หลักพุทธธรรมนนิยมภายใต้ทศพิศราชธรรมและธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
หลักพุทธธรรมนนิยมภายใต้ทศพิศราชธรรมและธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2493- 2559) นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และพระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยคำว่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” หมายถึง “ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม” ดังนี้
1. ทาน หรือการให้ หมายถึง การพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครองแผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์ นับแต่ปีพุทธศักราช 2493 หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีมากมายจนเหลือที่จะพรรณนาได้สุดสิ้น คือ “ธรรมทาน” ซึ่งถือเป็นทานอันเลิศทางพระพุทธศาสนา สามารถแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ ทำให้ใจเป็นสุขและตั้งอยู่ในความดีงาม โดยได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอวาทอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล
2. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ ในด้านศีลในการปกครอง คือ การประพฤติตามกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามนั้น ไม่เคยปรากฎเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์เหนือกฎหมาย และไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะทรงละทิ้งจารีตประเพณีอันดีงามของชาติและของพระราชวงศ์ พระเกียรติคุณในข้อนี้เป็นที่ซึมซาบในใจของชาวไทยเป็นอย่างดี นับจากกาลเวลาที่ล่วงผ่านมาตราบจนถึงทุกวันนี้
3. บริจาค (ปริจจาจะ) ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ วัตถุสิ่งของและที่ดินจำนวนมหาศาล รวมทั้งการที่ทรงเสียสละปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งนอกและในประเทศ พระราชภารกิจในโครงการพระราชดำรินับพัน ๆ โครงการทั่วประเทศนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดในความเสียสละอันใหญ่หลวงของพระองค์ ด้วยทรงเสียสละเวลา พระปรีชาสามารถ และความสำราญพระราชหฤทัยทั้งมวล ทรงยอมรับความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทุกประการเพื่อพสกนิกร อย่างไม่มีประมุขประเทศใดในขณะนี้ จะเสียสละได้เทียบเท่าที่พระองค์ทรงเสียสละให้แก่พสกนิกรไทยมาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า 70 ปี
4. ความซื่อตรง (อาชชวะ) ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร นับแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493-2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรทั่วประเทศว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” วันเวลาที่ล่วงผ่านไปเนิ่นนานจากวันนั้นถึงวันนี้ 41 ปีเศษแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาสัจจะที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรทั้งสองประการ มาอย่างสมบูรณ์สม่ำเสมอ พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกร ด้วยทรงถือเอาความทุกข์เดือดร้อนของพสกนิกรเป็นความทุกข์เดือดร้อนของพระองค์เอง เหตุนี้เมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือภัยพิบัติในส่วนใดของประเทศ พระองค์จะเสด็จฝ่าไป ไม่ว่าระยะทางจะใกล้ไกล ทุรกันดารเพียงใด แดดจะแผดกล้าร้อนแรง หนทางจะคดเคี้ยวข้ามขุนเขา พงไพรจะรกเรื้อแฉะชื้นเต็มไปด้วยตัวทาก ฝนจะตกกระหน่ำจนเหน็บหนาว น้ำจะท่วมเจิ่งนอง พระองค์ก็มิได้ทรงย่อท้อที่จะเสด็จไปประทับเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรผู้ทุกข์ยาก เพื่อทรงดับความเดือดร้อนให้กลับกลายเป็นความร่มเย็น
5. ความอ่อนโยน (มัททวะ) หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมแด่ผู้เจริญโดยวัยและเจริญโดยคุณ และมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอพระองค์และต่ำกว่า ไม่เคยทรงดูหมิ่น การที่ทรงวางพระองค์เช่นนี้จึงก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่บ้านเมือง และความปิติศรัทธาแก่ชาวไทยอย่างไม่มีอะไรจะเปรียบ
6. ความเพียร (ตบะ) หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่เฉย ทรงพอพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและห่างไกล ขวางกั้นด้วยผืนน้ำกว้างใหญ่ ป่าทึบ หรือเขาสูงสุดสายตาเพียงเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของราษฎร ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง เมื่อทรงทราบแล้วก็มิได้ทรงนิ่มนอนพระราชหฤทัย แต่ได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เพื่อขจัดความทุกข์เดือดร้อนของราษฎรทั้งในด้านการอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย การศึกษาและอื่น ๆ ด้วยพระราชอุตสาหะ วิริยภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรงขจัดความขัดข้องความยากจนขัดสนทั้งหลายให้แก่ราษฎรได้โดยทั่วกัน
7. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธให้เป็นที่ประจักษ์ใจทั้งในหมู่ประชาชนชาวไทย และในนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน แม้มีเหตุอันควรให้ทรงพระพิโรธยังทรงข่มพระทัยให้สงบได้โดยสิ้นเชิง อย่างที่ปุถุชนน้อยคนนักจะทำได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2505 เป็นต้น ซึ่งยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ตามเสด็จทุกคน
วันนั้นวันที่ 27 สิงหาคม 2505 เป็นวันแรกที่ทรงย่างพระบาทสู่ดินแดนออสเตรเลีย พร้อมด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเสด็จเยือนมาสามประเทศแล้ว จากรถพระที่นั่งขณะเสด็จไปยังที่ประทับพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น ชายคนหนึ่งชูป้ายเป็นภาษาไทยขับไล่พระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหวั่นไหวด้วยทรงพิจารณาว่าเป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว มิใช่ประชาชนทั้งประเทศ จึงทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้แก่ประชาชนอื่น ๆ ที่โห่ร้องรับเสด็จไปตลอดทาง
ต่อมาที่นครซิคนีย์เหตุการณ์อย่างเดียวกันได้เกิดขึ้นอีก โดยกลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิการเมืองที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลไทย เริ่มจากการชูป้ายข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย ในทันทีที่รถพระที่นั่งแล่นเข้าสู่ศาลากลางเทศบาล ซึ่งจัดไว้เพื่อรับเสด็จ ติดตามด้วยใบปลิวมีข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย และกล่าวหารัฐบาลไทยว่าเป็นฆาตกรฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใบปลิวนี้โปรยลงมารอบพระองค์ขณะที่ตรัสตอบขอบใจนายกเทศมนตรี และประชาชนกลางเวที แต่พระองค์ยังคงตรัสต่อไป เสมือนมิได้มีสิ่งใดเกิดขึ้น
8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร จากอดีตเรื่อยมาจนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2559 นับเป็นเวลาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า 70 ปี ที่ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยได้รับความร่มเย็นมีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงบำเพ็ญอวิหิงสาบารมี คือ ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นลำบาก ไม่ก่อทุกข์ยากให้แก่ผู้ใดแม้จนถึงสรรพสัตว์ ด้วยเห็นเป็นของสนุกเพราะอำนาจแห่งโมหะหรือความหลง ไม่ทำร้ายรังแกมนุษย์และสัตว์เล่นเพื่อความบันเทิงใจแห่งตน ดังเหตุการณ์อันเป็นที่เปิดเผยจากวงการตำรวจจราจรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2530 ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริว่าตามปกติเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ใดเจ้าหน้าที่จราจรจะปิดถนนตลอดเส้นทางนั้นทุกครั้ง จึงทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ปิดการจราจรเวลาเสด็จพระราชดำเนินไม่ว่าที่ใด หากการจราจรเกิดติดขัดก็มีพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงร่วมอยู่ในสภาวะแห่งการติดขัดนั้น เช่นเดียวกับพสกนิกรของพระองค์
9. ความอดทน (ขันติ) คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์ ทรงอดทนต่อโทสะ จากการเบียดเบียนหยามดูหมิ่น ดังเช่น การถูกขับไล่โดยกลุ่มชนที่ไม่หวังดีต่อเมืองไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อปี 2505 เป็นต้น
10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ 4 ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย
พระองค์ทรงรักษาพระราชหฤทัยได้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงมิได้ทรงหวั่นไหวต่ออำนาจแห่งอคติใด ๆ อันมีความรัก ความชัง ความโกรธ ความกลัว และความหลง เป็นต้น จึงไม่มีอำนาจใดที่อาจน้อมพระองค์ให้ทรงประพฤติทรงปฏิบัติไปในทางที่มัวหมองไม่สมควร หรือคลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ควรอุปถัมภ์ยกย่อง ทรงบำราบคนมีความผิดควรบำราบโดยทรงที่เป็นธรรม และในพระราชฐานะแห่งองค์พระประมุขของชาติไทยในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีพรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน พระองค์ได้ทรงดำริอยู่ในความยุติธรรม ทรงเป็นหลักชัยของพรรคการเมืองทุกพรรค
同時也有8部Youtube影片,追蹤數超過282萬的網紅KunTi,也在其Youtube影片中提到,#ASMR คืออะไร เสียงกิน #เลย์ #มันฝรั่งทอด *ตอบคำถามQ&A eating #Lays #Potato fries #Mukbang :ขันติ สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล่นว่าขันติ มาเจอกันแบบใกล...
