TERBANG BERSAMA MDB (Bhg 33)
Fikiran saya pagi ini masih terperap di Jakarta di 1996 (cuma saya guna foto baru berbatik Indonesia sebagai foto hiasan kerana tiada foto lain).
Dalam seminar di sana, pertama kali saya melihat ada 3 mentol atas meja ucapan. Hijau boleh bercakap. Kuning baki 1 minit. Merah berhenti serentak dimatikan pembesar suara. Inilah cara terbaik mengawal pembicara yang tak pandai jaga masa atau rasa dia yang paling penting.
Semasa kes Gaza baru2 ini, saya banyak terlibat dalam webinar tentang Gaza. Selalunya masa hanya 10 minit seorang. Ada pembicara suka ambil 30 hingga 40 minit. Tak ada adab masa. Bagaimana Islam nak menang kalau displin pun tak ada.
Di pagi ini juga, saya melihat ke tahun 2050. Indonesia bakal menjadi negara ke-4 dunia yang paling besar dari segi GDP selepas China, India & USA. Pada Julai 2020, Bank Dunia telah menaiktaraf mereka sebagai negara berpendapatan pertengahan. Walaupun income per capita mereka masih rendah (sekitar USD 4,500 USD), GDP mereka paling cepat berkembang.
Bandung Technology Institut banyak menjalankan kajian yang Silicon Valley tak boleh buat.
Presiden Jokowi ingin menjadikan demografi Indonesia ekuiti baru. Dijemputnya syatikat2 besar seperti Amazon datang bertapak dengan pelbagai insentif. Dalam era pandemik, ICT berkembang maju. 11%. Malah ekonomi baru Indonesia adalah e-commerce sesuai dengan demografi & geografi.
Bukalapak akan disenaraikan di Bursa OJK tidak lama lagi dengan nilai lebih dari USD1 bilion. Traveloka & Goto juga akan ikut serta samada secara SPAC atau IPO. Presiden Jokowi mahu Indonesia juga ada homegrown companies bertaraf antarabangsa. Semua syarikat2 ini bermula di 2010-2012. Ada lagi banyak potensi. Gojek. Jago. Tokopedia.
Sekarang, 51% orang tinggal di kota. Di tahun 2030, 70% di urban. 51% pekerja bawah umur 30 tahun. Income per capita di tahun 2045 adalah 23k USD. Indonesia sekarang seperti China 9-10 tahun lepas.
Bukalapak menyediakan perkhidmatan kepada warung2 membeli barang terus dari pembekal & toko besar tanpa 5 lapisan orang tengah. Harga murah. Barang laku. Produksi bertambah. Rakyat gembira.
Idea adalah ekonomi baru. Idea perlu visi & impian.
MDB
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「bukalapak tokopedia」的推薦目錄:
- 關於bukalapak tokopedia 在 Dr Mohd Daud Bakar - Shariah Minds - Minda Syariah Facebook 的最讚貼文
- 關於bukalapak tokopedia 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於bukalapak tokopedia 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於bukalapak tokopedia 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於bukalapak tokopedia 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於bukalapak tokopedia 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於bukalapak tokopedia 在 Jasa bikin toko di Shopee Bukalapak Tokopedia - Facebook 的評價
