ประเทศไหน ใช้เงินสด น้อยที่สุดในโลก ? /โดย ลงทุนแมน
วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด
หากให้ลองนึกถึงประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้
หลายคนก็น่าจะนึกถึงประเทศจีน หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา
แต่คำตอบที่ได้จะไม่ใช่ทั้ง 2 ประเทศนี้เลย
แล้วประเทศนั้นคือประเทศอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแห่งนี้มีสัดส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 51%
เมื่อเทียบกับธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในประเทศ
รองลงมาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปฝั่งเหนือ
ซึ่งก็ได้แก่ ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสวีเดน
ที่สัดส่วนการใช้เงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 55%
แต่พอมาวันนี้ หากเราลองมาดูสัดส่วนการใช้เงินสดของ 5 ประเทศ ที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 สวีเดน 9%
อันดับที่ 2 เนเธอร์แลนด์ 14%
อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 23%
อันดับที่ 4 ฟินแลนด์ 24%
อันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา 28%
กลับกลายเป็นว่าแชมป์โลกเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตกไปอยู่อันดับที่ 5
และประเทศ “สวีเดน” ได้กลายมาเป็นประเทศที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก
คำถามที่ตามมาก็คือ เพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้ว หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศสวีเดน ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินมาอย่างยาวนาน อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 1661 เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มใช้ธนบัตร
ปี 1967 เริ่มใช้ตู้ ATM เป็นประเทศที่ 2 ของโลก ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษเพียง 1 สัปดาห์
และรู้หรือไม่ว่า ภายในปี 2023 เราอาจไม่ได้เห็นการใช้เงินสดในประเทศสวีเดนอีกเลย
เพราะมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนมีนาคม ปี 2023
ประเทศสวีเดนจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศแรกของโลก
นอกเหนือจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเงินแล้ว
ประเทศสวีเดนยังได้รับความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย
ทั้งผู้พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี รวมถึงผู้ใช้งาน
ในด้านของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศสวีเดนถือว่าเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง Spotify, SoundCloud และ Skype
หรือแม้แต่ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า Klarna ก็ก่อตั้งจากประเทศแห่งนี้
และแน่นอนว่ามันเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับระบบการชำระเงินผ่านการซื้อของออนไลน์
ที่ขาดไม่ได้คือแรงผลักดันจากรัฐบาลและกลุ่มสถาบันการเงิน
ที่ได้ออกกฎเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้ารับชำระเงินจากลูกค้าในแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการที่ภาครัฐผลักดันให้เลิกใช้เงินสด นอกจากเรื่องของความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานแล้ว
สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การลดการก่ออาชญากรรม ทั้งการปล้นเงินสด หรือการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตจะสามารถตรวจสอบได้
ในขณะเดียวกัน เงินสดยังมีต้นทุนในการจัดการสูง โดยเฉพาะเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญที่นำสวีเดนไปสู่สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
โดยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน 6 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางสวีเดน
ได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟน ที่มีชื่อว่า “Swish”
ตรงนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยเอง
ก็มีระบบพร้อมเพย์ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ถูกผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าเราจะมีพัฒนาการในลักษณะเดียวกันกับสวีเดนได้หรือไม่
กลับมาที่ Swish แอปพลิเคชันดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ชาวสวีเดน
เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตแบบที่ไม่ใช้เงินสดได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะปัจจุบันมีชาวสวีเดนที่ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันนี้ มากกว่า 60% ของประชากรแล้ว
และในปัจจุบัน ธนาคารกลางสวีเดนก็กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง
ชื่อว่า e-krona ที่คาดว่าจะใช้งานได้จริงภายในปี 2025 อีกด้วย
ในส่วนของผู้ใช้เทคโนโลยีก็สำคัญเช่นกัน เพราะชาวสวีเดนถือได้ว่าเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็ว
สะท้อนมาจากผลสำรวจเมื่อปลายปี 2020 ที่ว่า คนสวีเดนทุก 3 ใน 4 คน
เลือกที่จะใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศเกาหลีใต้
ในขณะที่ชาวสวีเดนมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 94% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนสวีเดน
ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้รวดเร็วที่สุดในโลกนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยคำถามที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วจีนอยู่ตรงไหน ?