「ขันติ คือ」的推薦目錄:
- 關於ขันติ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ขันติ คือ 在 fanpage พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต Facebook 的最讚貼文
- 關於ขันติ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ขันติ คือ 在 KunTi Youtube 的最讚貼文
- 關於ขันติ คือ 在 merman Youtube 的最佳解答
- 關於ขันติ คือ 在 merman Youtube 的精選貼文
- 關於ขันติ คือ 在 ขันติคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับชีวิต - YouTube 的評價
- 關於ขันติ คือ 在 คำว่าขันติในที่นี้ท่านหมายถึง อธิวาสนขันติ ได้แก่ความอดทนอดกลั้น ... 的評價
- 關於ขันติ คือ 在 ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง. ความ ... 的評價
ขันติ คือ 在 fanpage พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต Facebook 的最讚貼文
อยากมีความสุขในการทำงานกันไหมโยม...
ธรรมะที่จะช่วยลดเครียดให้เรามีความสุขในการทำงาน...
คือ ครองตน ครองคน และครองงาน ถึงจะประสบความสำเร็จ เริ่มจากครองตน มีหลักยึดติด 4 ข้อคือ ...
1. สัจจะ ต้องมี ความซื่อสัตย์ต่อกันทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และคนรอบข้าง ถึงจะไม่เกิดปัญหาและมีความสุข ...
2. ทมะ คือ การข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ถึงแม้ใครจะด่าต้องพยายายามไม่โกรธ ...
3. ขันติ คือ มุ่งมั่นทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก ...
4. จาคะ คือ เสียสละ มีน้ำใจ มีความเอื้ิอเฟื้อต่อกัน มีการงานก็ใดก็ช่วยเหลือซึ่งกัน และอยุ่ร่วมกันอย่างมีความสุข
คนรักในงานเป็นสะพานสู่ความสุข...
คนรักในงานย่อมไม่สะทกสะท้านต่อความยากลำบาก...
งานคือ เงิน ...เงิน คือ งานบันดาลสุข...
ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงานะ ...
ทำงานไปยิ้มไปนะ....เจริญพร...
ขันติ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ไตรภูมิพระร่วงกับแนวคิดแบบพุทธรมนิยมของพระยาลิไทย
(ปรัชญากฎหมายไทยสมัยสุโขทัย)
ไตรภูมิพระร่วงหรือชื่อตามต้นฉบับเดิมคือ “เตภูมิกถา” เป็นงานวรรณกรรมเชิงปรัชญาเรื่องแรกของไทย นักวิชาการบางท่านจัดไตรภูมิพระร่วงว่าทำหน้าที่แทนกฎหมายในยุคสมัยสุโขทัย
ศิลาจารึกหลักที่ 4 หลักที่ 5 ของพระยาลิไทยมีการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นปณิธานเจตนารมณ์ของพระยาลิไทย ซึ่งมุ่งที่จะเป็นพระพุทธเจ้า นำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นสังขารทุกข์ (เป็นหลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับแนวคิดเชิงอุดมการณ์) ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องไตรสาม สามภูมิ สามภพ สามโลก ได้อธิบายเรื่องการกำเนิดโลกเช่นเดียวกับอัคคัญสูตร แต่มีการเปลี่ยนสิ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ปกครองในแง่ที่ว่าในอัคคัญสูตรไม่ได้ระบุว่า คนที่เป็นผู้ปกครองจะต้องเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนไตรภูมิพระร่วง มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงใหม่ให้บุคคลที่บรรดาสัตว์ทั้งหลายเข้าไปเชื้อเชิญเป็นผู้ปกครองต้องมีคุณสมบัติเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อนำความคิดนี้มาใช้กษัตริย์ (หรือพระโพธิสัตว์) ก็เลยกลายเป็นบุคคลที่ภาระสำคัญในการที่จะนำประชาชนให้ก้าวไปสู่การหลุดพ้นและบุคคลที่จะต้องปลดเปลื้องทุกข์ของประชาชนไม่ใช่เพียงแค่การดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างเดียว
