กรณีศึกษา ทำไมคนญี่ปุ่น ชอบถือเงินสด มากกว่าลงทุนในหุ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1878 หรือเมื่อ 143 ปีที่แล้ว และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 บริษัท ในปัจจุบัน
และรู้หรือไม่ว่า ต้นปี 2021 มูลค่าของตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นสูงกว่า 190 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า คนญี่ปุ่นคงชอบลงทุนในหุ้น มากกว่าสินทรัพย์อื่น
แต่ความจริงแล้ว กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
แล้วคนญี่ปุ่นเมื่อมีเงินแล้ว พวกเขาเอาไปเก็บไว้ที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราลองมาเทียบกันดูก่อนว่า ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นชอบถือครองสินทรัพย์อะไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ในปี 2018 ครัวเรือนญี่ปุ่น ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวมกันกว่า 558 ล้านล้านบาท
โดยจำนวนนี้ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเป็น
- เงินสดและบัญชีเงินฝาก 52%
- ประกันและบำนาญ 28%
- หุ้นและกองทุนรวม 15%
- อื่น ๆ 5%
ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับคนยุโรปและคนอเมริกัน ที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ต่อมูลค่าสินทรัพย์ถือครอง เท่ากับ 28% และ 31% ตามลำดับ
จึงแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมมากนัก และยังชอบถือครองเงินสด ด้วยการฝากเงินไว้ในธนาคารจำนวนมากอีกด้วย
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระดับที่ต่ำมาต่อเนื่องหลายปี แม้กระทั่งในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 0%
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมคนญี่ปุ่น ยังเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคารจำนวนมาก แทนที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ?
เหตุผลที่อธิบายเรื่องนี้ สามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ
1. ประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูประเทศ ช่วงหลังจากนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในช่วงปี 1961-1971 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยกว่า 9% ต่อปี และเติบโตมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงในช่วงทศวรรษ 1980
ในตอนนั้น ผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และธนาคารหลายแห่งมีการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทจำนวนมาก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งบริษัทและผู้คนในญี่ปุ่นต่างร่ำรวย จนเกิดการเข้าไปเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nikkei ที่สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่น พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จนเกือบแตะ 40,000 จุด ในปี 1989 จากระดับประมาณ 8,000 จุดในปี 1982
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ในปี 1989 มาอยู่ที่ 6% ในปี 1990 เพื่อเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม ไม่ให้เกิดการกู้ไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ
จนสุดท้าย เมื่อแรงเก็งกำไรเริ่มอ่อนลง ก็ถึงคราวฟองสบู่ลูกใหญ่ระเบิดออก
ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ และราคาอสังหาริมทรัพย์ ก็เริ่มปรับตัวลดลง และลดลงเรื่อย ๆ จนหลายคนเจ็บตัวอย่างหนักจากการลงทุน
วิกฤติฟองสบู่ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากนั้นมาหลายสิบปีแทบจะหยุดอยู่กับที่ และเป็นแบบนี้มาแล้วราว 3 ทศวรรษ
ซึ่งนี่เองเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกขยาดกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งยังปลูกฝังความคิดนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อ ๆ มา จนถึงตอนนี้
2. ภาวะเงินเฟ้อฝืด
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลโดยตรงต่อภาคครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนญี่ปุ่นนั้นลดลง จากการที่หลายคนต้องตกงาน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1990-2020
ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเงินฝืด (เงินเฟ้อติดลบ) ทั้งหมด 14 ปี
ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะลดลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงเกิดแรงจูงใจในการถือเงินสด มากกว่าที่จะนำเงินออกไปใช้จ่าย หรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน เพราะพวกเขาเชื่อว่า ในอนาคตเงินจำนวนเท่าเดิมนั้นจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากกว่าในปัจจุบัน และนำเอาเงินไปฝากกับธนาคารไว้ก่อนนั่นเอง
3. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน ของคนญี่ปุ่น
หลายคนคงแปลกใจถ้าบอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ด้านการเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นมีความรู้ด้านการเงินน้อยกว่าประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
การขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก กลัวการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และชอบในการเก็บเงินออมด้วยการฝากธนาคารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้ โรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนเท่าที่ควร โดยศาสตราจารย์ Nobuyoshi Yamori ที่สอนสาขาวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ระบุว่า
“โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น ใช้เวลาสอนเรื่องการเงินการลงทุนให้นักเรียนน้อยมาก ขณะที่ครูที่มาสอนวิชาดังกล่าวก็ไม่ได้รับการฝึกอบรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการเงินการลงทุนที่ดีมากนัก”
จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากขาดความรู้ด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เมื่อทำงานมีรายได้แล้ว พวกเขาเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคาร มากกว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะหุ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเข้าใจว่าทำไมที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจถือเงินสด หรือฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างมากและไม่ค่อยชอบการลงทุนในหุ้นมากนัก ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าปัจจุบัน เงินเยนของญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก จะไม่ชอบสินทรัพย์เสี่ยงสูง และนิยมฝากเงินไว้ในธนาคาร
แต่ในทางกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ที่หันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง อย่างบิตคอยน์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stat.go.jp/english/data/handbook/pdf/2020all.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Stock_Exchange
-https://www.statista.com/statistics/710680/global-stock-markets-by-country/
-https://tradingeconomics.com/japan/deposit-interest-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://data.worldbank.org/country/JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decades
-https://www.statista.com/statistics/270095/inflation-rate-in-japan/
-https://www.fsa.go.jp/frtc/kenkyu/event/20150305/s3_2.pdf
-https://www.investopedia.com/tech/top-fiat-currencies-used-trade-bitcoin/
-https://globalriskinsights.com/2021/06/japans-cryptocurrency-market-set-to-bloom-or-wither/
fiat wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จักเหรียญ Stablecoin เหรียญคงที่ ที่อาจไม่คงที่ /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าปัจจุบันคริปโทเคอร์เรนซีเริ่มถูกยอมรับ จากเหล่านักลงทุนและบริษัทเอกชน
แต่มีหลายคนกังวลว่าสกุลเงินเหล่านี้ยังคงไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในชีวิตจริงมากนัก
สาเหตุสำคัญก็เพราะราคาของมันผันผวนรุนแรงเกินไป ถือว่าขาดคุณสมบัติการเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น บิตคอยน์ ต้นปีมีราคาที่ 8.8 แสนบาท แต่เคยขึ้นสูงสุดไปถึง 2.1 ล้านบาท
และลงมาต่ำสุดระหว่างปีที่ 9.5 แสนบาท
เห็นได้ว่า ขนาดคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 ยังมีราคาผันผวนมากขนาดนี้
คริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ก็จะมีความผันผวนที่สูงไม่แพ้กัน
และด้วยสาเหตุหลักนี้เอง จึงทำให้ Stablecoin เกิดขึ้นมา ซึ่งคนที่สร้างเหรียญประเภทนี้ ต้องการให้มันเป็นเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่ โดยส่วนใหญ่แล้วจะอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น USDT ที่คนสร้างอยากให้มีราคาเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐอยู่เสมอ
ด้วยราคาที่ไม่ค่อยผันผวน จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนสาย Conservative ใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือเรียกกันว่าการฟาร์ม นอกจากนั้น Stablecoin ยังถือเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่นิยมถือไว้เพื่อพักเงิน ในช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีกำลังปรับฐานหรืออยู่ในช่วงขาลง
แต่การถือ Stablecoin นั้นปลอดภัยมากขนาดไหน ?