เรามาดู อันดับประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย ก็คือ
อันดับที่ 1 เกาหลีใต้ ใช้เงินสด 34%
อันดับที่ 2 สิงคโปร์ ใช้เงินสด 39%
อันดับที่ 3 จีน ใช้เงินสด 41%
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประเทศจีนยังอยู่ในอันดับที่ 3
แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน
รู้หรือไม่ว่าสมัยนั้นคนจีนยังใช้เงินสดกันทั้งประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าอีกหน่อยโลกของเราก็น่าจะหมุนเข้าหาสังคมไร้เงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และตัวกลางในการรับชำระอย่างเหรียญและธนบัตร ที่ใช้กันมานานกว่าหลายชั่วอายุคน
อาจจะกลายเป็นของสะสม หรือเป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ แค่ในพิพิธภัณฑ์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://interestingengineering.com/sweden-how-to-live-in-the-worlds-first-cashless-society
-https://www.weforum.org/agenda/2021/01/this-chart-shows-cash-cashless-finance-payment-methods-global-preference/
-https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.ZS?most_recent_value_desc=true
-https://en.wikipedia.org/wiki/Swish_(payment)
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過13萬的網紅ふたりぱぱ FutariPapa,也在其Youtube影片中提到,春の北スウェーデン。まだまだ気温は寒いけれど、太陽の光を求めて外へと出かけます!お友達と島まで海の上を歩いていくことにしました。今年は僕らが住む街が市制400年を迎えるということで、街の紹介もしています。クイズもあるよ! (Translated by The LK Sisters) 動画内 参考...
sweden wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เส้นทางของ IKEA จากอดีตสู่ปัจจุบัน /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า บริษัทขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือใคร
คำตอบนั้นก็คือ IKEA
แต่รู้ไหมว่า IKEA กำลังทดลองโมเดลธุรกิจใหม่
คือ ธุรกิจลีสซิ่ง หรือการให้เช่าซื้อเฟอร์นิเจอร์ และธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์มือสอง
สองโมเดลใหม่ ที่ IKEA กำลังทดลองอยู่นี้ น่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ IKEA กันก่อน..
IKEA ก่อตั้งขึ้นในปี 1943 โดยนักธุรกิจชาวสวีเดน ที่ชื่อว่า อิงวาร์ คัมพรัด
คุณอิงวาร์ เกิดในครอบครัวชาวนา
และเริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ด้วยการขายไม้ขีดไฟ
เขาเดินทางไปกรุงสต็อกโฮล์มที่อยู่ห่างจากบ้านของคุณอิงวาร์ในชนบทถึง 500 กิโลเมตร
เพื่อที่จะได้ซื้อไม้ขีดไฟในราคาขายส่ง มาขายปลีกในชนบท
เมื่อธุรกิจขายไม้ขีดไฟไปได้ดี คุณอิงวาร์ ก็เริ่มนำสินค้าอื่นมาขายเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้นคริสต์มาส เมล็ดพืช ปากกา ดินสอ
หลังจากที่ คุณอิงวาร์ ทำงานเก็บเงินตั้งแต่เด็ก และได้รับเงินสนับสนุนบางส่วนจากคุณพ่อ
ทำให้เมื่ออายุ 17 ปี คุณอิงวาร์ ตัดสินใจรวบรวมเงินที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อนำไปเป็นทุนในการเปิดร้านขายสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน
และร้านนั้นก็ชื่อว่า IKEA..
