เศรษฐกิจไทย จะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม ถ้าการท่องเที่ยวไม่ฟื้น /โดย ลงทุนแมน
เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว ที่โควิด 19 สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลก
หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มาจนถึงวันนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปเหมือนเดิมได้ง่าย ๆ
สำหรับภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้น
แม้ว่าหลายฝ่ายจะพยายามกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาท่องเที่ยว แต่คงยังไม่มีใครสามารถบอกได้ชัดว่า สถานการณ์จะกลับไปในระดับเดิม ก่อนวิกฤติครั้งนี้ ได้เมื่อไร
คำถามก็คือ แล้วมีแนวทางอะไรบ้าง ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของไทย กลับมาเหมือนเดิม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อให้เห็นภาพรวมกันชัด ๆ เราลองมาดูภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด 19
ปี 2009 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14 ล้านคน
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 0.5 ล้านล้านบาท
ปี 2019 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท
เราจะเห็นว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2019 คิดเป็นเกือบ 3 เท่า ของปี 2009 ขณะที่รายได้ก็คิดเป็นเกือบ 4 เท่า
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้ว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยช่วงที่ผ่านมา มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นมาเรื่อย ๆ
และถ้าลองมาดูสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เทียบ GDP ของไทย
- ปี 2009 สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นประมาณ 6% ของ GDP ไทย
- ปี 2019 สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นประมาณ 11% ของ GDP ไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโต ยังทำให้มีการจ้างงานในภาคนี้รวมกันกว่า 7.5 ล้านคน หรือประมาณ 20% ของแรงงานในระบบ
ซึ่งแรงงานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับธุรกิจจำนวนมาก เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก, ร้านสปาและนวด, การขนส่ง
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตได้ดี ก็มีหลายปัจจัย เช่น
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในจีนและอินเดีย และความนิยมเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งมีไทยเป็นหนึ่งในจุดหมาย
- สถานที่ท่องเที่ยวของไทยที่มีชื่อเสียงในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่อีกมุมหนึ่งก็ยังมีความท้าทายบางอย่างซ่อนอยู่ เช่น
- ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวหลักไม่กี่สัญชาติ
ในปี 2019 ประมาณ 28% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดเป็นชาวจีน ซึ่งการพึ่งพานักท่องเที่ยวชาติใดชาติหนึ่งมากเกินไป ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นได้
โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มากระทบกับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว เช่น อุบัติเหตุเรือล่ม และการปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในช่วงเวลานั้น และกระทบกับรายได้การท่องเที่ยวของไทยไม่น้อย
- แหล่งท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่ไม่กี่แห่ง ไม่กี่จังหวัด
ในปี 2018 กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และภูเก็ต 3 จังหวัดนี้มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกัน คิดเป็น 65% ของรายได้จากภาคการท่องเที่ยวทั้งประเทศ สะท้อนได้ว่า รายได้จากการท่องเที่ยวของไทย ยังกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น
- การเติบโตของรายได้จากภาคการท่องเที่ยว มีน้ำหนักไปที่จำนวนนักท่องเที่ยว มากกว่าด้านราคา
มากกว่า 85% ของนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้ปานกลางถึงต่ำ และเพียง 15% เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง หรือพูดง่าย ๆ ว่า การเติบโตของรายได้ภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้น “เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ”
- ขีดจำกัดทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งท่องเที่ยว
อ้างอิงสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงทุนปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวและระบบการคมนาคม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวกว่า 13% ของรายได้จากการท่องเที่ยว
แต่ตัวเลขนี้ก็ยังถือว่าน้อยกว่า ฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่มีสัดส่วนที่ 21% และ 27% ตามลำดับ
แม้หลายคนจะรับรู้ปัญหาที่ว่ามานี้ แต่เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวในภาพรวมยังเติบโต ทำให้หลายคนอาจมองข้ามปัญหาเหล่านี้ไป
จนกระทั่งการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถเดินทางมาไทยได้
ในปี 2020 นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือเพียง 6.7 ล้านคน
ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2021 ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 58,000 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก
คำถามคือ จากปัญหาเหล่านี้ที่เราเห็น ถ้าอยากให้อนาคตการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวกลับมา และเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น จะมีแนวทางไหนบ้าง ?
