมาชิกสภาเป็นประธานและรองประธานสภา 2 คน
2) อำนาจหน้าที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น มีหน้าที่ตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดในบริการสาธารณะของจังหวัด
2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นั้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตจังหวัดนั้นๆ
2) อำนาจหน้าที่ ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่
(1) แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
(ก) ในกรณีมีสมาชิก 48 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน
(ข) ในกรณีมีสมาชิก 36 คนหรือ 42 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 คน
(ค) ในกรณีมีสมาชิก 24 คนหรือ 30 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 คน
(2) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ข้อบัญญัติ
(3) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(4) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เลขานุการ และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายไว้ในกฎหมาย
3. ข้าราชการส่วนจังหวัด สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัด ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.3 องค์การบริหารส่วนตำบล
การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.3.1 การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ตำกว่า ปีละ 150,000 บาท หรือตามเกณฑ์รายได้ตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริการส่วนตำบลได้ โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล และองค์การบริหารส่วนตำบลอาจเปลี่ยนเป็นเทศบาลได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.3.2 การจัดระเบียบในองค์การบริหารส่วนตำบล
การจัดระเบียบในองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (รวมไปถึงคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล) สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
(1) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
ก. ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นมีหมู่บ้านเดียวให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 คน
ข. ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นมี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 3 คน
(2) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอายุคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(3) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานสภาฯ 1 คน และรองประธานสภาฯ 1 คน ซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาองค์การบริหารสาวนตำบล โดยนายอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งตามมติขิงสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและมีวาระการดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
(4) ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน เป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
2) อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาตำบล ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ
2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (รวมไปถึงคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล) แยกอธิบายถึงที่มา การดำเนินการและอำนาจหน้าที่ ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1) ที่มาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยดำรงติดต่อกันกี่สมัยก็ได้
2) การดำเนินการของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้
(1) ก่อนที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ต้องแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยไม่มีการลงมติภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้นายอำเภอแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุกคนภายใน 7 วัน รวมทั้งต้องจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประจำทุกปี
(2) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล อาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน และอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
1.4 กรุงเทพมหานคร
การจัดระเบียบกรุงเทพมหานครซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.4.1 การจัดตั้งกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดยให้มีการแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าว
1.4.2 การจัดระเบียบกรุงเทพมหานคร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติเรื่องการจัดระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1. สภากรุงเทพมหานคร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาสภากรุงเทพมหานคร
(1) สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกำหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและมีจำนวนหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ การกำหนดเขตเลือกตั้งให้ถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คน เป็นประมาณและในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ 1 คน
(2) อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(3) ให้สภากรุงเทพมหานคร เลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร 1 คน และรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกิน 2 คน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษาโดยให้ดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละ 2 ปี
2) สภากรุงเทพมหานครมีอำนาหน้าที่ เช่น ตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและควบคุมตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
(ก) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร 1 คน เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(ข) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(2) อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด มีดังนี้
(ก) กำหนดนโยบายและบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(ข) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(ค) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่า เลขาการ ราชการกรุงเทพมหานคร
(ง) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(จ) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
(ช) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร
(ซ) ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ ช่วยเหลือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1.5 เมืองพัทยา
การจัดระเบียบเมืองพัทยาซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.5.1 การจัดตั้งเมืองพัทยา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคล การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตเมืองพัทยาให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.5.2 การจัดระเบียบเมืองพัทยา
เมืองพัทยาประกอบด้วยสภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยาดังนี้
1. สภาเมืองพัทยา มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาสภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยดังนี้
(1) สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 20 คน ซึ่งเลือกตั้งโดยตรงจากราษฎรที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา
(2) อายุสภาเมืองพัทยามีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(3) สภาเมืองพัทยาเลือกเลือกสมาชิกเป็นประธานสภาเมืองพัทยา 1 คน และรองประธานสภาเมืองพัทยา 2 คน แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งจนครบอายุของสภาเมืองพัทยา หรือ มีการยุบสภาเมืองพัทยา
2. นายกเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยามีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาของนายกเมืองพัทยา ดังนี้
(1) นายกเมืองพัทยามาจาการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา
(2) นายกเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งกี่วาระก็ได้
2) อำนาจหน้าที่นายกเมืองพัทยา มีดังนี้
(1) แต่งตั้งรองนายกไม่เกิน 4 คน ซึ่งไม่ใช่สมาชิกเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการเมืองพัทยาที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย
(2) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติและนโยบาย
(3) สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา
(4) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เลขานุการนายก ผู้ช่วยเลขานุการนายก ปรานที่ปรึกษา ที่ปรึกษานายกเมืองพัทยา