ในไตรภูมิพระร่วงยังกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ปกครองว่าต้องอยู่ใน “ทศพิศราชธรรม” แนวคิดเรื่องทศพิศราชธรรมเป็นแนวคิดที่สำคัญตัวหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจการปกครอง ซึ่งไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้ ได้นำมาจากพระไตรปิฎกในมหาหังตชาดา
หลักทศพิศราชธรรม
ทศพิศราชธรรม เป็นเสมือนหลักธรรมที่สำคัญในการใช้อำนาจการปกครองของกษัตริย์โดยชนชั้นปกครองทั้งหลายโดยที่ผู้ใช้อำนาจปกครองนี้ มิได้หมายเฉพาะกษัตริย์เท่านั้นแต่หมายถึงบุคคลทั้งหลายที่ใช้อำนาจในการปกครองด้วย ซึ่งจะเป็นการตีความในลักษณะของการขยายความให้เข้าสังคมปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันเราจะนำมาใช้กับคนที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดและแม้กระทั่งในระดับครอบครัว
ทศพิศราชธรรม ในฐานะความคิดทางศีลธรรมการเมืองมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์ชาดกในพุทธศาสนา นับเนื่องมาจากที่พุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองสมัยพระยาลิไทย คติความคิดนี้ก็ย่อมได้รับการเผยแพร่โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานเขียนหรือศิลาจารึก หลักธรรมอันสำคัญยิ่งสำหรับกษัตริย์หรือผู้ปกครองประกอบด้วยเนื้อหา 10 ประการ ดังนี้คือ
1. ทาน หมายถึง การแจกวัตถุสิ่งของ การให้วิชาความรู้เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นและการให้ประการอื่น ๆ
เช่น กำลังกาย กำลังความคิดตลอดจนคำแนะนำ
2. ศีล หมายถึงการควบคุมพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้เป็นปกติ
3. ปริจจาจะ หมายถึง การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อระโยชน์สุขส่วนรวม
4. อาธชวะ หมายถึง ความซื่อตรง
5. มัทธวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
6. ตยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่แสดงการเกรี้ยวกราดโกรธแค้นต่อใคร ๆ
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน
9. ขันติ หมายถึงความอดทนต่อความยากลำบาก
10. อวิโรธะนะ หมายถึง ความไม่ประพฤติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
หลักทั้ง 10 ประการ อาจสรุปให้เป็น 5 ประการ ได้ดังนี้คือ
1. การให้เสียสละ ( ทาน และปริจจาจะ )
2. ความซื่อสัตย์สุจริต ( ศีล และอาธชนะ )
3. ความมีไมตรีจิต ( มัทธวะ และอักโกธะ )
4. ความอดทน ความเพียร ( ตยะ และขันติ )
5. ความถูกต้องและยุติธรรม ( อวิหิงสาและอวิโรธนะ )
การตีความทศพิศราชธรรมให้เป็นดั่งหลักอุดมคติทางกฎหมายดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับความในเชิงปรัชญากฎหมายธรรมในชาติของตะวันตก ในแง่ทศพิศราชธรรมอาจจัดให้มีค่าเสมือนรูปธรรมหนึ่งแห่งกฎหมายธรรมชาติตามแบบเสรีวิธีคิดของตะวันตก จริงอยู่ที่ในปรัชญากฎหมายของไทยเราไม่ถ้อยคำที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law) แบบตะวันตกในความของกฎหมาย