ByteDance เจ้าของ TikTok กำลังท้าชนกับ Tencent และ Alibaba /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของประเทศจีน หลายคนคงนึกถึง
Tencent เจ้าตลาดโซเชียลมีเดียและเกมออนไลน์
Alibaba เจ้าตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
Baidu เจ้าตลาดบริการเซิร์ชเอนจิน
แต่ในระยะหลัง มีบริษัทหนึ่ง เริ่มแย่งชิงเวลาของผู้บริโภคไปจากยักษ์ใหญ่เหล่านี้ มากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง TikTok
ซึ่งหลังจาก ByteDance สร้างป้อมปราการอันแข็งแกร่งในธุรกิจโซเชียลมีเดียได้แล้ว สิ่งที่พวกเขาเล็งไว้ต่อไปคือ การรุกเข้าสู่เทคโนโลยีด้านอื่น แม้ว่าอาจจะต้องเปิดศึกกับเจ้าตลาดเดิมก็ตาม
แล้วตอนนี้ ByteDance กำลังทำอะไรอยู่บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนไปเมื่อปี 2016 หรือ 5 ปีที่แล้ว
ByteDance เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น สำหรับคนจีน ชื่อว่า Douyin หรือในเวอร์ชันสากล ที่คนต่างชาติ รวมถึงคนไทยเราคุ้นเคยกันในชื่อ “TikTok”
แนวโน้มที่คนติดตามคอนเทนต์สั้นมากขึ้น ประกอบกับฟีเชอร์ลูกเล่นตกแต่งคลิป ที่สำคัญคือความโดดเด่นในเรื่องอัลกอริทึมที่คัดวิดีโอตามความสนใจของผู้ใช้งานได้ดีมาก ส่งผลให้ TikTok ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ
ปัจจุบัน TikTok มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2,000 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้งานประจำ หรือ Active Users ทั่วโลก สูงถึง 1,332 ล้านบัญชีต่อเดือน
ด้วยเหตุนี้ ByteDance จึงมีรายได้ค่าโฆษณามหาศาล และเติบโตแบบก้าวกระโดด
ปี 2018 รายได้ 2.4 แสนล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 5.5 แสนล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งทำให้ ByteDance เป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นใหญ่สุดของโลก มีมูลค่าประเมินของบริษัท ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5.9 ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างฐานผู้ใช้งานหลักพันล้าน ในเวลาไม่นาน
แต่คำถามที่น่าสนใจคือ ByteDance มีแผนเติบโตต่อไปอย่างไร ?
เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ให้คนมาสร้างสรรค์คลิป หรือรับชมวิดีโอสั้น
ByteDance จึงเห็นโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับ “คอนเทนต์” และ “บริการ” ประเภทต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้มีการใช้งาน TikTok เพิ่มขึ้น
ซึ่งจุดนี้ บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้งานขนาดใหญ่ เพื่อเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม หรือเสนอบริการใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภคได้ในทันที
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจอื่นที่น่าสนใจของ ByteDance และคู่แข่งที่ต้องเผชิญหน้าด้วย
- ธุรกิจเกมออนไลน์
คลิปเกม เป็นหนึ่งในคอนเทนต์ยอดนิยมบน TikTok และเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินมหาศาล เพราะผู้เล่นสมัยนี้ พร้อมจ่ายเงินไม่จำกัด เพื่อซื้อไอเทมพิเศษ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ByteDance จึงตัดสินใจทุ่มเงิน 1.3 แสนล้านบาท เข้าซื้อบริษัท Moonton ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมแนว Multiplayer Online Battle Arena (MOBA)
รวมทั้งเข้าซื้อบริษัท C4Games ผู้พัฒนาเกมชื่อดังอย่าง Red Alert OL และลงทุนในบริษัท Reworld ผู้พัฒนาเกมที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น คล้ายกับ Roblox
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Tencent ซึ่งเป็นทั้งผู้ให้บริการ ผู้พัฒนา และลงทุนในเกมดังมากมาย เช่น Honor of Kings, League of Legends, RoV และ PUBG
- แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง
เพลง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์หลักบน TikTok ที่ทำให้เกิดคลิปไวรัล และนำไปสู่การสร้าง Challenge ด้านการร้องและการเต้นมากมาย
ทำให้เมื่อปีที่แล้ว ByteDance ได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง ชื่อว่า Resso ซึ่งผสมผสานความเป็นโซเชียลเข้าไป โดยสมาชิกสามารถแชร์หรือโพสต์คุยกันเกี่ยวกับเพลงได้
นอกจากนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มโซเชียลในรูปแบบเสียง คล้ายกับ Clubhouse อีกด้วย