โดยตอนแรก IKEA เริ่มจากการขายโต๊ะที่ใช้ภายในครัว
ก่อนที่จะเริ่มแตกไลน์ไปขายเฟอร์นิเจอร์อื่น
IKEA มีชื่อเสียงและเติบโตในสวีเดนอย่างรวดเร็ว
จนสามารถขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้ในปี 1963
โดย ณ สิ้นปี 2019 IKEA มีสาขาทั้งหมด 433 สาขา
ซึ่งกระจายอยู่ใน 52 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานรวมกว่า 211,000 คน
ถ้าถามว่า ทำไม IKEA ถึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก?
เรื่องนี้เป็นเพราะว่า การขนส่งเฟอร์นิเจอร์โดยเฉพาะของที่มีขนาดใหญ่ในอดีต จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังอาจจะทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย
IKEA จึงเริ่มปรับโมเดลธุรกิจ
ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถแยกส่วนประกอบต่างๆ แล้วบรรจุให้เข้าไปอยู่ในกล่อง
ตรงนี้เอง ที่ทำให้เกิดเฟอร์นิเจอร์แบบกล่องแบน (Flat-Pack Furniture) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ขนส่งสะดวก ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง และให้ลูกค้าสามารถประกอบด้วยตัวเองได้ที่บ้านแบบไม่ยาก
โมเดลธุรกิจนี้ทำให้ธุรกิจของ IKEA นั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกลายมาเป็นบริษัทขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบัน
และเมื่อไม่นานมานี้ IKEA ก็กำลังทดลองโมเดลธุรกิจแบบใหม่
ปี 2019 IKEA เริ่มทดลองธุรกิจลีสซิ่งเฟอร์นิเจอร์ โดยเริ่มต้นจากเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กันในสำนักงาน ซึ่งถูกนำไปใช้ที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรก
โมเดลธุรกิจแบบลีสซิ่งของ IKEA ก็คือ
IKEA จะให้ลูกค้าสำนักงาน เช่าซื้อเฟอร์นิเจอร์ไปใช้ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่า ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะคืน หรือจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้น
โดยโมเดลนี้ ถูกคิดมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแบบหรือเปลี่ยนรุ่นเฟอร์นิเจอร์บ่อยๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทิ้งของเดิม
และเมื่อไม่นานมานี้ IKEA ยังเริ่มทดลองธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์มือสอง
โดยโมเดลนี้ จะเริ่มทดลองที่สวีเดนเป็นประเทศแรก ซึ่งถ้าได้รับการตอบรับที่ดี IKEA ก็จะเริ่มนำไปใช้ยังประเทศอื่น
ทั้ง 2 โมเดลที่ว่ามานี้ เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมของ IKEA ที่ต้องการเป็นธุรกิจที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็นมิตรต่อสภาพอากาศอย่างสมบูรณ์ ภายในปี 2030 เพราะทั้ง 2 โมเดลจะทำให้ลดการทิ้งเฟอร์นิเจอร์ไปได้จากการนำไปให้คนอื่นใช้ต่อ
แล้วผลประกอบการของ IKEA เป็นอย่างไร?
