รู้จัก ลี กาชิง จากเด็กโรงงาน สู่มหาเศรษฐี 1 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
ในปัจจุบัน หากพูดถึงชื่อมหาเศรษฐีเชื้อสายจีน
หลายคนคงนึกถึง Jack Ma ผู้ปลุกปั้นอาณาจักร Alibaba
หรือ Pony Ma ผู้ปลุกปั้นอาณาจักร Tencent
แต่อีกคนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และครองตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของทวีปเอเชียมาอย่างยาวนาน คือ คุณ “ลี กาชิง” หรือ “Li Ka-shing”
เขาคนนี้ เริ่มต้นจากศูนย์ ก่อนก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจหลากหลายประเภท
ไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์, ท่าเรือขนส่ง, สื่อสารโทรคมนาคม, ร้านค้าปลีก หรือแม้กระทั่ง แพลตฟอร์มออนไลน์
ความสำเร็จต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้เขาได้รับฉายาว่า “ซูเปอร์แมน” แห่งเกาะฮ่องกง
และถูกยกย่องให้เป็นเหมือน วอร์เรน บัฟเฟตต์ แห่งเอเชีย เลยทีเดียว
เรื่องราวชีวิตของชายคนนี้ น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คุณ Li Ka-shing เป็นนักธุรกิจและนักลงทุน ชาวฮ่องกง
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 ปัจจุบันมีอายุ 93 ปี
เขามีชีวิตวัยเด็กที่ค่อนข้างลำบาก โดยครอบครัวอาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
แต่พอเกิดสงครามระหว่าง ญี่ปุ่น-จีน เขาและครอบครัวจึงต้องอพยพไปอยู่ที่เกาะฮ่องกง ในปี 1940
หลังจากย้ายมาได้ไม่นาน พ่อของเขาก็เสียชีวิตลง ทำให้คุณ Li Ka-shing จำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียน เพื่อหางานทำเลี้ยงครอบครัว ทั้งๆ ที่มีอายุเพียง 15 ปี เท่านั้น
เขาเริ่มทำงานในโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่ง ซึ่งต้องทำงานหนักถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน
แต่มันก็กลายเป็นโอกาสให้เขาเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมดภายในโรงงาน
ซึ่งต่อมาในปี 1950 คุณ Li Ka-shing ก็ตัดสินใจก่อตั้งบริษัทโรงงานผลิตสินค้าพลาสติกเป็นของตัวเอง ชื่อว่า Cheung Kong
ตอนแรก เขาเลือกผลิตสินค้าของเล่นพลาสติก
แต่ต่อมาได้เห็นข่าวความนิยมในดอกไม้พลาสติกที่ประเทศอิตาลี
จึงเปลี่ยนมาผลิตดอกไม้พลาสติกราคาถูก ที่มีคุณภาพดีสีสันเหมือนจริงแทน
ปรากฏว่า ธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ส่งผลให้ Cheung Kong กลายเป็นผู้ผลิตดอกไม้พลาสติกรายใหญ่ของเอเชีย
และทำให้คุณ Li Ka-shing มีฐานะร่ำรวยขึ้น
พอเริ่มมีเงินทุนในมือมากขึ้น เขาก็ลองมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจอื่นบ้าง
ในปี 1967 ได้เกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลฮ่องกง
ซึ่งบานปลายไปสู่เหตุจลาจล และลอบวางระเบิด
ประชาชนจำนวนมากในฮ่องกง ยอมทิ้งบ้านเรือนและธุรกิจ ย้ายออกจากฮ่องกงเพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม คุณ Li Ka-shing มองว่านี่เป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวที่สักวันต้องจบลง จึงหาจังหวะเข้าซื้อที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งที่ราคาตกต่ำลง และนำมันไปพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้
นอกจากนั้น ในปี 1979 บริษัท Cheung Kong ที่เขาก่อตั้งขึ้นมา ก็ได้เข้าซื้อหุ้น Hutchison Whampoa บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประกอบธุรกิจหลากหลายในฮ่องกง เช่น ท่าเรือขนส่ง ซึ่งบริษัทครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 70%, ค่ายสัญญาณโทรศัพท์ และร้านค้าปลีกสินค้าความงาม Watsons
ซึ่งในขณะนั้นเอง เศรษฐกิจฮ่องกงก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากความได้เปรียบเชิงทำเลที่ตั้งและภาคการเงินที่แข็งแกร่ง
จนทำให้พวกเขาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในสี่เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย
ปี 1971-1980 GDP ฮ่องกงโตเฉลี่ย 9.1% ต่อปี
ปี 1981-1990 GDP ฮ่องกงโตเฉลี่ย 6.8% ต่อปี
และแน่นอนว่าทุกธุรกิจที่คุณ Li-Ka shing ซื้อกิจการมา
