No Forbidden Zones in Reading (Lee Yee)
German philosopher Hegel said, “The only thing we learn from history is that we learn nothing from history.”
In April 1979, the post-Cultural Revolution era of China, the first article of the first issue of Beijing-based literary magazine, Dushu [meaning “Reading” in Chinese]," shook up the Chinese literary world. The article, titled “No Forbidden Zones in Reading”, was penned by Li Honglin. At the time, the CCP had not yet emerged from the darkness of the Cultural Revolution. What was it like in the Cultural Revolution? Except for masterpieces by Marx, Engels, Lenin, Stalin and Mao, and a small fraction of practical books, all books were banned, and all libraries were closed. The Cultural Revolution ended in 1976, and 2 years later in 1978, the National Publishing Bureau decided to allow 35 books to be “unbanned”. An interlude: When the ban was first lifted, there was no paper on which to print the books because the person with authority over paper was Wang Dongxing, a long-term personal security of Mao’s, who would only give authorization to print Mao. The access to use paper to print books other than Mao was a procedural issue. The Cultural Revolution was already on its way to be overturned. The door to printing these books was opened only after several hang-ups.
“No Forbidden Zones in Reading” in the first issue of Dushu raised a question of common sense: Do citizens have the freedom to read? “We have not enacted laws that restrict people’s freedom of reading. Instead, our Constitution stipulates that people have the freedom of speech and publication, as well as the freedom to engage in cultural activities. Reading ought to be a cultural activity,” argued Li. It was not even about the freedom of speech, but simply reading. Yet this common sense would appear as a subversion of the paralyzing rigid ideas formulated during the Cultural Revolution, like a tossed stone that raises a thousand ripples. Dushu’s editorial department received a large number of objections: first, that there would be no gatekeeper and mentally immature minors would be influenced by trashy literature; second, that with the opening of the Pandora box, feudalism, capitalism and revisionism would now occupy our cultural stage. The article also aroused waves of debates within the CCP. Hu Yaobang, then Minister of Central Propaganda, transferred and appointed Li Honglin as the Deputy Director of the Theory Bureau in his department. A colleague asked him directly, “Can primary school students read Jin Pin Mei [also known in English as The Plum in the Golden Vase, a Chinese novel of manners composed in late Ming dynasty with explicit depiction of sexuality]?”
“All Four Doors of the Library Should be Open” was published in the second issue of Dushu, as an extension to “No Forbidden Zones in Reading”. The author was Fan Yuming, but was really Zeng Yansiu, president of the People’s Publishing House.
In the old days, there was a shorthand for the three Chinese characters for “library”: “book” within a “mouth”. The four sides of the book are all wide open, meaning that all the shackles of the banned books are released. “No Forbidden Zones in Reading” explains this on a theoretical level: the people have the freedom to read; “All Four Doors of the Library Should be Open” states that other than special collection books, all other books should be available for the public to loan.
The controversy caused by “No Forbidden Zones in Reading” lasted 2 years, and in April 1981, at the second anniversary of Dushu, Director of the Publishing Bureau, Chen Hanbo, penned an article that reiterated that there are “No Forbidden Zones in Reading”, and that was targeting an “unprecedented ban on books that did happen”.
Books are records of human wisdom, including strange, boring, vulgar thoughts, which are all valuable as long as they remain. After Emperor Qin Shihuang burned the books, he buried the scholars. In history, the ban on books and literary crimes have never ceased.
Engraved on the entrance to Dachau concentration camp in Germany, a famous poem cautions: When a regime begins to burn books, if it is not stopped, they will turn to burn people; when a regime begins to silent words, if it is not stopped, they will turn to silent the person. At the exit, a famous admonishment: When the world forgets these things, they will continue to happen.
Heine, a German poet of the 19th century, came up with “burning books and burning people”. There was a line before this: This is just foreplay.
Yes, all burning and banning of books are just foreplay. Next comes the literary crimes, and then “burning people”.
I started working at a publishing house with a high school degree at 18, and lived my entire life in a pile of books. 42 years ago, when I read “No Forbidden Zones in Reading” in Dushu, I thought that banned books were a thing of the past. Half a century since and here we are, encountering the exact same thing in the freest zone for reading in the past century in the place which enlightened Sun Yat-sen and the rest of modern intellectuals, a place called Hong Kong.
Oh, Hegel’s words are the most genuine.
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅巴打台,也在其Youtube影片中提到,歷史淵流 第十八集 2018年11月02日 主持: 加燦生 , Alexei 第一節: 英國史系列,玫瑰戰爭(1)/天災,英爆,意識形態崩/百年戰爭Game Over,庸主嚇顚,權臣國會獨撐半邊天 第二節: 英國史系列,玫瑰戰爭(2)/庸主回朝,權臣兵諫/ Bastard Feudalism /...