- 關於bukalapak tokopedia 在 Pentingnya Upload Video Produk di Bukalapak Tokopedia ... 的評價
bukalapak tokopedia 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Tiki อีคอมเมิร์ซ เวียดนาม ที่ใกล้เป็นยูนิคอร์น /โดย ลงทุนแมน
จากข้อมูลเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปใช้งานมากที่สุดในปี 2020
อันดับที่ 1 และ 2 คือ Shopee และ Lazada จากสิงคโปร์
อันดับที่ 3 และ 4 คือ Tokopedia และ Bukalapak จากอินโดนีเซีย
อันดับที่ 5 และ 6 คือ Thegioididong และ Tiki จากเวียดนาม
สำหรับ Shopee และ Lazada คนไทยน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี
ส่วน Tokopedia และ Bukalapak ของอินโดนีเซียหลายคนคงคุ้นหู
แต่หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับชื่อ Thegioididong และ Tiki
นั่นก็เพราะว่าทั้ง 2 แบรนด์นี้เป็นอีคอมเมิร์ซจากเวียดนาม
ที่แม้จะยังไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจในไทย
แต่ก็ขึ้นมาติดอันดับอีคอมเมิร์ซระดับภูมิภาค
แล้วอีคอมเมิร์ซเวียดนาม มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ประเทศเวียดนาม ยังคงเป็นประเทศที่ใช้เงินสดเป็นหลัก
โดยมีเพียง 1 ใน 3 ของประชากร ที่มีบัญชีธนาคาร
และมีเพียง 5% ของประชากร ที่มีบัตรเครดิต
การซื้อของออนไลน์ ที่มักรับชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสด จึงยังได้รับความนิยมไม่มากนัก
โดยสัดส่วนการซื้อของผ่านทางออนไลน์ ยังคิดเป็นเพียง 3% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด
ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน
หรือเทียบกับประเทศไทย ที่มีสัดส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 8%
แต่ด้วยตลาดอีคอมเมิร์ซที่เริ่มต้นช้ากว่าคนอื่น และขนาดตลาดที่ยังเล็กอยู่ในปัจจุบัน
อีคอมเมิร์ซในประเทศเวียดนามจึงจัดว่าอยู่ในช่วงต้นของการเติบโต
ซึ่งรัฐบาลเวียดนามเองก็ผลักดันอีคอมเมิร์ซและสังคมดิจิทัลเป็นอย่างมาก
โดยตั้งใจให้สัดส่วนของอีคอมเมิร์ซขยับขึ้น
จาก 3% เป็น 10% ของยอดค้าปลีกรวม ภายในปี 2025
แล้วผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนามตอนนี้เป็นใครกันบ้าง ?
จากจำนวนคนที่เข้าไปใช้งานต่อเดือนบนเว็บไซต์เวียดนาม ในไตรมาสแรกของปี 2021
เว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดก็คือ
อันดับที่ 1 Shopee มีผู้ใช้งาน 63.7 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 2 Thegioididong มีผู้ใช้งาน 29.3 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 3 Tiki มีผู้ใช้งาน 19.0 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 4 Lazada มีผู้ใช้งาน 17.9 ล้านครั้งต่อเดือน
หากไม่นับ Thegioididong ที่เป็นช่องทางขายสินค้าออนไลน์
ของร้านค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในเครือบริษัท Mobile World
ที่คล้ายกับ Com7 ของไทย
ผู้เล่นที่น่าจับตามองก็คือ “Tiki” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติเวียดนาม
ที่เฉือนเอาชนะ Lazada และกำลังท้าชิง Shopee เจ้าตลาดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
Tiki ก็ตามมาเป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียง Shopee และ Lazada