ซึ่งกำหนดแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดและเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจหรือความสมบูรณ์จากธรรมชาติมิได้เกิดจากอำนาจสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่กำกับการใช้อำนาจรัฐทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมายของไทยก็จัดได้เป็นหลักธรรมที่มาจากธรรมชาติได้เช่นกัน เมื่อตีความผ่านการวิเคราะห์ รากศัพท์ คำว่า ธรรมะ ที่หมายรวมถึงธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ในเมื่อธรรมะคือธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ทศพิศราชธรรมในฐานะหลักธรรมทางการเมืองหรือกฎหมายก็ย่อมจักเข้าเป็นกฎธรรมชาติเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มิได้เกิดจากการประดิษฐ์สร้างของมนุษย์ มนุษย์ (ผู้เป็นศาสดา) เป็นเพียงผู้ค้นพบธรรมนี้เท่านั้น แล้วประกาศธรรมนี้ให้แพร่หลายไปโดยเฉพาะหมู่ผู้ปกครองหรือราชาที่ต้องการ “ทรง” ทั้งอำนาจตนและสังคมที่ตนปกครองให้เป็นไปปกติสุข
ดังนั้นเมื่อเราเทียบเคียงกับตะวันตก จะมีสิ่งที่เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการ นักบุญ (St. Thomas Aquinas) เซนต์ โทมัส อไควนัส เคยอธิบายว่าบัญญัติ 10 ประการ ก็คือ หลักกฎหมายธรรมชาติ โดยเนื้อหาสาระของบัญญัติ 10 ประการ เป็นเรื่องคุณธรรมส่วนตัว เช่น ให้คนเคารพพระเจ้า อย่าฆ่าคนอย่าโกหก อย่าไปผิดลูกผิดเมียเขา ซึ่งถ้ามองในรายละเอียด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมส่วนตัวมนุษย์ที่ควรจะประพฤติปฏิบัติ มากกว่าจะเป็นคุณธรรมที่วางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่คุณธรรมพวกนี้นักปรัชญากฎหมายธรรมชาติตะวันตกบอกว่าเป็นรากฐานกฎหมายธรรมชาติ เพราะกฎหมายธรรมชาติในยุคกลางถือว่าเอาเจตจำนงของพระเจ้าเป็นที่มาของกฎหมาย ดังนั้นถ้ามีการจัดให้มีบัญญัติ 10 ประการ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติในเชิงคริสต์ศาสนา (Christian Natural Law) แล้วทศพิศราชธรรมก็น่าจะเป็นส่วนกฎหมายธรรมชาติในเชิงพุทธ ( Buddhist Natural Law ) เพราะทศพิศราชธรรมเป็นคุณธรรมสำคัญ ที่คัมภีร์พุทธศาสนา กล่าวว่ากษัตริย์ต้องปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม
ข้อสังเกต เกี่ยวกับปรัชญากฎหมายในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ข้อถกเถียงกับปรัชญากฎหมายไทยในสมัยสุโขทัย คงไม่อาจสมบูรณ์ได้หากมองข้ามเลยการตรวจสอบความคิดทางกฎหมายในยุคของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ออกจะดูแปลกอยู่บ้างที่เราจัดลำดับการศึกษาความคิดทางปรัชญากฎหมายไทยในสมัยสุโขทัย จากจุดเริ่มที่พระยาลิไทย แทนที่จะเริ่มจากพ่อขุนรามคำแหง ทั้งนี้เนื่องจากจุดรวมทางความคิดด้านจริยธรรมทางสังคมในยุคสุโขทัย ซึ่งแสดงออกเด่นชัดที่สุดในสมัย พระยาลิไทย
เรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ คงปรากฏจากหลักฐานสำคัญ คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง “คือศิลาจารึกหลักที่1” ในฐานะวรรณคดีไทยเรื่องแรกของไทยศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงได้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีคุณค่าอย่างมากในแง่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี รัฐศาสตร์ และเรื่องอื่นๆ รวมทั้งนิติศาสตร์ด้วย
