รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ
GDP ถอยไป SPI มาแล้ว
อ่านบทความเต็ม
https://bit.ly/35HcrJh
ฟังคลิป #Human_Talk #ThinkingRadio
https://youtu.be/7TyTzstKXQo
กว่า 80 ปีที่โลกทั้งใบ ถูกชี้ชะตาด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในแต่ละปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาถดถอยอย่างแรง -6.1% ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ในขณะที่ปี 2021 นี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าจีดีพีจะโตสูงสุดแค่ 3.5% แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน หลายองค์กรก็มีการปรับลดลงมาเรียบร้อยจากผลกระทบของโควิดละลอกสาม ทำให้มีกระแสความไม่พอใจพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่คนไม่เข้าใจก็คือ จีดีพีต้องนำมาเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของคนในประเทศนั้นจึงจะทำให้เห็นภาพของอำนาจการซื้ออย่างแท้จริง อย่างเช่นประเทศไทย แม้จีดีพีจะติดลบหรือเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดประเทศหนึ่งอันดับต้นๆ ของโลกทีเดียว
เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละเลยมิติอื่นของสังคม เช่น การสูญเสียและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตของประชาชน องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคมแบบใหม่ออกมา ตั้งแต่ปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 โดยได้ขอมติจากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมมือกัน มีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปี จนถึงปี 2030
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index – SPI) เป็นมาตรวัดที่สะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมที่แยกเด็ดขาดจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) 2) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations of Wellbeing) และ 3) โอกาส (Opportunity) ดำเนินการโดย Social Progress Imperative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากดีลอยท์ มูลนิธิ Skoll และได้รับความร่วมมือจาก ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ แห่งโรงเรียนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
ดัชนีดังกล่าวนี้เป็นการสำรวจทุกประเทศทั่วโลกใน 3 มิติ
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Foundations of Well-Beings) เช่น การเข้าถึงการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. โอกาสทางสังคม(Opportunities) สิทธิทางการเมืองและการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและเลือกทางเดินชีวิต การยอมรับความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ระบบความคุ้มครองทางสังคม และความก้าวหน้าทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
UN SDG Goal 2030 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้แก่
1: ขจัดความยากจน
2: ขจัดความหิวโหย
3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4: การศึกษาที่เท่าเทียม
5: ความเท่าเทียมทางเพศ
6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10: ลดความเหลื่อมล้ำ
11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ SPI (Social Progress Index) ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 79 ของโลกจากที่สำรวจทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เราตามหลังสิงคโปร์ (ลำดับที่ 29) และมาเลเซีย (ลำดับที่ 48) แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (ลำดับที่ 84) เวียดนาม (ลำดับที่ 88) ฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 98) กัมพูชา (ลำดับที่ 118) เมียนมาร์ (ลำดับที่ 120) และ ลาว (ลำดับที่ 133) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับสูงสุดของโลก 5 ประเทศแรกเรียงตามลำดับ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน
เมื่อวิคราะห์องค์ประกอบด้านต่างๆ ที่ประเทศไทยทำคะแนนได้ดี 5 ลำดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (Shelter) โภชนาการและการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Nutrition and Basic Medical Care) น้ำและสุขาภิบาล (Water and Sanitation) การเข้าถึงความรู้ขั้นพื้นฐาน (Access to Basic Knowledge) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality) อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ได้คะแนนน้อยและอาจจะต้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป ได้แก่ ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (Inclusiveness) สิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ทางเลือกและเสรีภาพส่วนบุคคล (Personal Freedom and Choice) และ การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง (Access to Advanced Education)
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เพราะเราได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานตั้งแต่พ.ศ.2542 โดยนำหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกด้วย
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยจะมอบแก่ National Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก 2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[1][2]
ตัวรางวัลเป็นรูปพานทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก มีแผ่นป้ายคำจารึกที่ฐานไม้มีข้อความว่า 'To His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006' เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยผู้คัดเลือกรูปแบบของรางวัลตั้งใจให้รางวัลเป็นรูปพานทรงกลม เพื่อสื่อความหมายถึงภาชนะที่สามารถใช้รองรับน้ำได้ เช่นเดียวกับผิวนอกของพาน ทำให้มองคล้ายสายน้ำ เนื่องจากเล็งเห็นว่าพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการพัฒนา จึงสมควรแก่การยกย่องเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ดังนั้น แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาและกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ SEP = SDG (Sufficiency Economy Philosophy = Sustainable Development Goal)
หวังว่า ทุกท่านคงเห็นด้วยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมองความสมดุลในภาพรวมอย่างที่ในหลวงรัชกาล ที่ 9 ได้ทรงมองครอบคลุมทุกมิติเสมอมา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
รวยกว่า จึงไม่ได้หมายความว่า สุขกว่าเสมอไป
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過157萬的網紅Carabao Official,也在其Youtube影片中提到,บทเพลงปันสุขเพื่อโลกจาก 'แอ๊ด คาราบาว' และ สหายคนสนิทอย่าง 'ทิวา สาระจูฑะ' บรรณาธิการนิตยสารสีสัน มาร่วมกันถ่ายทอดความคิด ให้กลายเป็นบทเพลงในภาษาสากลเ...