สำหรับเจ้าตลาดอย่าง Shopee ได้เริ่มเข้ามาให้บริการในประเทศเวียดนามในปี 2016
โดยเริ่มต้นใช้กลยุทธ์แบบเดียวกับในประเทศอื่น
นั่นก็คือเน้นที่ตลาดผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer หรือ C2C)
ก่อนที่ภายหลังจะมีบริการ Shopee Mall ซึ่งเป็นช่องทางการขายระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B2C)
จุดเด่นที่ใช้ดึงดูดลูกค้า นอกจากเรื่องการไม่คิดค่าส่งสินค้า
และค่าธรรมเนียมที่ต่ำแล้ว Shopee ยังมีระบบนิเวศอื่นเข้ามาเสริม
ให้การซื้อขายทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น อย่างเช่น E-wallet
ในขณะที่ Tiki อีคอมเมิร์ซสัญชาติเวียดนาม
ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2010 เริ่มจากการใช้กลยุทธ์ B2C
เหตุผลสำคัญก็เพื่อต้องการควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้ก่อน
หลังจากนั้นค่อยเริ่มขยายมาให้บริการแบบ C2C ด้วย
ซึ่งทาง Tiki ก็เข้มงวดกับการคัดกรองผู้ขาย เพราะต้องการเน้นที่คุณภาพของสินค้า
และการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ซื้ออยู่เหมือนเดิม
หากได้รับคำร้องจากลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพสินค้าไม่ตรงกับตอนขาย
หรือได้รับของปลอม Tiki จะถอดผู้ขายรายนั้นออกทันทีหากตรวจสอบแล้วว่าผู้ขายนั้นผิดจริง
และเพื่อเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านทาง Tiki มากขึ้นไปอีก
Tiki ได้เน้นลงทุนไปกับระบบการจัดการโลจิสติกส์แบบครบวงจร
ตั้งแต่คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งถึงมือผู้รับ
ที่เริ่มจากโฟกัสลูกค้าในเมืองใหญ่ ๆ ก่อน
แล้วค่อยขยายพื้นที่บริการออกไปตามนอกเมืองมากขึ้น
ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ ระบบทั้งหมดนี้ เป็น Smart Logistics
ซึ่ง Tiki ก็ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างเช่น AI และหุ่นยนต์
เข้ามาช่วยจัดการภายในคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า เพื่อช่วยลดเวลาลงในทุกขั้นตอน
การวางระบบ Smart Logistics ทั้งหมดนี้ ดูแลโดยคุณ “Henry Low”
ผู้มีประสบการณ์ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานในบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลก
จากทั้ง Amazon ที่สหรัฐอเมริกา และ Coupang ที่เกาหลีใต้
ซึ่งความรวดเร็วจากการจัดการด้วยระบบ Smart Logistics
ก็ได้ทำให้ Tiki สามารถให้บริการที่ใช้ชื่อว่า TikiNOW ได้สำเร็จ
โดย TikiNOW เป็นบริการที่ลูกค้าจะได้รับสินค้าหลังจากสั่งซื้อภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
ซึ่งก็ได้เริ่มให้บริการสำหรับผู้ซื้อในเขตเมือง เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ และดานังก่อน
ด้วยความสะดวกรวดเร็ว บริการนี้ก็ได้กลายมาเป็นจุดเด่น
และจุดขายหลักของ Tiki ที่ได้รับความนิยมสูงมากจากลูกค้า
มาถึงตรงนี้ หากจะมองว่า Tiki เปรียบเสมือน Amazon ของเวียดนาม ก็คงไม่แปลกนัก
ซึ่งความคล้ายคลึงกันนั้น นอกจากเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีระบบขนส่งครบวงจรแล้ว
จุดเริ่มต้นของ Tiki ยังมาจากการขายหนังสือ เหมือนกับจุดกำเนิดของ Amazon อีกด้วย
คำถามต่อมาก็คือ แล้วผู้ก่อตั้ง Tiki คือใคร ?