「feudalism 2」的推薦目錄:
- 關於feudalism 2 在 李怡 Facebook 的最佳解答
- 關於feudalism 2 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於feudalism 2 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於feudalism 2 在 巴打台 Youtube 的精選貼文
- 關於feudalism 2 在 巴打台 Youtube 的精選貼文
- 關於feudalism 2 在 Feudalism 2 Walkthrough 的評價
- 關於feudalism 2 在 [WR] Feudalism 2 speedrun 31:15 new world record 的評價
- 關於feudalism 2 在 Feudalism 2 speedrun 35:04.907 - YouTube 的評價
- 關於feudalism 2 在 IN HOC SIGNO VINCES on Instagram: “Feudalism 2 when ... 的評價
feudalism 2 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ประวัติศาสตร์กฎหมายกลุ่มกฎหมายสังคมนิยม : ประเทศรุสเซีย(สหภาพโซเวียดก่อนล่มสลาย)
ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นปีแห่งการปฏิวัติของรุสเซียเป็นต้นมา รุสเซียได้เปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศให้เข้าสู่สังคมยุคใหม่ ได้แก่สังคมคอมมิวนิสต์ สังคมดังกล่าวได้ยึดถือหลักภราดรภาพ (fraternity) เป็นสำคัญ โดยถือว่าบุคคลในสังคมมีความผูกพันกันฉันพี่น้อง และปฏิบัติต่อกันด้วยหลักเสมอภาค โดยตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของสังคมเป็นใหญ่
หลักการที่ยึดถือใหม่ทำให้ความรู้สึกในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเกิดความรู้สึกที่ว่า รัฐและกฎหมายไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะสิ่งที่ถือว่ามีความจำเป็นได้แก่องค์กรและประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่ทางด้านนิติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ ประเทศรุสเซียตกอยู่ในรัฐสังคมนิยมซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างกับรัฐเสรีประชาธิปไตย เพราะรุสเซียยึดถือหลักการรวมทรัพย์สินและผลิตผลของรัฐเข้าด้วยกันตามแผนการเศรษฐกิจ ซึ่งกำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับแผนทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ และเพื่อจะได้นำรัฐสังคมนิยมนี้เข้าสู่รัฐคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าทัศนคติและปฏิบัติการณ์เช่นนี้ย่อมกระทบกระเทือนทางด้านกฎหมายของรุสเซียด้วย เพราะจะต้องมีการยกเลิก เพิกถอน เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคใหม่
อย่างไรก็ตาม เนื่องการเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ยังไม่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง เพราะฉะนั้น ความเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายแม้ว่าจะมีอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่อยู่ในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง กล่าวคือกฎหมายของรุสเซียยังคงมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายโรมันอยู่เป็นส่วนใหญ่ ดังจะเห็นได้จากเค้าโครงและศัพท์สำนวนทางกฎหมายที่นำมาใช้ รวมทั้งหลักกฎหมายต่างๆด้วย จนอาจกล่าวได้ว่าทั่วไปแล้วกฎหมายของรุสเซียไม่มีความแตกต่างกับกฎหมายของฝรั่งเศส หรือเยอรมันมากนัก
แม้กระทั่งบรรดาเจ้าตำราทางด้านกฎหมายของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของอังกฤษหรืออเมริกา ต่างก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายรุสเซียตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ควรถูกจัดอยู่ในกลุ่มกฎหมายโรมัน
แต่บรรดานักกฎหมายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมได้คัดค้านแนวความคิดนี้เป็นเอกฉันท์ โดยกล่าวว่า กฎหมายเป็นเพียงสิ่งสะท้อนของเค้าโครงทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ดังนั้นระบอบกฎหมายที่แตกต่างกันอย่างแท้จริง น่าจะได้แก่ระบบกฎหมายของประเทศสังคมนิยมและระบบกฎหมายของประเทศเสรีประชาธิปไตย ซึ่งความแตกต่างที่สำคัญของระบบกฎหมายทั้งสองได้แก่การที่ระบบกฎหมายของประเทศเสรีประชาธิปไตย ยึดถือหลักเศรษฐกิจส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นใหญ่ ส่วนระบอบกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ยึดถือหลักการที่ว่าทรัพย์สินและผลิตผลต่างๆ ตามแผนเศรษฐกิจต้องเป็นของส่วนรวม และเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ตามแนวทัศนคติของ Marx และ Engels ซึ่งเป็นเจ้าของลัทธิ
แต่ถ้าสังเกตดูวิวัฒนาการของกฎหมายรุสเซียในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่า เหตูการณ์ไม่ได้ดำเนินไปตามที่รุสเซียตั้งความหวังไว้ เพราะปาชาชนเกิดความไม่เข้าใจและไม่พึงพอใจในระบบใหม่ ทำให้ต้องมีการผ่อนคลายหลักการเดิมลง
ดังนั้นถึงแม้ว่ากฎหมายของรุสเซีย จะถูกจัดเข้าในกฎหมายใหม่ แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว ความแตกต่างระหว่างกฎหมายเก่ากับระบบกำหมายปัจจุบันมีอยู่ไม่มากนัก
นอกจากรุสเซียจะถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มกฎหมายสังคมนิยมดังกล่าวมาแล้ว บรรดาประเทศยุโรปตะวันออกอีกหลายประเทศ ได้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มกฎหมายเดียวกันกับรุสเซียอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางการเมืองอีกด้วย
แต่คำว่า “Socialist Law “ หรือกฎหมายสังคมนิยมในที่นี้ จะต้องมีความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องด้วย เพราะได้มีการอ้างอิงคำนี้อยู่เสมอ เช่น ประเทศสวีเดน ประเทศเซเนกัล หรือสาธารณรัฐอาหรับ ต่างก็อ้างว่ากฎหมายประเทศของตนเป็นกฎหมายสังคมนิยมทั้งสิ้น ซึ่งตามความจริงแล้ว กฎหมายของประทศเหล่านี้เพียงแต่บัญญัติขึ้นในแนวทางที่ให้ความคุ้มครองต่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของเอกชน ดังที่เคยเป็นมาในอดีตเท่านั้น แต่ยังไม่มีทัศนคติเดียวกันกับประเทศรุสเซีย(สหภาพโซเวียตเก่า)หรือประเทศบริวารอื่นๆ