ก็ได้รับประโยชน์ล้อไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจฮ่องกง
ส่งผลให้เขากลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยอันดับต้นๆ ของฮ่องกงและทวีปเอเชีย นับตั้งแต่นั้นมา
มาถึงปัจจุบัน ฮ่องกงกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่
จากเหตุชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่รุนแรงและยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019
ประกอบกับการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ GDP ฮ่องกงในปี 2020 หดตัวถึง 6.1%
ซึ่งมีการประเมินว่า ธุรกิจในฮ่องกงของคุณ Li Ka-shing ได้รับความเสียหายไปไม่ต่ำกว่า 90,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลกระทบแค่เพียงเล็กน้อย
เพราะก่อนหน้านี้ เขาได้กระจายการลงทุนไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่เป็นเทรนด์หลักของโลกยุคใหม่
โดยเขาได้ก่อตั้งบริษัท Venture Capital ชื่อว่า Horizons Ventures ขึ้นเมื่อปี 2002 เพื่อลงทุนในสตาร์ตอัปที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นานแต่มีศักยภาพที่น่าสนใจ
ตัวอย่างของบริษัทที่ Horizons Ventures ไปลงทุนด้วย ก็อย่างเช่น
- Facebook แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก ในปี 2007 ที่ตอนนั้นยังมีผู้ใช้งานทั่วโลกแค่ 50 ล้านคน
- Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง และพอดแคสต์ ในปี 2009 ที่ในตอนนั้นเพิ่งก่อตั้งกิจการมาแค่ 3 ปี
- Siri ระบบสั่งการอัจฉริยะ ในปี 2009 ก่อนที่จะถูก Apple ซื้อกิจการไป
แต่การลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุด คงจะเป็น “Zoom” แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์
ซึ่งกองทุนได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท สัดส่วน 8.6% ในการระดมทุนเมื่อปี 2015
ซึ่งในปีที่ผ่านมา Zoom กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้คนต้องติดต่อสื่อสารกันผ่านออนไลน์แทน
ผลจากการลงทุน ส่งผลให้หุ้นที่คุณ Li Ka-shing ถือครองอยู่ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงถึง 330,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของตัวเขา
โดยจากการประเมินทรัพย์สินล่าสุด โดย Forbes
คุณ Li Ka-shing มีทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 1,020,000 ล้านบาท
ถือเป็นบุคคลที่รวยอันดับ 2 ของฮ่องกง และอันดับ 39 ของโลก
เรื่องราวนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีว่า
ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรือมีต้นทุนชีวิตมากน้อยเท่าไร
หากตั้งใจเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานจริง และคอยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
เราก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน
เหมือนอย่างคุณ Li Ka-shing
ที่สูญเสียหัวหน้าครอบครัว เรียนไม่จบ และต้องทำงานในโรงงานตั้งแต่เด็ก
แต่เขาก็มุ่งมั่นที่จะสร้างและลงทุนในธุรกิจที่คิดว่าน่าสนใจอยู่ตลอดเวลา
จนสามารถพัฒนาจากศูนย์ มาสู่ 1 ล้านล้าน ได้ในวันนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-28/hong-kong-faces-difficult-road-to-recovery-after-record-slump?sref=x0EQiAMH
-https://en.wikipedia.org/wiki/Li_Ka-shing
-https://www.techinasia.com/li-ka-shing-story
-https://empirics.asia/from-factory-worker-to-richest-man-in-asia-the-story-of-li-ka-shing/
-https://www.forbes.com/profile/li-ka-shing/?list=hong-kong-billionaires&sh=4b98bf3e523f
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-02/one-third-of-li-ka-shing-s-wealth-is-an-11-billion-zoom-stake
-https://en.wikipedia.org/wiki/Hutchison_Whampoa
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=HK
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Youtube影片中提到,โอกาสการเติบโต ในธุรกิจเมกะเทรนด์กับ Jitta Wealth Thematic ปัจจุบัน หลายธุรกิจ กำลังเผชิญกับดิสรัปชัน ในขณะที่โควิด 19 เป็นอีกตัวเร่งที่จะทำให้ผู้นำน...