คุณ Tran Ngoc Thai Son หรือคุณ Son ผู้เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์
และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านอีคอมเมิร์ซจากออสเตรเลีย
เขาคนนี้ได้เริ่มก่อตั้ง Tiki ในปี 2010 จากการเขียนโคดเพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มสำหรับขายหนังสือภาษาอังกฤษในเวียดนาม
สมัยนั้นในเวียดนามยังแทบไม่มีหนังสือภาษาอังกฤษขายเลย คุณ Son จึงมองว่านี่เป็นโอกาส
คุณ Son มีเงินทุนตั้งต้นราว 180,000 บาท เริ่มจากซื้อหนังสือภาษาอังกฤษมาจาก Amazon
และใช้ห้องนอนตัวเองเป็นทั้งห้องทำงานเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม
โกดังเก็บสต็อกหนังสือ และห้องบรรจุสินค้าพร้อมส่ง
เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อหนังสือ คุณ Son จะขับมอเตอร์ไซค์ไปส่งสินค้าเอง
เรียกได้ว่าในระยะแรก ต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน ซึ่งที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า
คุณ Son ไม่ได้มีผู้ร่วมก่อตั้ง และยังมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับจ้างพนักงาน
หลังจากทำธุรกิจพร้อมกับเริ่มสร้างทีมเล็ก ๆ ไปได้ 2 ปี
Tiki ก็สามารถระดมทุนครั้งแรกได้สำเร็จ
จนมาถึงในปัจจุบัน Tiki ระดมทุนไปแล้วกว่า 5,996 ล้านบาท
จาก JD.com, Temasek Holdings, Sumitomo รวมถึง VNG ยูนิคอร์นบริษัทแรกของเวียดนาม
ซึ่ง Tiki ก็ยังคงมุ่งเน้นลงทุนในระบบ Smart Logistics ต่อเนื่อง
เพื่อขยายขนาดคลังสินค้า และกระจายศูนย์กระจายสินค้า
ให้ครอบคลุมหลายพื้นที่มากขึ้น
รวมไปถึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
ปัจจุบัน นอกจากสินค้ากลุ่มหนังสือแล้ว
Tiki มีสินค้าครอบคลุมกว่า 26 หมวด
ตั้งแต่เครื่องสำอาง สินค้าแฟชั่น และเครื่องเขียน
ไปจนถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
และ Tiki ยังเริ่มต่อยอดไปในธุรกิจอื่นที่ยังคงเกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ เช่น
ในปี 2019 Tiki ได้เข้าซื้อกิจการ Ticketbox บริการจำหน่ายตั๋วออนไลน์
ในปี 2020 Tiki ได้ออกบัตรเครดิตร่วมกับธนาคารท้องถิ่นที่ชื่อ Sacombank
แม้ว่ามูลค่าบริษัทของ Tiki จะยังไม่ถูกเปิดเผย
แต่หลายฝ่ายก็จัดให้ Tiki อยู่ในกลุ่มมีแนวโน้ม
ที่จะมีมูลค่ากิจการในระดับยูนิคอร์น
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า
ต่อจากยูนิคอร์นตัวแรกของเวียดนามอย่าง VNG แล้ว
ยูนิคอร์นตัวต่อไปของเวียดนามอาจจะเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ที่ชื่อว่า Tiki ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/Alibaba-and-Shopee-clash-in-Vietnam-as-ASEAN-e-commerce-war-rages
-https://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/3135716/vietnams-booming-e-commerce-sector-sparks-feeding-frenzy
-https://theconomics.net/ecommerce-c-c-or-b-c-business-case/
-https://iprice.vn/insights/mapofecommerce/en/
-https://www.bain.com/insights/e-conomy-sea-2020/
-https://www.vietchallenge.org/post/the-history-of-tiki-vn-an-amazon-of-vietnam
-https://e.vnexpress.net/news/business/data-speaks/vietnam-dominates-list-of-top-southeast-asian-e-commerce-sites-4249599.html
-https://www.crunchbase.com/organization/tiki-vn
bukalapak tokopedia 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
OVO ยูนิคอร์นฟินเทค ที่ใหญ่สุด ในอินโดนีเซีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินโดนีเซีย มีสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 หมื่นล้านบาท อยู่ทั้งหมด 8 บริษัท ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมียูนิคอร์นมากที่สุดในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียเลยทีเดียว..
แต่รู้หรือไม่ว่าใน 8 บริษัทนั้น มีเพียงบริษัทเดียวที่เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทค
โดยให้บริการด้านการชำระเงิน หรือ e-Wallet ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทนี้ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท
แล้วยูนิคอร์นฟินเทคเพียงหนึ่งเดียวในอินโดนีเซียให้บริการอะไรบ้าง ? และมีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงสตาร์ตอัปจากประเทศอินโดนีเซีย บริษัทที่คนไทยพอจะเคยได้ยินชื่อ ก็จะมี
Gojek ที่ให้บริการเรียกรถและสั่งอาหาร
Traveloka ที่ให้บริการจองที่พัก
Tokopedia และ Bukalapak ที่เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็น 4 บริษัทแรกของอินโดนีเซียที่ได้เป็นยูนิคอร์น
แล้วยูนิคอร์นอันดับที่ 5 คือใคร ?
แพลตฟอร์มที่สามารถก้าวมาเป็นยูนิคอร์น
อันดับที่ 5 ของอินโดนีเซียได้สำเร็จ
มีชื่อว่า “OVO” อ่านว่า โอ-โว
OVO เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทคของบริษัท PT Visionet Internasional
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Lippo Group กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย
โดย OVO ถูกเริ่มพัฒนาในปี 2016 และจัดตั้งเป็นบริษัทฟินเทคในปีถัดมา
บริการหลักของ OVO ก็คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Wallet
ซึ่งก็คล้ายกับ e-Wallet ที่หลายคนรู้จัก อย่างเช่น Alipay และ ShopeePay
หรือของไทยก็อย่างเช่น TrueMoney
ผู้ใช้งาน e-Wallet สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไป
เพื่อไว้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของจากหน้าร้านที่รับจ่ายด้วย e-Wallet
หรือซื้อของออนไลน์ และยังสามารถโอนเงินได้ด้วย
จุดเด่นของ e-Wallet ก็คือไม่มีกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานแบบบัญชีออมทรัพย์
และที่สำคัญคือมีคะแนนหรือเหรียญให้สะสม เพื่อไว้ใช้เป็นส่วนลดในอนาคต
แล้วทำไม OVO รุกเข้าสู่ธุรกิจ e-Wallet ?
โดยทั่วไปหากเรานึกถึง ช่องทางการจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสด ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกก็คือ ผ่านบัตรทั้งบัตรเครดิตและเดบิต
ประเภทถัดมาก็คือ ผ่านช่องทางดิจิทัล
ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว บัตรเครดิตและเดบิตเป็นที่นิยมมาก และถูกใช้กันมานานจนคุ้นเคย
ในขณะที่ e-Wallet ซึ่งก็เป็นวิธีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเหมือนกันแต่เริ่มมีทีหลัง กลับยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก
ในทางกลับกัน ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซีย
การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet กลับได้รับความนิยมสูงมาก
นั่นก็เพราะว่าประชากรที่มีบัตรเครดิตและเดบิตยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อย
ในขณะที่การสมัครบัตรเครดิตมีเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น เกณฑ์เงินเดือนย้อนหลังหรือเงินฝากขั้นต่ำ
นั่นจึงทำให้ e-Wallet ที่มีเงื่อนไขน้อยกว่าและเข้าถึงโดยผ่านสมาร์ตโฟนได้ทันที จึงกลายเป็นที่นิยม
ซึ่งความนิยมของ e-Wallet นี้ ก็สะท้อนได้จากข้อมูลของปีที่ผ่านมา
ที่ e-Wallet เป็นช่องทางการชำระเงินที่คนในประเทศกำลังพัฒนาเลือกใช้มากที่สุด
และในอินโดนีเซียเอง ผลสำรวจก็พบว่า คนอินโดนีเซียเลือกชำระเงินผ่าน e-Wallet มากที่สุดเช่นกัน
นั่นเลยทำให้ตลาด e-Wallet ในอินโดนีเซีย มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
โดยในปัจจุบันก็มีผู้เล่นหลักอยู่ 3 ราย นั่นก็คือ OVO, DANA และ GoPay
ซึ่ง GoPay เป็น e-Wallet ของ Gojek ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
ส่วน DANA ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งานตาม OVO มาติด ๆ ซึ่งมี Ant Financial บริษัทการเงินของ Alibaba เป็นผู้ลงทุนหลัก
แล้วใครบ้างที่ลงทุนใน OVO
จนมีการเติบโตและเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดนี้ ?