1.ประวัติศาสตร์กฎหมายรุสเซีย
ประวัติศาสตร์กฎหมายรุสเซีย ก็คือ ประเทศสหภาพโซเวียต เก่าที่ยังไม่ได้ล่มสลายในปัจจุบัน ซึ่งต้นกำเนิดของของกฎหมายกลุ่มสังคมนิยมที่ยังมีใช้กันอยู่ เช่น ในประเทศจีน ลาว เวียดนาม เป็นต้น ในที่จะขอกล่าวประวัติศาสตร์รุสเซีย ในแต่ละยุค ดังนี้
1.1 ยุคกฎหมายจารีตประเพณีรุสเซีย
ยุคกฎหมายจารีตประเพณีรุสเซีย (RourrkiaPravda และ Byzantin Law ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชนเผ่าหนึ่งซึ่งมีเชื้อสายสแกนดิเนเวีย มี Riourik เป็นหัวหน้าได้อพยพเข้ามาในรุสเซีย และได้เข้ายึดครองเมือง Kiev ไว้โดยสถาปนาเป็นรัฐในปี ค.ศ. 862 จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1236 จึงได้ถูกพวกมองโกล (Mongols) ทำลายลง
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้เริ่มมีการจัดตั้งจารีตประเพรีของเมือง Kiev ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร มีผลใช้บังคับเฉพาะในท้องถิ่นนั้น จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 14 จึงได้มีการจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่ มีลักษณะใช้ได้กับการปกครองระบอบ feudalism โดยเรียกชื่อว่ากฎหมายรุสเซีย หรือ Rousskia Pravda ในระยะเดียวกันนั้นเอง ภายหลังที่ชาว Kiev ได้ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์เตียนในสมัยของ Saint Vladimir แล้ว กฎหมายที่เรียกว่า Byzanatinlaw ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากใน Kiev ทั้งทางด้านกฎหมายเอกชน และกฎหมายศาสนา (canon law ) เช่นเดียวกับประเทศยุโรปอื่น ๆ ได้รับอิทธิพลของกำหมายโรมันโดยตรง Church ต่าง ๆ ที่ Kiev ต่างนำเอา Byzantin law ไปใช้ภายในขอบเขตที่เป็นอาณาจักรบริเวณอยู่ภายใต้อำนาจของ Church
ในการนำเอา Byzantin law มาใช้นี้ ได้มีการนำเอาวิธีการอนุญาโตตุลาการโดยพวกพระมาใช้ และได้มีการจัดจารึกจารึกจารีตประเพณีขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
1.2 รุสเซียภายใต้การยึดครองของชาวมองโกล
ยุคที่สองของประวัติศาสตร์กฎหมายรุสเซียได้แก่การถูกชาวมองโกลเข้าครอบครองในปี ค.ศ. 1236 จนกระทั่งได้มีการทำสงครามกู้เอกราชในปี ค.ศ. 1480 ภายใต้รัชสมัยของ Ivan III จากการที่รุสเซียได้อิสรภาพนี้เอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางประการ ได้แก่การก่อตั้ง Moscow ขึ้นแทน Kiev การยอมรับนับถือศาสนาคริสเตียนนิกาย Ortodoxe ซึ่งแตกต่างกับความศรัทธาในศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งนับถือนิกายโรมันคาทอลิก
ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายโดยตรงนั้น การเข้าครอบครองรุสเซียของชาวมองโกลไม่ได้ทำความกระทบกระเทือนทางด้านกฎหมายให้แก่รุสเซียเลย เพราะชาวมองโกลเองก็ได้พยายามให้จารีตประเพณีของตน (Yassak) มีอิทธิพลต่อกฎหมายรุสเซีย ในขณะเดียวกันชาวรุสเซียเองก็ได้พยายามที่จะทำให้ Byzantin มีอิทธิพลมากขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มกันการแผ่ขยายอิทธิพลของกฎหมายของชาวมองโกล
1.3 การจัดทำประมวลกฎหมายในปี ค.ศ. 1649
ยุคที่สามของประวัติศาสตร์กฎหมายรุสเซีย ได้แก่ยุคที่รุสเซียพ้นจากการยึดครองของชาวมองโกล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ Peter the Great ในปี ค.ศ. 1689 รุสเซียในยุคนี้อยู่ภายใต้การปกครองของ Tsars ซึ่งทำให้ประเทศพ้นจากสภาพไร้กฎหมาย และสามารถรักษาความเป็นเอกราชกับต่อต้านการรุกรานจากตะวันตกไว้ได้ ในยุคนี้แม้กระทั่ง Church เองก็ย่อมรับรู้และอยู่ใต้อำนาจของ Tsars
การที่ Tsars มีอำนาจเด็ดขาด แม้ว่าจะมีผลดีทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยในระยะแรก ๆ แต่ก็ทำให้เกิดระบบการใช้อำนาจเกินขอบเขตของบรรดาสวามิน และข้าราชฝ่ายปกครองท้องถิ่นได้ แม้ว่าโดยหลักการแล้วจะยึดถือจารีตประเพณีเป็นหลักก็ตาม นอกจากนั้นการแบ่งอำนาจของตำรวจ ศาลและฝ่ายปกครองก็เป็นไปอย่างสับสนและยากที่จะแบ่งออกจากกันได้อย่างชัดเจน
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ Tsars องค์ที่สองแห่งราชวงศ์ Romanov คือ Alexis Mikhailovitch ได้จัดรวบรวมกฎหมายขึ้นทั้งกฎหมายอาณาจักรและกฎหมายศาสนา จนกระทั่งได้มีการจัดทำ Code ของ Alexis Mikhailovitch ขึ้นในปี ค.ศ. 1649 มีอยู่ 25 บท 963 มาตรา
1.4 Svod Zakonov ในปี ค.ศ. 1832
การจัดทำกฎหมายในรุสเซียโดยเลียนแบบอย่างกฎหมายสมัยใหม่ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายฝรั่งเศส ได้เริ่มขึ้นอย่างแท้จริงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยของ Alexander I แต่ต่อมาภายหลังได้เกิดมีความรู้สึกเป็นศรัตรูต่อฝรั่งเศสการจัดทำแบบประมวลกฎหมายของฝรั่งเศสได้ยุติลง ต่อมาในสมัย Nicolas I จึงได้มีการรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1832 ชื่อ Svod Zaconov มีทั้งหมดด้วยกัน 14 ตอน รวม 60,000 มาตรา
ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สมัยของ Alexander II ได้มีการปฏิรูปองค์กรศาลยุติธรรมในปี ค.ศ. 1864 และได้จัดทำประมวลกฎหมายอาญาในปี ค.ศ. 1855 แต่น่าสังเกตว่าไม่มีการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งสำเร็จ เพียงแต่มีโครงการจัดทำเท่านั้น
1.5 กฎหมายรุสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ถึงการล่มสลายของรุสเซีย
ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 เป็นต้นมาประวัติศาสตร์กฎหมายรุสเซีย ผู้เขียนขอแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคแรก ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1917-1936 กับภาคสอง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึงการล่มสลายของรุสเซีย ดังนี้