sufficiency คือ 在 ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Facebook 的最佳貼文
ครูได้อ่านเจอบทความดีๆเลยอยากเอามาแบ่งปัน ใครได้อ่านก่อน รู้ก่อน ปรับตัวก่อน เข้าใจถึงแก่นเรื่องนี้ก่อน ก็จะไม่ใช่แค่”รอด” แต่จะสามารถอยู่ได้อย่าง”มีความสุข”
สำนักข่าวต่างประเทศ
"Marketing insider" ได้ลงข่าว
'The world will look different': Billionaire investor Ray Dalio predicts the pandemic will ultimately boost savings and drive self-sufficiency
แปลว่า
"โลกใบนี้จะเปลี่ยนไปจากเดิม" มหาเศรษฐี อย่าง Ray Dalio" คาดในที่สุดการระบาดของโควิด 19 จะกระตุ้นการออมเงินและผลักดันความพอเพียงพึ่งพาตนเองได้
“เรากำลังก้าวไปสู่โลกแห่งความพอเพียง”
แล้ว Ray Dalio คือใคร? Ray Dalio ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วมของ Bridgewater Associates ตั้งแต่ปี 1985 และมีประวัติยาวเหยียดด้านการเงินระดับโลก ดังนั้น คำพูดของเขา "มีน้ำหนักมาก"
ทันทีที่ได้อ่านข่าวฉบับนี้แล้ว ผนวกกับเป็นจังหวะเดียวกันที่ สวิสเซอร์แลนด์ อันเชิญภาพธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเขา Matterhorn ประกาศ "เราจะสู้โควิด 19 ไปด้วยกัน"
เสียงในหัวของข้าพเจ้าก็ดังขึ้น
THAI NATIONAL ANTHEM (เพลงชาติไทย) ดังก้องในหัวเลยทีเดียวครับ
สำหรับคนที่เคยพูดคุยกับข้าพเจ้าจะทราบดีว่า ข้าพเจ้าเคยบอกเสมอว่า
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ทำได้จริงไม่ใช่วาทะกรรมแต่อย่างใด ... โดยตกผลึกมาจากประสบการณ์ส่วนพระองค์ที่ทรงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน และน้ำมาประยุกค์กับเรื่องเศรษฐศาสตร์ ออกมาเป็นเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่มุ่งเน้นให้ประชาชน สามารถอยู่รอดได้ ในสภาพที่โลกมีความเปลี่ยนแปลงสูง
ข้าพเจ้า มอง ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความฉลาดหลักแหลมทางปรัชญาสังคม มีความเข้าใจ ถึงจุดอ่อนของแนวคิด ทุนนิยม และ สังคมนิยม อย่างเข้าใจถ่องแท้ เรียกได้ว่า หาก พระองค์เกิด ยุคเดียว กับ เครโต - โซเครติส - หรือแม้แต่ คาร์ล มารซ์ บิดาของระบอบสังคมนิยม ก็คงมีโอกาสได้ เห็นพระองค์วิพากปรัชญาทางสังคมได้อย่าง หลักแหลมเป็นแน่แท้
ในทัศนะของข้าพเจ้า พบว่า ทุนนิยมสุดโต่งที่มีแนวคิด "ทุนทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย" ผลประโยชน์ตกอยู่กับผู้ที่ขยัน เต็มไปด้วยการแข่งขันที่มีผู้แพ้และตายไป กลายเป็นการทอดทิ้งผู้ที่อ่อนแออยู่เบื้องหลัง
ในขณะที่ สังคมนิยม สุดโต่ง ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมที่มีจำกัดเท่าๆกัน แต่ "ความเท่ากัน" อย่างสุดโต่ง นั้นมีความมั่นคงมาก แต่ในบางกรณีก็ทำให้ขาดความหลากหลายของสังคม กลายเป็นความอืดอัดของประชาชน ซึ่งกลายเป็นจุดอ่อนไป
แต่"เศรษฐกิจพอเพียง" คือ"ทางสายกลาง"ระหว่าง ทุนนิยม และ สังคมนิยม ที่นำเอาข้อดี ของทั้งสองมาผนวกให้กลมกล่อม
"เศรษฐกิจพอเพียง" ในความหมาย คือ "การพึ่งพาตนเอง" แต่ไม่ใช่การอยู่ถ้ำปิดตาไม่พบใคร ... "การพึ่งพาตนเอง" นั้นคือการรู้จักธรรมชาติ น้ำ และดิน
พึ่งพาการผลิตทางการเกษตรที่มองเห็นการหมุนเวียนพลังงานอย่างปราณีต (เกษตรทฤษฎีใหม่ ) ทำให้เกิดผลิตผลที่หลากหลาย และมีการผลิต อย่างสมเหตุสมผล ไม่เทไปที่ผลิตผลใดผลิตผลหนึ่ง เมื่อเกิดการเหวี่ยงของราคาสินค้า ผลิตผลอื่นก็ยังสามารถช่วยเหลือให้รอดได้ และเมื่อผลิตได้มากเกินความจำเป็น เราก็ยังสามารถ แบ่งปันให้คนในสังคมได้ กลายเป็นความมั่นคงทางอาหาร
หากผู้คนในสังคมทำ"เศรษฐกิจพอเพียง" กันมาก เราก็ยิ่งมีของแบ่งปันจุนเจือผู้คนในสังคมได้มาก เราจะไม่มีวัน ขาดอาหาร เพราะเรามีตู้เย็นธรรมชาติ เรามีสวนอยู่หลังบ้านเก็บกินได้ตลอด เหลือก็ขายทำเงินเอามาพัฒนาต่อ