แล้ว Stablecoin มีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
เปิดบัญชีผ่าน Radars Point ที่ > https://bit.ly/3EEOz9C
╚═══════════╝
เมื่อพูดถึง Stablecoin มือใหม่ส่วนใหญ่คงจะนึกถึงเพียงแค่ USDT และ USDC เท่านั้น
และอาจคิดว่าสกุลแต่ละเหรียญ ไม่มีความแตกต่างกัน เป็นเพียงแค่คริปโทเคอร์เรนซีที่อิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว มีคริปโทเคอร์เรนซีอีกถึง 200 สกุล ที่เป็น Stablecoin เช่นเดียวกัน
และแต่ละสกุลยังมีประเภทและรายละเอียดที่แตกต่างกันด้วย
เริ่มจากสกุลเงินที่ทุกคนคุ้นเคยก่อนเลยคือ USDT
Stablecoin แบบนี้ ถูกเรียกว่า Fiat Backed Stablecoin
หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1
ตามหลักการ คริปโทเคอร์เรนซีประเภทนี้จะถูกผลิตขึ้น เมื่อเรานำเงิน Fiat อย่างเงินบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกกับตัวกลางที่ทำหน้าที่ผลิตคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ๆ ออกมา
เช่น เรานำเงินดอลลาร์สหรัฐไปล็อกไว้กับบริษัท Tether เพื่อสร้าง USDT
หรือหากไปล็อกกับบริษัท Centre ก็จะได้เป็น USDC ออกมานั่นเอง
แม้ว่า Stablecoin นี้จะได้รับความนิยมมากสุด เมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ
แต่มีข้อน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่สร้างเหรียญพวกนี้ขึ้นมา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
เพราะต้องไม่ลืมว่า หากบริษัทนำเงินที่ควรจะเก็บกลับไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ปล่อยกู้ต่อ หรือซื้อตราสารหนี้เอกชน นั่นก็ถือว่า Stablecoin ไม่ได้ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1 แล้ว
อย่าง USDT ที่ออกโดย Tether ก็มีความกังวลด้านความโปร่งใสเกี่ยวกับเงินที่นำมาสำรอง เพราะ
จากข้อมูลที่เปิดเผย ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2021 สินทรัพย์ที่หนุน USDT ประกอบไปด้วย
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 84.9%
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 4.0%
หุ้นกู้, กองทุน และโลหะมีค่า 7.3%
การลงทุนอื่น ๆ 3.8%
จะเห็นได้ว่าสัดส่วน 15% นั้น ไม่ใช่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งก็อาจแปลได้ว่าบริษัทนำเงินที่หนุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ปัจจุบัน Stablecoin กลุ่มนี้ยังไม่เคยเจอปัญหาการขาดความเชื่อมั่นมาก่อน จึงยังสามารถครองใจนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดได้อยู่
แต่บางคนที่อ่านถึงตรงนี้ คงเอะใจว่า ทำไมคริปโทเคอร์เรนซีพวกนี้ยังอิงกับดอลลาร์สหรัฐอยู่เลย ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกตัวเองบอกว่าสร้างคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหลายขึ้นมา เพื่อไม่ต้องพึ่งเงิน Fiat ที่ควบคุมโดยรัฐบาล
นั่นจึงเป็นที่มาของ Stablecoin ประเภทที่สองคือ Crypto Backed Stablecoin
หรือ Stablecoin ที่ค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
คือเดิมทีเราต้องนำเงิน Fiat ไปล็อก เพื่อให้ได้ Stablecoin ออกมา
แต่ด้วย Stablecoin ประเภทนี้สามารถทำได้ด้วยการเอาคริปโทเคอร์เรนซีทั่วไป เช่น BTC, ETH ไปวางค้ำประกัน เพื่อแลกเหรียญแทนได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งเงิน Fiat อีกต่อไป
เรียกได้ว่าเป็น Stablecoin ของโลกคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ราคาของคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละสกุลนั้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