1.5.1 กฎหมายรุสเซีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917-1936
ในช่วงระยะเวลานี้จะแบ่งออกได้ 3 ยุค คือ ยุคการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1917-1921 ยุคเศรษฐกิจการเมืองแผนใหม่ ค.ศ. 1921-1928 และยุคการรวมผลิตผลทางเกษตรและแผน 5 ปี ค.ศ. 1928-1936
1.5.1.1 ยุคการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1917-1921
ยุคนี้เริ่มต้นตั้งแต่การปฏิวัติ ในปี ค.ศ. 1917 จนกระทั่งสงครายุติลงและพรรคคอมมิวนิสต์ (Bolshevik) ได้รับชัยชนะและปกครองรุสเซียในปี ค.ศ. 1921 ระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์ กำลังวุ่นอยู่กับสงครามและการช่วงชิงอำนาจประครองประเทศขั้นเด็ดขาดดังภาระหน้าที่ที่สำคัญประการแรก คือ การสถาปนาอำนาจและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายและการนำกฎหมายมาใช้มากนัก จนถึงขนาดที่คนสำคัญ คือ เลนิน และทรอตสกี้ ได้แสดงทรรศนะว่า “ในระยะแรกนั้นกฎหมายต่างๆมีความสำคัญต่อการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่าที่จะให้เป็นกฎหมายที่ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติ”
อย่างไรก็ตามใน ปี ค.ศ. 1918 ได้มีการบัญญัติรัฐธรรมนูญของรุสเซียขึ้นและแบ่งแยกรัฐกับ Church ออกจากกัน ดังนั้นอิทธิพลของกฎหมายศาสนาในด้านการสมรสและการหย่าจึงหมดสิ้นไป การรับมรดกก็มีขึ้นไม่ได้ การโอนที่ดิน เหมืองแร่ กิจการอุตสาหกรรมซึ่งมีความสำคัญและการธนาคารเข้าเป็นของรัฐ การค้าขายของเอกชนก็ถูกห้ามทำให้เงินตราและลักษณะสัญญาขาดความหมายและความสำคัญลง
ศาลและวิธีพิจารณาของศาลในสมัยก่อนการปฏิวัติถูกยกเลิกและมีการจัดตั้งศาลใหม่ขึ้นแทน โดยให้พิจารณาพิพากษาให้สอดคล้องกับอุดมการณ์แห่งการปฏิวัติ เพื่อให้ความยุติธรรมแก่สังคมในแบบคอมมิวนิสต์ คือ เพื่อประโยชน์ของรัฐบาลของบรรดาผู้ใช้แรงงานและชาวนาชาวไร เมื่อสถานการณ์ภายในประเทศเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้ความสำคัญกฎหมายหมดไปและยังกลายเป็นกลุ่มชนชั้นที่ถูกระแวงสงสัยโดยรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์
1.5.1.2 ยุคเศรษฐกิจและการเมืองแผนใหม่
ยุคเศรษฐกิจและการเมืองแผนใหม่ ระหว่างค.ศ. 1921-1928 (ยุคNew Economic –Politic = N.E.P.) หลังจากที่สงครามกลางเมืองยุติลง ได้มีการฟื้นฟูและบูรณะประเทศแบบขนานใหญ่ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ กระตุ้นให้ชาวนาชาวไร่ทำงานมากขึ้น และแสวงหาเงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและแสวงเงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น
จากสาเหตุดังกล่าวนี้ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องสละแนวความคิดเดิมที่จะนำประเทศก้าวสู่การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงในทันที และหวนกลับมาใช้วิธีดำเนินการเป็นขั้น ๆ ไป คือเริ่มต้นจากการเข้าสู่ระบบสังคมนิยมก่อน
อนึ่ง การที่รุสเซียมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านเงินทุนดังกล่าวแล้ว จึงจำต้องแสดงให้ต่างประเทศมีความเชื่อถือว่าจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อการนี้รุสเซียจึงต้องประกาศใช้กฎหมายแพ่ง ในปี ค.ศ. 1922 (ใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1923) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายครอบครัว และประมวลกฎหมายที่ดินขึ้น ในขณะเดียวกัน ได้มีการปรับปรุงทางด้านกระบวนการยุติธรรมเสียใหม่ โดยยึดหลักความเสมอภาคในสังคมเป็นสำคัญ
โดยสรุปแล้ว ในยุค N.E.P.นี้ รุสเซียได้ถอยกลับมาจากจุดเดิมที่ก้าวเร็วเกินไป ทำให้เกิดอันตรายทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง และหันกลับมาใช้วิธีการที่อ่อนลงตามแนวทางสังคมนิยม เพื่อสถาปนาเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในสภาพที่พ้นจากอันตรายเสียก่อน
1.5.1.3 ยุคการรวมผลิตผลทางการเกษตรและแผนการ 5 ปี
ยุคการรวมผลิตผลทางการเกษตรและแผนการ 5 ปี (ค.ศ. 1928-1936) กล่าวได้ว่ายุค N.E.P. ได้นำความสำเร็จทางเศรษฐกิจมาสู่รุสเซีย แต่ในขณะเดียวกันพรรคคอมมิวนิสต์ก็ยังไม่ได้เลิกล้มความตั้งใจที่จะนำประเทศให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1928-1932 รุสเซียจึงได้นำแผนการห้าปี (แผนแรก) มาใช้ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือ การยกเลิก แผนเศรษฐกิจและการเมืองแผนใหม่ (N.E.P. ) โดยอัตโนมัติและนำเอาแผนการใหม่มาใช้ สาระสำคัญของแผนการ 5 ปี ได้แก่การรวมผลิตผลทางอุตสาหกรรมและการค้าเข้าเป็นของส่วนรวม โดยการยกเลิกสัมปทาน ซึ่งอนุญาตให้เอกชนดำเนินการแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมบางประเภทเสีย
ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา บรรดากสิกรได้ถูกเชิญชวนในลักษณะบังคับให้รวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมแรงงานและผลิตผลที่ได้จากการใช้แรงงาน การจัดตั้งสหกรณ์ดังกล่าวเป็นสำเร็จในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งในยุคนั้นมีสหกรณ์ทั้งสิ้น 243,000 แห่ง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ดินที่สามารถทำประโยชน์ได้ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยกสิกรที่เป็นสมาชิกรวม 18,500,000 ครัวเรือน
ผลการศึกษาแผน 5 ปี ทำให้ทรัพย์สินและเครื่องมือเครื่องใช้ทุกชนิดที่ใช้ในการผลิตตกเป็นของส่วนรวม กล่าวคือ ถ้าไม่ตกเป็นของรัฐก็ตกเป็นของสหกรณ์ คงยกเว้นให้กสิกรทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์บางประเภทเพื่อประโยชน์ของตนเองได้บ้าง แต่กิจการดังกล่าวนี้ก็ถูกจำกัดอย่างเข้มงวดกวดขันตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น แต่นำไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์เป็นรายได้จากผู้อื่นไม่ได้ ทางด้านการค้าปรากฏว่าตั้งปี ค.ศ. 1935 การค้าในเมือง รัฐเข้าดำเนินการเอง ส่วนชนบทผู้ดำเนินการได้แก่ สหกรณ์ ทำให้เอกชนไม่สามารถทำการค้าขายได้ การฝ่าฝืนจะมีโทษทางอาญา