แนวทางเบื้องต้นที่น่าจะช่วยได้ก็อย่างเช่น
- เน้นดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูงให้มากขึ้น
อ้างอิงจากผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับ Visa ปี 2019 ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยอยู่ที่เฉลี่ยคนละ 48,000 บาท
ซึ่งถ้าเรามองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาในระดับเดิม เช่น จากที่เคยมากถึง 40 ล้านคน อาจเหลือเพียง 24 ล้านคน ในช่วงหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า
หากลองสมมติว่า ประเทศไทยยังต้องการรายได้จากการท่องเที่ยวเท่าเดิมที่ 1.9 ล้านล้านบาท สิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวให้อยู่ที่เฉลี่ยคนละ 80,000 บาท
โดยวิธีที่จะเพิ่มรายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวได้ ก็อย่างเช่น
อาจต้องหันมาเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง เช่น กลุ่ม Medical & Wellness Tourism ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายต่อทริปสูงถึงประมาณเฉลี่ย 80,000-120,000 บาทต่อคน
รวมไปถึงต้องพยายามดึงดูดกลุ่มนักลงทุน และพนักงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย ซึ่งนับเป็นอีกกลุ่มศักยภาพที่ใช้จ่ายสูง
- ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง และกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
ประเทศไทยควรลงทุนในระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน สำหรับเชื่อมระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ให้สามารถเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวให้มากกว่าเดิม
และพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวให้ไม่จำกัดเพียงแค่ช่วงฤดูท่องเที่ยว ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยกระจายรายได้ไปยังจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังช่วยลดความแออัดของนักท่องเที่ยวในเมืองหลักในยามที่นักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา
แน่นอนว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนา และยกระดับเพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้มีทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น
รวมไปถึงการที่ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย
สร้างจิตสำนึกไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมทั้งจัดการผู้ที่ทำผิดและฝ่าฝืนกฎระเบียบจนสร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อีกเรื่องที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ ก็คงไม่พ้น
การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด
และต้องประเมินการเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดี
เพราะสุดท้ายแล้ว คงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมได้ ถ้าการท่องเที่ยว ไม่ฟื้นตัวกลับมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?locations=TH
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/27062021_RevitalisingThailandTourism.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_Thailand
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Aug2021.aspx
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過87萬的網紅Paul Pattarapon พอล ภัทรพล,也在其Youtube影片中提到,อีกหนึ่งตัวกำหนดการเติบโตเศรษฐกิจของไทยนั่นก็คือ GDP ที่จะบ่งบอกชี้วัด โดยปี พ.ศ. 2563 ต้องบอกเลยครับว่า เราอยู่ในช่วงที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะอะไ...
gdp ไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
SMEs ไทย ผู้จ้างงาน 10 ล้านคนในประเทศ กำลังเจอวิกฤติ /โดย ลงทุนแมน
ธุรกิจ SMEs เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีความสำคัญมากกับเศรษฐกิจไทย และเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผลกระทบของโควิด 19 ด้วยเช่นกัน
วันนี้หลายกิจการจำใจต้องปิดตัวลง ขณะที่อีกหลาย ๆ กิจการ พยายามยื้อต่อเพื่อหวังว่า ในอนาคตสถานการณ์จะดีขึ้น
หนี้ของ SMEs ทั้งระบบในตอนนี้ มีมูลค่าสูงกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งบางส่วนกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปแล้ว
ธุรกิจ SMEs จะยืนระยะไปได้อีกนานแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Small and Medium Enterprises หรือ SMEs คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่การผลิต การค้า และการบริการ โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก และโดยทั่วไปอาจไม่ได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
ปัจจัยที่ใช้กำหนดว่า ธุรกิจไหนเป็นธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจไหนขนาดย่อม จะใช้เกณฑ์รายได้และจำนวนแรงงานในการแบ่ง
กรณีภาคการผลิตนั้น ถ้ามีการจ้างงาน 50-200 คน มีรายได้ 50-500 ล้านบาท จะเป็นธุรกิจขนาดกลาง และถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะถือเป็นธุรกิจขนาดย่อม