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นต้น
3. ส่วนรานราชการเมืองพัทยา มีดังนี้
1) สำนักปลัดเมืองพัทยา
2) ส่วนราชการอื่นตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
3) มีปลัดเมืองพัทยา 1 คน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยารองจากนายกเมืองพัทยา รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย
2. การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ สามารถแยกอธิบาย ได้ 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ องค์กรในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ รูปแบบองค์การมหาชน และองค์กรเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจปกครองหรือดำเนินกิจการปกครอง
2.1 การจัดองค์กรใน รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ (Public Enterprise) หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือ กิจการของรัฐ หรือ บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หน่วยธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 อนึ่งกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของมักเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” ซึ่งรัฐวิสาหกิจที่ถือว่าฝ่ายปกครอง คือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามกฎหมายพิเศษคือพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น กับรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์ขนส่งมวลชน เป็นต้น รัฐวิสาหกิจประเภทนี้รัฐเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น ซึ่งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
2.1.1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาล
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาลหมายถึง หน่วยในทางกฎหมายซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือพระบรมราชโองการและกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินกิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชาติ ซึ่งองค์การของรัฐบาลมีลักษณะทางกฎหมายของ เช่น องค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ ตามพระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการหรือพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของผู้เดียว รัฐวิสาหกิจประเภทที่เป็น องค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นแยกได้ 2 ประเภท คือ
1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติโดยตรง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ องค์การของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะอาจได้รับอำนาจและสิทธิพิเศษเหนือกว่าองค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาหลายประการ เช่น พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เป็นต้น
2.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ซึ่งมิได้ให้คำนิยามขององค์การของรัฐบาล เอาไว้ แต่ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดตั้งไว้ องค์การเหล่านี้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจและนิติบุคคลโดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ เป็นต้น
2.1.2 รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของ
รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของลักษณะสำคัญของรัฐวิสาหกิจประเภทนี้ สามารถสรุปได้ 3 ประการดังนี้คือ
ประการแรก หน่วยงานที่จัดทำธุรกิจนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของราชการ แต่มิได้ดำเนินงานราชการตามวัตถุประสงค์อันระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นงานซึ่งส่วนราชการแห่งใดแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการงานธุรกิจและใช้เงินงบประมาณทุนดำเนินงาน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ
ประการที่สอง หน่วยงานนั้นมิได้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและมิได้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ก็ได้ดำเนินงานในทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นสังกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลของตนเองและถือว่าการดำเนินการของหน่วยงานนั้นอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเท่านั้น
ประการที่สาม หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี เช่น โรงพิมพ์ตำรวจ สถานธนานุเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง โรงานน้ำตาล กรมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2.1.3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด รัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งเป็นบริษัทนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนของภาครัฐทั้งหมดหรือบางส่วน โดยรัฐบาล นิติบุคคลมหาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น และมีความสามารถในการใช้มาตรการควบคุมภายในรัฐวิสาหกิจลักษณะทางกฎหมายของบริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นมีดังนี้
1. รัฐเป็นเจ้าของทุนของบริษัทโดยตรง
2. มีวัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และหนี้เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัท กสท จำกัด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามที่ถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองตามกฎหมายมหาชนที่จะดำเนินคดีปกครองได้นั้น คือ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าองค์การของรัฐบาลเท่านั้น
รายชื่อองค์กรรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งแยกตามส่วนราชการที่กำกับดูแล
สำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ( MCOT Public Co., Ltd.)
2. โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( Police Printing Bureau)
กระทรวงกลาโหม คือ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ( Bangkok Dock Company Limited)
กระทรวงการคลัง มีดังนี้
1. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ( Thailand Tobacco Monopoly)
2. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ( Government Lottery Office)
3. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ( Playingcards Factory)
4. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ( Liquor Distillery Organization)
5. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ( The Syndicate of Thai Hotels and Tourists Enterprises Limited)
6. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ( Krung Thai Bank)
7. ธนาคารออมสิน (Government Saving Bank)
8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( Government Housing Bank)
9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)
10. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( Export-Import Bank of Thailand)
11. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)
12. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ( Secondary Mortgage Corporation)
13. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ( Small Industry Credit Guarantee Corporation)
14. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ( Dhanarak Asset Development Company Limited)
15.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ( Islamic Bank of Thailand) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีดังนี้
1. การกีฬาแห่งประเทศไทย ( Sports Authority of Thailand)
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( Tourism Authority of Thailand)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้
1. การเคหะแห่งชาติ ( National Housing Authority)
2. สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ( Public Pawnshop Office)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
1. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ( Thai Dairy Farming Promotion Organization of Thailand)
2. องค์การสวนยาง ( Rubber Estate Organization)
3. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ( Marketing Organization for Farmers) 4. องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization)
5. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ( Office of the Rubber Replanting Aid Fund)
กระทรวงคมนาคม มีดังนี้
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ( Airports of Thailand Public Co., Ltd.)