อย่างไรก็ตามแม้ยุค N.E.P.ผ่านพ้นไปแล้วก็ตามบรรดาประมวลกฎหมายต่างๆที่ประกาศใช้ในยุคนั้นก็ยังใช้บังคับในยุคต่อมายิ่งกว่านั้นได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1936 ด้วยและในรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ มาตรา 14 ได้กำหนดให้ประมวลกฎหมายแพ่ง ซึ่งได้ทำขึ้นใน ค.ศ. 1922 และมีการแก้ไขในระยะต่อมา สามารถนำไปใช้บังคับได้ในดินแดนของรัฐต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นประเทศประเทศรุสเซียด้วย (หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายว่าด้วยรัฐธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1958 และประมวลกฎหมายแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1961)
กฎมายรุสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ภาระหน้าที่สำคัญของรัฐและกฎหมายของรัฐ ภายหลัง ค.ศ. 1936 ที่มีอยู่ 3 ประการคือ ประการแรก ในด้านเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ได้แก่หน้าที่ในการเพิ่มพูนอำนาจของรัฐให้มากขึ้น พร้อมกับเสริมสร้างความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันโดยสันติในบรรดารัฐต่าง ๆ กับปราบปรามผู้ที่ทำตัวเป็นศัตรูกับระบอบการปกครองประเทศ
หน้าที่ประการที่สอง ได้แก่การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้แก่การบัญญัติกฎหมายในลักษณะพัฒนาการผลิตโดยยึดหลักสังคมนิยม
ส่วนหน้าที่ประการที่สาม ได้แก่บัญญัติกฎหมายในทางให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อให้ยอมรับหลักการตามระบอบใหม่ และสละละทิ้งความยึดมั่นเก่าๆ ที่ฝังหัวยุนานนับเป็นศตวรรษออกไป
การดำเนินการดังกล่าวดังนี้เป็นไปได้โดยล่าช้า ดังจะเห็นได้ว่าในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1968 พรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียมีสมาชิกอยู่เพียง 13,180,225 คน หรือเท่ากับ 5.52 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพลเมืองทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายนั้น ปรากฏว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นในระยะหลังนี้เป็นกฎหมายที่มีเหตุผล และให้ความสำคัญแก่สังคมมากขึ้น จึงเป็นกฎหมายที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวกับต่างประเทศ กฎหมายบางฉบับจะนำมาศึกษาหรือได้รับความสนใจบ้างในประเทศ เช่นกฎหมายพาณิชย์ และกฎหมายแรงงาน เป็นต้น
2.ประวัติศาสตร์กฎหมายของประเทศสังคมนิยมอื่น ๆ
ประเทศในภาคพื้นยุโรปบางประเทศได้รวมกลุ่มทางการเมืองกับประเทศรุสเซีย เพราะนำระบอบการปกครองประเทศแบบสังคมนิยมหรืคอมมิวนิสต์ไปใช้ จึงรวมกันขึ้นเป็นค่ายตะวันออกหรือค่ายคอมมิวนิสต์
จากความนิยมในระบอบการปกครองประเทศเช่นเดียวกันนี้เอง ทำให้มีการถ่ายทอดและรับเอาอิทธิพลทางกฎหมายไปจากรุสเซียด้วย แต่ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้ไม่รุนแรงและเป็นอันตรายเช่นเดียวกับรุสเซียในยุคต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้เพราะลักษณะของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งจารีตประเพณีของประเทศเหล่านั้นแตกต่างกันกับประเทศรุสเซีย
และผลที่ตามมาคือ แม้ว่าบรรดาประเทศประชาธิปไตยประชาชนในยุโรปตะวันออกจะถือตามแบบอย่างกฎหมายของรุสเซีย แต่ก็มีความแตกต่างกันออกไปตามวิถีทางการเมืองของประเทศเหล่านั้น ซึ่งความแตกต่างได้ปรากฏมากขึ้นในระยะหลัง เช่นความพยายามของประเทศโกสโววะเกียที่พยายามที่จะนำประเทศไปสู่ “สังคมนิยมแบบใหม่” หรือประเทศยูโกสลาเวีย ประเทศแอลเบเนีย และประเทศจีน เป็นต้น
1.หลักการที่เหมือนกันกับประเทศรุสเซีย
หลักการสำคัญที่นำมาบัญญัติเป็นกฎหมาย เพื่อสนับสนุนหลักการทางเศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ได้แก่การให้ผลิตผลต่าง ๆ เป็นของส่วนรวม
วิธีการที่นิยมกันมากและอาจเกิดขึ้นอย่างง่ายดายในประเทศเหล่านี้ ได้แก่การโอนกิจการอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการอุตสาหกรรมซึ่งลงทุนโดยชาวต่างประเทศ และได้รับคำมั่นหรือหลักประกันจากรัฐบาลชุดก่อนการเปลี่ยนแปลง
กิจการค้าของเอกชนก็ถูกห้ามเช่นเดียวกันกับกฎหมายรุสเซีย เพียงแต่มีวิธีการที่อะลุ้มอล่วยกว่า เช่นยอมให้เอกชนเปิดร้านค้าได้ในในบัลแกเรีย และในฮังการี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของร้านขายอุปโภค
ในประเทศโปแลนด์ รัฐให้สัญญากับเอกชนให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมได้ เพื่อประโยชน์ทางการค้าบางประเภท
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นำความลำบากและยุ่งยากมากมาสู่ประเทศเหล่านี้ได้แก่การโอนที่ดินเป็นของรัฐ และการนำผลิตผลทางเกษตรเข้าเป็นผลิตผลของส่วนรวม เช่นเดียวกับที่รุสเซียได้เคยประสบมาแล้ว ดังเช่นประเทศโปแลนด์และประเทศยูโกสลาเวีย แม้จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่อาจดำเนินการทางวิธีดังกล่าวแล้วให้ได้ผลสมบูรณ์เต็มที่
2.การจัดทำประมวลกฎหมาย ประมวลกฎหมายที่ประกาศใช้ในประเทศเหล่านี้ในยุคหลังได้แก่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาทางด้านการปกครอง ในประเทศเชโกสโลวะเกีย ในปี ค.ศ. 1955 ในประเทศฮังการี ในปี ค.ศ. 1956 ในประเทศยูโกสลาเวีย ในปี ค.ศ. 1957 และในประเทศโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1960
feudalism 2 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ประวัติศาสตร์กฎหมายสหรัฐอเมริกา : กลุ่มกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law)