นั่นทำให้เกิดข้อเสียคือ การวางเงินค้ำประกันจำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินที่จะได้รับ
ตัวอย่างเช่น หากเราอยากได้ Dai ที่เป็น Stablecoin มูลค่ารวม 100 ดอลลาร์สหรัฐ จากโปรเจกต์ MakerDAO เราจะต้องนำคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ มาวางค้ำประกันที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ใช่วางค้ำประกันที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากัน
ข้อเสียอีกอย่างที่ตามมา จากการใช้คริปโทเคอร์เรนซีวางค้ำประกัน คือ การโดนยึดเงินค้ำประกัน
หากมูลค่าเหรียญที่วางค้ำประกันนั้นต่ำกว่ามูลค่า Stablecoin ที่แลกมา หรือเกณฑ์ที่ระบบกำหนด
ซึ่งถ้าเราไม่อยากโดนยึดเงินค้ำประกัน จะต้องวางเงินค้ำประกันเพิ่มหรืออาจคืนเงินบางส่วนแทนก็ได้
จากข้อมูลนี้จะสังเกตได้ว่า Stablecoin ทุกเหรียญประเภทนี้ถูกค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซีจริง ส่งผลให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องการวางเงินค้ำประกันที่สูงเกินไป
นั่นทำให้เกิด Stablecoin ประเภทสุดท้ายคือ Algorithmic Stablecoin
หรือ Stablecoin ที่ไม่ได้อิงมูลค่ากับสินทรัพย์ใด ๆ แต่จะควบคุมโดยอัลกอริทึม ด้วยการใช้กลไกเพิ่มและลดเหรียญตามความต้องการใช้งาน เพื่อให้ราคาคงที่
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่าง UST เป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra Blockchain จะไม่ได้เกิดจากเงิน Fiat หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ค้ำประกัน แต่เกิดจากการนำ LUNA เหรียญที่ผันผวนเหมือนเหรียญทั่วไป มา Burn หรือทำลายลง เพื่อ Mint หรือผลิต UST ขึ้นมาแทน
ปกติแล้ว LUNA มีราคาเท่าไร UST ที่ผลิตได้ก็จะมีจำนวนเท่านั้น
เช่น หาก LUNA มีราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ จะสามารถผลิต UST ได้ที่ 5 เหรียญ
ซึ่งถ้า LUNA มีราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐ จะสามารถผลิต UST ได้ที่ 10 เหรียญ
จากกลไกนี้ ทำให้ช่วยสร้างสมดุลราคาของ UST ให้ตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐไว้ได้
เพราะว่าถ้า UST มีราคาเกินกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีคนมาทำอาร์บิทราจ ด้วยการ Burn เหรียญ LUNA ทิ้งเพื่อเอา UST มาเทขายในตลาด
ในทางกลับกันหาก UST ราคาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะมีคน Burn เหรียญ UST เพื่อเอา LUNA กลับคืนมา ซึ่งเป็นการลดจำนวนเหรียญ UST ลง ให้ราคาดีดกลับมาที่เดิม
แต่ Stablecoin กลุ่มนี้มักจะมีปัญหาด้านราคาผันผวน หากแพลตฟอร์มที่ปล่อยเหรียญมีระบบไม่แข็งแกร่งพอ และมีผู้ต้องการใช้งานเหรียญจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
จึงเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ Stablecoin ไม่สามารถรักษาความเสถียรของมูลค่าได้ เช่น ราคา UST ก็เคยตกลงไปเหลือ 0.8 ดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีตกอย่างรุนแรง ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
หรือ IRON ที่เป็น Stablecoin ของ Iron Finance แพลตฟอร์ม DeFi เคยเจอเหตุการณ์จากราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเหลือเพียง 0.74 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้เห็นได้ว่า
การบริหารความเสี่ยงที่ดี คงไม่ใช่แค่การถือ Stablecoin เหรียญใดเหรียญหนึ่งเท่านั้น เพราะจะเห็นได้ว่า Stablecoin แต่ละสกุลจะมีจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป
การกระจายการถือ Stablecoin ในหลายเหรียญ อาจเป็นทางเลือกที่สามารถลดความเสี่ยงจากการที่เหรียญใดเหรียญหนึ่งประสบปัญหาได้ เพราะเราต้องคิดไว้เสมอว่าเหรียญ Stablecoin ที่คนสร้างคาดหวังให้มันเป็นเหรียญคงที่ แต่ในช่วงเวลาพิเศษ มันก็อาจจะไม่คงที่ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
เพียงเปิดและผูกบัญชีเทรดหุ้นผ่าน Radars Point และเทรดผ่าน StockRadars ได้ Point ถึง 2 ต่อ
👉🏻 ต่อที่ 1 รับทันที 88 Point! เมื่อเปิดบัญชีเทรดหุ้นผ่าน Radars Point โดยสามารถสมัครออนไลน์ได้ทันที
👉🏻 ต่อที่ 2 รับ Point คืน 7% จากค่าธรรมเนียม เมื่อเทรดผ่าน StockRadars หลังจากผูกบัญชีเรียบร้อยแล้ว
เปิดบัญชีผ่าน Radars Point ที่ > https://bit.ly/3EEOz9C
ผูกบัญชีได้ที่นี่ > https://bit.ly/3nWFJxU
ใครผูกบัญชีหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว สามารถร่วมสนุกรับต่อที่ 2 ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชั่นเทรดผ่าน StockRadars ได้เลย! > https://bit.ly/39maZhx
ตั้งแต่วันนี้ - 31 ต.ค. 64
#RadarsPoint #StockRadars #ลงทุนง่ายๆไม่ต้องใช้เงิน #ทำเรื่องหุ้นเป็นเรื่องง่าย
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.coingecko.com/en/coins/iron
-https://coinmarketcap.com/currencies/terrausd/
-https://www.blockdit.com/posts/6086067564a1bf0c3559db1d
-https://cointelegraph.com/altcoins-for-beginners/stablecoins-101-what-are-crypto-stablecoins-and-how-do-they-work
-https://www.efinancethai.com/Fintech/FintechMain.aspx?release=y&name=ft_202104091432
-https://www.investopedia.com/terms/s/stablecoin.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Dai_(cryptocurrency)
fiat wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Ford ปะทะ Ferrari ศึกชิงความเป็นใหญ่ ในวงการรถสปอร์ต /โดย ลงทุนแมน
การแข่งขันระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถือเป็นเรื่องปกติของวงการธุรกิจ
แต่ถ้าพูดถึงการแข่งขันที่กลายเป็นตำนานเรื่องเล่าขานนั้น คงมีไม่มาก
เหตุการณ์ศึกชิงความเป็นใหญ่ในวงการรถสปอร์ตระหว่าง Ford และ Ferrari
ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์การแข่งขันหนึ่งที่ดุเดือด ที่หลายคนน่าจะเคยได้ยิน
แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนที่ทั้งสองจะกลายเป็นคู่แค้นคู่อาฆาตกันนั้น
ทั้ง Ford และ Ferrari เคยเกือบจะควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
แล้วเพราะเหตุใดจึงทำให้ทั้งสองแตกหักกันและบทสรุปนั้นเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 1960
เมื่อ Ford เจ้าใหญ่แห่งวงการรถยนต์กำลังเสื่อมความนิยมลง
จากผลิตภัณฑ์ช่วงหลังที่ล้มเหลวมาโดยตลอด อย่างเช่น โมเดลรถยนต์รุ่น Edsel
ซึ่งสวนทางกันกับคู่แข่งอย่าง GM และ Chrysler ที่กำลังได้กระแสตอบรับที่ดี
Henry Ford II ซีอีโอ ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นหลานชายคนโตของผู้ก่อตั้งบริษัท จึงต้องคิดหาวิธีกู้สถานการณ์ให้ Ford กลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้ง
นั่นจึงทำให้เขาตัดสินใจไปปรึกษาหารือกับ Lee Iacocca ผู้จัดการฝ่าย ซึ่งก็ได้คำแนะนำกลับมาว่า ถึงเวลาแล้วที่ Ford ต้องลงไปลุยวงการรถสปอร์ต
เนื่องจากเวลานั้นเป็นช่วงที่การบริโภคของกลุ่มประชากร Baby Boomer ถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้มองเหมือนคนรุ่นก่อนที่ต้องการเพียงรถยนต์สำหรับขับขี่ได้เท่านั้น