กรณีภาคบริการและการค้านั้น ถ้ามีการจ้างงานอยู่ที่ 30-100 คน มีรายได้ 50-300 ล้านบาท จะเป็นธุรกิจขนาดกลาง ถ้าน้อยกว่านั้นก็เป็นธุรกิจขนาดย่อม
ด้วยความที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้หลายครั้ง SMEs มักมีข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น
- การเข้าถึงเงินทุนและขาดแคลนเงินสนับสนุน
- ปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการ ขาดความโปร่งใส และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ปัญหาการจัดทำระบบบัญชี
- การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง
- การเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ธุรกิจ SMEs ก็มีข้อดีหลายข้อเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยเงินทุนไม่มาก ซึ่งตรงนี้ทำให้ถูกมองว่า มีความเสี่ยงน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็เห็นหลายบริษัทที่เติบโตมาจากธุรกิจเล็ก ๆ จนมีชื่อเสียงในทุกวันนี้
- เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง มีความอิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง
- มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
ที่สำคัญก็คือ ธุรกิจ SMEs ถือเป็นแหล่งของการจ้างงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
รู้ไหมว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวน ผู้มีงานทำ ประมาณ 38 ล้านคน
โดยในจำนวนนี้ เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคธุรกิจ SMEs จำนวน 13 ล้านคน หรือประมาณ 34% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งประเทศ
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ หลายสิบปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ในปี 2537 จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีจำนวน 0.4 ล้านราย
- ในปี 2563 จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีจำนวน 3.1 ล้านราย
และสภาหอการค้าไทย ยังมีการประเมินกันว่า ตัวเลขจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs จริง ๆ อาจมีจำนวนสูงถึง 5 ล้านราย เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางส่วน ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ SMEs กับทางราชการ
ขณะที่ในปี 2562 ที่ผ่านมา ธุรกิจ SMEs สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทย สูงกว่า 7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศไทย
ปัจจุบัน ถ้าเราแบ่งจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ตามประเภทธุรกิจจะพบว่ามาจาก
- การค้าและบริการ 2.6 ล้านราย
- การผลิตและการเกษตร 0.5 ล้านราย
หมายความว่า จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs กว่า 84% เกี่ยวข้องกับการค้าและบริการ
ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจการค้าและบริการ โดยเฉพาะที่พักแรม, ร้านอาหาร, ร้านเสริมสวย, ร้านขายของที่ระลึก ถือเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก จากการแพร่ระบาดของโควิด 19
สาเหตุหลัก ๆ คือ การที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหายไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และการชะลอการเดินทางของคนไทยในประเทศ
แม้ทางภาครัฐจะพยายามออกมาตรการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อช่วยให้คนไทยในประเทศช่วยกระตุ้นการเดินทางและท่องเที่ยวภายในประเทศบ้าง แต่ก็ต้องมาพบกับการระบาดหลายระลอกที่ดับความหวังในการกระตุ้นให้หมดไป
ปี 2562 รายได้การท่องเที่ยวของประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท และรายได้จากคนไทยประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขแบบนี้ก็ต้องยอมรับว่า แทบเป็นไปไม่ได้ที่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทย จะเพิ่มขึ้นจนชดเชยกับรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้
การระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 สร้างความบอบช้ำอย่างหนักให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักกว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจในภาพรวมทั้งประเทศ
ซึ่งสะท้อนมาจาก มูลค่า GDP ที่เกิดจาก SMEs ในปี 2563 ที่ติดลบไปกว่า 9.1% จากปีก่อนหน้า
เทียบกับมูลค่า GDP ของประเทศไทย ที่ติดลบไป 6.1% จากปีก่อนหน้า
อีกทั้งในตอนนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ทำท่าจะคลี่คลายไปบ้างในช่วงก่อนนี้ กลับดูเหมือนว่าเลวร้ายลงกว่าเดิมไปอีก
ยิ่งถ้าสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ภายในประเทศลากยาวไปจนถึงสิ้นปี มีการคาดกันว่า ธุรกิจ SMEs จำนวนไม่น้อย อาจต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs ทั้งหมดมีหนี้รวมกันกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงกว่า 240,000 ล้านบาท