ประวัติศาสตร์กฎหมายสหรัฐอเมริกา นี้ผู้เขียนจะกล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของสหรัฐอเมริกา กฎหมายสหรัฐอเมริกาคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 กฎหมายสหรัฐอเมริกาคริสต์ศตวรรษ ที่ 18 กฎหมายสหรัฐอเมริกาเมื่อประกาศอิสรภาพ ดังนี้
1.ประวัติความเป็นมาของสหรัฐอเมริกา
ชาวอังกฤษได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนที่เป็นสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยแยกย้ายกันไปตั้งหลักแหล่งในท้องถิ่นต่างๆรวมกัน 13 กลุ่ม กล่าวคือ ชนชาวอังกฤษได้เข้าไปอยู่ใน Virginia เมื่อ ปี ค.ศ. 1607 ที่ Plymouth เมื่อ ปี ค.ศ. 1620 ที่ Massachusetts เมื่อปี ค.ศ. 1630 ที่ Maryland เมื่อปี ค.ศ. 1632 นอกจากนี้ยังมีชนชาวฮอลันดาไปตั้งหลักแหล่งที่ New York แต่ได้กลายเป็นชาวอังกฤษไปเมื่อปี ค.ศ. 1664 กลุ่มชาวสวีเดน ไปตั้งหลักแหล่งที่ Pennsylvania แล้วกลายเป็นอังกฤษเมื่อ ปี ค.ศ. 1681 จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 จึงมีชนชาติต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษหรือได้กลายมาเป็นชนชาติอังกฤษในภายหลัง) ไปตั้งรกรากอยู่รวม 13 กลุ่ม
การที่ชนชาติต่างๆหรือชาติเดียวกันก็ตามไปรวมกันอยู่จำนวนมาก ก็จำต้องมีกฎหมายเพื่อนำมาใช้บังคับให้เกิดความสงบเรียบร้อยความคิดที่จะนำกฎหมายมาใช้บังคับนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1607 ในขณะที่ชนชาวอังกฤษกลุ่มแรกได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยในปี ค.ศ. 1808 ได้มีคดีสำคัญเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นและคดีดังกล่าวนี้ได้เป็นคดีที่ถือเป็นบรรทัดฐานต่อมา ซึ่งคดีนั้นเรียกว่า “Cavil’s case”
Cavil’s case ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ในคำพิพากษาว่า “โดยหลักการแล้วถ้ามีกรณีพิพาทเกิดขึ้นให้นำเอา Common law ของอังกฤษมาใช้บังคับ เพราะผู้ที่อพยพมาอยู่ในอเมริกาเป็นชนชาวอังกฤษอยู่แล้วและดินแดนที่เข้าไปตั้งรกรากอยู่ยังไม่มีอารยธรรม ดังนั้นการนำเอา Common law มาใช้บังคับจึงมีความจำเป็น นอกจากนั้นยังให้นำเอากฎหมายที่เคยมีอยู่ก่อนแล้วมาใช้บังคับประกอบด้วย เพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง Common law ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในขณะนั้น
อย่างไรก็ตามหลักการของ Cavil’s case มีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ แม้ว่าจะให้นำเอา Common law ของอังกฤษมาใช้บังคับได้ก็จริง แต่การนำมาใช้บังคับนั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า มาตรการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆของCommon law นั้นจะต้องมีความเหมาะสมต่อสภาพการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของการดำรงชีวิต (Colony) ชนในกลุ่มทั้ง 13 กลุ่มได้ด้วย
2.กฎหมายสหรัฐอเมริกาคริสต์ศตวรรษ ที่ 17
กฎหมายสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าจะได้มีการยอมรับเอา Common law มาใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยถือหลักการของ Cavil’s case ก็ตาม แต่การนำมาใช้ก็ต้องมีข้อจำกัด คือ จะต้องมีความเหมาะสมต่อสภาพการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของการดำรงชีวิตของชนในแต่ละกลุ่ม 13 กลุ่มด้วย ดังนี้
2.1 การใช้ Common law ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเมื่อพิจารณาหลัก Common law ให้ความสำคัญกับหลักพิจารณาคดีมากความไม่เหมาะสมต่อสภาพการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของการดำรงชีวิตของชนในแต่ละกลุ่ม 13 กลุ่ม คือ
2.1.1. การขาดความรอบรู้ของนักกฎหมายในการนำ Common law มาใช้บังคับ
การนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาได้เกิดปัญหาข้อขัดข้องขึ้นเพราะผู้ที่อพยพเข้าไปในสหรัฐอเมริกา ไม่มีนักกฎหมายที่มีความรอบรู้เพียงพอในกระบวนการของ Common law ทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำเอา Common law มาใช้ ยิ่งกว่านั้นในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายสาระบัญญัติของ Common law ก็เป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติขึ้น ในขณะที่อังกฤษมีการปกครองระบบ feudalism ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ได้ใช้การปกครองระบ บ feudalism เหมือนในอังกฤษในขณะนั้นและปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาใหม่ๆซึ่ง Common lawไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นๆอย่างได้ผล
2.1.2 การยึดมั่นและเชิดชูหลักเสรีภาพส่วนบุคคลกลุ่มชน 13 กลุ่ม
เหตุผลที่ไม่อาจนำ Common law มาใช้ได้อย่างเต็มที่อีกประเด็นหนึ่งการที่กลุ่มต่าง 13 กลุ่มยึดมั่นและเชิดชูหลักเสรีภาพส่วนบุคคล ส่วน Common law เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองความมั่นคงและประโยชน์ของกษัตริย์ ดังนั้นชนกลุ่ม 13 กลุ่มในสหรัฐอเมริกาจึงไม่นิยมใช้ Common law มากนัก
2.2 การแก้ไขข้อบกพร่อง โดยการจัดทำประมวลกฎหมาย (Code)
ถึงแม้ว่าโดยหลักการในสหรัฐอเมริกาจะยอมรับ Common law ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การนำกฎหมายมาใช้บังคับขึ้นอยู่ความพอใจของผู้พิพากษา เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว กลุ่มชนชาวอังกฤษต่างๆ 13 กลุ่ม ได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้น (Code) ขึ้นได้แก่ Code ของ Massachusetts เมื่อปี ค.ศ. 1634 และของ Pennsylvania ในปี ค.ศ. 1682 แต่อย่างไร Code ที่จัดทำนั้นยังไม่นับว่าเป็น Code ในรูปสมัยใหม่แบบ Code Napoleon ของประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชนชาวอังกฤษต่างๆ 13 กลุ่มในสหรัฐอเมริกานั้นมีความนิยมกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแตกต่างกับความนิยมของอังกฤษที่ไม่นิยมกฎหมายลายลักษณ์อักษร
