กรณีศึกษา Ben Ali ประธานาธิบดีตูนิเซีย กินรวบประเทศ จนโดนปฏิวัติ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า “อาหรับสปริง” การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในช่วงปี 2011 ของกลุ่มประเทศอาหรับ ไล่มาตั้งแต่อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการปฏิวัติในประเทศเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาที่มีชื่อว่า “ตูนิเซีย”
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การปฏิวัติตูนิเซียนี้
เกิดขึ้นโดยปราศจากผู้นำการปฏิวัติ และไม่ได้มาจากประเด็นทางการเมือง
แต่เป็นเรื่องของการว่างงานและสภาวะเศรษฐกิจที่ผลักดันให้ประชาชนในประเทศรวมตัวกันลุกขึ้นมาปฏิวัติ โดยมีจุดเริ่มต้นจากประธานาธิบดีของตูนิเซียที่มีชื่อว่า Ben Ali
เกิดอะไรขึ้นที่ตูนิเซีย ภายใต้การปกครองของ Ben Ali จนนำไปสู่การปฏิวัติในประเทศ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สาธารณรัฐตูนิเซีย เป็นประเทศอาหรับมุสลิมในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขนาดพื้นที่ราว ๆ 160,000 ตารางกิโลเมตร พอ ๆ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ตูนิเซียมีประชากรเพียง 12 ล้านคน มากกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แต่เนื่องจากเคยถูกปกครองโดยฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอารบิก
ประกอบกับผู้คนที่มีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้วัฒนธรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างอาหรับและยุโรป
ในอดีตประเทศตูนิเซียนั้นถูกปกครองโดยประธานาธิบดี Habib Bourguiba ซึ่งปกครองตูนิเซียมายาวนานตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปี 1956
แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของตูนิเซียกลับเกิดขึ้นหลังจากการมาถึงของชายที่ชื่อว่า Ben Ali
Zine al-Abidine Ben Ali หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Ben Ali
ก่อนที่เขาจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีตูนิเซียนั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมามากมาย
ทั้งหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เอกอัครราชทูต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีมหาดไทย
จนในปี 1987 เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของตูนิเซีย โดยถือได้ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจอย่างมากในรัฐบาลตูนิเซีย
ซึ่งในขณะนั้นประธานาธิบดีคนแรก Habib Bourguiba กำลังป่วยหนักและหลายฝ่ายเห็นว่าไม่เหมาะที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป
Ben Ali จึงได้ทำการรัฐประหารโดยสันติและปลด Bourguiba ออกจากตำแหน่ง จากนั้นจึงแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของตูนิเซียในปี 1987
หลังจากที่ Ben Ali ได้ขึ้นมาปกครองประเทศ เขาพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้การบริหารประเทศของเขาเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยตามเสียงเรียกร้องของผู้คนในประเทศ
โดยได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการ เช่น
- การเปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองของตัวเองจาก Neo-Destour Party เป็น Democratic Constitutional Rally
- การเปิดให้ประชาชนสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
- การยกเลิกระบบพรรคการเมืองเดียว
- การปล่อยนักโทษทางการเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากการปกครองของประธานาธิบดีคนเก่า
แม้การเลือกตั้งใหม่ในปี 1989 มีขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองประเทศ และพรรคของเขาเองก็ได้ที่นั่งในสภามากกว่า 80% แต่ Ben Ali ก็ได้เริ่มจุดไฟแห่งความขัดแย้งขึ้น
Ben Ali เริ่มการจับกุมแกนนำและนักกิจกรรมของฝ่ายตรงข้ามที่เขามองว่ามีแนวโน้มจะได้รับความนิยมในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีรายงานการคุกคามนักกิจกรรมทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งการข่มขู่และทรมานจากภาครัฐ รวมถึงการบังคับให้ลี้ภัยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีการแก้กฎหมายเลือกตั้งให้เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายตนเอง ส่งผลให้การเลือกตั้งที่จัดขึ้นหลังจากนั้น เขาได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย ไร้คู่แข่งที่จะมาเทียบเคียง