ปี 2018 รายได้ 1.4 ล้านล้านบาท กำไร 54,300 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 1.5 ล้านล้านบาท กำไร 67,000 ล้านบาท
สำหรับประเทศไทย IKEA เข้ามาเปิดสาขา ตั้งแต่ปี 2011
โดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่างตัวแทนของ IKEA ประเทศไทย คือ บริษัท อิคาโน่ (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบัน IKEA ในประเทศไทยมี 2 สาขาใหญ่ คือ สาขาเมกาบางนา ซึ่งเป็นสาขาแรก
และสาขาที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เป็นสาขาที่สอง ทั้งยังเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ส่วนอีกสาขาที่จังหวัดภูเก็ตจะเป็น ศูนย์บริการสั่งซื้อและรับสินค้าของอิเกีย
รายได้และกำไรของ บริษัท อิคาโน่ (ประเทศไทย) จำกัด (IKEA ประเทศไทย)
ปี 2018 รายได้ 5,946 ล้านบาท กำไร 52 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 6,154 ล้านบาท กำไร 133 ล้านบาท
ก็น่าสนใจเหมือนกันว่า
ถ้า IKEA ในประเทศไทย เริ่มให้บริการธุรกิจลีสซิ่งเฟอร์นิเจอร์ และธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์มือสอง จะตอบโจทย์คนไทยมากแค่ไหน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปัจจุบัน แม้ว่า IKEA จะเป็นบริษัทขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่นักลงทุน ไม่สามารถร่วมเป็นเจ้าของ IKEA ได้ เนื่องจาก IKEA ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
และในปี 2019 ตระกูลคัมพรัด ของคุณอิงวาร์ ผู้ก่อตั้ง IKEA ก็มีทรัพย์สินรวมกันกว่า 2.3 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/IKEA
-https://www.statista.com/statistics/264433/annual-sales-of-ikea-worldwide/
-https://www.statista.com/statistics/241806/gross-income-of-ikea-worldwide/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ingvar_Kamprad
-https://www.ikea.com/th/th/this-is-ikea/about-us/our-heritage-pubad29a981
-https://www.ft.com/content/da461f24-261c-11e9-8ce6-5db4543da632
-https://www.dailysabah.com/business/ikea-to-open-used-furniture-store-in-sweden/news
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2
-https://investotrend.com/ikea-stock-and-competitors-where-to-invest/
-https://www.topmost10.com/top-10-billionaires-in-sweden-and-their-net-worth-as-at-2019/6/
sweden wiki 在 雨島人 People from Drizzle Facebook 的最佳貼文
[綿綿絮雨的日子,你知道這幾個星期基隆正在與北歐做深度的藝術交流嗎?]
.
#我覺得產值這件是蠻有趣的
#有些東西你沒看到它的無形價值但你不能說他沒有價值
/ 策展人 黃又文
.
這幾周來自亞熱帶台灣的策展人黃又文與來自北歐芬蘭的策展人Nina-Maria Oförsag正在讓台灣與北歐藝術家們在基隆的太平國小做一場深度的藝術駐村計畫,
這次駐村計畫有一個很美的名字,
.
基隆夜-北極光
.
透過水、光讓兩邊的文化相互輝映,
「台灣是海洋國家,
但是我們跟海卻不親近
我們或許跟北歐諸國是完全不同的文化種族和語言,
但是與海依存的迫切議題卻有很多可以對話。」
.
在11/23那天他們舉辦了一場在86設計公寓的即興音樂會,
老實說小編被深深的震撼,
那種異文化在短時間內快速的交融在一起,
產生了另一種型態沒看過的藝術型態,
說真的,
迷人到不像話。
.
這幾周藝術家們的創作會在12.01-12.10 在太平國小展出,
也希望大家可以上去看看太平國小再次的華麗轉身,
小編也特別訪問了這次活動策展人之一的黃又文,
以下文比較長希望大家能好好看一下喔!!
讓大家對這次活動能有更深一層的理解喔!
.
--------------------------------------------------------------------------
1.#所以整個活動流程大致上是邀請北歐跟台灣藝術家在太平國小那邊駐村創作嗎?
.
沒錯。
故事始末其實可以參考官網的ABOUT:https://knnlartproject.wordpress.com
但是關於河流那段已經沒有了,
不過或許之後會再下一年在討論...
起源是希望可以邀請北歐的藝術家提供同為海洋國家的觀點,
台灣是海洋國家,
但是我們跟海卻不親近。
我們或許跟北歐諸國是完全不同的文化種族和語言,
但是與海依存的迫切議題卻有很多可以對話。
如何透過他們的作品看到北歐當代藝術觀點、透過藝術家的眼睛重新觀看基隆這座城市,
我相信基隆有很可以國際化的本錢,
畢竟他過去曾經是,
#我相信未來也有機會重新找到這個城市美麗的樣子。
.