3.กฎหมายสหรัฐอเมริกาคริสต์ศตวรรษ ที่ 18
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถานการณ์ต่างๆทั้งทางด้านการดำรงชีพและทางเศรษฐกิจของประชานเริ่มมีสภาพดีขึ้น รวมทั้งความรู้สึกต่อต้านอังกฤษของกลุ่มต่างๆลดน้อยลง ทำให้ความพยายามที่จะยอมรับอิทธิพลจากประเทศภาคพื้นยุโรปลดน้อยลงและนอกจากจะไม่ยอมรับแล้วยังมีความหวาดระแวงบางประการ เช่นในขณะนั้นมีความหวาดระแวงต่ออิทธิพลของประเทศภาคพื้นยุโรปที่เข้ามาจากลุยเซียน่า และแคนาดาของฝรั่งเศส เป็นต้น ทำให้ชนชาวอังกฤษ กลุ่มต่างๆในสหรัฐอเมริกาหันมานิยมกฎหมาย Common law ของอังกฤษแต่การนำกฎหมายมาใช้ยังไม่ค่อยจะถูกหลัก Common law นักเพราะผู้พิพากษาในฐานะที่มีความรู้สึกว่าเป็นชาวอังกฤษได้รับการศึกษากฎหมาย Common law น้อยมาก และมีการศึกษาน้อยมากทำให้การศึกษากฎหมายไม่กว้างขวางถึงแม้ว่าจะได้มีการจัดพิมพ์ตำรากฎหมาย เช่น Commentaries on Laws of England ของ Blackstone ที่ Philadelphia เมื่อ ปี ค.ศ. 1771 -1772 เพื่อให้การศึกษากฎหมายได้แพร่หลายออกไปก็ตาม
4.กฎหมายสหรัฐอเมริกาเมื่อประกาศอิสรภาพ
สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพเมื่อปี ค.ศ. 1776 และได้รอบรวมกลุ่มต่างๆขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด เมื่อ ปี ค.ศ. 1783 การสถาปนากลุ่มต่างๆขึ้นเป็นสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายด้วย โดยได้รับความช่วยเหลือของประเทศฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้กลายเป็นมิตรและเป็นสัมพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองและถ่วงดุลย์อำนาจของอังกฤษซึ่งยังมีความรู้สึกเป็นศรัตรูกับสหรัฐอเมริกาเราะการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาแยกต่างห่างจากอังกฤษ
จากความต้องการที่จะต่อสู้กับอิทธิพลของอังกฤษ รวมทั้งแนวคิดที่จะจัดทำกฎหมายแห่งชาติขึ้น ทำให้เกิดความนิยมที่จะจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นตามแบบของฝรั่งเศสและกฎหมายที่ทำขึ้นในรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศใช้ใน ปี ค.ศ. 1787 นอกจากนี้ที่ New-Orleans ภายหลังการเข้ารวมเป็นสหรัฐ ได้ยอมรับประมวลกฎหมายแบบของฝรั่งเศสเป็นกฎหมายแห่งรัฐ
5.กฎหมายสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 19
ระยะนี้ความนิยมกฎหมายในสหรัฐอเมริกาขัดแย้งกันระหว่างความนิยมระบบกฎหมาย Common law ของอังกฤษกับความนิยมกฎหมายในรูปประมวลกฎหมาย (ระบบกฎหมาย Civil law) ของประเทศฝรั่งเศส แต่ดูเหมือนว่าความนิยมกฎหมายในรูปประมวลกฎหมายได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นได้ว่าใน ปี ค.ศ. 1836 คณะกรรมาธิการนิติบัญญัติแห่งรัฐ Massachusetts ได้ขอให้จัดทำประมวลกฎหมายประจำรัฐขึ้น รัฐ New York ได้จัดทำรัฐธรรมนูญของรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร ในปี ค.ศ. 1864 นอกจากนี้มลรัฐต่างๆอีกหลายมลรัฐมีแนวโน้มสนับสนุนระบบกฎหมายแบบประมวลกฎหมาย (Civil law) มากขึ้น โดยห้ามไม่ให้อ้างอิงคำพิพากษาของศาลอังกฤษที่ตัดสินไว้ภายหลัง ค.ศ. 1776 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราช
ความตื่นตัวในลักษณะที่ให้ความนิยมต่อกฎหมายในรูปประมวล เห็นได้เด่นชัดยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแปลตำรากฎหมายที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสในขณะนั้น คือ ตำราของ Pothier และ Domat ออกเป็นภาษาอังกฤษ และมีขบวนการเรียกร้องให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นในสหรัฐอเมริกา
6.ชัยชนะของอิทธิพล Common
เพื่อพิจารณาศึกษาพื้นฐานเบื้องหลังเราต้องยอมรับว่าคนที่เข้าไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา เป็นชาวอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความคุ้นเคยกับภาษา ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมต่างๆของอังกฤษ ย่อมมีความนิยมกฎหมายอังกฤษมากกว่ากฎหมายอื่น ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับระบบกฎหมายอังกฤษ แต่สามารถศึกษากฎหมายอังกฤษได้สะดวก เนื่องจากสามารถศึกษาได้จากตำราหรือหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมของตนอยู่แล้ว เช่น ตำราของนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ คือ Kent และ Story นอกจากนี้สำนักกฎหมายต่างๆในสหรัฐอเมริกาภายหลังการประกาศเอกราช ต่างก็นิยมที่จะนำเอาCommon law ของอังกฤษมาสอนเป็นหลัก
ดังนั้นถึงแม้ว่ามีการแข่งขัน ระหว่าง Common law ของอังกฤษกับระบบกฎหมายในรูปประมวลกฎหมาย (ระบบกฎหมาย Civil law) เป็นเวลานาน 50 ปี ระบบ Common law ของอังกฤษได้รับชัยชนะไปในที่สุดและรัฐต่างๆในสหรัฐอเมริกาต่างนำเอา Common law ของอังกฤษมาใช้ ยกเว้น New-Orleans ซึ่งกลายมาเป็นมลรัฐ Louisiana ในปี ค.ศ. 1812 ยังคงต้องใช้ระบบประมวลกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส
แต่เมื่อพิจารณาจากวิวัฒนาการทางกฎหมายที่เกิดจากการแข่งขันระหว่างระหว่าง Common law ของอังกฤษกับระบบกฎหมายในรูปประมวลกฎหมาย (ระบบกฎหมาย Civil law) ทำให้สหรัฐอเมริการับเอา ระหว่าง Common law ของอังกฤษ มาใช้ก็จริง แต่ก็เป็น Common law ที่เป็นลักษณะเฉพาะและผิดแผกต่างกับ Common law ของอังกฤษ แต่เป็น Common law ของสหรัฐอเมริกาที่มีความใกล้เคียงกับกลุ่มกฎหมายโรมัน (กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย หรือ ระบบกฎหมาย Civil law) มากกว่าอังกฤษเพราได้รับอิทธิพลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