โดยการเลือกตั้งในปี 1999 Ben Ali มีคู่แข่งเพียง 2 คนเท่านั้น และฝ่ายค้านไม่เคยได้ที่นั่งในสภาเกิน 25% เลยแม้แต่ปีเดียว
จนสุดท้ายแล้วตูนิเซียภายใต้การปกครองของ Ben Ali มีลักษณะทางการเมืองแทบไม่ต่างจากยุคของประธานาธิบดีคนก่อน ที่ถูกเรียกว่าเป็นระบอบเผด็จการ
นอกจากการแก้กฎหมายเพื่อความมั่นคงของตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่เขาทำในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ คือการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อยู่ในเครือข่ายของเขา
ในฉากหน้านั้น Ben Ali ได้ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ทันสมัยขึ้น
ทั้งการแก้กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ผ่อนคลายลงจากสมัยอดีตประธานาธิบดีคนเก่า
การปรับโครงสร้างและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ Ben Ali อยู่ในอำนาจนั้น ตูนิเซียมีอัตราการเติบโตของ GDP ไม่น้อยกว่า 5% มาโดยตลอด และระบบเศรษฐกิจของตูนิเซียโดดเด่นและเติบโตเร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน
จนแม้แต่ IMF และธนาคารโลกยังเคยยกย่องให้ตูนิเซียเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ทว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ไม่ได้ไปถึงประชาชนในประเทศ
แต่กลับตกอยู่ในมือเครือข่ายของ Ben Ali
Ben Ali มีเครือข่ายธุรกิจกระจายตัวอยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศ
โดยมีการตรวจพบว่ามีบริษัทกว่า 220 บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายดังกล่าว
ซึ่งมีทั้งธุรกิจสายการบิน โทรคมนาคม การขนส่ง การเงินและธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหารและอื่น ๆ อีกมาก และนาย Ben Ali ก็ได้เอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยการออกกฎหมายเพื่อกีดกันทางการค้า และกำจัดคู่แข่งทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการทุจริตคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศ
โดยตั้งแต่ปี 1994 นาย Ben Ali ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับกว่า 25 ฉบับ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อเครือข่ายธุรกิจของตน ซึ่งในบางธุรกิจถ้าไม่มีชื่อของเครือข่าย Ben Ali อยู่ในบริษัท ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
อย่างเช่นกรณีเชนร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง McDonald’s ที่ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับพาร์ตเนอร์ที่ไม่ใช่เครือข่ายของ Ben Ali สุดท้ายแล้วภาครัฐก็ได้ปฏิเสธข้อตกลงดังกล่าว และ McDonald’s ก็ต้องยอมถอยออกจากตลาดไป
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการผูกขาดระบบโทรคมนาคมของประเทศ
ราคาค่าบริการโทรระหว่างประเทศที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 10-20 เท่า
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็เป็นรายได้เข้ากระเป๋ากลุ่มบริษัทในเครือข่ายของนาย Ben Ali
จากการออกข้อกฎหมายที่ยากต่อการแข่งขันและทำให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้การเติบโตของภาคเอกชนในประเทศกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเครือข่ายของนาย Ben Ali
โดยจากรายงานของธนาคารโลกระบุว่า เครือข่ายของนาย Ben Ali ที่มีกว่า 220 บริษัท
มีผลกำไรคิดเป็น 21% ของภาคเอกชนทั้งหมดภายในประเทศ
และมีมูลค่าบริษัทประมาณ 4.22 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของ GDP ประเทศในปี 2010
เมื่อการกระจายความเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง
ส่งผลให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานที่สูงมาก สวนทางกับ GDP ที่เติบโตต่อเนื่อง
บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งการส่งออก ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ทำให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวสูงถึง 30% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกมีเพียง 15% เท่านั้น
สุดท้ายแล้วเมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศถูกผูกขาดด้วยคนบางกลุ่ม ทำให้สินค้าหลายอย่างมีราคาสูง
บวกกับอัตราการว่างงานในประเทศที่ยากเกินกว่าจะแก้ไข ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนจึงเพิ่มมากขึ้นในตูนิเซีย
จนในที่สุดความอดทนของประชาชนในประเทศก็หมดลง..