คุณค่าศิลาจารึกนี้ในทางนิติศาสตร์ เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว นักศึกษากฎหมายที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายต่าง ๆ ต้องจดจำความรู้ในเชิงกฎหมายต่าง ๆ ของศิลาจารึกหลักที่1 ไม่ว่าในลักษณะเสมือนกฎหมายภาษีอากร กฎหมายมรดก กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดี กฎหมายปกครอง กฎหมายที่ดิน หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อน่าพิจารณาในการศึกษาที่เน้นแง่มุมในลักษณะเสมือนกฎหมายของศิลาจารึกนี้อาจทำให้ผู้ศึกษาหรือผู้อ่านจำนวนมากหลงหรือเข้าใจว่าศิลาจารึกที่เป็นตัวกฎหมายแท้จริงเสียอีก อาจเป็นเพราะสาเหตุที่ลืมนึกไปถึงเรื่องสถานะหรือบทบาทของศิลาจารึกทั่วไปหรือศิลาจารึกสิ่งที่ถือเป็นธรรมชาติทั่วไปของกฎหมาย โดยเฉพาะในแง่ของสภาพบังคับหรือบทลงโทษ แท้จริงแล้วศิลาจารึกเป็นเพียงหลักฐานบันทึกเรื่องราวสำคัญของสังคม โดยเฉพาะในแง่ของพระกรณียกิจหรืออำนาจบารมีต่าง ๆ ของกษัตริย์รวมทั้งเรื่องราวสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนา เรื่องราวในลักษณะเสมือนกฎหมายต่าง ๆ ในศิลาจารึกล้วนเป็นการตีความจากข้อมูลหรือความรู้ในเชิงกฎหมายที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานแห่งความประพฤติปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ระหว่างบุคคลด้วยกันหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
สรุป เมื่อพิจารณาเรื่องอิทธิพล หรือบทบาทของปรัชญากฎหมายสมัยสุโขทัยที่เป็นแบบพุทธธรรมนิยม เราต้องสรุปว่ามีอิทธิพลหรือมีบทบาทจริงในระดับหนึ่ง แต่หากมีปฏิสัมพันธ์กับอิทธิพลหรือการกำหนดของบริบททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมขณะนั้น ข้อที่น่าสังเกตส่วนนี้ คือ
1.ประเด็นเกี่ยวกับความสันพันธ์ระหว่างกฎหมาย ความคิดทางกฎหมายกับเศรษฐกิจและการเมือง เราไม่อาจแยกพิจารณาเรื่องกฎหมาย ปรัชญาหรืออุดมการณ์ทางกฎหมายให้หลุดพ้นไปจากเหตุการณ์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองได้
2.เราคงมีข้อสรุปที่น่าเชื่อถืออยู่มากต่อสภาพไร้การยึดมั่นในปรัชญากฎหมายหรือสังคม แบบธรรมชาตินิยมอย่างเคร่งครัดจริงจัง ชนิดที่ถือเป็นมุ่งหมายในตัวเองของการใช้อำนาจรัฐของสุโขทัย แต่เป็นการยึดถือแบบผสมผสานในฐานะเป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าการล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัยในท้ายที่สุดจึงอาจถือเป็นบทพิสูจน์ในความล้มเหลว ของการยึดมั่นอย่างแท้จริงในปรัชญาทางกฎหมายหรือการเมืองแบบพุทธธรรมนิยม
ขันติ คือ 在 KunTi Youtube 的最讚貼文
#ASMR คืออะไร เสียงกิน #เลย์ #มันฝรั่งทอด *ตอบคำถามQ&A eating #Lays #Potato fries #Mukbang :ขันติ
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล่นว่าขันติ
มาเจอกันแบบใกล้ชิดสนิทขัั้นสุดได้ที่นี่เลย….
Facebook : https://web.facebook.com/kuntimerman
..................................................................................................
ช่องนี้ผมทำขึ้นเพื่อความบันเทิงและอยากให้ทุกคนมีความสุข เท่านั้นถ้าชอบและสนุก
อย่าลืม!!! (กดติดตาม) เพื่อไม่พลาดคลิปใหม่ๆสนุกๆของ #ขันติ คนนี้นะครับ ขอบคุณครับ
https://www.youtube.com/channel/UCnaIbiEF7XWNZ3ZsHoqkErg
.ติดต่องานได้ที่
E-mail : jutharuj123@gmail.com
Line ID: jutharuj
……………………...................................................................
