"เป็นสังคัง ควรใช้ซีม่าครีม ไม่ใช่ซีม่าโลชั่น" ครับ จะได้ไม่แสบ !!
เมื่อวานโพสต์เตือนเรื่องที่มี "เด็กรุ่นพี่ ม.5 เอาซีม่าโลชั่นมาราดตัวแกล้งรุ่นน้อง ป. 2" ไปแล้วว่า ในซีม่าโลชั่นมีสารเคมีอันตรายหลายตัวที่ต้องนำมาใช้อย่างระมัดระวัง ใช้เพียงเล็กน้อยในบริเวณผิวหนังที่เป็นโรคที่ต้องรักษาเท่านั้น
แล้วก็แปลกใจว่า มีคนมาคอมเม้นต์กันเยอะเลย ว่าเคยใช้ซีม่าโลชั่นรักษาอาการ "สังคัง" จนแสบไข่ (อัณฑะ) วิ่งจ้ากกกันเลย ... .แต่ๆๆ ซีม่าโลชั่นเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่ควรใช้กับอวัยวะบอบบางอย่างแถวตรงอวัยวะเพศนะครับ ควรใช้ "ซีม่าครีม" มากกว่า
1. ผู้ชายหลายคน เคยเป็นโรคสังคัง (Tinea Cruris) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา กลุ่ม Dermatophyte จากความอับชื้นบริเวณขาหนีบและอัณฑะ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ทำกิจกรรมซึ่งมีเหงื่อออกเยอะ
- บางรายรับเชื้อสังคัง มาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว / จำนวนไม่น้อย เกิดจากการใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว กางเกงขาสั้น หรือกางเกงชั้นใน / รวมถึงผู้ที่ใส่กางเกงรัดมากเกินไป หรือใส่กางเกงยีนส์นานๆ ระบายอากาศไม่ดี เกิดความชื้นขึ้นบริเวณขาหนีบ
- โรคสังคังทำให้ผิวบริเวณขาหนีบ หรือบริเวณอื่นๆ ที่ติดเชื้อ มีอาการคันอย่างรุนแรง ต้องเกา อาจเกาจนเป็นแผล แผ่กระจายคล้ายกลาก การเกาจะทำให้เชื้อราติดเล็บมือ และลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้อย่างรวดเร็ว
2. ความเชื่อของหลายคน คือ ถ้าเป็นสังคัง ให้เอาซีม่าโลชั่นมาทา
- ซีม่าโลชั่น เป็นยาน้ำที่ใช้ฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง ของบริษัทสามัคคีเภสัชจำกัด ใช้รักษาเชื้อราบนผิวหนัง เหมาะกับการทาฆ่าเชื้อราที่เท้าหรือผิวหนังที่หนา มีการโฆษณาเผยแพร่กันมานาน ทำให้คนเข้าใจว่าเมื่อเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งรวมถึงโรคสังคังด้วย ก็ให้ใช้ยาซีม่าโลชั่นรักษา
- แต่ซีม่าโลชั่น ทำงานโดยการกัดผิวหนังให้ลอก จนเชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โดยมีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำมันนวดแก้ปวดเมื่อย มีฤทธิ์เป็นกรด กัดกร่อนผิวหนัง ไม่เหมาะกับผิวหนังที่บอบบาง ถ้าเอาไปทาลงบนขาหนีบ อัณฑะ หรือองคชาต จะเกิดอาการแสบร้อนทุรนทุราย หนังลอกได้
- ความจริงแล้ว การรักษาสังคังในเบื้องต้น ด้วยตัวเองที่บ้านได้ ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราในร่มผ้า หรือครีมสำหรับรักษาอาการคันในร่มผ้าโดยเฉพาะ มาใช้ เช่น ซีม่าครีม (Zema Cream) ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยากเช่นกันตามร้านยาทั่วไป
3. ซีม่าครีม vs ซีม่าโลชั่น
ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีชื่อที่คล้ายกัน และอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนได้
- ซีม่าโลชั่น มีตัวยาสำคัญคือ กรดซาลิซิลิก (Salicylic acid 11.8%) เรซอซินอล (resorcinol 3.8%) และฟีนอล (phenol 0.825%) ใช้รักษาการติดเชื้อราร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคผิวหนัง เช่น อาการคันผิวหนังอักเสบต่อมไขมันอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน โดยทาบริเวณที่เป็นวันละ 1-2 ครั้ง มีข้อควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงการทาใกล้บริเวณดวงตาและเนื้อเยื่ออ่อน
- ซีม่าครีม มีตัวยาสาคัญคือ คลอไตรมาโซล (Clotrimazole 1%) เป็นยาฆ่าเชื้อรา ที่ทาแล้วไม่ทำให้เกิดอาการแสบและการระคายเคือง ใช้รักษาโรคน้ากัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต ติดเชื้อรา โรคกลาก และโรคเกลื้อน โดยทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง
- ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคสังคังจึงควรเลือกใช้ซีม่าครีม มากกว่าซีม่าโลชั้น (แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ใช้เพียงสำลีชุบน้ำยาเล็กน้อย มาทาจุดที่เป็นโรคแค่บางๆ วันละ 1 ครัั้ง ไม่ถูและไม่เกา) ผู้ป่วยควรจะต้องรักษาความสะอาด ไม่เกาบริเวณที่เป็น และไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้อื่นเด็ดขาด นอกจากนี้ ยังควรทำความสะอาดผิวด้วยสบู่อ่อนๆ ทำให้ผิวแห้งและไม่อับชื้น ควรเปลี่ยนกางเกงชั้นในทันทีเมื่อมีเหงื่อ ไม่ใส่ซ้ำ และสวมใส่กางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป หากดูแลรักษาเบื้องต้นหรือทายาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ทันที
4. นอกจากนี้ ยังเคยมีการแชร์ข้อมูลผิดๆ ถึงการใช้ “ซีม่าโลชั่นทาข้อศอกและหัวเข่า ให้ขาวขึ้น" จากการที่ส่วนประกอบสาคัญของซีม่าโลชั่นนั้น มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนังชั้นนอก จึงเกิดความเข้าใจผิดนำเอาซีม่าโลชั่นมาทาลอกผิวให้ขาวขึ้น
4.1 แต่พบว่ามีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น ผิวไวต่อแสงแดด เกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย เนื่องจากผิวชั้นนอกสุดถูกลอกออกไป / สีผิวไม่สม่าเสมอ / เกิดการอักเสบ ทำให้สีผิวบริเวณนั้นคล้ำขึ้น ... จึงไม่ควรเอามาทำเช่นนี้
ภาพประกอบและข้อมุล จาก http://www.pharmacy.up.ac.th/PHAR1/Newsletter/Guest/no.58/1.pdf และ https://www.udl.co.th/zema-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%87/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...