หนุ่มชาวตูนิเซีย Mohamed Bouazizi อายุ 27 ปี ตัวเขาเรียนไม่จบและต้องออกมาขายผลไม้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เด็ก ซึ่งเขามักจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกสินบนและริบสินค้าของเขาอยู่หลายครั้ง
จนกระทั่งในวันที่ 17 ธันวาคม 2010 เจ้าหน้าที่ได้ยึดสินค้าและอุปกรณ์ในการค้าขายของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่มีใบอนุญาตสำหรับขายผลไม้ในพื้นที่ และมีพยานในเหตุการณ์กล่าวว่าเขายังถูกเจ้าหน้าที่ตบเข้าที่หน้าอีกด้วย
Bouazizi ได้ไปร้องเรียนที่สำนักงานเทศบาลในเมือง Sidi Bouzid แต่กลับไม่มีใครรับฟังข้อร้องเรียนของเขา Bouazizi จึงราดน้ำมันและจุดไฟเผาตัวเองทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ปี 2011
หลังจากการเผาตัวเองของ Bouazizi เรื่องราวของเขาก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook และ Twitter ซึ่งยากต่อการควบคุมและตรวจสอบโดยภาครัฐ
ทำให้ไม่กี่วันหลังจากนั้นมีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนและโกรธแค้นรัฐบาล โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในขณะนั้น ซึ่งเกือบทั้งชีวิตของพวกเขาเติบโตมาภายใต้การปกครองของ Ben Ali
คนหนุ่มสาวได้ออกมาชุมนุมประท้วงในเมือง Sidi Bouzid จำนวนมากและจากการประท้วงในท้องถิ่น จนกลายเป็นระดับภูมิภาคและแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
Ben Ali ได้ออกประกาศตำหนิผู้ประท้วงและใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
จึงมีภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ทั่วโลก
เมื่อแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายแล้ว Ben Ali จึงได้ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้งอีกหลังจากหมดวาระในปี 2014 และจะให้เสรีภาพรวมถึงดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่ตัวเขากลับปฏิเสธว่าตำรวจไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะขัดแย้งกับภาพที่อยู่บนสื่อออนไลน์ ทำให้การชุมนุมแผ่ขยายมากขึ้นไปอีก
Ben Ali ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและออกคำสั่งให้ทหารใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมที่ต่อต้าน แต่ทหารปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว เมื่อเห็นว่าตัวเขาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อีกต่อไป Ben Ali จึงหนีออกนอกประเทศและลี้ภัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เมื่อ Ben Ali พ้นจากตำแหน่ง ศาลธรรมนูญวินิจฉัยให้นาย Fouad Mebazaa ประธานรัฐสภาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี
นาย Fouad Mebazaa จัดตั้งรัฐบาลโดยแต่งตั้งผู้ที่เคยอยู่ในระบอบเก่า และภักดีกับอดีตประธานาธิบดี Ben Ali เป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่สำคัญ
เมื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีประกาศออกมา จึงเกิดความไม่พอใจอย่างมากตามมา ฝ่ายค้านลาออกจากรัฐสภา, เยาวชนหนุ่มสาวออกมาประท้วงอีกครั้ง และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ในที่สุด ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการชุดนี้ก็ต้องลาออก
การจัดตั้งคณะรัฐบาลรักษาการเกิดขึ้นอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่สั่งการให้จับกุม, สอบสวน และดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่พรรคของรัฐบาล ครอบครัวและญาติของอดีตประธานาธิบดี Ben Ali
รวมทั้งดำเนินการยุบพรรคและยึดทรัพย์สินของพรรค ขณะเดียวกันก็ประกาศปล่อยนักโทษการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปีนั้นเอง
เรื่องราวทั้งหมดนี้นอกจากจะสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารประเทศและการทุจริตคอร์รัปชันจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนำไปสู่การปฏิวัติแล้ว
ในวันที่ Mohamed Bouazizi จุดไฟเผาตัวเองเพียงคนเดียว
แต่เรื่องราวของเขาบนโลกอินเทอร์เน็ต ก็ได้ปลุกให้ผู้คนทั่วประเทศ
ต่างมารวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาล จนบานปลายเป็น “อาหรับสปริง” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทั่วโลกกล่าวถึง..