และเราสามารถประยุกต์ใช้ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ในรูปแบบธุรกิจอื่นได้ ตราบใดที่ยังใช้ ทฤษฎี
3 ห่วง( ความพอประมาณ, การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว, ความมีเหตุผล) 2 เงื่อนไข (ความรู้ และ คุณธรรม) สร้างความมั่นคงภายในหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม ก็คือตัวคุณๆนั้นแหล่ะ เมื่อมั่นคง จึงจุนเจือ แบ่งปัน
หัวใจของมันจึงมาจาก ความร่วมมือร่วมใจของผู้คน ที่ช่วยเหลือกันจึงจะไปรอดกันได้ทั้งนั้น
ดังนั้น ความโอบอ้อมอารี ยิ้มสยามคือสิ่งดีงาม ที่เราควรอนุรักษ์ไว้
พออ่านข่าว “เรากำลังก้าวไปสู่โลกแห่งความพอเพียง” ข้าพเจ้า ก็รู้สึกได้โดยทันที ว่า ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพูดถูกมาโดยตลอด
เกี่ยวกับ ความพอเพียง และ เกษตรกฤษฎีใหม่
พระองค์ทดลองมาครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่านงานพระราชกรณียกิจกว่า 70ปี ...ไม่แปลกที่วังของพระองค์เต็มไปด้วยไร่นา.. วันนี้ มันถูกพิสูจน์แล้วว่า มันเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้"มนุษยชาติ" มีกินอิ่มท้องนอนหลับ
คิดดู แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง และ เกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถสร้าง โอเอซิส สวนผักผลไม้กลางทะเลทราย แก้ปัญหาปากท้อง ที่ซูดาน - แอฟริกา
ที่ จอร์แดน - ทวีปตะวันออกกลาง ' เคย ขอพระบรมาราชานุญาตในการถ่ายทอดเทคโนโลยีฝนหลวง แก้ขาดแคลนน้ำ
ที่ภูฏาน ก็ยังน้อมนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในการ บริหารจัดการแผ่นดิน เพื่อเสริมความสุขให้คนในประเทศ
อีกทั้งยังมี โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ในราชอาณาจักรเลโซโท ราชอาณาจักรตองกา และ สปป.ลาว
และโครงการเกษตรกรหรือชุมชนตัวอย่าง เช่น ติมอร์เลสเต ราชอาณาจักรกัมพูชา และประเทศชิลี
มันตรงกับที่ Ray Dalio ได้กล่าวถึง เหตุการณ์โรค โควิด 19 ระบาด นั้น จะทำให้ผู้คนทั่วโลก รู้จักเก็บออมมากขึ้น ประหยัดขึ้น เพราะทุกคนเริ่ม มองหาความปลอดภัยมากกว่ากำไร
มีแนวโน้มว่า ประเทศต่างๆทั่วโลกจะลดการนำเข้าอุปกรณ์พื้นฐานที่แพงและหันมาผลิตและพัฒนาสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองมากขึ้น
แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่ดูเรียบง่าย แต่การที่ออกมาจากปาก ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก ย่อมเป็นสัญญานเตือนให้เห็นแล้วว่า โลกเรากำลังเข้าสู่ ยุค แห่งความพอเพียง
อ้างอิง https://markets.businessinsider.com/news/stocks/ray-dalio-bridgewater-associates-predicts-pandemic-boost-savings-self-sufficiency-2020- 4-1029117199
Cr. ปราชญ์สามสี
Cr. Acha
sufficiency คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผมจึงเรียบเรียงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้อ่านกันนะครับ
"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
ภายใต้ปรัชญากฎหมายแบบปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีอิทธิพลปรัชญากฎหมายสำนักอื่นอยู่บ้าง เช่น ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาหรือแม้กระทั่งอรรถประโยชน์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) ใน “มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดอันทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) อันเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตให้แก่เหล่าพสกนิกรทั้งหลายมานานกว่า 30 ปี และทรงเน้นย้ำแนวทางดังกล่าว ดังเช่นข้อความตอนหนึ่งในพระราชดำรัช พระราชทานแด่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“...แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-sufficiency ซึ่ง Self-sufficiency นี้ หมายความว่าผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่อื่นเขาแปลจากภาษาฝรั่งกันว่าให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ มีคนบางคนเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็หกล้ม อันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง หมายความว่า 2 ขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปยืมขาคนอื่นมาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่ แต่ว่าพอเพียงนี้มีความกว้างกว่า ยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่า พอก็เพียง พอเพียงนี่ก็พอ คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทะอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยสรุปสาระสำคัญเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) : ทางสายกลาง
พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม
(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน แบ่งปัน)
นำไปสู่
ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
การเรียนรู้ด้วยหลักการ “พอเพียงและพึ่งพาตนเอง” ประชาชนสามารถรับปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน ตามควรแก่อัตภาพของตน เศรษฐกิจพอเพียงยังมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีความคุ้มครองกันตัวเอง ยามที่เกิดวิกฤตการณ์ใดๆก็จะสามารถที่จะเอาตัวรอดได้เสมอเพราะพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างกับระบบวิธีอื่นๆที่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆในการแก้ปัญหาและไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง
องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ด้วยการทูลเกล้าฯถวายรางวัล ”ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์” (The UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวสดุดีในการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ว่า
“ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จักทำให้วิถีของคนไทยดีขึ้นเป็นที่แจ้งประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างพากันกล่าวขานพระนามพระองค์ว่า เป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาและเรียกร้องให้นานาประเทศหันมาตื่นตัว เรียนรู้ปรัชญานี้ เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศ”
แนวคิดเร่งเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน มิได้เป็นเพียงแต่ปรัชญาที่พระองค์ได้ทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตที่พอเหมาะพอดีให้แก่ปวงพสกนิกรในพระองค์เท่านั้น แต่ทรงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในพระราชจริยวัตรของพระองค์เองมาโดยตลอด นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เรื่องนี้ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีให้แก่เราทั้งหลายว่า การเสนอแนะให้ผู้อื่นทำสิ่งใด ผู้เสนอแนะควรจะต้องลงมือทำเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นด้วย
sufficiency คือ 在 Carabao Official Youtube 的最佳貼文
บทเพลงปันสุขเพื่อโลกจาก 'แอ๊ด คาราบาว' และ สหายคนสนิทอย่าง 'ทิวา สาระจูฑะ' บรรณาธิการนิตยสารสีสัน มาร่วมกันถ่ายทอดความคิด ให้กลายเป็นบทเพลงในภาษาสากลเพื่ออนาคตของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ นำเสนอใจความสำคัญเป็นหลักการง่ายๆ คือ ละความโลภ เพิ่มการแบ่งปัน และใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยมี อาจารย์แดง กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน ช่วยตรวจทาน และ แอ๊ด คาราบาว นำมาขัดเกลาในขั้นตอนสุดท้าย จนกลายมาเป็นบทเพลงที่มีชื่อว่า “Taking Less and Giving More” ส่วนของการทำดนตรีนั้น ได้รับเกียรติจาก โอ้ 'โอฬาร พรหมใจ' มือกีตาร์ระดับเทพที่อาสามาโซโล่กีตาร์ และ ยอดมือเบส อย่างเอ็ดดี้ 'สุเทพ ปานอำพัน'
“ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ ล่ะก็ เราต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ต้องตักตวงให้น้อย แต่แบ่งปันให้มากๆ"
#TakingLessAndGivingMore #AddCarabao #Carabao
【 CREDITS 】
Lyricist : ทิวา สาระจูฑะ
Composer : ยืนยง โอภากุล, ทิวา สาระจูฑะ
Vocals : ยืนยง โอภากุล
Guitar Solo : โอฬาร พรหมใจ
Guitar Rhythm : ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ
Bass : สุเทพ ปานอำพัน
Keyboards & Programmer : ภูวกฤต นนท์ธนธาดา
Recording & Mixing : อ๊อด อ่างทอง @Mongol Studio
Mastering : Woody Pornpitaksuk @Westside Mastering
Production : Smurf Production
【 เนื้อเพลง 】
There’s a gloomy shadow across the land
We all know it is a tale-but-true story
Yet, the sun and moon will always rise
And the world is not what it used to be
We built all weapons of making wars
We made the largest sums of money
And we still want them more and more, then came the unseen enemy
No one knows when it starts or when it ends
And no one knows when it will start again
Where do we go while our paths ain’t clear, how do we go ahead from here
It reminds us that no one is an exception
No matter where you’re from or who you are
No matter what’s your age or gender
No matter how you’re rich or poor
*If we want the real change
We need to change on our own
All we’ve got to do is taking less and giving more
Sufficiency living is What we’re looking for
**This is how humanity will evolve for better
This is how we can change the world
It’s about everyone in every walk of life, to start a new vision in our mind
【 คำแปลจากความรู้สึกของแอ๊ด คาราบาว 】
เมฆหมอกแห่งความชั่วร้าย แผ่ขยายปกคลุมไปทั่ว
บอกต่อๆ กันมาปากต่อปาก แต่มันคือเรื่องจริง
ถึงพระอาทิตย์พระจันทร์ยังคงฉายแสง
แต่โลกใบนี้คงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เราสร้างสมอาวุธเพื่อก่อสงคราม
เราสะสมเงินทองกันอย่างบ้าคลั่ง
ไม่รู้จักพอกระทั่งศัตรูที่มองไม่เห็นคืบคลานเข้ามา
ไม่มีใครรู้ว่าเรื่องเริ่มหรือจบเมื่อไหร่
และไม่มีใครรู้ จะเริ่มขึ้นอีกไหม
เราจะเป็นอย่างไร เมื่อความทุกข์นี้ยังไม่อาจปลดเปลื้องลงได้
มันย้ำเตือนเราว่า ไม่มีใครมีข้อยกเว้น
ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน หรือคุณจะเป็นใคร
ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ หรือเพศใด
ไม่ว่าคุณจะมีมากหรือมีน้อย
ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ล่ะก็
เราต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน
ต้องตักตวงให้น้อย แต่แบ่งปันให้มาก
อยู่กันแบบพอเพียงนี่แหละ คือสิ่งที่โลกใฝ่หา
มนุษย์จำต้องพัฒนาตน ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
ความคิดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้
“ก้าวต่อไปของมนุษยชาติ เริ่มต้นด้วยความพอเพียง”
【 SPECIAL THANKS 】
- สำนักข่าวไทย
- รายการสามัญชนคนไทย ช่อง ThaiPBS
- @Wise Wanderer
- @JDE1YON
- videvo.net
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร วงคาราบาว 】
#Line ► @CarabaoOfficial หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40carabaoofficial
#Facebook ► http://www.facebook.com/carabaoofficial/
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/Dy10-ousGts/hqdefault.jpg)