alibaba wealth 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Ant Group เจ้าของ Alipay / โดย ลงทุนแมน
“Ant Group” หรือชื่อเดิมคือ “Ant Financial Services Group”
หลายคนอาจจะแค่เคยได้ยินผ่านๆ หรือไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ
แต่รู้หรือไม่ นี่คือเจ้าของ “Alipay”
แอปชำระเงินและศูนย์รวมบริการออนไลน์ของคนจีน
ความเป็นมาของบริษัทนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ คือการเกิดขึ้นของ Alibaba Group ในปี 1999
ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Jack Ma มหาเศรษฐีชาวจีน
พอแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Alibaba เริ่มเติบโตขึ้น
Jack Ma จึงอยากให้มีระบบชำระเงิน และเทคโนโลยีด้านการเงิน
มาช่วยส่งเสริม และรองรับการซื้อขายบนโลกออนไลน์
ในปี 2004 “Alipay” จึงถือกำเนิดขึ้น
เป็นระบบชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แพลตฟอร์มของ Alibaba
Alipay เริ่มจากการพัฒนาระบบชำระค่าสินค้าผ่านเว็บไซต์ในช่วงแรก
ต่อมาในปี 2008 สามารถขยายไปชำระค่าสาธารณูปโภค
เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ผ่านช่องทางออนไลน์
และได้เปิดให้บริการชำระค่าบริการต่างๆ
ในรูปแบบ “Mobile Payment” อย่างเป็นทางการ ในปี 2009
จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้ คือในปี 2011
Alipay ได้แยกตัวออกมาจาก Alibaba
เพื่อตั้งเป็นหน่วยงานที่โฟกัสเรื่องของโครงสร้างและระบบการชำระเงินโดยเฉพาะ
จนในปี 2014 หน่วยงานที่แยกออกมานี้
ก็ก่อตั้งเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการ ชื่อว่า “Ant Financial Services Group”
และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น “Ant Group”
โดยที่ Ant Group ไม่เพียงแต่เป็นเจ้าของ Alipay เพียงอย่างเดียว
ยังมีบริการอื่นอีก เช่น ให้สินเชื่อรายบุคคล และ SMEs, บริการเกี่ยวกับการลงทุน (Wealth Management), ธนาคารออนไลน์, ประเมินเครดิต และบริการคลาวด์สำหรับจัดเก็บข้อมูลของธุรกิจ
แต่ในบรรดาบริการต่างๆ Alipay จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 ล้านบัญชี
ซึ่งคนจีนใช้จ่ายผ่านแอปฯ นี้ แทนการใช้เงินสดไปแล้ว
จะเห็นว่า หลายร้านค้าในไทย มีการรองรับการจ่ายด้วย Alipay
เพราะคนจีนเดินทางมาท่องเที่ยวที่ไทยจำนวนมาก
และนอกจากการใช้ชำระค่าสินค้าแล้ว
คนจีนยังสามารถทำได้แทบทุกอย่างใน Alipay
เช่น เรียกแท็กซี่, ซื้อตั๋วหนัง, จองโรงแรม ไปจนถึงนัดพบหมอ
นอกจากบริการที่ว่ามาทั้งหมดนี้แล้ว
Ant Group ยังร่วมลงทุนและเป็นพาร์ตเนอร์
กับบริษัทสตาร์ตอัป และบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินทั่วโลก
เช่น Paytm ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ของอินเดีย
KakaoPay ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ในเกาหลีใต้
ZhongAn Online P&C Insurance บริษัทประกันออนไลน์เต็มรูปแบบในจีน
โดยหนึ่งในนั้นก็คือ Ascend Money
บริษัท Fintech ของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในประเทศไทย
เจ้าของ TrueMoney Wallet ที่เรารู้จักกัน
ซึ่งก็ต้องบอกว่า ธุรกิจทั้งหมดในเครือ Ant Group
มีไว้เพื่อคอยสนับสนุนธุรกิจของ Alibaba Group
ในแง่ของบริการ และโครงสร้างของระบบการเงินแทบทั้งสิ้น
ทีนี้มาดูผลประกอบการของ Ant Group ในปีงบประมาณ 2019
รายได้ 542,000 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 77,000 ล้านบาท
ซึ่งจากการระดมทุนรอบล่าสุดในปี 2018
Ant Group ถูกตีมูลค่าไว้สูงถึง 4.7 ล้านล้านบาท
แต่ล่าสุดปี 2020 Ant Group กำลังเตรียมที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์
โดยคาดกันว่ามูลค่าบริษัทอาจสูงถึง 6.3 ล้านล้านบาท
เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ Alibaba Group Holding
ถือหุ้นใน Ant Financial Services Group อยู่ 33%
หลังการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
คงได้เห็น Ant Group เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจมากขึ้นอีก
และไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะได้เห็นบริการจาก Ant Group
ขยับขยายเข้ามาในไทยมากขึ้น ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.antfin.com
-Alibaba Group Holding Limited. FY 2020 Annual Report.