เหตุการณ์นี้ยังเป็นกรณีศึกษาชั้นดี ของอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย
ยิ่งสื่อเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน ภายในเวลาอันรวดเร็วเท่าไร
ก็ยิ่งทำหน้าที่เผยแพร่ “สิ่งที่พยายามปกปิด” ออกไปสู่สาธารณชน
ในเวลาอันรวดเร็วได้เท่านั้น
ในยุคที่มีคนโจมตีความน่ากลัวของโซเชียลมีเดีย ว่าจะทำให้เกิดข่าวปลอมเผยแพร่ได้โดยง่าย
แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้ข่าวจริงที่ถูกปิดไว้ ถูกเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.washingtonpost.com/news/monkey-cage/wp/2014/03/27/tunisias-golden-age-of-crony-capitalism/
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/17726/WPS6810.pdf?sequence=1&isAllowed=y\
-https://www.aljazeera.com/news/2020/12/17/bread-and-gas-economic-boost-needed-after-arab-spring
-https://www.wider.unu.edu/publication/youth-unemployment-arab-world
-https://www.pewresearch.org/journalism/2012/11/28/role-social-media-arab-uprisings/
-https://www.silpa-mag.com/history/article_55976
-https://www.aljazeera.com/features/2011/1/26/how-tunisias-revolution-began
-https://www.dw.com/en/zine-el-abidine-ben-ali-the-robber-baron-of-tunisia/a-50501648
-https://www.britannica.com/event/Jasmine-Revolution
-https://theconversation.com/ben-ali-the-tunisian-autocrat-who-laid-the-foundations-for-his-demise-124786
-https://www.theatlantic.com/technology/archive/2011/09/so-was-facebook-responsible-for-the-arab-spring-after-all/244314/
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過12萬的網紅Happy Kongner,也在其Youtube影片中提到,Check out our new experimental media project on https://kongner.com today. ------------------------------------------------------------------------...
「capitalism history」的推薦目錄:
capitalism history 在 羅展鵬 /Lo Chan Peng Facebook 的最讚貼文
The struggle to perfection – the paintings by Lo Chan Peng
Pan An-Yi, Director of Graduate Stdies, The department of the History of Art & Visual Studies, Cornell University
Historic Figures provide concrete clarification to A Brief History of Time and showcase the artist’s perspective and philosophical approaches to the history of humanity. The historical personae he has selected narrate the progress from “godliness” to the “Theory of Evolution” followed by “Anthropocentrism” and “Eurocentrism” before the expansion of Imperialism and Capitalism which then led to Colonialism and eventually the rise of “Socialism”. The “Nazism” of World War II in Europe and “Japanese Imperialism” caused the unprecedented disaster. Skrik from the Portraiture collection shows Lo’s concerns over the working class whom reiterated their mindless tasks in order to survive: “I think I now have a better understanding of this world and have realised how helpless I am in this vast universe.”
Lo tactfully chooses to paint former British Prime Minister Winston Churchill and American president Abraham Lincoln as a contrast and comparison. Churchill fought against the invasion of Nazism, even though he succeeded with the help of allies, the rise of Neo-Nazism and extreme right-wing supporters in recent years are slowly gaining advocates in Europe. The current president of the United States Donald Trump sees himself as a pioneer like Lincoln, yet his deep-rooted racism has encouraged the believers of extreme right-wing philosophy and white supremacy. Despite his defeat in the recent presidential election, the issues regarding extreme right-wing supporters in Europe and America would remain a challenging one. Both Churchill and Lincoln reflect on the bight and the good of humanity, and they are praised for their reminding us of the dark side of humanity.
