ทำไม เยอรมนี จึงเป็นประเทศแห่ง รถยนต์? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน
Mercedes-Benz, Porsche, BMW, Audi
รู้หรือไม่ว่า แบรนด์รถยนต์เยอรมัน 4 แบรนด์นี้ที่หลายคนใฝ่ฝัน
มีจุดเริ่มต้นอยู่บนเส้นทางเดียวกัน
Mercedes-Benz เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนี
ส่วน BMW, Audi และ Porsche
หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์เหล่านี้ ล้วนเคยทำงานให้กับ Daimler-Benz มาก่อน
ถึงแม้ทั้ง 4 แบรนด์จะแยกออกมาขับเคลื่อนบนเส้นทางของตัวเอง
แต่โชคชะตาก็พาให้ต้องมาอยู่บนเส้นทางร่วมกันอีกครั้ง
และยังมีอีกแบรนด์หนึ่งเกิดขึ้นมาชื่อ Volkswagen
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นจาก การเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดของผู้นำพรรคนาซี “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์”..
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม เยอรมนี จึงเป็นประเทศแห่ง รถยนต์? ตอนที่ 2
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิเยอรมันอยู่ในสถานะผู้แพ้สงคราม..
การถูกจำกัดอาวุธ ต้องชดใช้หนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม
รัฐบาลจึงพยายามพิมพ์เงินมาใช้หนี้จนกลายเป็นภาวะเงินเฟ้อมโหฬาร
และถูกซ้ำเติมด้วยภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ หรือ Great Depression
รถยนต์สมัยนั้นยังประกอบด้วยมือ จึงเป็นสินค้าที่มีราคาสูง
เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์จึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หัวหน้าพรรคนาซี ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ
และเริ่มต้นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมากมาย
หนึ่งในนั้นคือการสร้างเอาโทบาห์น หรือ ไฮเวย์ไปทั่วประเทศ
เพื่อซื้อใจประชาชน ฮิตเลอร์ได้ให้คำสัญญาว่าจะผลิต
รถราคาถูกเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ เรียกว่า “Volkswagen” แปลว่า รถของประชาชน
ฮิตเลอร์ได้ว่าจ้าง Ferdinand Porsche แห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านเครื่องยนต์ Porsche
ให้มาเป็นผู้ออกแบบรถยนต์ Volkswagen Type 1 ในปี ค.ศ. 1933
เมืองแห่งโรงงานรถยนต์ หรือ Autostadt ถูกตั้งขึ้นในเมืองว็อลฟส์บวร์คที่อยู่ใจกลางประเทศ
เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์โดยเฉพาะ
ฮิตเลอร์ได้ชักชวนชาวเยอรมันเกือบ 300,000 คน ให้เริ่มทยอยผ่อนเงินซื้อรถไว้กับรัฐบาล
ก่อนที่จะได้รับรถจริงในอีกหลายปีต่อมา
แต่แล้ว โครงการผลิตรถยนต์ก็ถูกยกเลิก
เพราะรัฐบาลต้องหันไปทุ่มงบประมาณสนับสนุนด้านการทหารแทนโครงการของพลเรือน
ไม่นาน ผู้นำพรรคนาซีก็พากองทัพเยอรมันเข้าบุกโปแลนด์
และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2
ท่ามกลางสงคราม เหล่าผู้ผลิตรถยนต์ถูกสั่งให้เปลี่ยนมาผลิตรถถังและอาวุธสงครามแทน
Porsche ถูกทาบทามมาเป็นวิศวกรของกองทัพ รับหน้าที่ออกแบบรถถัง
BMW ที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนารถยนต์เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะกระจังหน้าแบบไตคู่ ต้องมาผลิตเครื่องยนต์ให้เครื่องบินรบอีกครั้ง
เช่นเดียวกับโรงงานของ Daimler-Benz และ Volkswagen
ที่ต้องเปลี่ยนมาผลิตรถอเนกประสงค์ทางทหาร
สงครามครั้งนี้จบลงในปี ค.ศ. 1945
และเยอรมนีก็อยู่ในสถานะผู้แพ้สงครามอีกครั้ง..
เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ และถูกปกครองโดยประเทศผู้ชนะสงคราม
เยอรมนีตะวันออก ถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต ผู้นำโลกคอมมิวนิสต์
เยอรมนีตะวันตก ถูกยึดครองโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ผู้นำโลกทุนนิยมเสรี
ผู้นำนาซีเลือกจบชีวิตตัวเอง ทิ้งประเทศและเหล่าบริษัทรถยนต์ไว้กับความเสียหายมหาศาล..
