สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
BBLAM x ลงทุนแมน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้
เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?
ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
- การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน
ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?
ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา
ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%
และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย
ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน
ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ
3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?
ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ
- นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย
เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)
- นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป
โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย
นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์
ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้
4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?
เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle
ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น
- American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
- Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
- American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
- American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
- U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน
หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว
5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?
หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น
- กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร
- กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี
- กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ
ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย
6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?
กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ
- รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
- รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ
- ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
- ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว
เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว
นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ
- กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment
- กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?
ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%
ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่
ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า
ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere
ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย
8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่
โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่
และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่
9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?
จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน
เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500
10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?
กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%
ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้
และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ
กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น
11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?
ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง
ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「health care index 2021」的推薦目錄:
- 關於health care index 2021 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於health care index 2021 在 國家衛生研究院-論壇 Facebook 的最佳貼文
- 關於health care index 2021 在 IC 之音 FM97.5 Facebook 的最佳貼文
- 關於health care index 2021 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於health care index 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於health care index 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
health care index 2021 在 國家衛生研究院-論壇 Facebook 的最佳貼文
【如何鼓勵對疫苗有疑慮的朋友接種疫苗】
Covid-19疫苗接種人數越多,疫情擴散的威脅就越小。許多民眾仍對疫苗接種猶豫不決,如何鼓勵對疫苗有疑慮的(vaccine hesitant)朋友,成為重要的公共衛生議題以及健康行為研究。
這集綜合發表在NEJM與Lancet Public Health兩篇頂尖期刊的文獻,對疫苗有疑慮的(vaccine hesitant)朋友,個人層次與系統層次的鼓勵方式,來提昇疫苗的接種:
《新英格蘭醫學期刊》(NEJM)的文獻從經典的「行為改變六階段」的著名理論(也是常用於分析成癮者接受治療動機),分析對疫苗猶豫者也是在不同階段的光譜。基層醫療人員可能因為長期與民眾建立非常好的信任關係,是提高疫苗施打的重要關鍵。
刊登在《刺胳針公共衛生》(The Lancet Public Health)對一萬五千多名成年人的隨機分派試驗指出:強調Covid-19疫苗對個人安全有效,最能說服民眾施打。這項研究和先前四篇研究的結果很相似:提供對個人利益相關的訊息,比強調群體利益更能有效說服不願施打疫苗的民眾。
📖 參考論文
1. Missing the Point — How Primary Care Can Overcome Covid-19 Vaccine “Hesitancy”. N Engl J Med. 2021 Jun 24;384(25):e100.
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMp2106137
2. Effects of different types of written vaccination information on COVID-19 vaccine hesitancy in the UK (OCEANS-III): a single-blind, parallel-group, randomised controlled trial. Lancet Public Health. 2021 Jun;6(6):e416-e427.
https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(21)00096-7/fulltext
# 疫苗猶豫, #群體免疫, # vaccine hesitancy, # randomized controlled trial
Youtube連結:
https://www.youtube.com/watch?v=wtFZh2AAY6U&list=PLyjt2PcvYyI14hMFju89-NrqzTilfidea&index=15
(財團法人國家衛生研究院 林煜軒醫師摘要整理)
health care index 2021 在 IC 之音 FM97.5 Facebook 的最佳貼文
台灣目前疫情狀況嚴峻,連續多日確診人數破百,這樣的狀況不僅讓民眾人心惶惶,醫療量能更是吃緊拉警報。生病時希望可以得到完善的醫療照顧是人之常情,但也因此有些人一生病就至大醫院就診。其實地區醫院或診所的醫護人員都有接受過完善的訓練,因應病人較輕症的狀況都是沒問題的!
本集《健康我來顧》邀請到衛生福利部中央健康保險署暑長-李伯璋,與聽眾分享「厝邊好醫師×社區好醫院」這個主題,透過分級醫療的落實和轉診制度,避免健保不必要的支出,營造地區更優質的醫療照護環境,歡迎收聽。
也希望各位名眾在非常時期,可以為我們的護人員加油打氣,請對他們多點感謝、多點體諒、耐心等候不發脾氣,各位一同共體時艱!
#IC之音 #健康我來顧 #王淑榮 #衛生福利部 #中央健康保險署 #李伯璋暑長 #醫療量能 #分級醫療