Through Portraiture, Lo explores the struggles men encounter on their path to the godliness. The female sitter and plants stand for the friction between temptation and the sacred, which then lead to the nuanced relationship between “consciousness” and “the ability to define good and evil”, meaning the connection between the “mortal” and the “saintly” .
#art #artistlife #artists #oil #painting #artworks #artistsofinstagram #artfair #artgalleries #contemporaryart #sketch #lochanpeng #羅展鵬 #羅展鵬工作室 #藝術家 #繪畫 #油畫 #水墨 #藝術 #肖像 #素描 #繪畫 #畫圖 #ink #drawing
capitalism history 在 政變後的寧靜夏午 Facebook 的精選貼文
The History of Vietnamese Traditional Culinary (Phở). 🇻🇳
Pho is a Vietnamese soup consisting of broth, rice noodles (bánh phở), herbs, and meat (usually beef) (phở bò), sometimes chicken (phở gà). Pho is a popular food in Vietnam where it is served in households, street stalls and restaurants countrywide. Pho is considered Vietnam's national dish.
Pho originated in the early 20th century in northern Vietnam, and was popularized throughout the world by refugees after the Vietnam War. Because Pho's origins are poorly documented, there is disagreement over the cultural influences that led to its development in Vietnam, as well as the etymology of the name. The Hanoi (northern) and Saigon (southern) styles of pho differ by noodle width, sweetness of broth, and choice of herbs.
Pho likely evolved from similar noodle dishes. For example, villagers in Vân Cù say they ate pho long before the French colonial period. The modern form emerged between 1900 and 1907 in northern Vietnam, southeast of Hanoi in Nam Định Province, then a substantial textile market. The traditional home of pho is reputed to be the villages of Vân Cù and Dao Cù (or Giao Cù) in Đông Xuân commune, Nam Trực District, Nam Định Province.
Cultural historian and researcher Trịnh Quang Dũng believes that the popularization and origins of modern pho stemmed from the intersection of several historical and cultural factors in the early 20th century. These include improved availability of beef due to French demand, which in turn produced beef bones that were purchased by Chinese workers to make into a dish similar to pho called ngưu nhục phấn. The demand for this dish was initially the greatest with workers from the provinces of Yunnan and Guangdong, who had an affinity for the dish due to its similarities to that of their homeland, which eventually popularized and familiarized this dish with the general population.
Pho was originally sold at dawn and dusk by itinerant street vendors, who shouldered mobile kitchens on carrying poles (gánh phở). From the pole hung two wooden cabinets, one housing a cauldron over a wood fire, the other storing noodles, spices, cookware, and space to prepare a bowl of pho. The heavy gánh was always shouldered by men. They kept their heads warm with distinctive, disheveled felt hats called mũ phở.
Hanoi's first two fixed pho stands were a Vietnamese-owned Cát Tường on Cầu Gỗ Street and a Chinese-owned stand in front of Bờ Hồ tram stop. They were joined in 1918 by two more on Quạt Row and Đồng Row. Around 1925, a Vân Cù villager named Vạn opened the first "Nam Định style" pho stand in Hanoi. Gánh phở declined in number around 1936–1946 in favor of stationary eateries.
In the late 1920s, various vendors experimented with húng lìu, sesame oil, tofu, and even Lethocerus indicus extract (cà cuống). This "phở cải lương" failed to enter the mainstream.
Phở tái, served with rare beef, had been introduced by 1930. Chicken pho appeared in 1939, possibly because beef was not sold at the markets on Mondays and Fridays at the time.
With the partition of Vietnam in 1954, over a million people fled North Vietnam for South Vietnam. Pho, previously unpopular in the South, suddenly became popular. No longer confined to northern culinary traditions, variations in meat and broth appeared, and additional garnishes, such as lime, mung bean sprouts (giá đỗ), culantro (ngò gai), cinnamon basil (húng quế), Hoisin sauce (tương đen), and hot chili sauce (tương ớt) became standard fare. Phở tái also began to rival fully cooked phở chín in popularity. Migrants from the North similarly popularized bánh mì sandwiches.