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Tencent ซึ่งมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงถึง 800 ล้านบัญชี อย่างแอปพลิเคชันสตรีมมิงเพลง JOOX ที่นิยมในไทย ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Tencent ด้วย
- แอปพลิเคชันแช็ต
เมื่อมีคลิปไวรัลเกิดขึ้นบน TikTok สิ่งที่ผู้คนมักจะทำถัดมา คือ การแช็ตเรื่องดังกล่าวกับเพื่อน
ด้วยเหตุนี้ ByteDance จึงพัฒนาแอปพลิเคชันแช็ต ชื่อว่า Duoshan และ Flipchat ขึ้นมา โดยมุ่งเน้นฟีเชอร์แบบวิดีโอแช็ต และสามารถตั้งห้องคุยเรื่องน่าสนใจในโลกออนไลน์ได้
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ในจีน ก็ยังคงเป็น Tencent ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันแช็ตชื่อดังอย่าง WeChat ที่มีผู้ใช้งานประจำ สูงถึง 1,225 ล้านบัญชีต่อเดือน
ซึ่งไม่นานมานี้ เรื่องแอปพลิเคชันแช็ต กำลังเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างทั้งสองบริษัทด้วย โดย TikTok ได้ยื่นฟ้อง Tencent ในกรณีที่จำกัดไม่ให้ผู้ใช้งาน Douyin แชร์คอนเทนต์ไปยัง WeChat
- ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ในปัจจุบัน รูปแบบการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่มาแรง ก็คือ Social Commerce ที่การรีวิวหรือโฆษณาสินค้าบนโซเชียลมีเดียโดย Influencer เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
จึงทำให้ ByteDance เพิ่มฟีเชอร์ในแอปพลิเคชัน TikTok ให้คนที่ชมคลิป สามารถกดปุ่มเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ และสั่งซื้อสินค้าที่สนใจได้ในทันที
นอกจากนั้น บริษัทยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของตัวเอง ชื่อว่า Zhidian และ Xincao รวมทั้งเปิดให้บริการ Douyin Pay ซึ่งเป็น e-Wallet สำหรับชำระเงินค่าสินค้าอีกด้วย
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Alibaba เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Taobao, Tmall, Lazada รวมไปถึงบริการชำระเงินยอดนิยมอย่าง Alipay
- บริการเซิร์ชเอนจิน
โดยปกติ คนเล่น TikTok มักจะมีการค้นหาวิดีโอที่อยากดู หรือหาคอนเทนต์ตัวอย่างมาใช้สร้างสรรค์คลิป
ซึ่ง ByteDance ก็พยายามต่อยอด ด้วยการพัฒนาระบบเซิร์ชเอนจินภายในแอปพลิเคชัน ให้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ทั่วไป เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Baidu ซึ่งครองตลาดเซิร์ชเอนจินในประเทศจีน สัดส่วนกว่า 75%
จากเรื่องราวนี้ ทุกคนคงพอเห็นภาพแล้วว่า
ByteDance มีการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน TikTok ในหลากหลายด้าน
ซึ่งก็น่าติดตามต่อว่า จิกซอว์แต่ละชิ้น จะทำให้ Ecosystem ของบริษัทแข็งแกร่งขึ้น และแข่งขันกับเจ้าตลาดเดิมอย่าง Tencent, Alibaba และ Baidu ได้สูสีมากน้อยเพียงใด
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้ อาจจะไม่มีบริษัทไหน อยากทำตัวโดดเด่นมากจนเกินไป
เพราะตัวละครสำคัญของเรื่องนี้ อย่าง “รัฐบาลจีน” กำลังเข้ามากำกับธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้บริษัทยักษ์ใหญ่มีอำนาจผูกขาดตลาด
ซึ่งตัวละครสำคัญตัวนี้ คงเป็นคู่ต่อสู้ ที่ไม่มีใครกล้าท้าชนด้วยเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cbinsights.com/research/report/bytedance-tiktok-unicorn/
-https://www.statista.com/statistics/272014/global-social-networks-ranked-by-number-of-users/
-https://www.cnbc.com/2021/03/23/bytedance-takes-on-tencent-with-major-gaming-studio-acquisition.html
-https://kr-asia.com/bytedance-acquires-c4-games-challenging-tencent-overseas
-https://www.marketthink.co/13339
-https://www.marketthink.co/13010
-https://www.cnbc.com/2021/06/17/chinas-bytedance-tiktok-owner-saw-revenue-surge-111percent-in-2020.html
taobao revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา ทำไม Baidu ยอมจ่ายเงินแสนล้าน แลกกับ แพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิง /โดย ลงทุนแมน
เมื่อไม่นานมานี้ วงการเทคโนโลยีมีข่าวที่น่าสนใจเกิดขึ้น
นั่นคือ “Baidu” บริษัท Search Engine อันดับหนึ่งของประเทศจีน
ประกาศเข้าซื้อแพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิงในประเทศจีน ชื่อว่า “YY” ด้วยราคาสูงถึง 109,000 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวของ Baidu ครั้งนี้
น่าจะทำให้การแข่งขันในธุรกิจโซเชียลมีเดียจีน ดุเดือดมากยิ่งขึ้น
YY คือใคร ทำอะไร