7.การจัดทำประมวลกฎหมายอเมริกา
เนื่องจากกฎหมายที่ออกใช้บังคับทั้ง สหพันธรัฐ คือ federal laws) และ State laws มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้รวบรวมกฎหมายเข้าด้วยกัน ทั้งกฎหมายของมลรัฐและกฎหมายสหพันธรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายมีระเบียบเรียบร้อยและทำให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนและผู้พิพากษาทั้งหลาย การรวบรวมกฎหมายในรูปแบบประมวลกฎหมายนโปเลียน เรียกว่า Revised Laws หรือ Consolidated laws แต่บางครั้งก็นิยมเรียกว่า Code เช่น United State Code Annotated (U.S.C.A.) ซึ่งเป็นกฎหมายสหพันธรัฐ (federal law)
ข้อสังเกต คำว่า Code ในที่นี้มีความหมายแตกต่างกับ Code ตามความหมายของกลุ่มกฎหมายภาคพื้นยุโรปภายใต้อิทธิพลกลุ่มกฎหมายโรมัน เพราะการจัดทำ Code ของสหรัฐอเมริกาได้จัดทำใช้วิธีเรียงตามตัวอักษร ไม่ได้จัดทำขึ้นเป็นหมวดหมู่โดยจัดแบ่งกฎหมายแต่ละลักษณะออกจากกันเหมือนประมวลกฎหมายภาคพื้นยุโรป
จากการจัดทำประมวลกฎหมายแบบประมวลกฎหมายแบบประมวลกฎหมายนโปเลียนของฝรั่งเศส ได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้ว่ามลรัฐต่างๆได้จัดทำประมวลกฎหมายแพ่ง (Civil code) ขึ้นได้แก่ Califernia,NorthDagota, South Dagato,Georgia,Montana นอกจากนี้มลรัฐต่างอีก 25 รัฐ ได้จัดทำประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของมลรัฐ และบางมลรัฐยังได้จัดทำประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของมลรัฐขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดทำในรูปประมวลกฎหมายเหล่านี้ แต่ยังไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่สมบูรณ์แบบของระบบกฎหมายของภาคพื้นยุโรป เพราะประมวลกฎหมายเหล่านี้บัญญัติขึ้นจากหลักกฎหมายที่เกิดจากคำพิพากษาของศาล ยิ่งกว่านั้นศาลเองเวลานำกฎหมายมาใช้ แทนที่จะตีความกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรที่กฎหมายได้วางไว้เป็นหลัก กลับอ้างหลักคำพิพากษาบรรทัดฐานในคดีเรื่องก่อนๆมาเป็นหลัก ทำให้ระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาบางมลรัฐซึ่งถึงแม้ว่าจะได้ทำขึ้นเป็นประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษร ไม่มีคุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ควร คงมีแต่ มลรัฐ Louisiana ประมวลกฎหมายและวิธีการใช้กฎหมายของศาลยังคงเป็นไปตามแบบของยุโรป คือ แบบประมวลกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส จึงอาจกล่าวได้ว่ามลรัฐ Louisiana รวมอยู่ในกลุ่มกฎหมายโรมัน
8.การจัดทำกฎหมายเอกรูป คือ ประมวลกฎหมายพาณิชย์
เนื่องจากแต่ละมลรัฐต่างก็มีกฎหมายของตน จึงทำให้เกิดมีปัญหาการขัดกันของกฎหมายระหว่างรัฐขึ้น และทำให้เกิดความลำบากทั้งต่อประชาชน ผู้พิพากษา และนักกฎหมายทั่วไป จึงได้มีความพยายามที่จะจัดทำกำหมายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้น โดยให้สามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้ใช้ได้ในมลรัฐต่างๆทุกมลรัฐในสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการประชุมแห่งชาติของคณะกรรมการเพื่อกฎหมายเอกรูปของรัฐ (The Nation Conference of Commissioners on Uniform State Law) ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1892 จากความริเริ่มของ American Bar Association แต่กระทั่ง ค.ศ. 1912 จึงมีผู้แทนตามทางราชการของทุกมลรัฐเข้าร่วมประชุมด้วย นอกจากนี้ยังมีองค์กรทางกฎหมายที่สำคัญอีกองค์กรหนึ่ง คือ American Law Institue ทำให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายพาณิชย์ (Commercial Code) ขึ้นสำเร็จใน ปี ค.ศ. 1952 มีทั้งหมด 400 มาตรา
ประมวลกฎหมายพาณิชย์ได้รับการยอมรับทุกมลรัฐในสหรัฐอเมริกา (ยกเว้นรัฐ Louisiana) นอกจากประมวลกฎหมายพาณิชย์ ยังมีการจัดทำกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายลักษณะพยาน ขึ้นมาอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1962 ที่ประชุมของ The Nation Conference of Commissioners on Uniform State Law ได้เสนอให้ยอมรับกฎหมายเอกรูป 68 ฉบับ
feudalism 2 在 巴打台 Youtube 的精選貼文
歷史淵流 第十八集 2018年11月02日 主持: 加燦生 , Alexei
第一節: 英國史系列,玫瑰戰爭(1)/天災,英爆,意識形態崩/百年戰爭Game Over,庸主嚇顚,權臣國會獨撐半邊天
第二節: 英國史系列,玫瑰戰爭(2)/庸主回朝,權臣兵諫/ Bastard Feudalism /賢后庸主立新都/大反面/外敵入關/倫敦自救,陶頓相殘
巴打台網址
https://badatoy.com
巴打台Facebook
https://www.facebook.com/badatoyhk/
巴打台Youtube Channel:
https://www.youtube.com/channel/UCmc27Xd9EBFnc2QsayzA12g
feudalism 2 在 巴打台 Youtube 的精選貼文
歷史淵流 第十八集 2018年11月02日 主持: 加燦生 , Alexei
第一節: 英國史系列,玫瑰戰爭(1)/天災,英爆,意識形態崩/百年戰爭Game Over,庸主嚇顚,權臣國會獨撐半邊天
第二節: 英國史系列,玫瑰戰爭(2)/庸主回朝,權臣兵諫/ Bastard Feudalism /賢后庸主立新都/大反面/外敵入關/倫敦自救,陶頓相殘
巴打台網址
https://badatoy.com
巴打台Facebook
https://www.facebook.com/badatoyhk/
巴打台Youtube Channel:
https://www.youtube.com/channel/UCmc27Xd9EBFnc2QsayzA12g
feudalism 2 在 [WR] Feudalism 2 speedrun 31:15 new world record 的必吃
Sorry for low quality but with greater quality my CPU temperatures would get really really high and this speedrun would not be possible. ... <看更多>
feudalism 2 在 Feudalism 2 speedrun 35:04.907 - YouTube 的必吃
Feudalism 2 speedrun 35:04.907. 267 views · 3 years ago ...more. Fast Code Developer. 1K. Subscribe. 1K subscribers. 3. Share. Save. Report ... ... <看更多>
feudalism 2 在 Feudalism 2 Walkthrough 的必吃
In this age, skill and weapons mastery was the path to supreme rule!Click to choose your hero, your battlegrounds, and to upgrade your items ... ... <看更多>