Meanwhile, in North Vietnam, private pho restaurants were nationalized (mậu dịch quốc doanh) and began serving pho noodles made from old rice. Street vendors were forced to use noodles made of imported potato flour. Officially banned as capitalism, these vendors prized portability, carrying their wares on gánh and setting out plastic stools for customers.
During the so-called "subsidy period" following the Vietnam War, state-owned pho eateries served a meatless variety of the dish known as "pilotless pho" (phở không người lái), in reference to the U.S. Air Force's unmanned reconnaissance drones. The broth consisted of boiled water with MSG added for taste, as there were often shortages on various foodstuffs like meat and rice during that period. Bread or cold rice was often served as a side dish, leading to the present-day practice of dipping quẩy in pho.
Pho eateries were privatized as part of Đổi Mới. Many street vendors must still maintain a light footprint to evade police enforcing the street tidiness rules that replaced the ban on private ownership.
________________
Admin_MZA
©️ Respective Owner(s)
capitalism history 在 Happy Kongner Youtube 的最佳解答
Check out our new experimental media project on https://kongner.com today.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
⇀HappyKongner 香油錢錢箱在此:https://streamlabs.com/happykongner
⇀HappyKongner Payme Link (Only for Phone):https://qr.payme.hsbc.com.hk/2/GDM5B4TbjP7ZL66jN4Awve
⇀HappyKongner Facebook: https://www.facebook.com/happykongner
⇀HappyKongner Instagram: https://www.instagram.com/happykongner/
⇀米迦 Instagram: https://www.instagram.com/micahcheng/
(Kongner有關道尼嘅「三不一沒有」原則:不主動要求;不鼓勵追求;不抗拒收受;弟兄姊妹沒有必要道尼的理由,所以大家隨緣樂助,切記係唔收八達通,多謝大家支持)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
資料來源:
Hassler, D. H.,& Wilcox, C (2008) New Boundaries in Political Science Fiction, University of South Carolina Press
Hassler, D. H.,& Wilcox, C (2011), Political Science Fiction, University of South Carolina Press
Murphy, G. J.,& Vint, S (2012) Beyond Cyberpunk: New Critical Perspectives, Routledge
Harari, Y. N. (2018) Sapiens: A Brief History of Humankind, Harper Perennial
McFarlane, A.,& Schmeink, L.,& Murphy, G (2019), The Routledge Companion to Cyberpunk Culture, Routledge
Zuboff, S (2020), The Age of Surveillance Capitalism: The Fight for a Human Future at the New Frontier of Power, PublicAffairs
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
如果對於呢條片有咩意見,請多多指教。
我哋會竭盡全力做到最好。
如果你哋睇完之後鍾意嘅話,我哋希望你可以同多啲人分享!
我哋嘅圖片同影片大多都係網上搜尋到嘅資源。
如涉及侵權,請聯絡我哋。
All videos on this channel are only used for commentary, criticism, research, scholarship, teaching, comment, and news reporting. Copyright Disclaimer Under Section 107 of the Copyright Act 1976, allowance is made for "fair use" for purposes such as criticism, comment, news reporting, teaching, scholarship, and research. Fair use is a use permitted by copyright statute that might otherwise be infringing. Non-profit, educational or personal use tips the balance in favor of fair use.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
#Cyberpunk #數碼龐克 #Cyberpunk2077
capitalism history 在 Tengu Media Youtube 的最佳貼文
【Instagram】https://www.instagram.com/tengumedia/
【Facebook】https://www.facebook.com/tengumedia/
———————
【其他影片鏈接】:
毛澤東和共濟會的關係
https://youtu.be/yvBMRuMKooE
徹底終結「元朝清朝是不是中國」!
https://youtu.be/74Fj0ZBUPx4
冷兵器時代地球最強武力!