ทาง สสว. ยังคาดกันว่า มูลค่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อาจเพิ่มขึ้นอีก 440,000 ล้านบาท หากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ยังไม่ดีขึ้น จนทำให้ธุรกิจ SMEs จำนวนมาก ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เหมือนช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด
ที่ผ่านมา ธุรกิจ SMEs จำนวนไม่น้อยได้พยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ทนบาดแผลในครั้งนี้ไม่ไหวจนต้องยอมแพ้ไปแล้ว
ขณะที่บางส่วนพยายามกัดฟัน อดทนเลือกที่จะยืนระยะต่อไป อย่างน้อยก็หวังว่า ในอนาคตอันใกล้ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น แม้ว่ายังไม่รู้ว่าเมื่อไร เพราะถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ ความหวังจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว หรือเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ คงไม่ใช่เรื่องง่าย
ความหวังตอนนี้ ก็คงอยู่ที่ภาครัฐต้องบริหารจัดการการควบคุมโรคระบาดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และทุกฝ่ายก็ต้องร่วมด้วยช่วยกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้เร็วที่สุด
เรื่องนี้ ดูไปคล้าย ๆ กับเวลาที่เรากำลังนั่งรถไฟเข้าไปในอุโมงค์อันมืดมิดจนมองไม่เห็นอะไร ซึ่งเราก็คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการนั่งรอรถไฟให้วิ่งพ้นอุโมงค์ เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นแสงสว่าง
แต่คำถามสำคัญที่ทุกคนอยากรู้ในตอนนี้ก็คือ
รถไฟขบวนนั้น ใกล้จะถึงปลายอุโมงค์ แล้วหรือยัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210618165640.pdf
-https://www.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=332&id=1334
-https://www.smeeastern.com/page/id/1570110689241182
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-07-05/pandemic-pushes-millions-of-small-thai-businesses-into-crisis?utm_source=facebook&utm_content=asia&utm_medium=social&utm_campaign=socialflow-organic&fbclid=IwAR2GNVwqbNdZCtQc7z0pLOiK9K11VsMXylePBksw2lGF-FwB2EvRfTvzVuI
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=638&language=th
gdp ไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปทิศทาง เศรษฐกิจปี 2021 ฉบับสมบูรณ์
ลงทุนแมน X KRUNGSRI EXCLUSIVE
2021 อีกปีที่ท้าทายกับสถานการณ์เศรษฐกิจภายใต้วิกฤติโควิด 19 ไม่แพ้ตอนวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997 และ วิกฤติซับไพรม์ในปี 2008 ที่ทำให้นักธุรกิจ และนักลงทุนหลายๆ คนเจ็บหนัก
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางคน ที่เห็นโอกาสในวิกฤติ จนสร้างการเติบโต หรือ ผลกำไรได้อย่างงดงาม
KRUNGSRI EXCLUSIVE บริการการให้คำปรึกษาทางเงิน สำหรับผู้ที่มีเงินฝากเงินลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไปกับธนาคารกรุงศรี จึงจัดสัมมนาพิเศษแบบ new normal ให้ลูกค้าคนสำคัญเข้าร่วมงานผ่านทางออนไลน์ “KRUNGSRI EXCLUSIVE Economic and Investment Outlook 2021” โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลและให้มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนทางการเงินในหลากหลายมิติ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางกลยุทธ์ในปี 2021 นี้ได้
งานสัมมนาในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) Global Economic Outlook 2021
เป็นการบรรยายภาพรวมเศรษฐกิจโลก และธีมการลงทุน
โดยคุณ Ben Powell ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนภาคเอเชียแปซิฟิก ของ BlackRock บริษัทจัดการการลงทุนที่ใหญ่สุดในโลก
2) Thailand Economic Outlook 2021
บรรยายถึงภาพรวมและทิศทางเศรษฐกิจไทย โดย
ดร. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
และ ดร. สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
-Global Economic Outlook 2021
คุณ Ben Powell มองว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จากวิกฤติโควิด 19 จะเหมือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมรุนแรง มากกว่าจะเป็นวิกฤติทางการเงิน
เพราะในภาพรวมเศรษฐกิจ จะฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว ต่างจาก วิกฤติทางการเงิน ที่สถาบันการเงินเจ็บหนัก และเศรษฐกิจอาศัยเวลาฟื้นตัวนานกว่า
ซึ่งการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง จะเป็นตัวกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และคาดว่าเศรษฐกิจโลก จะกลับมาใกล้เคียง หรือระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด ในช่วงกลางปีนี้
โดยธีมการลงทุนในมุมมองของ BlackRock ในปีนี้ จะมีหลักๆ 3 อย่าง
1) The New Nominal
ตอนนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกันทั่วโลก
และในบางประเทศมีอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบด้วยซ้ำ
ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะยังคงกดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำอยู่ไปสักระยะ
เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่ก่อน
ในขณะเดียวกัน การดำเนินนโยบายการคลัง คือ รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่าง สหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่กว่า 57 ล้านล้านบาท
ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงิน จากธนาคารกลาง ที่กดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ และเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในระบบ
ตามมาด้วยสัญญาณการเพิ่มขึ้น ของอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real yield) ที่คำนวณจาก อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร หักด้วย อัตราเงินเฟ้อ
ยิ่งน้อยลงไปอีก หรืออาจถึงขั้นติดลบได้
BlackRock จึงปรับนโยบายการลงทุน โดยลดสัดส่วนของตราสารหนี้ลง เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
และเพิ่มสัดส่วนในหุ้น และ ตราสารหนี้ที่ชดเชยเงินเฟ้อ (TIPS) เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนของพอร์ตโดยรวม
โดยในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ BlackRock มองว่าน่าลงทุนและให้สัดส่วนในพอร์ตเยอะ คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และ สุขภาพ (Health care)
เพราะยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตได้ดี และอนาคตสดใสอยู่
อีกทั้งยังมองว่า ใน 6-12 เดือนนี้ นักลงทุนเต็มใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อแสดงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น
2) Globalization Rewired
บรรยากาศการค้าโลก มีแนวโน้มกลับมาคึกคักอีกครั้ง
หลังจากที่ โจ ไบเดน เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้เกิดการเจรจา และค้าขายระหว่างประเทศราบรื่นมากขึ้น
ในขณะที่ปี 2020 ที่ผ่านมา กิจกรรมการค้าโลก ก็ฟื้นตัวเร็วกว่าที่ BlackRock คาดการณ์ไว้มาก
โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุด
เพราะควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ดี และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่น และคาดว่าจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกในอีกไม่นาน
ซึ่ง World Bank คาดว่าในปีนี้ GDP ของจีน จะโตถึง 7.9%
ด้วยมุมมองที่สดใสของเศรษฐกิจจีน ทำให้ช่วงที่ผ่านมา มีเงินทุนไหลเข้าประเทศจีนเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรง (FDI) และตลาดหุ้น
การเข้าลงทุนในสินทรัพย์จีน จึงเป็นอีกหัวใจหลัก ของการลงทุนทั่วโลกตอนนี้
ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
รวมถึงเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุน ในประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ
นอกจากจีนแล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets)
ก็กลายเป็นอีกเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก
แต่ต้องดูเป็นรายประเทศไป ไม่ใช่ทุกประเทศจะน่าลงทุน
โดยนักลงทุนจะชอบประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง และค่าเงินมีเสถียรภาพ
เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย และมาเลเซีย
สรุปแล้ว ทั้งสหรัฐฯ และเอเชีย จะเป็นกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนตลาดทุนโลกต่อไป
3) Turbocharged Transformations
ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และความเท่าเทียม ยิ่งรุนแรงขึ้นจากสถานการณ์โควิด
เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวในรูปแบบ K Shape
คือ คนรวย จะฟื้นตัวเร็ว และยิ่งรวยขึ้น
ในขณะที่คนจน นอกจากจะจนลงแล้ว ยังฟื้นตัวช้ากว่า
ซึ่งแต่ละประเทศต้องรีบเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนจริงๆ
เช่น ปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันโควิด ก็เร่งทำให้พฤติกรรมของผู้คนเข้าหาโลกออนไลน์กันมากขึ้น
เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจวิดีโอสตรีมมิง และชอปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น
แต่ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ เช่น ร้านค้าปลีก และศูนย์การค้า ที่มีหน้าร้านจริง กลับยิ่งซบเซา
ทั้งนี้ ต่อไปเทรนด์ของการลงทุน จะไหลเข้าธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของความยั่งยืน หรือ ESG เพิ่มขึ้น อาทิ ธุรกิจที่ช่วยลดการปล่อยของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานสะอาด เป็นต้น
-Thailand Economic Outlook 2021
ในปี 2020 ที่ผ่านมา แบงก์ชาติประเมินว่า GDP ของประเทศไทย จะหดตัว -6.6% ซึ่งใกล้เคียงตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง
โดยได้รับปัจจัยลบมาจาก ภาคการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจาก 40 ล้านคน ในปี 2019 เหลือเพียง 6.7 ล้านคน ในปี 2020
การส่งออก ที่สะดุดลง เพราะซัพพลายเชนโลกหยุดชะงัก
การบริโภค และลงทุนภาคเอกชน ที่หดตัวในช่วงการล็อกดาวน์