แต่ต้องการรถยนต์ที่ส่งมอบความเร็วและประสิทธิภาพที่สูง
ซึ่งภาพลักษณ์ของ Ford ยุคนั้น
คนวัย Baby Boomer มองว่าเป็นรถยนต์ที่คร่ำครึ ไม่ทันสมัย
จึงทำให้กลุ่มคนวัยนี้ไม่นิยมซื้อรถยนต์แบรนด์ Ford
ดังนั้น โจทย์ที่ตามมาก็คือ หากดึงดูดกลุ่มลูกค้านี้มาได้
มันก็มีโอกาสที่จะทำให้ยอดขายของ Ford กลับมาเติบโตอีกครั้ง
แต่ปัญหาใหญ่สำหรับ Ford ก็คือ บริษัทไม่มีรถสปอร์ตอยู่ในไลน์การผลิตของตัวเองเลย
และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น บริษัทยังไม่ได้มีแผนที่จะสร้างอีกด้วย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้เหล่าผู้บริหารต้องมองหาทางออกใหม่และก็ได้คำตอบคือการซื้อบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตโดยตรงเลย
ซึ่งเป็นจังหวะเดียวที่ Ferrari ค่ายรถสปอร์ตจากอิตาลี กำลังมองหาพันธมิตรใหม่อยู่พอดี
เพราะมีปัญหาเรื่องรายได้ของการขายรถยนต์โตไม่ทันค่าใช้จ่ายที่ลงไปกับงานแข่งขัน
จึงต้องการเงินสนับสนุนเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้
ต้องบอกว่า Ferrari ถือเป็นราชาแห่งวงการรถยนต์สำหรับแข่งขันในยุคนั้น
แฟน ๆ รถยนต์ต่างพากันคลั่งไคล้ เพราะไม่ว่าจะลงแข่งรายการไหน
Ferrari ก็มักจะได้รางวัลอยู่เสมอ ซึ่งก็ดูตรงกับสิ่งที่ Ford ต้องการอย่างพอเหมาะพอเจาะ
ถึงตรงนี้ ก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวจะจบอย่างสวยงาม
เพราะต่างฝ่ายต่างสามารถเติมเต็มกันได้อย่างดี
แต่เรื่องราวหลังจากนี้ กลับไม่เป็นไปตามนั้น
เพราะ Ferrari กลับปฏิเสธข้อเสนอการขายหุ้นให้กับ Ford
เนื่องจากพวกเขามองว่าข้อตกลงไม่เป็นไปตามที่พูดคุยกัน
ทั้งการที่ Ford จะเป็นคนเข้ามาคอยควบคุมงบประมาณของบริษัท
การเสนอมูลค่าหุ้นที่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้และที่เป็นปัญหาสำหรับ Ferrari ที่สุด คือการห้ามลงรายการแข่งขันรถยนต์อีกต่อไป
Ferrari ผู้มีใจรักการแข่งขันจึงหันไปขายหุ้นให้กับ Fiat ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลีแทน
นอกจากนี้ Enzo ผู้ก่อตั้ง Ferrari ยังบอกว่า ไม่มีทางขายหุ้นให้กับบริษัทที่น่าเกลียด ที่มีรถยนต์หน้าตาน่าเกลียดและถูกผลิตโดยโรงงานที่ดูน่าเกลียดอีกด้วย
เมื่อข่าวนี้มาถึง Ford ทั้ง Henry Ford II และเหล่าผู้บริหารต่างพากันปรี๊ดแตก
พวกเขาจึงวางแผนใหม่ทั้งหมด เพื่อเตรียมตัวสำหรับการล้างแค้น
โดยแผนใหม่ที่ว่านั้นก็คือ Ford จะเข้าร่วมรายการแข่งขันรถยนต์ที่ชื่อว่า เลอม็อง 24 ชั่วโมง
ซึ่งเป็นการแข่งขันรถยนต์วิ่งรอบสนามต่อเนื่องกัน 1 วันเต็ม ซึ่งผู้ที่ทำระยะได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ
จากเป้าหมายของการแข่งขันเลอม็อง 24 ชั่วโมง ก็ถือเป็นรายการที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเกียรติยศ ที่ค่ายรถยนต์ทั่วโลกจะส่งรถยนต์ที่ดีที่สุดเพื่อมาพิสูจน์ว่าใครกันแน่
ที่เป็นอันดับ 1 ของรถยนต์ ทั้งในแง่ความเร็วและความทนทาน
และอย่างที่เราน่าจะพอคาดเดาได้
อันดับ 1 ที่ผ่านมาล้วนเป็นของค่ายรถยนต์อย่าง Ferrari
ซึ่งหาก Ford ชนะในการแข่งขัน จะเป็นการตบหน้า Ferrari ครั้งใหญ่
Ford ไม่รอช้า เปิดโปรเจกต์ใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “Ferrari Killer” เป็นโปรเจกต์พิเศษสำหรับสร้างรถสปอร์ตที่จะสามารถมาคว้าชัยจากการแข่งขันนี้โดยเฉพาะและก็ได้ให้กำเนิดรถยนต์ Ford รุ่น GT40 ขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม Ford GT40 ก็ยังไม่สามารถเอาชนะการแข่งขันได้