https://youtu.be/c_2kLw-vlTY
被歷史書抹去的亘古大國「韃靼利亞」!
https://youtu.be/ey385zBy09I
中國功夫 VS. 外國流派 比武戰績全記錄!
https://youtu.be/qJAINBye0vM
歷史名人身高排名!
https://youtu.be/e1sy90XigX4
完爆比爾·蓋茨的那些超級巨富!
https://youtu.be/yaFiilt_GLM
天狗回答10個觀眾問題 | 關於習近平、羅斯柴爾德、共產主義、為什麼戴面具等等...
https://youtu.be/s9jYXTYAKm4
1864年中國人屠南京!兇殘程度遠超日本!
https://youtu.be/eUKYJaCTuC8
公元1019年,女真入侵日本國...
https://youtu.be/s2jgKEuDA3s
capitalism history 在 超級歪 SuperY Youtube 的最佳解答
立刻加入頻道會員,實際行動支持超級歪:https://www.youtube.com/channel/UCAM7yIYvZGYLJR6z6RqLlNw/join
超級歪電影院第九集【社會議題系列】 / 勞基錄音帶B卷【勞基法中原來隱藏著這樣的秘密...】/ 馬克思與皮凱提: 資本VS勞動
-
超級歪:「全台灣的勞工階級聯合起來!」
-
重點總結:
1.勞基法是保障勞工的最後一道防線,不得去管制化。
2.在當前勞資權力不對等的條件下,彈性化只是擁護資方的意識形態。
3.正視分配不平等問題,提高最低工資,而非叫勞工加班。
4.組織工會,勞工階級聯合起來!
-
聽聽 林辰 Buchi的神分析!勞基錄音帶A卷【勞基法都別吵了,重點其實是...】:https://www.youtube.com/watch?v=fX3Z_VmDTBs
-
參考資料:
勞動部<105年度-服務業適用勞動基準法工時規定法規調適研究>(2016)
鄭雅文<台灣職場疲勞的政策因應與問題>(2013)
《風傳媒》:被台灣低薪嚇了一跳 皮凱提:GDP跑哪去了?
張夏準《資本主義沒告訴你的23件事》,五南,2014
林宗弘、洪敬舒、李健鴻、王兆慶 、張烽益《崩世代:財團化、貧窮化與少子女化的危機》,台灣勞工陣線,2011
Anthony S. Wohl,
Endangered Lives: Public health in Victorian Britain (1983)
Bruce Ackerman
《我們人民:憲法根基》,2015,聯經
David Harvey
A brief history of neoliberalism (2007)
《資本社會的17個矛盾》,聯經,2016
Eric Hobsbawm
《非凡小人物:反對、造反及爵士樂》,麥田,2013
《革命分子》,左岸,2017
Friedrich Engels《英國工人階級狀況》,《馬克思恩格斯全集》第二卷
Gayle Rubin, The Traffic in Women (1975)
John D’Emilio, Capitalism and Gay Identity (1983)
Karl Marx
《共產黨宣言》,麥田,2014
《1844年經濟學哲學手稿》, 暖暖書屋,2016
《德意志意識型態》,聯經,2016
《資本論》,聯經,2017
Marilyn Yalom《太太的歷史》,心靈工坊,2003
Naomi Oreskes《販賣懷疑的人》,左岸,2016
Noreena Hertz《當企業購併國家》,經濟新潮社,2014
Richard Hyman 《比較工會運動》,韋伯,2004
Richard Wolff《勞工自主企業》,麥田,2014
Robert B. Reich《拯救資本主義》,聯經,2017
Thomas Piketty《二十一世紀資本論》,衛城,2014
Zygmunt Bauman《工作、消費與新貧》,巨流,2006
#勞基法懶人包 #一例一休 #意識形態 #工會 #勞資會議 #工人階級 #恩格斯 #洛克納訴紐約州案 #棉花工廠管理法 #加班費 #台灣經濟成長 #分配不公 #Piketty #marx #剩餘價值剝削 #異化勞動 #罷工