แต่ประเทศไทยได้รับปัจจัยบวกจาก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งนโยบายการคลังและการเงิน ที่เข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ไม่ให้บาดแผลลึกเกินไป
ส่วนในปี 2021 นี้ แบงค์ชาติประเมินว่า GDP ไทยจะโต 3.2%
ในขณะที่กรุงศรี คาดว่าจะเติบโต 2.5% หลังหักผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่
ซึ่งที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะ ไม่เลวร้ายเหมือนปีก่อน และมีการขยายตัว เป็นเพราะ
ไทยไม่ได้มีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ มีเฉพาะมาตรการควบคุมเฉพาะพื้นที่
และภาครัฐ มีการออกมาตรการควบคุมและช่วยเหลือต่างๆ ได้ตรงจุด อย่างรวดเร็ว กว่าที่ผ่านมา
เพราะมีข้อมูล และประสบการณ์ในการรับมือกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงไม่เป็นวงกว้างเหมือนในปีก่อน
นอกจากนี้ การส่งออกไทย ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 45% ของ GDP (ของปี 2019)
ยังมีแนวโน้มขยายตัว จากอานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
และสินค้าส่งออก ที่คิดเป็นสัดส่วนมากสุดของไทย คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์
ยังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ของผู้บริโภคในตลาดโลก
โดยผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในต่างประเทศ ต้องการรถยนต์ส่วนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ
รวมถึงผู้บริโภคในหลายประเทศ ที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานที่บ้าน
ดังนั้น การส่งออก จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
ซึ่งในระยะยาว สำหรับผู้ประกอบการไทยแล้ว
ตลาดเอเชีย อาจมีความน่าสนใจกว่า ตลาดในแถบตะวันตก
ถึงแม้รายได้เฉลี่ยต่อหัวจะต่ำกว่า แต่ชาวเอเชีย มีอัตราการเติบโตของรายได้สูงกว่า ชาวตะวันตก
ทำให้มีอัตราการบริโภคที่เติบโตเร็วกว่า ซึ่งเป็นอีกโอกาสของผู้ประกอบการไทย
ส่วนความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในปีนี้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
คือ เรื่องของการกลายพันธุ์ของเชื้อ และความยืดเยื้อของการแพร่ระบาด
รวมถึงการแจกจ่ายวัคซีน จะทั่วถึงครบทุกคนเมื่อไร
เพราะสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านการท่องเที่ยวและเปิดประเทศโดยตรง ว่าจะกลับมาเร็วแค่ไหน ซึ่งการท่องเที่ยว ก็เป็นอีกแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
โดย รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็น 12% ของ GDP (ของปี 2019)
ทั้งนี้ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทย ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัว
แต่การฟื้นในแต่ละอุตสาหกรรม จะไม่เท่ากัน
อย่างภาคการผลิต ก็เห็นตัวเลขสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน
ในขณะที่ภาคบริการ โดยเฉพาะ ธุรกิจโรงแรม สายการบิน ร้านอาหาร ยังไม่ฟื้นตัว และเจอความท้าทายอยู่
ที่สำคัญธุรกิจเหล่านี้ เป็นธุรกิจที่มีการจ้างงานค่อนข้างเยอะ
ซึ่งแรงงานจำนวนมากนี้ ก็อาจถูก Layoff และขาดรายได้
จนส่งผลกระทบต่อ การบริโภคภายในประเทศ ในที่สุด
ดังนั้น คาดว่า การบริโภคในปีนี้ จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ช่วงก่อนโควิด
และภาพรวมเศรษฐกิจไทย จะฟื้นคืนสู่จุดเดิมได้ ในปีหน้า
ปิดท้าย ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ แบงก์ชาติ ได้ย้ำว่า
ประเทศไทย และ ภาคธุรกิจ ต้อง Transform ตัวเองครั้งใหญ่ ณ ตอนนี้
เพราะหลังจากเหตุการณ์โควิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะเปลี่ยนไปตลอดกาลถึงระดับโครงสร้าง
ไม่ว่าจะเป็น การนำระบบ Automation หรือ AI มาใช้งานกันมากขึ้น
รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่เริ่มจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
การค้าออนไลน์ และกิจกรรมบนโลกดิจิทัล ที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น
ประเทศไทย และ ภาคธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญกับ นวัตกรรม และการรีสกิลของแรงงาน
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และก้าวไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง..
gdp ไทย 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的精選貼文
อีกหนึ่งตัวกำหนดการเติบโตเศรษฐกิจของไทยนั่นก็คือ GDP ที่จะบ่งบอกชี้วัด โดยปี พ.ศ. 2563
ต้องบอกเลยครับว่า เราอยู่ในช่วงที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะอะไรนั้น ไปติดตามรับชมกันครับ
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันมาตลอดครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้กดติดตาม สามารถเข้าไป
กดติดตามได้ที่ YouTube : https://www.youtube.com/paulpattarapon
ช่องทางการติดตาม
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวิดีโอ YouTube
โทร : 092-664-8245
Email : paulpattarapon@anymindgroup.com
Powered by AnyMind Group
#MoneyMatters #PaulPattarapon #พอลภัทรพล