เส้นทางการเติบโตอย่างรวดเร็วของ OVO
เริ่มต้นมาจากการเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัปยักษ์ใหญ่
อย่าง Grab, Tokopedia, Zalora และ Lazada ในอินโดนีเซีย
ด้วยการเข้าไปเป็นช่องทางการชำระเงินบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น
อย่างกรณีของ Grab และ Tokopedia ก็ได้ใช้ OVO
เป็นช่องทางในการชำระเงินบนแพลตฟอร์มของตัวเอง
จนในภายหลัง Grab และ Tokopedia ก็ได้เข้ามาร่วมลงทุนใน OVO ด้วย
และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 อันดับแรก ด้วยสัดส่วนคนละกว่า 40%
จนในปี 2019 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม
OVO ก็ได้กลายเป็นยูนิคอร์นอันดับที่ 5 ของอินโดนีเซีย และเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ที่มีผู้ใช้งานในประเทศมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าบริษัทในปัจจุบันกว่า 9 หมื่นล้านบาท
และล่าสุด เมื่อกลางปี 2020 ที่ผ่านมา OVO กับ DANA ก็ได้ตกลงควบรวมกิจการกัน
เพื่อที่จะเอาชนะ GoPay และกลายเป็น e-Wallet ที่ใหญ่สุดเพียงผู้เดียวในประเทศ
โดยในปัจจุบัน OVO ก็กำลังขยายตลาดไปสู่บริการทางการเงินในด้านอื่น ๆ
ทั้งการเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนและช่องทางซื้อขายประกันอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งโอกาสในการเติบโตของ OVO ต่อจากนี้ ยังถือว่ามีอยู่อีกมาก
หากลองพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่มีคนอินโดนีเซียกว่า 1 ใน 3 ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการลงทุน มีประชากรราว 1% เท่านั้น ที่เข้าถึงการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 32%
และคนที่มีสมาร์ตโฟนเพียง 42% ของประชากร
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราจึงพอสรุปได้ว่า OVO
ยังมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปหาลูกค้าทั่วประเทศ
และตอนนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเติบโตเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Tokopedia ซึ่งเป็น E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
เลือกลงทุนใน OVO เพื่อที่จะสู้กับสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
อย่าง Gojek ที่มี GoPay เป็น e-Wallet ของตัวเอง
แต่ล่าสุด
Tokopedia กับ Gojek ก็ประกาศว่าจะควบรวมกัน
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า GoTo ไปเป็นที่เรียบร้อย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.rapyd.net/resource/asia-pacific-ecommerce-and-payments-guide/
-https://www.techinasia.com/ovo-confirms-unicorn-status
-https://m2insights.com/the-2020-indonesian-ewallet-race/
-https://fintechnews.sg/42958/indonesia/e-wallet-indonesia/
-https://asia.nikkei.com/Business/Companies/Grab-expands-into-Indonesia-e-payments-taking-battle-to-Go-Jek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-06-12/indonesia-s-ovo-is-said-close-to-merger-with-dana-to-fight-gojek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-19/gojek-co-ceo-to-head-app-giant-after-merger-with-tokopedia
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/Indonesia-s-Ovo-joins-ZhongAn-SoftBank-alliance-for-insurtech
-https://en.wikipedia.org/wiki/OVO_(payment_service)
bukalapak tokopedia 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
bukalapak tokopedia 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
bukalapak tokopedia 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
bukalapak tokopedia 在 Pentingnya Upload Video Produk di Bukalapak Tokopedia ... 的必吃
Karena masyarakat sekarang telah mengenal konten video selama bertahun-tahun, dan kini setiap harinya ada lebih dari 75 juta pengguna ... ... <看更多>
bukalapak tokopedia 在 Jasa bikin toko di Shopee Bukalapak Tokopedia - Facebook 的必吃
Jasa bikin toko di Shopee Bukalapak Tokopedia. 143 likes · 1 talking about this. jasa pembuatan toko di marketplace Indonesia seperti shopee, tokopedia,... ... <看更多>