-https://www.alibabagroup.com/en/ir/pdf/160614/12.pdf
-https://www.cnbc.com/2020/07/20/chinas-ant-financial-to-go-public-in-dual-shanghai-hong-kong-listing.html
-https://techsauce.co/tech-and-biz/ant-financial-plans-to-ipo-in-hongkong-next-year
-https://www.reuters.com/article/us-ant-financial-ipo-exclusive/exclusive-alibabas-ant-plans-hong-kong-ipo-targets-valuation-over-200-billion-sources-say-idUSKBN2491JU#:~:text=It%20won%20regulatory%20approval%20in,financial%20documents%20seen%20by%20Reuters.
alibaba wealth 在 Jason PH 贾森 Facebook 的最佳貼文
HOLALA
🌎全球頂尖智能雲訂單匹配平台,幫助全球上萬商家實現產品銷量倍增,共創全球共贏的電商世界!
Global most intelligent cloud order-matching platform. Help millions of e-commerce merchants. Double up the sales volume. Let's create a win-win situation in online marketplace.
.
📲只需一部手機,人人可以參與,輕鬆賺取全球電商推廣獎勵,幫助千萬商家實現產品銷量倍增,成為跨境電商佼佼者!
With just a smartphone! Everyone can participate. Let's earn the reward from global e-commerce merchants, helping millions of e-commerce merchants to become best-seller. Be the leader in online marketplace.
.
⏳顛覆傳統電商推廣方式,與無效廣告徹底告別,僅需花費10%~20%廣告費用,千萬會員輕鬆讓任何品牌成為顧問首選!
Subvert the traditional promotion ways. Choose the result-oriented marketing option. Allocate just 10% -20% as your promotion cost. Acquire millions of Shoppers as your romotion consultant.
.
🏆全球Shopper募集令 Recruitment of Global Shoppers🏆
🏃♂無數商家正爭先恐後入駐HOLALA Countless merchants are eagerly joining Holala.
🎁百萬件商品每分每秒不斷更新 Millions of products were listed in Holala within every second
💵全球數億獎金懸賞領取 Billion dollars of Swiping Bonus
⛓智能匹配系統助力你輕鬆獲得 Fully automated system with no hassles
🏄♂先人一步,立刻註冊!Be the first one to register!
👫打造屬於你的全球社群! Built your own Global Shoppers Community!
🚀開拓永續經營的財富事業! Start to earn your unlimited and continuous income stream now!
🏆不要錯失良機,立刻註冊,開啓財富之路!
Don't miss this once in a lifetime opportunity, sign up immediately and begin your road to wealth now!
