ปัจจุบันกาแฟถือเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในไทย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น จนถึงคนแก่ มีร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายมีราคาตั้งแต่หลักสิบจนไปถึงหลักร้อย เชื่อว่าหลายคนก็มีความฝันอยากจะเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเองแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร “แฟรนไชส์” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากมีกิจการเป็นของตัวเองที่ถึงแม้จะไม่ถนัดในการคิดค้นหรือวางแผนธุรกิจการตลาดตั้งแต่ต้นก็สามารถเจ้าของธุรกิจได้
.
แฟรนไชส์สะดวกสำหรับคนที่มีงบประมาณเป็นของตัวเอง เพราะทางแบรนด์เจ้าของแฟรนไชส์จะมีรูปแบบกำหนดของสูตรสินค้า การตกแต่งร้าน วัตถุดิบ การตลาด หรือรูปแบบการโปรโมทต่างๆ มาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงจะมีการอบรมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นและการให้คำปรึกษาตลอดเวลาทำให้การดำเนินธุรกิจนั้นสะดวกมากยิ่งขึ้น
.
วันนี้เลยได้นำเอาแฟรนไชส์กาแฟแบรนด์ไทย ว่าแบรนด์ไหนจะตรงกับความต้องการของคุณละต้องเตรียมงบประมาณในการลงทุนเท่าไหร่บ้าง ไปดูกันเลย
.
1. Café Amazon
ร้านกาแฟยอดนิยมของคนไทยที่มีสาขาทั่วประเทศแล้วมากกว่า 3,000 สาขา รวมไปถึงเป็นกาแฟแบรนด์ไทยที่ได้กระจายสาขาไปในอีกหลายประเทศ ด้วยรสชาติและคุณภาพของแบรนด์ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจำนวนมาก โดยงบประมาณการลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ Stand Alone ที่เป็นอาคารเดี่ยวและสวนหย่อมซึ่งมีพื้นที่ 100 – 200 ตร.ม. ขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2.6 – 4.2 ล้านบาท และ แบบ Shop ที่ตั้งอยู่ในอาคารต่างๆ มีพื้นที่ 40 ตร.ม. ขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2.3 – 3.7 ล้านบาท โดยทั้ง 2 แบบจะมีการคิดค่าแบรนด์และการตลาดรวมอยู่ที่ 6 % ของยอดขายต่อเดือน
.
2. Coffee World
แบรนด์กาแฟระดับพรีเมียมอีกแบรนด์หนึ่งที่มักพบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าโดยที่กาแฟของแบรนด์นี้ใส่ใจในทุกขั้นตอนตั้งแต่ การเลือกและคั่วเมล็ดกาแฟอาราบิก้าชั้นดี พร้อมทั้งบาริสต้ามืออาชีพ ในการนำเสนอเครื่องดื่มคุณภาพดีให้กับลูกค้า ทางร้านแบ่งแฟรนไชส์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Shop และ Stand Alone งบประมาณการลงทุนอยู่ที่ 2.5 -3.3 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของร้าน ทั้งนี้ทางแบรนด์คิดส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 3% /เดือน
.
3. Inthanin
อีกหนึ่งธุรกิจกาแฟที่คุ้นหูคุ้นตาคนไทย กับระยะเวลาดำเนินธุรกิจกว่า 10 ปี มากกว่า 600 สาขาทั่วประเทศ แบรนด์กาแฟที่มีเอกลักษณ์ของรสชาติและวัตถุดิบเกรดพรีเมียมเพื่อให้ผู้ที่รักการดื่มกาแฟและรักสุขภาพ ได้สัมผัสถึงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ โดยงบประมาณการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1 – 3 ล้านบาทขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ซึ่งจะคิดค่าส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 6 % /เดือน
.
4. กาแฟดอยช้าง
กาแฟดอยช้างผ่านขั้นตอนการปลูก คัดสรร ผลิต ด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมที่สุดจนทำให้เกิดเป็นกาแฟอาราบิก้าเป็นกาแฟชนิดพิเศษของแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ของกลิ่น รสชาติที่เฉพาะตัวที่ถูกปลูกขึ้นเฉพาะบนดอยช้างเท่านั้น แถมยังได้ตรารับรองมาตรฐานระดับสากลอีกด้วย ถือเป็นกาแฟที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของกาแฟไทยได้ดีแบรนด์หนึ่ง ซึ่งร้านแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Coffee Venue และ Stand Alone โดยมีงบประมาณการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1 – 3 ล้านบาท และคิดส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 5,000 – 12,000 บาท/เดือน ทั้งนี้งบประมาณและส่วนแบ่งรายได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของร้าน
.
5. Rabika Coffee
แบรนด์ที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในกาแฟพันธ์ดี จนร้านกาแฟเล็กๆ ได้พัฒนาและเติบโตกลายเป็นกาแฟมาตรฐานสากลที่เปิดขายในรูปแบบแฟรนไชส์เกือบ 100 สาขา พร้อมสูตรลับที่ทำให้รสชาติกาแฟนั้นโดดเด่นไม่เหมือนใคร โดยงบประมาณการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1.6 -1.8 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของร้าน ซึ่งทางร้านไม่คิดค่าส่วนแบ่งรายได้เพราะต้องการให้ผู้ค้าได้กำไรอย่างเต็มที่
.
6. Black Canyon Coffee
กาแฟแบรนด์ไทยที่ก้าวไกลสู่ระดับสากล ด้วยการเลือกใช้กาแฟคุณภาพสูงจากโครงการหลวง จากแหล่งผลิตชั้นดี ผ่านกระบวนการคั่วด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เป็นหนึ่งความภาคภูมิใจของกาแฟไทยที่ได้เสิร์ฟไปยังชาวต่างชาติ ทางร้านแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Coffee House และ
Kiosk ที่มีงบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 9 แสน – 1.5 ล้านบาท
.
7. Coffee Today
“กาแฟทุกแก้วมาจากแรงบันดาลใจ” นี่คือนิยามของกาแฟแบรนด์นี้ ด้วยราคาที่ไม่แพง และสูตรกาแฟสดที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ถูกปากคนไทยโดยเฉพาะ มีความหอม ละมุน กลมกล่อม และทานง่าย แฟรนไชส์แบรนด์นี้แบ่งรูปแบบร้านออกเป็น 3 รูปแบบคือ Kiosk, Conner และ Shop โดยที่งบประมาณการลงทุนจะเริ่มต้นที่ประมาณ 5 แสน ไปจนถึง 1 ล้านบาทขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ โดยค่าแบรนด์จะไม่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากส่วนแบ่งของรายได้แต่จะคิดเป็นรายปี อยู่ที่ 30,000 บาท/ปี
.
8. Chao Doi Coffee
กาแฟจากยอดดอยของชนเผ่าพื้นเมืองส่งต่อสู่ผู้บริโภค เป็นแบรนด์ที่รับประกันความสดและอร่อยที่ผ่านกระบวนการคั่วตามสูตรของ “ชาวดอยคอฟฟี่” โดยเฉพาะ ทำให้ได้รสชาติเข้มที่โดดเด่น แฟรนไชส์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ กาแฟ, ชานมไข่มุก และกาแฟและชานมไข่มุก โดยงบประมาณในการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของธุรกิจ โดยจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท ไปจนถึง 1 ล้านบาท ทั้งนี้จะไม่มีการคิดค่าแฟรนไชส์หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ จากรายได้เพราะเป็นนโยบายของแบรนด์ที่ยึดถือมาโดยตลอด
.
9. กาแฟมวลชน
การยกระดับและส่งเสริมธุรกิจกาแฟด้วยโครงการ “อบรมกาแฟสร้างอาชีพ เพื่อสังคมและชุมชน” ที่มีการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ต่อยอดความนิยมจนกลายเป็นกาแฟแฟรนไชส์ที่ให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งทางแบรนด์มีทั้งหมด 4 รูปแบบแบ่งตามขนาดพื้นที่ของร้าน มีงบประมาณการลงทุนอยู่ที่ 2 – 8 แสนบาท โดยคิดส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 4% /เดือน
.
10. Coffee A Day
แฟรนไชส์ร้านกาแฟสดที่เปิดมาแล้วกว่า 10 ปี กับคำขวัญ “Better Together” และนโยบายที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพอย่างมากเพราะเชื่อว่าคุณภาพที่มั่นคงจะนำมาซึ่งความไว้วางใจของลูกค้า มีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ Shop และ Kiosk ซึ่งงบประมาณในการลงทุนของแบรนด์จะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาทเป็นต้นไป ราคาจะปรับขึ้นตามขนาดของพื้นที่ โดยไม่มีการเก็บส่วนแบ่งรายได้แต่จะคิดค่าการตลาดเป็นแบบเหมาจ่าย 10,000 บาท/ปี
.
ที่มา : https://bit.ly/3nb5qZb
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#กาแฟแบรนด์ไทย #แฟรนไชส์กาแฟ #กาแฟ #Business #ธุรกิจ #ไอเดียธุรกิจ #CaféAmazon #CoffeeWorld #Inthanin #กาแฟดอยช้าง #RabikaCoffee #BlackCanyonCoffee #CoffeeToday #ChaoDoiCoffee #กาแฟมวลชน #CoffeeADay
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
coffeetoday 在 Theresa 傅穎 Facebook 的最佳解答
生活中很喜歡斷捨離
覺得太多物件堆積在家裏要花很多時間維護
有點得不償失
可是 咖啡杯 好像是例外
用了多年 $20買的咖啡杯
也棄不了
.
.
.
#coffeetoday
#baristafu
#latteart
#heartlatteart
#coffeelover
#homemadecoffee
#homemade