藝術家們會進駐三到四週,住在太平國小,
然後在教室裡面進行創作,一人一間,
所以總共會有二三樓的十件作品。
關於空間的對話、對於城市的感受、
藝術家在駐村本來的意義就是,
對環境友善,進入社區。
(美國對藝術村的定義:「藝術村是專門運作的組織,為藝術家的創作研究提供時間、空間和支持,讓藝術家進入一個滿布鼓勵和友誼的環境。」詳情可參考:https://zh.wikipedia.org/wiki/藝術村)
.
.
2.#妳希望這件事情長遠看會對這座城市帶來什麼影響?.
.
我認為這是一個可以介入這個社區的方式,
#透過藝術駐村,#達到漸漸有人開始重視這個環境,
藝術或許是除了建築、設計之外的另外一個可以嘗試的方式。
長遠來說,
還有很多可以考慮的面向,
藝術家從開始住在這裡,就夠引起基隆市民的好奇了,
每天他們在坡上走上走下,
自然就會遇到外面的人,引起好奇。
.
當然長遠來說,我的目的不只是這個,
透過官方的交流,台灣總是會被打壓,
但是透過文化、藝術的交流則是比較容易進行,
也希望為基隆帶來更多的可能性。
.
.
3.#這些藝術家是妳本來就認識的嗎?(台灣的)
.
台灣藝術家是我本來就認識,有合作過的,
程仁珮在夜視基隆港有展出,
這次的計畫會再更延續之前的調查,
我覺得會有某些連結。
蔡坤霖大家都知道他的聲音雕塑,
但很少人知道他也專精版畫,
但是卻把版畫變成雕塑,
我覺得可以提供一個對於傳統媒材的新的想像。
(蔡坤霖網站:http://tsaikuenlin.com/art/)
galley-->art-->其中的版雕塑和行旅圖
他這次會揉和歷史、傳統、民俗、傳奇故事、地理景觀等等,應該會很有意思~
.
.
4.#對策展,#藝術交流這件事情為什麼這麼有熱情?
.
熱情嗎...
我覺得與其說是熱情,不如說是使命感。
因為工作的關係我去過很多國家交流,
#台灣要做國際交流多麼的難。
.
但有趣的是,
我們總想成為「別人」,#而忘了自己是誰。
但是外國人想知道的,
其實是最「在地」的文化,
是那些或許主流不認可的。
.
外面的世界那麼壞,
我們的國家怎麼樣可以讓它變好。
不是靠別人,而是靠自己一點點開始。
我知道這個計畫即使沒有拿到補助資源,
但是如果我們要等到資源都到位了才做事,
那就已經來不及了。
.
#能做多少是多少。
但是,當你真的想努力完成一件事,
全世界都會來幫你。
.這個過程中真的感謝非常非常多的朋友和陌生人,
給予藝術家們協助,這個計畫才能順利進行。
.
#台灣人真的超級棒,
給藝術家們留下非常好的印象。
(還是有拿到一點點微薄東湊西湊的贊助啦,
不過也因此更感謝其他給予協助的親朋好友)
.
.
5.#那你覺得現在最大的難題是什麼?
不知道大家能否接受讓太平國小有更多的可能性,
還有開幕那天會不會下雨XD
.
.
------------------------------------------------------------------
如果有人問我台灣的下個經濟奇蹟是什麼時候?
我覺得是到大部分的人都能認可這些無形價值的時候,
這幾年好多人回到這塊土地努力,
從有名的江振誠、李安等等到這些在一方土地努力的策展人,
都開始想為台灣這塊招牌找到自己的樣子,
只有樣子明確了,
才會有更好的超越代工的價值,
也在這裡很謝謝這些人不斷得為這塊土地努力著。
也在這邊邀請大家有空上去看看喔!!
Keelung Nights - Nordic Lights
2017/11/7~2017/12/20(展覽是12/1-10)
基隆市中山區中山一路189巷135號(建築與設計之家/KEELUNG地標旁原太平國小)
.
策展人Curators -
黃又文Erica Yu-Wen Huang (台灣Taiwan)、
Nina-Maria Oförsagd (芬蘭Finland)
.