Ferdinand Porsche ถูกทหารฝรั่งเศสจับตัวไปเป็นเชลยสงครามยาวนานเกือบ 2 ปี
โรงงานของ BMW ถูกทิ้งระเบิดเสียหาย จนต้องนำเศษเหล็กมาขาย และปรับมาผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนเพื่อต่อลมหายใจของกิจการ
โรงงานของ Daimler-Benz และ Auto Union หรือ Audi บางส่วนตั้งอยู่ในเขตเยอรมนีตะวันออกจึงถูกยึดเป็นสมบัติของรัฐคอมมิวนิสต์
ส่วนบริษัทน้องใหม่ Volkswagen ถูกเจ้าหน้าที่อังกฤษเข้ามาบริหาร
ในเวลานี้ เยอรมนีก็ไม่ต่างอะไรกับคนสิ้นเนื้อประดาตัว
ทั้งโรงงานรถยนต์ ทั้งวิศวกรเก่งๆ ต่างถูกยื้อแย่งโดยผู้ชนะสงคราม
สิ่งเดียวที่เหลืออยู่มีเพียง “องค์ความรู้”
ความโชคดีที่ยังพอมีอยู่บ้าง ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด
ของโลกทุนนิยมกับโลกคอมมิวนิสต์ ที่เรียกว่า “สงครามเย็น”
คือการที่ฐานการผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเยอรมนีตะวันตก ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐอเมริกาภายใต้แผนการมาร์แชลล์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของคอมมิวนิสต์
เศรษฐกิจเยอรมนีตะวันตกจึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1950-1960
เปิดโอกาสให้แบรนด์รถยนต์ทั้งหลายได้เริ่มต้นกันใหม่อีกครั้ง..
Ferdinand Porsche ในวัย 56 ปี ได้ชักชวนลูกชายให้เริ่มต้นบริษัทขึ้นมาใหม่
แต่ครั้งนี้เปลี่ยนจากบริษัทที่ปรึกษาด้านเครื่องยนต์มาผลิตรถยนต์เอง
โดยเริ่มจากรถสปอร์ต จากเหตุผลที่ว่า “ไม่มีรถสปอร์ตคันไหนถูกใจเลยสักคัน”
รถสปอร์ตของ Porsche ซึ่งถูกผสมผสานออกมาจากไอเดีย และประสบการณ์ทั้งหมดของตัวเขาเอง จนออกมาเป็นรถสปอร์ตคันแรกของบริษัทในรุ่น 356
Mercedes-Benz ได้เริ่มประยุกต์กระบวนการผลิตแบบ Mass-Production ให้เข้ากับการผลิตรถยนต์หรู ทำให้สามารถผลิตรถยนต์ได้จำนวนมากขึ้น
รวมถึงการริเริ่มนำเครื่องยนต์ดีเซลมาใช้กับรถยนต์
ซึ่งให้กำลังได้สูงกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน แม้จะมีข้อเสียคือเสียงที่ดังกว่า
หลังจากนั้น เครื่องยนต์ดีเซลจึงถูกนำมาใช้กับรถบรรทุก และรถบัส
BMW ซึ่งเคยทำรถมอเตอร์ไซค์ และระบบเบรกของรถรางมาก่อน
นำความได้เปรียบมาพัฒนาระบบเบรกของรถยนต์ และระบบกระจายน้ำหนักที่ล้อหน้าและหลังเท่ากัน
ทำให้รถยนต์ของ BMW มีจุดเด่นด้านการทรงตัว สามารถขับขี่ได้คล่องตัว
ถึงแม้จะมีปัญหาด้านการเงิน จนทำให้ BMW เกือบจะถูกควบรวมกิจการกับ Daimler-Benz
แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BMW ตระกูล Quandt ก็ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมด
และปรับเปลี่ยนเป้าหมายลูกค้าจากคนรวยให้เป็นคนทั่วไปมากขึ้น
เปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้มีความโฉบเฉี่ยว และตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
ส่วนรถของ Volkswagen ได้เริ่มเปิดการผลิตครั้งแรกในปี ค.ศ. 1949
ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอังกฤษ จนภายหลังเมื่อทางอังกฤษเห็นว่าไม่คุ้มค่า
จึงปล่อยให้อนาคตของ “รถของประชาชน” อยู่ในมือของผู้บริหารชาวเยอรมัน Heinrich Nordhoff
ด้วยดีไซน์ที่กะทัดรัด ขนาดเบา ราคาไม่แพง และกลยุทธ์การตลาดของ Nordhoff
รถที่มีรูปร่างเหมือนแมลง หรือ “Beetle”