แม้ว่าจะทุ่มทรัพยากรไปมากเพียงใดก็ตาม ทั้งบุคลากรและเม็ดเงิน
แต่ Ford ก็ยังไม่สามารถสร้างรถยนต์ให้วิ่งจนจบรายการได้เลย
เมื่อ Ford ประเมินแล้วว่าตนไม่สามารถพัฒนารถยนต์ให้ดีขึ้นพอที่จะแข่งขันกับ Ferrari ได้
จึงตัดสินใจมอบทั้งโปรเจกต์นี้ให้ Carroll Shelby นักออกแบบรถยนต์ อดีตนักซิ่งที่เคยชนะการแข่งขันเลอม็อง เป็นคนดูแล
ซึ่ง Shelby ก็ได้เชิญชวนเพื่อนที่รู้ใจอย่าง Ken Miles นักขับและวิศวกรเครื่องกลเพื่อมาช่วยพัฒนารถยนต์ด้วยกัน
ทั้งคู่ร่วมด้วยวิศวกรจาก Ford นำ GT40 กลับมาพัฒนาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
เพราะทั้งคู่เห็นว่าศักยภาพของ GT40 ยังต่อยอดให้กลายเป็นรถยนต์ที่ทรงพลังได้
และแล้วก็ได้ให้กำเนิดรถยนต์รุ่นต่อมาคือ GT40 Mk II
จากการทำงานหนักทั้งหมดของพวกเขา
โปรเจกต์ Ferrari Killer ก็เริ่มผลิดอกออกผล
จนในที่สุด รถยนต์ของ Ford ไม่เพียงชนะ Ferrari เท่านั้น
แต่ยังทำให้ค่ายรถยนต์จากอิตาลีต้องอับอาย
จากการที่ Ferrari ไม่มีรถที่ติดอันดับ 1 ใน 3 เลย
เพราะอีก 2 คันที่เหลือก็เป็นเจ้า GT40 Mk II เช่นกัน
รวมถึงรายการแข่งขันอื่น ๆ เช่น 12 ชั่วโมง ซีบริง และ 24 ชั่วโมงของเดย์โทนา
Ferrari ก็ไม่สามารถเอาชนะ Ford ได้เลย
ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้กับ Henry Ford II เป็นอย่างมาก
เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของ Ford เปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมที่ผู้คนเคยมองว่าคร่ำครึ โบราณ กลับกลายเป็นรถยนต์ที่ทันสมัยอีกครั้ง
และ GT40 Mk II ได้กลายเป็นความภาคภูมิใจในวงการรถยนต์ของชาวอเมริกัน
รวมถึงเป็นรถยนต์รุ่นแรกของ Ford ที่มีราคาเกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้วย
น่าเสียดายที่เวลาต่อมา Miles เสียชีวิตก่อนที่เขาจะได้แข่งที่เลอม็องอีกครั้ง
เนื่องจากรถยนต์เสียการควบคุมขณะที่กำลังทดสอบ
แม้ว่า Ford จะสูญเสียบุคลากรสำคัญอย่าง Miles ไป
แต่หลังจากการแข่งขันครั้งนั้น ปี 1967 ถึง 1969 Ferrari ก็ยังไม่เคยกลับมาชนะได้อีกเลย
จนกระทั่งปี 1970 ที่ Ford ถอนตัวจากการแข่งขันไป Ferrari จึงกลับมาอีกครั้ง
จากเรื่องราวครั้งนี้ทำให้เห็นว่า Ford กับ Ferrari เคยเกือบควบรวมเป็นบริษัทเดียวกันมาก่อน
แต่ในเมื่อเจ้าของทั้ง 2 บริษัท มีความเห็นไม่ลงรอยกัน จึงได้นำไปสู่ความขัดแย้ง
แต่ก็ใช่ว่าความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่การแข่งขันจะเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป
เพราะหากเราดูจากเหตุการณ์ที่ทั้ง 2 บริษัท แข่งขันกันเพื่อเป็นหนึ่งในแบรนด์รถยนต์
เจ้าแห่งความเร็วและความอึดทนทาน ก็ทำให้ทั้ง 2 บริษัทสามารถพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Ford และ Ferrari ยังคงดำเนินธุรกิจมาอย่างแข็งแกร่งและยาวนานขนาดนี้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.forbes.com/wheels/news/ford-vs-ferrari-the-real-story-behind-the-most-bitter-rivalry-in-auto-racing/
-https://time.com/5730536/ford-v-ferrari-true-story/
-https://www.businessinsider.com/real-story-behind-ford-v-ferrari-oscars-2020-2
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ferrari
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lee_Iacocca
fiat wiki 在 飛雅特Fiat 500開箱~義大利經典車款~2018 Fiat ... - YouTube 的必吃
今天開箱歐洲電影常見經典車 Fiat 500 2018 Fiat 500 Comics Edition 0.9T 充滿樂趣及品味適合市區的靈活小車雙缸引擎渦輪增壓Twinair Turbo 超省油 ... ... <看更多>