藝術家Artists -
Johanne Teigen (挪威 Norway),
Mauritz Tistelö (瑞典 Sweden),
Evelina Kollberg (瑞典 Sweden),
Emma Heidarsdottir (冰島 Iceland),
Petri Kuljuntausta (芬蘭 Finland),
Nayab Ikram (Åland Islands, 芬蘭 Finland),
程仁珮 Jen-Pei Cheng (台灣 Taiwan),
蔡坤霖 Kuen-Lin Tsai (台灣 Taiwan),
魏欣妍 Hsin-Yen Wei (台灣 Taiwan),
Lua Rivera (墨西哥 Mexico)
.
贊助單位 Sponsorship-
The Nordic Culture Fund
基隆市政府都市發展處 Department of Urban Development, Keelung City Government
文化部 Ministry of Culture (Taiwan)
#雨島人只推薦好東西
#拒絕當酸民
#這塊土地會更好
#藝術駐村
#北歐
#基隆
#得支持
sweden wiki 在 ふたりぱぱ FutariPapa Youtube 的最讚貼文
春の北スウェーデン。まだまだ気温は寒いけれど、太陽の光を求めて外へと出かけます!お友達と島まで海の上を歩いていくことにしました。今年は僕らが住む街が市制400年を迎えるということで、街の紹介もしています。クイズもあるよ!
(Translated by The LK Sisters)
動画内 参考資料
https://www.lulea.se/mikrosajter/lulea-400/lulea-400.html
https://www.lulea.se/uppleva--gora/stadsarkivet/bilderna-berattar/sodra-hamn.html
https://sv.wikipedia.org/wiki/Lule%C3%A5#/media/Fil:Ssab_gasklocka.jpg
♫
The Fun Side of Life - Bireli Snow
Move Like This - Jules Gaia
The Fun Side of Life - Bireli Snow
Mountain Spring High - Gabriel Lewis
Thrill Of It - Siine
Faster Car - Loving Caliber
******************
Subscribe Us! チャンネル登録お願いします!
https://www.youtube.com/channel/UCU69jxPesoWw5I4WmOMBx-Q/
100万再生動画 / 3言語が飛び交う食卓
1M viewed movie / 3 languages at the dinner table
https://www.youtube.com/watch?v=RmRO-RV31wo
自己紹介動画 / This is who I am
https://www.youtube.com/watch?v=34ORUY73F7k
人気動画 / モーニングルーティン
Popular movie / Morning Routine
https://www.youtube.com/watch?v=qIqspcnbCk8&t=39s
こんにちは。ふたりぱぱのYouTubeチャンネルへようこそ!
僕らはスウェーデンと日本のゲイカップルで、男の子を育てています。
僕らの『当たり前に見えるけど本当は特別な毎日』をここでシェアしていきたいと思います。チャンネル登録お願いします!
Hey! Thanks for visiting our YouTube channel "FUTARIPAPA".
FUTARIPAPA means "Two-dads" in Japanese.
We are Swedish x Japanese couple with a boy 👨👨👦living in Sweden, would love to share some loving moments of our life. Don't forget subscribe us!
みっつん初著書
『ふたりぱぱ:ゲイカップル、代理母出産(サロガシー)の旅に出る』絶賛発売中!
【現代書館】
http://www.gendaishokan.co.jp/goods/ISBN978-4-7684-5862-4.htm
【amazon】
https://www.amazon.co.jp/dp/4768458629/ref=cm_sw_em_r_mt_dp_U_Y.1HEbCH6DE
<楽曲提供>
Production Music by http://www.epidemicsound.com
<画像素材>
かわいいフリー素材集 いらすとや
http://www.irasutoya.com/
Blog : http://futaripapa.com/
FB page: https://www.facebook.com/futaripapa/
instagram: https://www.instagram.com/mittsuntyoldnlla/?hl=ja
twitter: https://twitter.com/MittsunLondon
sweden wiki 在 Sweden: Migrants at Point Zero I ARTE Documentary - YouTube 的必吃
... <看更多>