ก็สามารถตีตลาดสหรัฐฯ และทั่วยุโรป จนผลิตได้ถึง 1 ล้านคัน ในอีก 10 ปีถัดมา
อาณาจักรของ Volkswagen เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
จนได้ซื้อกิจการของ Auto Union ในปี ค.ศ. 1964 และเริ่มกลับมาผลิตรถยนต์ Audi อีกครั้ง หลังจากนั้นก็รวมกิจการกับรถสปอร์ตหรู Porsche ในปี ค.ศ. 1969
ในตอนนี้ Volkswagen ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่มีหลายแบรนด์ในเครือ
ไม่เพียงแค่รถเยอรมันเท่านั้น
Volkswagen ยังซื้อกิจการรถยนต์ของอังกฤษอย่าง Bentley เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรด้วย
สำหรับ Mercedes-Benz ก็ได้เติบโตจนครองตำแหน่งอันดับหนึ่งในแบรนด์รถหรูของโลกนี้มาอย่างยาวนาน
และ BMW ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านสมรรถนะของรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา
จากจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญกับการศึกษาวิศวกรรม และวิชาชีพช่างเทคนิค
องค์ความรู้เหล่านี้สร้างวิศวกรยานยนต์เก่งๆ ที่ทำให้รถยนต์เยอรมันมีสมรรถนะ ฟังก์ชันการใช้งาน และการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร
สำหรับแบรนด์รถยนต์เยอรมันแล้ว
การผ่านสงครามโลกมาถึงสองครั้ง
วิกฤติเศรษฐกิจหลายต่อหลายครั้ง
ผ่านพรรคนาซี และสงครามเย็น
และถึงแม้จะมีอุปสรรคในวันข้างหน้า
ก็คงเป็นเพียงหลุมเล็กๆ ที่รถยนต์เยอรมันจะฝ่าฟันและขับเคลื่อนผ่านไปได้ เหมือนที่ผ่านมา..
เตรียมพบกับซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนถัดไป เร็วๆ นี้..
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.carmudi.com.ph/journal/infographic-history-of-bmw/
-https://www.daimler.com/company/tradition/company-history/1945-1949.html
-https://www.daimler.com/company/tradition/company-history/1949-1960.html
-https://www.mercedes-benz.co.th/en/passengercars/the-brand/history/trademark.module.html
-https://www.porsche.com/international/aboutporsche/#from=/international/aboutporsche/principleporsche/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過80萬的網紅果籽,也在其Youtube影片中提到,在德國法蘭克福車展後,順道去了福士集團位於Wolfsburg的Autostadt汽車之城參觀。這個佔地40萬平方呎的福士汽車城,除了把集團七大品牌的展館集於一身,可以飽覧世界名車,更可深入了解福士集團的汽車製造過程。最有趣的必數停車場雙子塔,全自動化泊車不但節省時間,更加有效運用土地。 =====...
autostadt 在 阿全的世界拼圖 Facebook 的最讚貼文
http://yt1.piee.pw/TWBV7
《帶你欣賞全世界獨一無二的汽車塔》
《也讓你感受德國的汽車工藝》
別忘了!要按👍分享出去給好朋友ㄡ!
autostadt 在 阿全的世界拼圖 Facebook 的最佳貼文
《德國狼堡福斯汽車城》《Wolfsburg Autostadt》
《公開我在那驚聲尖叫》
欲知詳情請見👇
http://yt1.piee.pw/RT5WX
《開始德國系列囉!》
《阿全在衝人氣,別忘了訂閱》
《麻煩也分享給好朋友喔!》
敬請期待更多精彩影片
❤️請追蹤我的youtube頻道👇
https://youtu.be/4-VRTDV00KY
❤️IG追起來:https://www.instagram.com/doodsyu1972/
❤️我的TG頻道已上線囉!
👉https://t.me/doodsyu5168👈
autostadt 在 果籽 Youtube 的精選貼文
在德國法蘭克福車展後,順道去了福士集團位於Wolfsburg的Autostadt汽車之城參觀。這個佔地40萬平方呎的福士汽車城,除了把集團七大品牌的展館集於一身,可以飽覧世界名車,更可深入了解福士集團的汽車製造過程。最有趣的必數停車場雙子塔,全自動化泊車不但節省時間,更加有效運用土地。
=========
全新副刊,推動知識文化多元。培養品味,立足香港放眼世界。不畏高牆,我們站在雞蛋一方。
《果籽》 栽種品味,一籽了然。 https://hk.appledaily.com/realtime/lifestyle/