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ( Port Authority of Thailand)
3. การรถไฟแห่งประเทศไทย ( State Railway of Thailand)
4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( Bangkok Mass Transit Authority)
5. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ( Aeronautical Radio of Thailand Limited)
6. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ( Thai Maritime Navigation Co., Ltd.)
7. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ( Thai Airways International Public Co., Ltd.)
8. บริษัท ขนส่ง จำกัด ( Transport Co., Ltd.)
9. สถาบันการบินพลเรือน ( Civil Aviation Training Center)
10. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( Mass Rapid Transit Authority of Thailand)
11. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ( Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1. องค์การจัดการน้ำเสีย ( Waste Water Management Authority)
2.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ( The Botanical Garden Organization)
3. องค์การสวนสัตว์ ( Zoological Park Organization)
4. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ( Forest Industry Organization)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีดังนี้
1. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ( TOT Public Company Limited)
2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ( Cat Telecom Public Company Limited)
3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ( Thailand Post Co., Ltd)
กระทรวงพลังงาน มีดังนี้
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT)
2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ( PTT Public Company Limited)
กระทรวงพาณิชย์ คือ องค์การคลังสินค้า ( Public Warehouse Organization)
กระทรวงมหาดไทย มีดังนี้
1. การไฟฟ้านครหลวง ( Metropolitan Electricity Authority) 2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( Provincial Electricity Authority) 3. การประปานครหลวง ( Metropolitan Waterworks Authority) 4. การประปาส่วนภูมิภาค ( Provincial Waterworks Authority) 5. องค์การตลาด ( Marketing Organization)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( Thailand Institute Scientific and Technological Research) 2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Museum )
กระทรวงสาธารณสุข คือ องค์การเภสัชกรรม ( The Government Pharmaceutical Organization)
กระทรวงอุตสาหกรรม คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( Industrial Estate Authority
2.2 การจัดองค์กรในองค์การมหาชน
องค์การมหาชน (Public Autonomous Organization) หมายถึง หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ หรือพระ ราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาตามลักษณะความสำคัญขององค์กร องค์การมหาชนนี้จะมีลักษณะที่ไม่ใช่ส่วนราชการเพราะมีการบริหารงานคล่องตัวกว่าส่วนราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจเพราะไม่ได้ดำเนินกิจกรรมที่มุ่งหวังผลกำไรเหมือนรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นองค์การมหาชน คือ หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจกรรมทางบริการสาธารณะที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรซึ่งดำเนินกิจการได้ในตัวองค์กรเองได้ในตัวมันเอง เป็นต้น
รายชื่อองค์การมหาชนของประเทศไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้ 1. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2.สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ 3.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD)
กระทรวงกลาโหม คือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
กระทรวงการคลัง คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีดังนี้ 1.สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 2.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ 1.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ, สพภ. 2.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
กระทรวงพลังงาน คือ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์ มีดังนี้ 1.ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) 2.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม มีดังนี้1.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 2.หอภาพยนตร์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ 1.สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (TINT), สทน. 2. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) 3.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 4. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน 5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร 6.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้ 1. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา 2.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 3. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้ 1.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว 2.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
2.3 หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้แก่ องค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมวิชาชีพในการประกอบอาชีพโดยได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องเพื่ออกกฎ ข้อบังคับทางวิชาชีพ รับจดทะเบียนและพิจารณาออกหรือใบอนุญาตวิชาชีพ เช่น สภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ให้ดำเนินทางปกครอง ได้แก่ หน่วยงานซึ่งการมอบหมายให้หน่วยงานเอกชนจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะของการมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง 2 ลักษณะ คือ กระทำในรูปของสัญญากับมีคำสั่งอนุญาตคำขอตามที่กฎหมายกำหนด
หนังสือและเอกสาร วารสารอ่านประกอบ
มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง “หน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542” กรุงเทพฯ : บริษัทการพิมพ์จำกัด,2551
วันเพ็ญ ทรัพย์ส่งเสริม “การจัดระบบองค์การมหาชนอิสระในกระบวนการจัดทำบริการสาธารณะในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2539
กระทรวงคมนาคม หน้าที่ 在 ศาล รธน.สั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.คมนาคม - YouTube 的必吃
ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 54 ส.ส.ฝ่ายค้าน และสั่งให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม หยุดปฏิบัติ หน้าที่ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ... ... <看更多>
กระทรวงคมนาคม หน้าที่ 在 ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม - Facebook 的必吃
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ... <看更多>