ขันติ คือ 在 merman Youtube 的最佳解答
#พระอภัยมณี ตอน #นางเงือก คือ #นางยักษ์ #ละครตลก #วันสุนทรภู่ :นายเงือก ไหนใครเคยดู ละครพระอภัยมนี บ้างครับ ละครสั้น เรื่องนี้ติทำเพื่อความบันเทิงนะครับ บทไม่ได้ตรงกับเรื่องที่ท่านสุนทรภู่ได้แต่งไว้ซะทั้งหมด ฉะนั้นดูเพื่อความบันเทิงสนุกๆน้าา
ฝากกดติดตามพี่นินจาได้ที่ https://www.youtube.com/channel/UCsNfFJXToPGyfI2kWlEHzTQ?sub_confirmation=1
ถ้าชอบ ช่วยกดไลค์ เพื่อเป็นกำลังใจ ถ้าใช่ช่วยกดแชร์ให้คนอื่นได้ดูนะครับ
สั่งซื้อสินค้าหรือหางนางเงือกได้ที่ http://merman.lnwshop.com/
อย่าลืม!!! (กดติดตาม) SUBSCRIBE เพื่อไม่พลาดคลิปใหม่ๆสนุกๆของ #นางเงือก (นายเงือก) ทุกสัปดาห์นะครับ ขอบคุณครับ นึกถึงเงือกนึกถึงเรา merman : https://www.youtube.com/channel/UC5WTu9dqK9VYNMxyKi7U9ZQ/featured
สอบถามสั่งซื้อ #หางนางเงือก ที่ Line ID.@merman (ใส่@นำหน้าด้วยนะ)
ตามมาพูดคุย และเจอกันกับนายเงือกขันติได้ที่นี่เลย….
Facebook : https://web.facebook.com/mermanti/
..................................................................................................
Instagram : https://www.instagram.com/ti_merman/?hl=en
..................................................................................................
Google+ : https://plus.google.com/u/0/
..................................................................................................
.ติดต่องานได้ที่
E-mail : jutharuj123@gmail.com
Line ID: jutharuj
……………………...................................................................
ขันติ คือ 在 merman Youtube 的精選貼文
บุพเพสันนิวาส ซ้อมการ #แสดงสด. ร้องเพลงcover :นายเงือก Ft.นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี
ขับร้อง โดย น.ส.รุจี ขวัญมั่น เทียบโอนปี 2 สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
COVER เพลง #บุพเพสันนิวาส ละครทาง #ช่อง3 | ไอซ์ ศรัณยู วินัยพานิช
ถ้าชอบ ช่วยกดไลค์ เพื่อเป็นกำลังใจ ถ้าใช่ช่วยกดแชร์ให้คนอื่นได้ดูนะครับ
สั่งซื้อสินค้าหรือหางนางเงือกได้ที่ http://merman.lnwshop.com/
อย่าลืม!!! (กดติดตาม) SUBSCRIBE เพื่อไม่พลาดคลิปใหม่ๆสนุกๆของ #นางเงือก (นายเงือก) ทุกสัปดาห์นะครับ ขอบคุณครับ นึกถึงเงือกนึกถึงเรา merman : https://www.youtube.com/channel/UC5WTu9dqK9VYNMxyKi7U9ZQ/featured
สอบถามสั่งซื้อ #หางนางเงือก ที่ Line ID.@merman (ใส่@นำหน้าด้วยนะ)
ตามมาพูดคุย และเจอกันกับนายเงือกขันติได้ที่นี่เลย….
Facebook : https://web.facebook.com/mermanti/
..................................................................................................
Instagram : https://www.instagram.com/ti_merman/?hl=en
..................................................................................................
Google+ : https://plus.google.com/u/0/
..................................................................................................
.ติดต่องานได้ที่
E-mail : jutharuj123@gmail.com
Line ID: jutharuj
……………………...................................................................
ขันติ คือ 在 คำว่าขันติในที่นี้ท่านหมายถึง อธิวาสนขันติ ได้แก่ความอดทนอดกลั้น ... 的必吃
อดทนเพื่ออะไรสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอดทนทรมานตนบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณนั่นคือ ผู้ปฏิบัติขันติต้องยึดเอาประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น ... ... <看更多>
ขันติ คือ 在 ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง. ความ ... 的必吃
21 ธ.ค. 2015 - ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง. ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน. ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข. ... <看更多>
ขันติ คือ 在 ขันติคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับชีวิต - YouTube 的必吃
ขันติคือ ความอดทน พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า นอกจากปัญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นธรรมอย่างยิ่ง ในยุคสมัยปัจจุบันคนเรามีความอดทนอดกลั้นน้อยลง ... ... <看更多>