✅ Whatsapp Us: +601139907057
#Swiping #onlineshopping #Ecommerce #Merchants #shopper #Parttime #residualincome #businessforhome #homebusiness #Entrepreneurship #Wealth #Amazon #Alibaba #TaoBao #LAZADA #holala #holalaonline #justswipeitnow #sayyestoholala #covid19 #coronavirus #刷单 #电商 #兼职 #创业 #亚马逊 #阿里巴巴
alibaba wealth 在 ลงทุนแมน Youtube 的最佳貼文
โอกาสการเติบโต ในธุรกิจเมกะเทรนด์กับ Jitta Wealth Thematic
ปัจจุบัน หลายธุรกิจ กำลังเผชิญกับดิสรัปชัน ในขณะที่โควิด 19 เป็นอีกตัวเร่งที่จะทำให้ผู้นำนวัตกรรม มีบทบาทเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
การประชุมจากที่บ้าน การเก็บข้อมูลทางธุรกิจ ไว้บนอากาศ
สิ่งเหล่านี้ กำลังจะเป็นเมกะเทรนด์
แล้วเรา จะมีโอกาสเติบโตไปกับมัน อย่างไรได้บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้ไหมว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เติบโตมากถึง 48% ในปีที่ผ่านมา
(อ้างอิงจาก MSCI World Information Technology)
โดยธีมธุรกิจ ที่กำลังเป็นเมกะเทรนด์ มีตั้งแต่ธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เช่น Zoom แอปพลิเคชันประชุมที่เติบโตขึ้นเป็น 6 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
รวมถึง ซอฟต์แวร์องค์กรอย่าง Salesforce และ Zendesk ที่กำลังเติบโตได้ดี เช่นกัน
อีกหนึ่งเมกะเทรนด์ ก็คือ อีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเติบโต แบบก้าวกระโดด
มูลค่าการซื้อของบนอีคอมเมิร์ซ ทั่วโลก
ปี 2014 มูลค่า 39 ล้านล้านบาท
ปี 2020 มูลค่า 126 ล้านล้านบาท)
การเติบโตคิดเป็น 3 เท่า ภายใน 6 ปี
ซึ่งผู้ที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้ก็คือ Amazon ที่สหรัฐ กับยุโรป และ Alibaba ที่ประเทศจีน
นอกจากนี้ ก็ยังมี เจ้าของเทคโนโลยีทางการเงิน เช่น Square และ PayPal ที่เป็นตัวกลางการจ่าย และโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ
ในขณะที่โรคระบาดโควิด 19 ก็ทำให้เราเห็นวิวัฒนาการเกี่ยวกับวงการแพทย์
หนึ่งในนั้นก็คือ การคิดค้นวัคซีนโดยบริษัท Pfizer ร่วมกับ BioNTech ที่ทำสำเร็จในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี
นอกจากนั้น การประยุกต์ใช้กัญชาในวงการแพทย์ ก็เป็นอีกก้าวสำคัญไม่แพ้กัน
ธุรกิจเหล่านี้ ถือเป็นเมกะเทรนด์ ที่มีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจ ยักษ์ใหญ่ในอนาคต
ซึ่งเราก็สามารถเติบโตไปกับธุรกิจเมกะเทรนด์เหล่านี้ได้ด้วยบริการกองทุนส่วนบุคคล Thematic จากบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด หรือ Jitta Wealth
บริษัทแห่งนี้เป็น สตาร์ตอัป WealthTech แห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับใบอนุญาต จาก ก.ล.ต. ในการบริหารจัดการเงินลงทุนในรูปแบบ กองทุนส่วนบุคคล
โดย Thematic เป็นบริการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่จะเข้าไปลงทุนใน ETF ซึ่งจะลงทุนในเมกะเทรนด์ของโลก เช่น ธุรกิจคลาวด์ อีคอมเมิร์ซ ระบบ AI เทคโนโลยีทางการเงิน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มในการเติบโตในระยะยาว ตามหลักการลงทุนแบบ Passive
โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 100,000 บาท
ซึ่งถือว่าต่ำกว่า หากเราไปเริ่มลงทุนต่างประเทศเอง
อีกจุดสำคัญ คือเรา สามารถลงทุนได้ถึง 5 ธีม ในพอร์ตเดียวโดย Jiita ก็มีเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการให้อัตโนมัติ ทำให้เรา ไม่ต้องกังวล และคอยหาจังหวะตลาด ด้วยตัวเอง
บวกกับการลงทุนใน ETF ซึ่งจะเข้าไปลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม ก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยง และอิงการเติบโตตามกลุ่มธุรกิจ นั่นเอง
วิกฤติปีนี้ เป็น Black Swan ที่ส่งผลกระทบรุนแรง ทั่วทุกมุมโลก
แต่มันก็เป็น โอกาส ที่ทำให้เราเริ่มต้นลงทุนในธุรกิจเมกะเทรนด์ ได้เช่นกัน
หากเราเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังมองหาธีมการลงทุนในธุรกิจเมกะเทรนด์ และต้องการเติบโตไปกับธุรกิจเหล่านั้นในระยะยาว
บริการ Thematic ของ Jitta Wealth ที่ทำให้เราลงทุนในธุรกิจเมกะเทรนด์และมีเทคโนโลยีการจัดพอร์ตการลงทุนส่วนบุคคล ครบวงจรก็น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือก ที่น่าสนใจที่สุด ในช่วงนี้..
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนตัดสินใจลงทุน