เมื่อคืนนี้มีใครฝันบ้างไหมมม? แล้วจำได้บ้างหรือเปล่า?
เคยไหมตื่นมาแล้วจำฝันได้แล้วก็เสียดายว่าไม่น่าฝันเลย "เสียเวลานอนเปล่าๆ" แล้วก็เลยเชื่อว่าเมื่อคืนนอนไม่พอ แล้วตกบ่ายก็เลยง่วงเพราะความเชื่อนั้น ก็เลยยิ่งอยากนอนหลับโดยไม่ฝัน คิดว่าเป็นการนอนหลับที่ดี
จะตกใจไหมถ้าผมบอกว่าความจริงในทางวิทยาศาสตร์นั้น เราฝันทุกคืนที่นอนหลับดี ที่คิดว่าไม่ฝันเพราะจำไม่ได้เฉยๆ ถ้านอนหลับไม่สนิทเลยจริงๆ (เช่นโดนกวนทั้งคืน) เราจะไม่ฝันและนั่นนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ความจำ และอารมณ์
— 3 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความฝันที่ทำให้หลายคนเกลียดมัน (ดูข้อมูลอ้างอิงตอนท้าย)
1) ปกติฉันไม่ได้ฝัน¹
จริงๆทุกคนฝันทุกคืน คืนละ 4-6 ครั้ง รวมแล้วประมาณ 2 ชม. แต่เรามักจะจำไม่ได้ ยกเว้นจะตื่นขึ้นกลางฝันไหนก็จะจำฝันนั้นได้ ซึ่งปกติก็คือฝันสุดท้ายตอนเช้า นั่นคือเหตุผลที่คืนไหนหลับๆตื่นๆเราจะจำฝันได้เยอะ เหมือนฝันหลายเรื่อง แต่จริงๆคือทุกคนฝันหลายเรื่องทุกคืนอยู่แล้ว
2) ฝันทำให้เสียเวลาการนอนไปเปล่าๆ²
ความฝันมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายใจ ถ้าไม่ได้ฝันจะมีปัญหาความจำและอารมณ์ และยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ ความฝันยังช่วยแก้อาการดีเพรสด้วย
3) ถ้าฝันคือการนอนไม่มีคุณภาพ³
เราจะฝันก็ต่อเมื่อการนอนมีคุณภาพ ถ้าคุณภาพการนอนเสียไป เช่นจากแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เราก็จะฝันน้อยลงหรือไม่ฝันเลย ซึ่งสร้างปัญหาต่อสุขภาพและอารมณ์
— จริงๆความฝันมีประโยชน์มาก
มันเหมือนกับนักจิตบำบัดที่อยู่ข้างในตัวเรา ในชีวิตประจำวันเรามักจะมีหลายเรื่องหลายความรู้สึกที่เราเลี่ยงจะเผชิญหน้า ไม่อยากคิดไม่อยากรู้สึกมัน ทำให้มันเก็บกดสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความฝันคือการจำลองสถานการณ์เหล่านั้นในสมองตอนหลับ ก็เหมือนกับได้เล่ามันให้นักจิตบำบัดฟัง
มันทำให้เราได้ทบทวนเรื่องทั้งดีและร้ายในชีวิตจริง ได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวและกังวล ซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบเดียวกับการซ้อมของทหาร แต่ปลอดภัย 100% เหมือนกับดูหนังทริลเลอร์ ตื่นเต้นแค่ไหน จบเดินออกจากโรงก็ไม่มีผลในทางรูปธรรมอะไรแล้ว (คนดูหนังผีจบแล้วขำออกมาจากโรงก็ได้)
แต่ประโยชน์คือ ถ้าเราเปิดรับประสบการณ์ในความฝัน มันจะทำให้เราเซ็นซิทีฟกับเรื่องนั้นน้อยลงๆ จนเมื่อเราเลิกให้ความสำคัญกับเรื่องนั้นได้ เราก็จะไม่ฝันถึงมันอีก หลังจากนั้นเราจะเปลี่ยนไปฝันเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวในช่วงนั้นมากกว่าที่จะเป็นปมในอดีต และอาการซึมเศร้าก็จะดีขึ้นด้วย
— ยกเว้นว่าเราจะเกลียดความฝัน มันถึงจะมีผลเสีย
คนปกตินานๆก็ฝันร้ายทีนึงได้ แต่เมื่อไหร่ที่ฝันร้ายแล้วเราเกลียดมัน ไม่อยากฝันร้ายอีก คราวนี้มันจะมาเป็นซีรีส์ ฝันร้ายมันทุกคืนติดต่อกันเลย
เพราะมันก็เหมือนที่ในชีวิตประจำวันเราพยายามเลี่ยงเรื่องเหล่านั้น ผลคือทำให้เราฝันเรื่องนั้นบ่อยๆ เมื่อไหร่เราพยายามเลี่ยงมันแม้แต่ในฝันด้วย นั่นคือเรายิ่งให้ความสำคัญเรื่องนั้นมากขึ้นอีก ผลก็จะตรงข้ามคือเรามักจะฝันร้ายเรื่องนั้นบ่อยขึ้นอีก
— เราฝันร้ายเพื่อจะปรับตัวกับเรื่องในชีวิตจริงที่เรารับไม่ได้
สังเกตง่ายๆว่าเรามักจะฝันร้ายเรื่องเดิมๆนั่นแหละซ้ำๆ นานเป็นสิบปีก็มี เรื่องที่เรารับไม่ได้ โดยเฉพาะที่เราบอกตัวเองว่าแค่เรื่องเล็กๆหรือไม่สนใจแล้ว แต่จริงๆคือรับไม่ได้จนแค่จะคิดขึ้นมาก็ยังทำไม่ได้เลย มันน่ากลัวหรือเจ็บเกินไป
ความฝันจะช่วยเราในแง่นี้ มันเป็นกลไกเพื่อให้เราเลิกเซ็นซิทีฟกับเรื่องเหล่านั้น พอชีวิตจริงเราเลี่ยงเรื่องไหน ตอนฝันเราก็จะจำลองสถานการณ์นั้นซ้ำๆ นั่นทำให้เราได้เผชิญหน้ามันอย่างปลอดภัยบ่อยๆ หากในฝันเราก็ไม่เอา เราก็จะไม่ได้อะไรจากมันเลยนอกจากผลเสีย
แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากความฝัน เปิดรับประสบการณ์จากการจำลองสถานการณ์ในความฝันอยู่เสมอ (เหมือนคนชอบดูหนัง) เปิดรับทั้งความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้น มันจะทำให้เราเซ็นซิทีฟกับเรื่องนั้นน้อยลง จนสามารถปล่อยวางมันได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ
— สรุป
ฝันมีประโยชน์เสมอ แม้ฝันร้ายมันจะไม่สนุกหรอก แต่เราก็เรียนรู้อะไรจากมันได้เสมอ อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าเรารู้สึกยังไงเวลาเผชิญสถานการณ์นั้น สถานการณ์ที่เป็นปมปัญหาที่เราพยายามเลี่ยงในชีวิตจริงอยู่ตลอดเวลา เราต้องนอนทุกคืนและฝันคืนหนึ่งหลายเรื่อง ถ้าเปิดรับมันก็เท่ากับได้ทำจิตบำบัดทุกคืนโดยไม่ต้องเสียเวลาเลย
——
อ้างอิง:
—¹ Everyone dreams. You spend about 2 hours each night dreaming but may not remember most of your dreams. Its exact purpose isn’t known, but dreaming may help you process your emotions.
— www.ninds.nih.gov/…/Patient-Caregiver-E…/Understanding-Sleep
—² Sleep is without a doubt beneficial. According to the National Sleep Foundation, humans spend more than two hours dreaming each night (with the most vivid dreams occurring during REM sleep). Rats deprived of that precious REM sleep for four days produce fewer nerve cells in the hippocampus, the brain’s memory center.
Among humans, dreaming may also help alleviate depression. In sleep studies of recently divorced women with untreated clinical depression, Cartwright and colleagues found that patients who recalled dreams and incorporated the ex-spouse or relationship into their dreams scored better on tests of mood in the morning. And they were much more likely to recover from depression than others who either did not dream about the marriage or could not recall their dreams.
— www.webmd.com/mental-health/…/the-health-benefits-of-dreams…
—³ If you have very poor sleep, you may not even dream at all.
— www.huffpost.com/entry/dreams-sleep-quality_n_8513908
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
caregiver depression 在 Caregivers: Depression - YouTube 的必吃
A large number of caregivers face mental health issues and burnout. Learn more about the importance of self-care. ... <看更多>