แล้วทำไม Baidu ถึงต้องการซื้อแพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Baidu เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ จากประเทศจีน
ประกอบธุรกิจหลัก คือ การให้บริการระบบค้นหาข้อมูล หรือ Search Engine
ซึ่งมีผู้ใช้งานประจำถึง 204 ล้านคนต่อวัน
จึงมักจะถูกเปรียบว่าเป็น “Google แห่งเมืองจีน”
Baidu จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ
ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ผลประกอบการของ Baidu กลับไม่ได้เติบโตสูงเหมือนกับบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆ ในอุตสาหกรรม
ปี 2019
ไตรมาสที่ 1 รายได้ 109,000 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 2 รายได้ 116,000 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 3 รายได้ 119,000 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 4 รายได้ 123,000 ล้านบาท
ปี 2020
ไตรมาสที่ 1 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 2 รายได้ 112,000 ล้านบาท
รายได้ของ Baidu ซึ่งมีสัดส่วนหลักมาจากค่าโฆษณา มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะครึ่งแรกของปีนี้ ที่รายได้ลดลงราว 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะมันสะท้อนว่า ธุรกิจออนไลน์ในประเทศจีนมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง จนบริษัทคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น ByteDance, Tencent, Alibaba สามารถแย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาที่เคยเป็นส่วนของ Baidu ไปได้
สาเหตุเนื่องจาก คอนเทนต์ที่กำลังเป็นที่นิยมของชาวจีน และดึงดูดเม็ดเงินโฆษณาส่วนใหญ่
คือ แพลตฟอร์มที่เป็น “สื่อโซเชียลมีเดีย”
ByteDance
เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีน
ซึ่งมีผู้ใช้งานประจำ 600 ล้านบัญชีต่อวัน
Tencent
เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น Kuaishou
ซึ่งมีผู้ใช้งานประจำ 300 ล้านบัญชีต่อวัน
Alibaba
เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Taobao ที่มีฟีเจอร์ไลฟ์สตรีมมิง สำหรับนำเสนอสินค้า
ซึ่งมีผู้ใช้งานประจำ 299 ล้านบัญชีต่อวัน
ความจริงแล้ว Baidu เองก็เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ขนาดใหญ่ ชื่อว่า iQiyi ซึ่งมีผู้สมัครใช้บริการสูงถึง 530 ล้านบัญชี
แต่แพลตฟอร์มดังกล่าว เน้นให้บริการคอนเทนต์ภาพยนตร์ คล้ายกับ Netflix
ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดีย ที่มีพื้นที่ให้ผู้คนสามารถแชร์คอนเทนต์ของตนเองได้
ที่สำคัญคือ iQiyi ยังไม่เคยมีกำไรจากการดำเนินงานเลย
โดยปี 2019 ขาดทุนสูงถึง 45,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมงบการเงินของ Baidu
นอกจากนั้น บริษัทคู่แข่งก็มีแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ในลักษณะคล้ายกัน เช่น Tencent Video ของ Tencent ที่มีสมาชิก 900 ล้านบัญชี หรือ Youku ของ Alibaba ที่มีสมาชิก 500 ล้านบัญชี
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Baidu พยายามหาโอกาสลงทุนในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อกระจายความเสี่ยงกิจการ และสร้างการเติบโตตามเทรนด์ของตลาด
ซึ่งก่อนหน้านี้ Baidu เริ่มขยับตัวบ้างแล้ว
โดยในปี 2017 ได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น ชื่อว่า Haokan
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานประจำ 110 ล้านบัญชีต่อวัน
แต่ตัวเลขนี้ก็ถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับเจ้าตลาดอย่าง Douyin หรือ Kuaishou
อย่างไรก็ตาม Baidu ยังพอมีจุดแข็งไว้ใช้ต่อสู้อยู่
นั่นคือ เงินสดในมือกว่า 660,000 ล้านบาท
และเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
บริษัทได้ตัดสินใจยื่นข้อเสนอ เพื่อขอซื้อกิจการ “YY” แพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิงชื่อดังของประเทศจีน ด้วยราคาประมาณ 109,000 ล้านบาท
เจ้าของแพลตฟอร์ม YY คือ JOYY Inc. บริษัทเทคโนโลยี สัญชาติจีน
ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดราว 2.7 แสนล้านบาท
โดยนอกจาก YY แล้ว บริษัทยังเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิงอื่นๆ ด้วย เช่น Bigo Live ที่คนไทยน่าจะพอคุ้นชื่อกันอยู่บ้าง
แต่บริษัทยอมตกลงขาย YY ให้กับ Baidu เนื่องจากต้องการลดการพึ่งพารายได้จากประเทศจีน ซึ่งกำลังมีการกำกับดูแลที่เข้มงวด เพื่อไปมุ่งเน้นตลาดต่างประเทศแทน
แล้ว YY ตอบโจทย์การขยายธุรกิจโซเชียลมีเดียของ Baidu อย่างไร?
ในปัจจุบัน YY มีผู้ใช้งานประจำอยู่ราว 41 ล้านบัญชีต่อเดือน ซึ่งอาจไม่ใช่จำนวนที่สูงมากนัก
แต่ทาง Baidu จะได้ครอบครองเทคโนโลยี โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มต้นพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่เองตั้งแต่ต้น ซึ่งอาจทำให้ตามผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดไม่ทัน
ทั้งนี้คาดว่าบริษัทจะทำการเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม YY เข้ากับ Baidu
เพื่อนำเสนอฟีเจอร์ไลฟ์สตรีมมิงให้แก่ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของ Baidu ได้ในทันที
ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้ใช้งานต้องการข้อมูลสำหรับใช้สร้างคอนเทนต์ในการไลฟ์สตรีมมิง
ไม่ว่าจะเรื่องข่าวสาร, ความบันเทิง หรือแคสต์เกม
ก็จะสามารถเข้าไปค้นหาใน Baidu ที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูลออนไลน์ ได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งก็น่าติดตามต่อไปว่า Baidu และ YY จะช่วยส่งเสริมประโยชน์ให้กันและกันได้ดีแค่ไหน
และพวกเขาจะไล่ตามโซเชียลมีเดียรายอื่นทันหรือไม่
แต่ที่แน่ๆ คือ ในอนาคต เราคงได้เห็นข่าวดีลซื้อขายแพลตฟอร์มออนไลน์อีกมากมาย ไม่ว่าในจีนหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
เพราะตอนนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญ
ที่บริษัทชั้นนำต่างๆ กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อแย่งชิงเวลาทุกวินาทีบนโลกออนไลน์ให้ได้มากที่สุด
ใครเดินช้าไปแม้แต่ก้าวเดียว คงยากที่จะไล่ตามคนอื่นทัน
และทางลัดก็คือ การซื้อกิจการที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาขยายให้ดีขึ้นนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://techcrunch.com/2020/11/16/baidu-to-acquire-joyys-chinese-live-streaming-service-yy-for-3-6b/
-https://www.washingtonpost.com/business/this-36-billion-search-for-relevance-wont-bring-much-joyy/2020/11/17/f0ba8d58-289a-11eb-9c21-3cc501d0981f_story.html
-https://variety.com/2020/biz/asia/baidu-agrees-to-buy-joyy-china-live-streaming-business-1234833433/
-https://www.fool.com/investing/2020/10/27/baidu-challenge-bytedance-buying-joyy-china-biz/
-https://www.macrotrends.net/stocks/charts/BIDU/baidu/revenue
taobao revenue 在 Nana NicOle ii Facebook 的最佳解答
娜娜教你如何轻松获得100块的Cash Back!
18.06.2017-10.07.2017
只要你付款使用 Revenue Harvest (Malaysia e-banking) ,把您已购买的物品及电子收据发在
🔼 revPAY Facebook Page 🔽,
就有机会赢取高达 RM100 的现金回扣!CASH BACK!只限首760位!所以行动要快!
总额高达 RM80,000 等待您来赢 取!欲知更多详情可以去到 revPAY 的面子书,或以下连接了解详情
#revPAY #POSTnWIN #RM80000 #Taobao
http://bit.ly/revPAY-618-Promo-NanaNicole
感谢 @justinaal 的友情客串
video完整版请到 Facebook Nana Nicole Full 查看
taobao revenue 在 What is Taobao Live? - YouTube 的必吃
See how popular online video-streaming tool Taobao Live is being used by merchants to reach and engage with their consumers. ... <看更多>
taobao revenue 在 revPAY - Home | Facebook 的必吃
For your convenience, we (revPAY - Revenue Harvest Sdn Bhd) are offering our assistance on behalf of Taobao/Alipay to process your refund request directly ... ... <看更多>